ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าจะต้มน้ำชงเครื่องดื่มหรือจะเอาไปปรุงอาหาร ถ้าน้ำปริมาณไม่มาก บอกเลยว่าต้มในไมโครเวฟเสร็จทันใจในพริบตาเดียว ไม่ต้องใช้เตาแก๊สหรือกาไฟฟ้าให้ยุ่งยาก แต่การต้มน้ำด้วยไมโครเวฟก็ใช่จะเลิศเลอเพอร์เฟ็คต์ เพราะต้องระวังเรื่อง super-heating คือน้ำที่ทำให้ร้อนด้วยไมโครเวฟมากหรือนานเกินไป พอเอาออกมาหรือมีอะไรไปแตะโดนผิวน้ำ น้ำร้อนจะระเบิดหรือกระเด็นใส่หน้าได้ แสบร้อนอย่าบอกใคร ถึงจะไม่เกิดขึ้นเสมอไป [1] แต่ระวังตัวไว้ก็ดีกว่าแก้

  • เตรียมอุปกรณ์: 1 นาที
  • ต้มน้ำ: 1 - 3 นาที
  • รวมแล้ว: 2 - 4 นาที

เลือกภาชนะที่ใช้กับไมโครเวฟได้

จะต้มน้ำในไมโครเวฟให้ปลอดภัย ขั้นแรกต้องมีภาชนะที่เหมาะสมซะก่อน ข้างล่างคือตารางแบบเห็นแล้วเข้าใจเลย ว่าภาชนะที่มีจะเอามาใช้ได้หรือเปล่า [2]

วัสดุ ใช้กับไมโครเวฟได้ หมายเหตุ
ข้อมูลวัสดุทั่วไปที่สามารถใช้กับไมโครเวฟได้และไม่ได้
แก้ว
ได้
เซรามิก
ได้
จานกระดาษ
ได้
กระดาษไข/กระดาษรองอบ
ได้
โลหะส่วนใหญ่ (รวมถึงอลูมิเนียมฟอยล์และเครื่องเงิน)
ไม่ได้ ถ้าเอาโลหะเข้าไมโครเวฟ จะเกิดประกายไฟ ทำให้ไมโครเวฟพังหรือถึงขั้นไฟไหม้ได้เลย [3]
ถุงกระดาษสีน้ำตาล
ไม่ได้ ติดไฟและปล่อยควันพิษในไมโครเวฟได้ [4]
ภาชนะที่มีการซีลหรือปิดสนิท
ไม่ได้ ไอร้อนจะสะสมจนระเบิดได้
ภาชนะแบบใช้แล้วทิ้ง (เช่น ถ้วยโยเกิร์ต กล่องมาการีน และอื่นๆ)
ไม่ได้ ไหม้ ละลาย หรือปล่อยควันพิษได้
พลาสติก (แรปห่อ ภาชนะแบบทัปเปอร์แวร์ และอื่นๆ)
ไม่แน่ สารเคมีอันตรายในพลาสติกอาจปะปนกับอาหารได้ แต่ถ้าเป็นภาชนะพลาสติกที่อย. รับรองว่า "ใช้กับไมโครเวฟได้" ก็โอเค
ภาชนะโฟม
ไม่แน่ ลักษณะเดียวกับพลาสติก คือใช้ได้เฉพาะภาชนะโฟมที่เขียนว่า "microwave safe" หรือใช้กับไมโครเวฟได้
ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ต้มน้ำยังไงให้ปลอดภัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ต้มน้ำด้วยไมโครเวฟนั้นสะดวกง่ายดาย เริ่มจากรินน้ำใส่ภาชนะที่ทำจากวัสดุที่เอาเข้าไมโครเวฟได้ ตามข้อมูลในตารางด้านบน
    • ภาชนะต้องไม่ปิดสนิทหรือถูกซีลไว้ เพราะไอร้อนจะสะสมภายในจนระเบิดออกมาได้
  2. Watermark wikiHow to ต้มน้ำด้วยไมโครเวฟ
    ให้เอาอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่โลหะ เช่น ช้อนไม้ ตะเกียบ หรือไม้ไอศครีม ใส่ไปในน้ำ เพื่อป้องกันปฏิกิริยาอันตรายอย่าง "super-heating" เพราะมีอะไรให้ฟองอากาศได้ไปเกาะ
    • super-heating เกิดเมื่อน้ำในไมโครเวฟร้อนเกินจุดเดือด แต่ฟองอากาศผุดขึ้นมาไม่ได้ เพราะไม่มี nucleation sites (พื้นผิวขรุขระให้ฟองอากาศได้ยึดเกาะ) พอมีอะไรไปกระเทือนผิวน้ำ หรืออยู่ๆ เกิดมี nucleation site ขึ้นมา น้ำที่ร้อนจัดถึงขั้น superheat ก็จะปล่อยไอร้อนทันที เหมือนระเบิดน้ำเดือดย่อมๆ [5]
    • ถ้าไม่ได้ใส่อะไรที่ไม่ใช่โลหะลงไป ก็ต้องใช้ภาชนะที่มีรอยขีดข่วนหรือรอยบิ่นด้านใน จะได้กลายเป็น nucleation site ให้น้ำได้เดือดปุดๆ มีฟองผุด
  3. Watermark wikiHow to ต้มน้ำด้วยไมโครเวฟ
    ต้มน้ำเป็นรอบสั้นๆ (เช่น ครั้งละไม่เกิน 1 1/2 นาที) และหมั่นคนจนน้ำระเหยเป็นไอร้อน แต่ถึงจะทำตามขั้นตอนที่ว่า ก็อาจจะฟองไม่เยอะเหมือนต้มน้ำแบบตั้งเตา วิธีเช็คง่ายสุดว่าน้ำเดือดแล้ว ก็คือใช้เทอร์โมมิเตอร์ ถ้าต้มน้ำที่ระดับน้ำทะเล น้ำจะเดือดที่อุณหภูมิ 100°C (212°F) ยิ่งสูงกว่าน้ำทะเลมากเท่าไหร่ จุดเดือดก็ยิ่งต่ำลง
    • ถ้าใช้ภาชนะที่เก็บความร้อนดีเป็นพิเศษ (เช่น แก้วหรือเซรามิก) เวลาเอาน้ำออกจากไมโครเวฟมาคนต้องระวังมากๆ ให้ใช้ผ้าขนหนูหรือถุงมือจับของร้อน จะได้ไม่ร้อนลวกมือ
  4. Watermark wikiHow to ต้มน้ำด้วยไมโครเวฟ
    ถ้าจะต้มน้ำเพื่อฆ่าเชื้อ ต้องต้มในไมโครเวฟนานพอที่จะฆ่าจุลินทรีย์ได้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค กับสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ แนะนำว่าให้ต้มน้ำอย่างน้อย 1 นาที หรือ 3 นาทีถ้าอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเกิน 6,562 ฟุต (เกิน 2,000 เมตร) [6]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ป้องกัน Superheating (เคล็ดลับเพิ่มเติม)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าอ่านบทความมาถึงตรงนี้ แล้วกลัวเกิด superheating ตอนต้มน้ำด้วยไมโครเวฟ ก็พอมีทางป้องกัน วิธีที่ง่ายที่สุดคือ อย่าต้มน้ำในไมโครเวฟรวดเดียวนานๆ ให้เวฟครั้งละสั้นๆ หลายๆ ครั้ง แบบนี้จะไม่เลยจุดเดือด ไม่ต้องกลัว superheat
    • จะต้มครั้งละกี่นาทีแบบไม่ให้ร้อนจัด ก็ต้องขึ้นอยู่กับกำลังไฟของไมโครเวฟด้วย ถ้าจะให้ปลอดภัยสุด ก็คือครั้งแรกเอาน้ำเข้าไมโครเวฟไม่เกิน 1 นาที แล้วเช็คดูว่าน้ำร้อนขนาดไหน จากนั้นค่อยเพิ่มลดในครั้งต่อไป
  2. อย่างที่บอกว่าควรใส่อะไรที่ไม่ใช่โลหะลงไปในน้ำ และใช้ภาชนะที่พื้นผิวขรุขระหน่อย ห้ามใช้ภาชนะที่ผิวเรียบเนียน เช่น พวกเครื่องแก้วใหม่ใสกิ๊ง หรือชามเซรามิก ยังไม่รวมวัสดุอื่นที่เรียบลื่นจนอันตรายถ้าเอาเข้าไมโครเวฟนานๆ
    • ให้ใช้ภาชนะเก่า ผิวขรุขระหน่อย หรือที่มีรอยขีดข่วนแบบเห็นเด่นชัดที่ด้านล่าง จะได้มี nucleation site ให้ฟองอากาศก่อตัว
  3. Watermark wikiHow to ต้มน้ำด้วยไมโครเวฟ
    พอรู้สึกว่าต้มน้ำในไมโครเวฟนานพอแล้ว ให้ลองเช็ค superheating โดยเคาะแรงๆ ที่ข้างภาชนะ แล้วค่อยเอาออกจากไมโครเวฟ จะปลอดภัยกว่าถ้าใช้อะไรที่มี ด้ามจับยาวๆ จะได้ไม่กระเด็นลวกมือ
    • ถ้าน้ำเกิด superheat ขึ้นมาจริงๆ พอไปเคาะภาชนะ น้ำร้อนก็อาจจะ "ระเบิด" ขึ้นมา จนน้ำกระฉอกใส่ไมโครเวฟ แต่อย่างน้อยก็ช่วยกันให้มือไม่โดนลวกได้
  4. Watermark wikiHow to ต้มน้ำด้วยไมโครเวฟ
    หาอะไรแท่งหรือด้ามยาวๆ มาคนน้ำร้อนตั้งแต่อยู่ในไมโครเวฟ. ถ้ายังไม่แน่ใจว่าน้ำ superheat หรือเปล่า ให้หาแท่งอะไรที่มีด้ามยาวๆ มาเช็คให้ชัวร์ พอจุ่มวัตถุนั้นแหวกผิวน้ำ ก็จะมี nucleation site ให้ฟองอากาศเกาะ ถ้า superheat จริงๆ น้ำจะระเบิดหรือล้นออกมา แต่ถ้าทุกอย่างปกติดี ก็สบายใจได้! น้ำร้อนพร้อมใช้แล้ว
  5. อย่ายื่นหน้าไปใกล้ไมโครเวฟหรือภาชนะ จนกว่าจะแน่ใจว่าปลอดภัยดี. จริงๆ ทุกคนก็รู้อยู่ แต่เตือนกันอีกทีว่า ห้ามยื่นหน้าไปใกล้ๆ ตอนเช็คความร้อนของน้ำที่อาจ superheat เด็ดขาด ส่วนใหญ่ที่คนบาดเจ็บจาก superheat ก็เพราะเอาน้ำออกจากไมโครเวฟแล้วยื่นหน้าไปดูใกล้ๆ นี่แหละ บอกเลยว่าน้ำที่ superheat จะลวกหน้ารุนแรง บางทีก็เป็นแผลหรือส่งผลถาวรต่อการมองเห็นได้เลย
    โฆษณา

คำเตือน

  • แก้วน้ำที่ไม่ได้ใส่อะไรที่ไม่ใช่โลหะลงไป เช่น ตะเกียบ เสี่ยงมากที่จะเกิด superheating เพราะฟองอากาศไม่มีที่เกาะ การใส่อะไรเข้าไปในน้ำจึงเป็นขั้นตอนเล็กๆ ที่สำคัญมากเลย
  • ห้ามเอาภาชนะที่ซีลปิดมิดชิดไปอุ่นในไมโครเวฟ เพราะไอร้อนจะดันให้ภาชนะเปิดจนระเบิดออก รับรองเละเทะน่าดูชม!
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 42,600 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา