PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

คุณอาจรู้สึกราวกับว่าโลกจะถึงจุดจบแต่คุณไม่ได้รู้สึกแบบนี้อยู่คนเดียว – โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่พบได้ทั่วไป คนอเมริกันประมาณ 10% ต่างก็เป็นกัน [1] . โรคซึมเศร้าเป็นโรคร้ายแรง หากไม่รับการรักษาก็อาจส่งผลเสียรุนแรงกับชีวิตในทุกๆ ด้าน อย่าปล่อยเอาไว้ จงสู้กับมัน เริ่มตั้งแต่วันนี้เลย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รู้ว่าอย่างไหนคือโรคซึมเศร้า

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. จริงอยู่ที่ว่ามีเหตุมากมายที่คนๆ หนึ่งจะเศร้าเสียใจ: ตกงาน สูญเสียคนรัก ความสัมพันธ์แย่ เกิดเหตุสะเทือนใจ หรือความเครียดอื่นๆ ณ จุดหนึ่ง ทุกคนต่างต้องเจอกับเหตุให้ต้องเศร้า ความรู้สึกเศร้าเป็นครั้งคราวไม่ได้เป็นเรื่องแปลกอะไร ความต่างที่สำคัญของความเศร้ากับความสลดหดหู่นั้นอยู่ที่จุดตั้งต้นของอาการ [2] [3]
    • เวลาคุณเศร้า ความรู้สึกเหล่านั้นเกิดจากเหตุการณ์หรือสถานการณ์เฉพาะ เมื่อไหร่ที่สถานการณ์เปลี่ยนหรือเวลาผ่านไปความเศร้าก็จางหาย
    • ขณะที่อีกด้านหนึ่ง ความหดหู่มีผลต่อความคิด ความรู้สึก การรับรู้ และพฤติกรรม คุณไม่แค่เศร้าโศกกับสิ่งๆ เดียว แต่คุณจะโศกสลดกับทุกสิ่ง และทั้งๆ ที่คุณพยายามที่จะดึงตัวเองออกจากความรู้สึกนั้นมันก็ไม่หายไปไหน อันที่จริง คุณสามารถหดหู่โดยไร้สาเหตุได้ด้วยซ้ำไป
  2. ยอมรับว่าโรคซึมเศร้าเป็นความเจ็บป่วยทางกาย ไม่ต่างอะไรกับโรคหวัด. โรคซึมเศร้าไม่ใช่แค่ “ไอ้นั่นไอ้นี่ที่อยู่ในหัวของคุณ" งานวิจัยชี้ให้เห็นว่ามันก็ความเจ็บป่วยทางกายอย่างหนึ่ง ดังนั้น การรักษาทางการแพทย์จึงจำเป็น [4] นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น:
    • สารสื่อประสาทเป็นสารเคมีที่เป็นตัวนำสัญญาณจากเซลล์สมองไปยังอีกเซลล์หนึ่ง เชื่อกันว่า ระดับของสารสื่อประสาทที่ผิดปกติเป็นเหตุให้เกิดโรคซึมเศร้าได้
    • การเปลี่ยนแปลงของสมดุลฮอร์โมนอาจเป็นสาเหตุหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจรวมถึง ความผิดปกติของไทรอยด์ ภาวะหมดประจำเดือน หรือการตั้งครรภ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น
    • มีการสังเกตความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพในสมองของผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า แต่ผลที่ได้ยังไม่แน่ชัด อย่างไรก็ตาม การเฝ้าสังเกตเช่นนี้อาจช่วยบ่งชี้สาเหตุของโรคซึมเศร้าได้ในภายภาคหน้า
    • โรคซึมเศร้าอาจเกิดจากคนในครอบครัว กล่าวคืออาจมีพันธุกรรมเฉพาะบางอย่างที่ทำให้เกิดโรคนี้ ซึ่งนักวิจัยกำลังศึกษาประเด็นนี้อย่างขะมักเขม้น [5] [6]
      • การรับรู้ว่าโรคซึมเศร้าเป็นโรคทางพันธุกรรมและลูกๆ อาจตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้อาจทำให้คุณรู้สึกผิด แต่จงจำไว้ว่าคุณไม่สามารถควบคุมพันธุกรรมของตนเองได้ มันไม่ใช่ความผิดคุณเลย สิ่งที่ควรทำคือควบคุมสิ่งที่ควบคุมได้ เป็นตัวอย่างที่ดีในการต่อสู้กับโรคนี้และยอมรับความช่วยเหลือ
  3. คุณควรจะทราบว่าอาการซึมเศร้านั้นมีความเฉพาะตัวไม่ต่างกับบุคคลที่ป่วยเป็นโรคนี้ ไม่ใช่ทุกคนจะมีอาการเดียวกัน – บางคนมีอาการสองสามอย่างที่ไม่รุนแรงมาก ขณะที่คนอื่นๆ อาจมีอาการมากมายและรุนแรง สำหรับบางคน โรคซึมเศร้าอาจเกิดขึ้นแค่ครั้งเดียว แต่สำหรับคนอื่นๆ มันอาจเป็นอาการหดหู่เรื้อรัง สัญญาณและอาการต่างๆ ของโรคซึมเศร้า ได้แก่: [7]
    • รู้สึกเศร้าและว่างเปล่าอยู่เรื่อยๆ
    • ความอยากอาหารไม่คงที่ (คือ ทานมากเกินหรือน้อยเกินไป)
    • น้ำหนักขึ้นๆ ลงๆ
    • นอนหลับไม่สนิท
    • สิ้นหวังหรือมองโลกแง่ร้าย
    • รู้สึกเหนื่อยหรือไม่มีแรง
    • รู้สึกไร้ค่า รู้สึกผิด หรือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
    • ไร้ความสนใจในกิจกรรมที่ให้ความเพลิดเพลิน
    • ไม่สามาจดจ่อกับอะไรได้หรือตัดสินใจไม่ได้
    • กระสับกระส่ายและหงุดหงิดงุ่นง่าน
    • อยากฆ่าตัวตาย
    • มีอาการทางกาย เช่น รู้สึกเจ็บปวดหรือปวดหัว
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

พบหมอ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. โรคซึมเศร้าอาจนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ทางร่างกายและจิตใจได้ การแบ่งปันสิ่งที่คุณกำลังเผชิญอยู่ให้หมอฟังเป็นสิ่งสำคัญ หมอของคุณจะได้ช่วยแก้ปัญหาที่มีสาเหตุภายนอกที่มีผลได้ [8]
    • ให้หมอช่วยส่งตัวหากจำเป็น. หมอของคุณอาจช่วยแนะนำจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาที่สามารถรักษาโรคซึมเศร้าดีมากกว่า
  2. ในการพบหมอทุกอย่างจะเร็ว นี่เป็นวิธีวางแผนล่วงหน้าเพื่อใช้เวลาพบหมอให้คุ้มค่าที่สุด:
    • จดอาการของคุณออกมา
    • เขียนข้อมูลส่วนตัวสำคัญๆ รวมถึงเหตุการณสำคัญๆ ในชีวิตที่มีผลต่อความคิด ความเชื่อ หรือความรู้สึกของคุณ
    • จดชื่อยาที่ใช้ รวมถึงวิตามินหรืออาหารเสริม
    • จดคำถามที่อยากจะถามหมอ ซึ่งคำถามอาจ ได้แก่ [4] :
      • อาการที่ฉันเป็นอยู่น่าจะใช่โรคซึมเศร้าที่สุดแล้วใช่มั้ย?
      • การรักษาแบบไหนที่หมอจะแนะนำ?
      • ต้องทำการทดสอบอะไรบ้าง?
      • ฉันจะจัดการกับโรคซึมเศร้าและปัญหาสุขภาพอื่นๆ อย่างดีที่สุดได้อย่างไร?
      • มีการรักษาแบบแพทย์ทางเลือกอื่นๆ ที่หมอแนะนำมั้ย?
      • หมอมีเอกสารที่คนไข้สามารถเอากลับไปศึกษาที่บ้านมั้ย? หมอมีเอกสารอะไรเว็บไซด์อะไรที่แนะนำรึเปล่า?
      • มีกลุ่มบำบัดในท้องถิ่นใดที่หมอแนะคำบ้าง?
    • หมอเองก็มีคำถามจะถามคุณเช่นกัน เตรียมตัวรับคำถามเหล่านี้ได้เลย [4] :
      • คุณมีญาติที่มีอาการเหมือนๆ คุณบ้างมั้ย?
      • เมื่อไหร่ที่คุณเริ่มสังเกตเห็นอาการของตัวเอง?
      • คุณแค่รู้สึกแย่อย่างเดียวเลย หรืออารมณ์แปรปรวน?
      • เคยอยากฆ่าตัวตายบ้างมั้ย?
      • การนอนของคุณเป็นอย่างไรบ้าง?
      • กิจวัตรประจำวันถูกกระทบบ้างรึเปล่า?
      • คุณเสพยาผิดกฎหมายหรือดื่มแอลกอฮอล์รึเปล่า
      • คุณเคยถูกวินิจฉัยว่าป่วยทางจิตรึเปล่า?
  3. ขอให้เพื่อนที่คุณไว้ใจหรือคนในครอบครัวไปพบหมอเป็นเพื่อน พวกเขาสามารถช่วยจดจำเรื่องราวที่คุณต้องเล่าให้หมอฟังและช่วยจำสิ่งที่หมอเล่าให้คุณฟังด้วยเช่นกัน
  4. นอกจากการประเมินด้านจิตใจ คุณต้องเตรียมตัวเช็กสภาพร่างกายด้วย ซึ่งรวมถึง การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดความดัน [9]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากหมอของคุณจ่ายยาเพื่อแก้โรคซึมเศร้าก็ให้ทานตามปริมาณและตามเวลาที่แนะนำ อย่าหยุดใช้ยาโดยไม่ปรึกษาหมอ
    • หากคุณพยายามที่จะมีลูกหรือตั้งครรภ์อยู่ คุณต้องคุยเรื่องการใช้ยากับหมอของคุณ ยาแก้โรคซึมเศร้าบางอย่างอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงกับลูกในท้องได้ คุณและหมอต้องพูดคุยกันเพื่อคิดหาวิธีรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณและลูกน้อย [10]
  2. การบำบัดจิตหรือที่เรียกกันว่าการบำบัดด้วยการพูดคุย การให้คำปรึกษา หรือจิตสังคมบำบัด เป็นการรักษาที่สำคัญในการต่อสู้กับโรคซึมเศร้า [11] การบำบัดจิตสามารถช่วยนำความรู้สึกพึงพอใจและความสามารถในการควบคุมชีวิตกลับมาให้คุณอีกครั้งขณะที่มันช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าต่างๆ และยังช่วยให้คุณมีอาวุธที่พร้อมจะรับมือกับสิ่งที่สร้างความเครียดให้กับคุณในอนาคตได้ดีขึ้นอีกด้วย
    • ระหว่างการพูดคุยกับหมอ คุณจะได้สำรวจพฤติกรรมและความคิด ความสัมพันธ์ และประสบการณ์ของคุณ ซึ่งจะช่วยให้คุณเข้าใจโรคซึมเศร้าและการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ของตนเองได้ดีขึ้นกว่าเดิม คุณจะได้เรียนรู้วิธีจัดการและแก้ปัญหาชีวิตที่ดีกว่าเดิม และรู้จักตั้งเป้าหมายบนพื้นฐานความเป็นจริง ทั้งหมดนี้จะหล่อหลอมคุณคนใหม่ที่มีพลังความสามารถและมีความสุขมากกว่าเดิม
    • เข้ารับการบำบัดทุกครั้งแม้คุณไม่อยากจะไป การเข้ารับการบำบัดเป็นประจำสำคัญมากต่อประสิทธิภาพของการรักษา [12]
  3. ยอมรับว่าตัวคุณเองเป็นโรคซึมเศร้านั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งบอกใครสักคนว่าคุณมีปัญหานี้ยิ่งยากขึ้นไปอีก แต่มันก็สำคัญ หาเพื่อนที่คุณเชื่อใจได้ ญาติพี่น้อง หรือผู้นำทางจิตวิญญาณ คุณอาจต้องการคู่หูสักคนหรือถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นก็หาหลายๆ คนมาร่วมต่อสู้ไปกับคุณ กลุ่มช่วยเหลือของคุณสามารถช่วยให้คุณผ่านการต่อสู้กับโรคซึมเศร้าในแต่ละวันของคุณไปได้
    • ประโยชน์ที่จะได้รับจากการพูดคุยเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าของคุณไม่ได้ตกอยู่ที่คุณเพียงคนเดียว หลายๆ ครั้งที่คนที่เป็นโรคนี้ต้องทุกข์ทรมานอยู่คนเดียว คุณสามารถหยุดมันได้ด้วยการพูดถึงโรคซึมเศร้าของคุณก่อน
    • คุณสามารถเข้าร่วมกลุ่มสนับสนุนที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะโดยศูนย์สุขภาพจิตหรือกลุ่มศาสนาในชุมชน การเข้าหาผู้อื่นที่มีปัญหาเหมือนๆ กันกับคุณจะช่วยให้คุณมีความหวังและความเข้มแข็งที่จะสู้กับโรคซึมเศร้าต่อได้ [13] [14]
  4. ภาษานักบำบัดอาจเรียกกันว่า ความคิดและพฤติกรรมบำบัด และเป็นการบำบัดโรคซึมเศร้าที่ใช้กันแพร่หลายมากที่สุดวิธีหนึ่ง [15] . นี่เป็นความพยายามที่จะช่วยให้คุณระบุความคิดความเชื่อและพฤติกรรมในทางลบของคุณอย่างมีสติ และแทนที่สิ่งไม่ดีเหล่านั้นด้วยด้านบวกของสิ่งเหล่านั้นแทน ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณไม่อาจควบคุมสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้ แต่คุณควบคุมวิธีคิดของคุณต่อสถานการณ์เหล่านั้นได้เสมอ [16]
    • ความคิดบวกเริ่มจากที่คุณสามารถระบุความคิดด้านลบให้ได้ก่อน วันที่คุณรู้สึกหดหู่เป็นพิเศษ ฟังสิ่งที่คุณบอกกับตัวเอง นำความคิดด้านลบนั้นๆ ออกมาและท้าทายมัน มีหลักฐานใดที่คุณใช้หักล้างความคิดนี้มั้ย? คุณสามารถทำให้มันอยู่บนฐานของความเป็นจริงได้รึเปล่า?
    • ในการที่จะฝึกฝนให้คิดบวกได้อย่างดีที่สุด ให้คุณรับความช่วยเหลือจากผู้ให้คำปรึกษาหรือนักบำบัดผู้ซึ่งสามารถช่วยระบุสถานการณ์เลวร้ายในชีวิตของคุณและช่วยให้คุณมีพลังที่จะมองสิ่งเหล่านั้นในแง่ดีได้
  5. กิจกรรมที่ได้ออกแรงจะช่วยลดอาการซึมเศร้า ดังนั้นจงขยับตัวซะ [17] หากิจกรรมที่คุณรู้สึกสนุกมากพอที่จะทำมันเป็นประจำ (สองสามครั้งต่อสัปดาห์) เช่น:
    • เดิน
    • จ๊อกกิ้ง
    • กีฬาเล่นเป็นทีม (เทนนิส วอลเลย์บอล ฟุตบอล เป็นต้น)
    • ทำสวน
    • ว่ายน้ำ
    • ยกน้ำหนัก
  6. ฝึกทำสมาธิ โยคะ หรือไทเก๊ก สร้างสมดุลให้กับชีวิต ถ้าจำเป็นต้องลดต้องละสิ่งสำคัญบางสิ่งออกจากชีวิตบ้างก็จงทำ ให้เวลากับการดูแลตัวเองบ้าง [18]
  7. การนอนหลับอย่างเพียงพอสำคัญมากกับสุขภาพกายและใจโดยรวม การนอนไม่พอสามารถทำให้คุณหงุดหงิดและกระวนกระวาย และอาจยิ่งทำให้อาการซึมเศร้าของคุณแย่ไปกันใหญ่ ในทางกลับกัน การนอนหลับเต็มอิ่มเป็นประจำ (กล่าวคือ นอนหลับอย่างต่อเนื่องรวดเดียวเป็นเวลา 7 ถึง 9 ชั่วโมง) [20]
  8. เมื่อคุณรู้สึกหดหู่ คุณมักจะเก็บตัวอยู่คนเดียว การออกไปข้างนอกอาจเป็นสิ่งสุดท้ายที่คุณคิดจะทำแต่การที่คุณจะไม่โดดเดี่ยวตัวเองออกจากผู้คนนั้นสำคัญมาก อีกอย่างที่สำคัญก็คือคุณต้องเปลี่ยนสถานที่บ้าง พยายามออกไปข้างนอกและทำโน่นทำนี่ และอย่าขาดการติดต่อกับเพื่อนและครอบครัว
    • งานวิจัยเผยว่าการเข้าร่วมกับกลุ่มเดินป่า สามารถลดความซึมเศร้าและความเครียด รวมถึงทำให้สุขภาพจิตและสภาพความเป็นอยู่ดีขึ้น [21]
  9. การรู้เท่าทันความคิดของตนและรู้ว่าความคิดมีผลกระทบต่ออารมณ์ของคุณอย่างไรเป็นสิ่งสำคัญในการต่อสู้กับโรคซึมเศร้าอย่างมีประสิทธิภาพ คุณอาจลองจดบันทึกและจัดการกับความคิดของตนเอง [22]
    • ใช้เวลาที่คุณจดบันทึกเป็นเวลาที่คุณท้าทายความคิดด้านลบของคุณ
    • แบ่งปันสิ่งที่คุณบันทึกกับนักบำบัด
  10. การใช้แอลกอฮอล์ นิโคติน หรือยาผิดกฎหมายทั้งหลายต่างเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า [23] คนที่เป็นโรคซึมเศร้ามักหันไปพึ่งยาหรือแอลกอฮอล์เพื่อเยียวยาตนเอง แม้การใช้สารเหล่านี้จะช่วยอำพรางอาการหดหู่ไปได้ชั่วครู่ ในระยะยาวแล้วมันยิ่งจะทำให้อาการซึมเศร้าแย่ลงอีก [24] หากต้องการเลิกใช้สารเหล่านี้ ติดต่อศูนย์บำบัดใกล้บ้านคุณ
  11. ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและทานวิตามิน พื้นฐานของสุขกาพจิตที่ดีมาจากสุขภาพกายที่ดี นักวิจัยส่วนหนึ่งสรุปว่าคนที่ทานอาหารไม่ดี - อาหารแปรรูป อาหารที่ปรับแต่งขัดสี หรืออาหารน้ำตาลสูง - มีแนวโน้มสูงที่จะรู้สึกหดหู่ [25]
    • ทานอาหารที่อุดมด้วยผลไม้ ผัก ปลา เนื้อไร้มัน และโฮลเกรนให้อร่อยเพื่อสุขภาพโดยรวมที่ดีขึ้นและอารมณ์ที่จะดีขึ้นด้วย
  12. แพทย์ทางเลือกต่างเชื่อว่าความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างกายและใจเป็นสิ่งที่ต้องมีเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี เทคนิคต่างๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยให้กายใจมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงต่อกัน ได้แก่: [26]
    • การฝังเข็ม
    • โยคะ
    • นั่งสมาธิ
    • จินตภาพบำบัด
    • นวดบำบัด
    โฆษณา


เคล็ดลับ

  • หากคุณคิดอยากฆ่าตัวตายให้โทรหาใครสักคนทันที ในสหรัฐอเมริกา คุณสามารถโทรสายด่วนป้องกันการฆ่าตัวตายได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมงที่ 800-273-8255 หรือโทรเบอร์ฉุกเฉินตามท้องที่ของคุณ
โฆษณา
  1. https://hms.harvard.edu/news/study-links-pregnancy-risks-antidepressants-10-31-12
  2. http://www.takingcharge.csh.umn.edu/manage-health-conditions/anxiety-depression/what-types-psychotherapy-are-helpful-anxiety-and-depress
  3. http://www.macalester.edu/healthandwellness/counseling/depression/Treating%20Depresson%20with%20Psychotherapy.pdf
  4. https://findtreatment.samhsa.gov/locator/link-focPeer
  5. http://healthfinder.gov/FindServices/SearchContext.aspx?topic=833
  6. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2933381/
  7. http://www.nimh.nih.gov/news/science-news/2009/re-shaping-negative-thoughts-shields-at-risk-teens-from-depression.shtml
  8. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC474733/
  9. http://www.bu.edu/today/2015/managing-stress-anxiety-depression/
  10. http://www.health.harvard.edu/mind-and-mood/yoga-for-anxiety-and-depression
  11. http://healthysleep.med.harvard.edu/need-sleep/whats-in-it-for-you/mood
  12. https://medicine.umich.edu/dept/family-medicine/news/archive/201410/walking-depression-beating-stress-outdoors-nature-group-walks-linked-improved-mental-health
  13. http://www.depressiontoolkit.org/takecare/journaling.asp
  14. http://www.ndcrc.org/sites/default/files/rrcomorbidity.pdf
  15. http://www2.nami.org/content/navigationmenu/inform_yourself/about_mental_illness/by_illness/dual_diagnosis_substance_abuse_and_mental_illness.htm
  16. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/depression/expert-answers/depression-and-diet/faq-20058241
  17. http://www.adaa.org/finding-help/treatment/complementary-alternative-treatment

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,449 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา