ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการติดตั้ง power supply ของคอมพิวเตอร์ Windows ให้คุณเอง power supply ก็คือตัวจ่ายกระแสไฟฟ้าจากแหล่งไฟฟ้าไปยังชิ้นส่วนต่างๆ ของคอม ถ้าซื้อคอมแบบสำเร็จมา ก็ไม่ต้องติดตั้ง power supply เองแต่อย่างใด อาจจะมีก็ตอนที่ต้องเปลี่ยน power supply ใหม่นี่แหละ
ขั้นตอน
-
เลือก power supply ที่ใช้กับคอมคุณได้. power supply ที่จะซื้อ ต้องใช้ได้กับเมนบอร์ดของคอม และขนาดพอดีกับ housing เพราะงั้นต้องเอารุ่นเมนบอร์ดไปค้นต่อ ว่าต้องใช้ power supply แบบไหน ปกติจะหา power supply ได้ตามห้าง ร้านคอม หรือออนไลน์ ลองอ่านรีวิวตามเว็บคอมดังๆ ก่อนก็ดี
- ต้องเลือก power supply ที่ใช้กับคอมในโซนบ้านเราได้ อย่าง power supply ของทางยุโรป ก็จะใช้กำลังไฟต่างจากในอเมริกา
-
รวบรวมเครื่องมือที่จำเป็น. อย่างน้อยที่ต้องมีก็คือไขควง 1 อัน (ปกติต้องใช้หัว Phillips หรือไขควงปากแฉก) เอาไว้ใช้ไข housing ของ CPU ที่ปกติอยู่ทางขวาของกล่อง CPU ถ้ามองจากหลังกล่อง ตัว power supply บางทีก็ต้องใช้ไขควงแบบอื่นด้วย ให้เช็คสกรูที่มากับ power supply จะรู้เลยว่าใช้ไขควงแบบเดียวกันได้หรือเปล่า
-
ground ตัวเอง . เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟฟ้าสถิตจนชิ้นส่วนในเคสคอมเสียหายได้
- อาจจะหาซื้อสายรัดข้อมือป้องกันไฟฟ้าสถิตมาใช้ก็ได้
-
เปิดเคสคอม. แล้วจะเห็นชิ้นส่วนข้างในของคอม
-
ตะแคงเคสคอมนอนลง ให้เคสที่เปิดออกหงายขึ้นมา.
-
เลื่อนสวิตช์กำลังไฟของ power supply. ถ้า power supply มีสวิตช์บอกกำลังไฟ ให้ปรับไปที่ 110v หรือ 115v power supply จะได้จ่ายไฟเหมาะสม ไม่ทำให้ชิ้นส่วนที่เชื่อมต่ออยู่เสียหาย
- power supply บางตัวก็ไม่มีสวิตช์นี้ แต่ถ้ามีก็จะตั้งค่าอยู่ที่มาตรฐานของโซนที่คุณซื้อมา
-
หาตำแหน่งวาง power supply. ปกติ power supply units (PSUs) จะอยู่ด้านบนของเคสคอม นี่คือสาเหตุว่าทำไมสายไฟของคอมถึงต้องเสียบที่ด้านหลัง ข้างบนของเคส
- อ่านคู่มือของคอมให้ละเอียด ว่าต้องติดตั้ง power supply unit ตรงไหน หรือมองหาช่องสี่เหลี่ยมโล่งๆ ที่หลังเคสก็ได้
- ถ้าจะเปลี่ยน power supply เก่า ให้มองหาปลั๊กไฟหลังเคส จะเจอ power supply เอง
-
ใส่ power supply ใหม่. "ด้านหลัง" ของ power supply จะเด่นเป็นสง่าด้วยปลั๊กไฟและพัดลม "ด้านล่าง" ก็มีพัดลมด้วย แต่ "ด้านหลัง" ของ power supply ต้องหันเข้าด้านหลังของเคส ส่วน "ด้านล่าง" ให้หันเข้าด้านในของเคส
- ถ้ามี power supply เก่าอยู่ในคอม ก็ต้องเอาออกก่อน
-
ไขยึด power supply ไว้กับที่. พอ "ด้านหลัง" ของ power supply unit แนบสนิทกับด้านหลังของเคสแล้ว ให้ใส่สกรูที่มีให้ แล้วไขยึด power supply ไว้กับที่
- housing ของ CPU ส่วนใหญ่จะมีชั้นไว้ให้วาง power supply
-
เชื่อมต่อ power supply กับเมนบอร์ด. หาสายไฟหลักของ power supply (ปกติก็คือปลั๊กอันใหญ่สุด) แล้วเสียบกับพอร์ทสี่เหลี่ยมแบนๆ ยาวๆ ของเมนบอร์ด แล้วเสียบสายไฟรองกับเมนบอร์ด
- อันนี้แล้วแต่ power supply กับเมนบอร์ดที่ใช้ บางทีก็ไม่มีสายไฟรอง
- ปลั๊กที่ใช้เสียบ power supply เข้ากับเมนบอร์ด ปกติจะเป็นแบบ 20 หรือ 24 pin
-
เชื่อมต่อ power supply กับชิ้นส่วนอื่นๆ ของคอม. จะมีสายเส้นเล็กๆ ไว้ให้เสียบ power supply เข้ากับฮาร์ดไดรฟ์, ไดรฟ์ CD และการ์ดจอของคอม ถ้าในเคสมีชิ้นส่วนอื่นนอกจากนี้ (เช่น ระบบไฟ) ก็ต้องเสียบต่อให้ครบ [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ประกอบเคสคืนแล้วเสียบปลั๊กคอม. ปิดฝาแล้วประกอบเคสคืน จากนั้นตั้งเคสกลับมาเหมือนเดิม แล้วเสียบปลั๊กไฟและหน้าจอ
-
เปิดคอม. ถ้าเชื่อมต่อทุกอย่าง เสียบปลั๊กไฟ และเปิดคอมแล้ว พัดลมของ power supply ก็จะหมุน คอมจะบูทขึ้นมาตามปกติ ถ้าได้ยินเสียงบี๊บ แล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้น แสดงว่าเสียบอะไรผิดสักอย่าง หรือ power supply จ่ายไฟให้ชิ้นส่วนต่างๆ ไม่พอ [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิงโฆษณา
เคล็ดลับ
- "ต้อง" ใช้สายไฟใหม่ที่ติดมากับ PSU ใหม่เท่านั้น "ห้าม" เอาสายเก่าจาก PSU เก่ามารีไซเคิล เพราะอาจทำเมนบอร์ดไหม้ได้เลย
- เวลาเชื่อมต่อ power supply กับชิ้นส่วนในเคส ต้องเสียบสายให้แน่น แต่อย่าฝืน
- พอต่อ power supply กับชิ้นส่วนต่างๆ ในเคสคอมแล้วอาจมีสายเหลือ ก็ไม่เป็นไร
โฆษณา
คำเตือน
- ปกติข้างใน power supply จะมีหลาย capacitors เอาไว้เก็บเก็บประจุกระทั่งหลังปิดหรือตัดไฟไปแล้ว ย้ำว่าห้ามเปิดหรือเอาอะไรที่เป็นโลหะไปแหย่ช่องของ capacitors เด็ดขาด เพราะไฟดูดได้เลย
- เวลาไขสกรู power supply ต้องจับ power supply ไว้ให้มั่น แรงบิดเวลาไขสกรูอาจไปทำให้ส่วนอื่นหลวมหรือหลุดได้เลย
โฆษณา
ข้อมูลอ้างอิง
เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้
มีการเข้าถึงหน้านี้ 25,837 ครั้ง
โฆษณา