ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การต้มอกไก่เป็นวิธีง่ายๆ ในการเพิ่มโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพให้กับมื้ออาหาร คุณจะต้มอกไก่กับน้ำเปล่าหรือปรุงรสน้ำที่ต้มเพื่อเพิ่มรสชาติก็ได้ หัวใจสำคัญคือคุณต้องต้มอกไก่ให้นานพอที่เนื้อไก่จะสุกทั่วทั้งชิ้นและด้านในไม่เป็นสีชมพู และเมื่อไก่สุกแล้วคุณจะเสิร์ฟไก่ทั้งชิ้น หั่นเป็นชิ้น หรือใช้มือฉีกก็ได้

ส่วนประกอบ

  • อกไก่
  • น้ำเปล่า
  • น้ำสต๊อกผักหรือน้ำสต๊อกไก่ (ตามชอบ)
  • หอมหัวใหญ่ แคร์รอต และเซเลอรีหั่น (ตามชอบ)
  • สมุนไพร (ตามชอบ)
  • เกลือและพริกไทย
ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ใส่ไก่ลงในหม้อ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอาจจะถูกสอนมาว่าให้ล้างเนื้อไก่ก่อนนำไปทำอาหาร แต่จริงๆ แล้วการทำเช่นนี้เป็นการแพร่เชื้อโรคและแบคทีเรียที่เป็นอันตรายให้กระจายไปทั่วครัว เพราะขณะที่คุณล้างเนื้อไก่ หยดน้ำก็จะกระจายตัว ทำให้แบคทีเรียกระเด็นไปทั่วอ่างล้างจาน เคาน์เตอร์ครัว แขน และเสื้อผ้า เพราะฉะนั้นอย่าล้างเนื้อไก่จะดีที่สุดเพื่อไม่ให้เสี่ยงที่จะเกิดอาหารเป็นพิษ [1]
    • เนื้อไก่มีแบคทีเรียที่เป็นอันตราย เช่น เชื้อซัลโมเนลลา แค่ได้รับเชื้อโรคเพียงนิดเดียวคุณก็ป่วยได้แล้ว เพราะฉะนั้นอย่าเสี่ยงดีกว่า
  2. Watermark wikiHow to ต้มอกไก่
    หั่นเนื้อไก่ออกครึ่งหนึ่ง สี่ส่วน หรือหั่นเต๋าเพื่อให้สุกเร็วขึ้น. คุณจะข้ามขั้นตอนนี้ไปก็ได้ แต่ว่ามันจะลดเวลาในการทำอาหารได้มากเลยทีเดียว ใช้มีดคมหั่นอกไก่เป็นชิ้นเล็กลง จะหั่นให้เล็กแค่ไหนก็ได้แล้วแต่ว่าคุณจะทำเมนูอะไร [2]
    • ถ้าคุณจะฉีกเนื้อไก่ ก็อย่าหั่นชิ้นเล็กเกินไป ไม่อย่างนั้นตอนฉีกไก่อาจจะใช้เวลานาน แต่ถ้าคุณจะต้มไก่เพื่อใส่ในสลัดหรือแร็ป การหั่นเป็นชิ้นเล็กมากๆ ก็จะช่วยประหยัดเวลาได้
    • ใช้เขียงสำหรับหั่นเนื้อสัตว์โดยเฉพาะเพื่อจำกัดความเสี่ยงที่จะปนเปื้อนอาหารอื่นๆ แบคทีเรีย เช่น เชื้อซัลโมเนลลาสามารถติดอยู่บนเขียงได้แม้ว่าจะล้างแล้วก็ตาม แล้วถ้าคุณหั่นผักบนเขียงอันเดิมต่อ ผักก็อาจจะมีเชื้อซัลโมเนลลาปนเปื้อนอยู่ได้
    • อกไก่ทั้งชิ้นใช้เวลาต้มให้สุกไม่เกิน 30 นาที ในขณะที่เนื้อไก่ชิ้นเล็กอาจจะใช้เวลาแค่เพียง 10 นาทีเท่านั้น
  3. นำเนื้อไก่ใส่ลงในหม้อก่อน จากนั้นค่อยเติมน้ำหรือน้ำสต๊อกลงไป เรียงเนื้อไก่ตรงก้นหม้อเป็นชั้นเดียว [3]
    • ถ้าคุณต้องเรียงเนื้อไก่ซ้อนกันเพื่อให้พอดีหม้อ คุณควรเปลี่ยนไปใช้หม้อใบใหญ่ขึ้นจะดีกว่า ไม่อย่างนั้นเนื้อไก่อาจจะสุกไม่พอดีกัน
  4. Watermark wikiHow to ต้มอกไก่
    ค่อยๆ เติมน้ำหรือน้ำสต๊อกลงไปให้ท่วมเนื้อไก่ ระวังอย่าให้น้ำกระเด็น เติมน้ำให้พอท่วมเนื้อไก่ [4]
    • ถ้าน้ำระเหยไปหมด คุณก็สามารถเติมน้ำเพิ่มได้เท่าที่จำเป็น
    • จำไว้ว่าหากน้ำกระเด็นก็สามารถแพร่เชื้อโรคอย่างเชื้อซัลโมเนลลาได้
    • คุณจะใช้น้ำสต๊อกไก่หรือน้ำสต๊อกผักก็ได้
  5. Watermark wikiHow to ต้มอกไก่
    ปรุงรสด้วยเครื่องเทศ สมุนไพร หรือผักหั่นตามชอบ. คุณจะเติมหรือไม่เติมเครื่องปรุงลงไปก็ได้ แต่การเติมเครื่องปรุงลงไปก็ช่วยทำให้เนื้อไก่อร่อยขึ้น อย่างน้อยก็ควรใส่เกลือและพริกไทยลงในน้ำเพื่อปรุงรสเล็กน้อย แต่ถ้าจะให้อร่อยที่สุดก็ควรใส่สมุนไพรแห้ง เช่น เครื่องปรุงรสแบบอิตาเลียน เครื่องปรุงรสแบบจาเมกา หรือโรสแมรี และถ้าจะให้เนื้อไก่มีรสชาติเข้มข้นก็ต้องหั่นหอมหัวใหญ่ แคร์รอต และเซเลอรีใส่ลงไปในน้ำด้วย [5]
    • หลังจากต้มไก่แล้วคุณสามารถเก็บน้ำหรือน้ำสต๊อกไว้ใช้ทำอย่างอื่นได้อีกตามสบาย เช่น อาจจะนำไปใช้เป็นน้ำสต๊อกสำหรับทำซุปแสนอร่อย
    • ถ้ามีผักโผล่ขึ้นมาจากน้ำ ให้เติมน้ำเพิ่มเพื่อให้น้ำท่วมทั้งผักและไก่
  6. เลือกฝาที่ปิดหม้อได้สนิท วิธีนี้จะกักเก็บไอน้ำที่ระเหยออกมาจากหม้อเพื่อช่วยให้เนื้อไก่สุก [6]
    • เวลาที่เปิดฝาหม้อให้ใช้ผ้าขนหนูหรือถุงมือจับของร้อนเพื่อไม่ให้ลวกมือ และอย่าเอาหน้าไปอังเหนือหม้อเพราะไอน้ำอาจจะทำให้แสบหน้า
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ต้มไก่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตั้งหม้อไว้บนเตาและเปิดไฟปานกลาง-แรง รอจนกว่าหม้อจะเริ่มร้อน ซึ่งอาจใช้เวลาสัก 2-3 นาที สังเกตฟองบนผิวน้ำและน้ำที่ควบแน่นอยู่บนฝาหม้อ ซึ่งแปลว่าน้ำกำลังเดือด [7]
    • อย่าให้น้ำหรือน้ำสต๊อกเดือดนานเกินไปเพราะของเหลวข้างในจะระเหยออกหมดได้ ยืนเฝ้าหม้อเพื่อที่คุณจะได้ลดไฟลงได้ทันทีที่น้ำเริ่มเดือด
  2. Watermark wikiHow to ต้มอกไก่
    เนื้อไก่ยังคงสุกต่อไปได้ในน้ำเดือดกรุ่นๆ ลดไฟลง จากนั้นคอยดูสักครู่เพื่อให้แน่ใจว่าน้ำหรือน้ำสต๊อกเริ่มเดือดนิดๆ [8]
    • อย่าปล่อยหม้อทิ้งไว้ขณะที่ปล่อยให้น้ำเดือดกรุ่นๆ เพราะคุณอาจจะเผลอปล่อยให้น้ำเริ่มเดือดอีกครั้งหรือน้ำระเหยออกไปได้
  3. หลังจากต้มไปแล้ว 10 นาทีให้ใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิชิ้นเนื้อ. เปิดฝาหม้อออก จากนั้นตักเนื้อไก่ออกมา 1 ชิ้นจากด้านข้างของหม้อ เสียบเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิชิ้นเนื้อลงไปตรงกลางเนื้อไก่แล้วอ่านค่า ถ้าไม่ถึง 74 องศาเซลเซียสให้ใส่เนื้อไก่กลับลงไปในหม้อเหมือนเดิม ปิดฝา และต้มต่อไป [9]
    • ถ้าคุณไม่มีเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิเนื้อ ให้ตัดเนื้อไก่ออกครึ่งหนึ่งเพื่อดูว่าข้างในยังเป็นสีชมพูอยู่หรือไม่ แม้ว่ามันอาจจะไม่ได้แม่นยำเท่ากับเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิเนื้อ แต่มันก็ช่วยให้คุณรู้ว่าเนื้อไก่น่าจะสุกแล้วหรือยัง
    • มาถึงตรงนี้ถ้าเป็นเนื้อไก่ชิ้นใหญ่ก็คงจะยังไม่สุก แต่ถ้าหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ หรือหั่นสี่ส่วนก็อาจจะสุกแล้ว
    • ถ้าไก่สุกมากเกินไปเนื้อสัมผัสจะคล้ายยางและเคี้ยวไม่อร่อย เพราะฉะนั้นให้เช็กดูก่อนว่าไก่สุกหรือยังแม้ว่าคุณจะคิดว่ามันยังไม่น่าจะสุกก็ตาม
  4. ต้มต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าอุณหภูมิภายในของเนื้อไก่จะถึง 74 องศาเซลเซียส. ถ้าต้มไปแล้ว 10 นาทีไก่ยังไม่สุก ให้ต้มต่อไปเรื่อยๆ เช็กทุก 5-10 นาทีว่าไก่สุกหรือยัง ระยะเวลาต้มไก่จะขึ้นอยู่กับขนาดของเนื้อไก่: [10]
    • อกไก่ติดหนังและกระดูกน่าจะใช้เวลาต้มประมาณ 30 นาที
    • อกไก่ลอกหนังไม่ติดกระดูกน่าจะใช้เวลา 20-25 นาที แต่ถ้าหั่นครึ่งก็น่าจะใช้เวลา 15-20 นาที
    • อกไก่ลอกหนังไม่ติดกระดูกที่หั่นเป็นชิ้นหนา 2 นิ้วน่าจะใช้เวลาต้มประมาณ 10 นาที
    • ถ้าเนื้อไก่สุกทั่วแล้ว ด้านในจะไม่เป็นสีชมพู
  5. ปิดไฟ จากนั้นใช้ผ้าขนหนูหรือถุงมือจับของร้อนจับหูหม้อเพื่อที่จะได้ไม่ลวกมือตัวเอง ย้ายหม้อไปวางตรงเตาที่ไม่ได้ตั้งไฟหรือตะแกรงพักหม้อ [11]
    • ระมัดระวังเวลายกเตาร้อนๆ เพราะมันอาจจะลวกตัวคุณได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

จัดเสิร์ฟหรือฉีกเนื้อไก่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ค่อยๆ เทน้ำหรือน้ำสต๊อกในหม้อลงบนกระชอน ระวังอย่าให้กระเด็น เนื้อไก่และผักที่คุณใส่เพื่อเพิ่มรสชาติจะรวมกันอยู่ในกระชอนเพื่อให้คุณนำไปจัดเสิร์ฟได้ง่ายขึ้น วางกระชอนลงบนเคาน์เตอร์ครัวที่สะอาด จากนั้นก็ทิ้งน้ำต้มไปหรือจะเก็บไว้ก็ได้ [12]
    • ถ้าคุณกะจะเก็บน้ำต้มไว้ใช้ทำอาหารครั้งต่อไป ให้กรองใส่ชามสะอาดไว้ แล้วก็นำไปแช่ตู้เย็นหรือช่องแช่แข็ง
    • ถ้าคุณใช้ผักปรุงรสน้ำต้ม ให้นำไปทิ้งในกองปุ๋ยหมักหรือถังขยะ
    • หรือคุณจะใช้ส้อม ทัพพีโปร่ง หรือที่คีบตักเนื้อไก่ขึ้นมาจากหม้อก็ได้
  2. Watermark wikiHow to ต้มอกไก่
    ใช้ส้อมจิ้มเนื้อไก่ในกระชอนมาใส่ไว้ในจาน ระวังอย่าให้มือโดนเนื้อไก่เพราะมันร้อนมาก [13]
    • คุณสามารถนำเนื้อไก่กลับไปใส่ไว้ในหม้อเปล่าใบเดิมได้ตามชอบ เช่น คุณอาจจะฉีกเนื้อไก่ในหม้อหากคุณตั้งใจจะเติมซอสลงไป ซึ่งคุณก็จะได้อุ่นซอสในหม้อใบเดียวกับที่คุณใช้ต้มไก่
  3. วิธีนี้จะทำให้เนื้อไก่เย็นลงก่อนที่คุณจะนำไปทำอะไรต่อ ตั้งเวลาและระหว่างนี้ก็วางเนื้อไก่พักไว้ หลังจากนั้นคุณก็สามารถจัดเสิร์ฟหรือนำไปฉีกก่อนก็ได้ [14]
    • ถ้าคุณกะจะเติมซอสลงในเนื้อไก่ คุณจะใส่ซอสลงไปตอนนี้เลยก็ได้ตราบใดที่มือคุณไม่โดนเนื้อไก่ แต่อย่าอุ่นน้ำซอสจนกว่าไก่จะเริ่มเย็นแล้ว 10 นาที วิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เนื้อไก่สุกเกินไปจนมีเนื้อสัมผัสคล้ายยาง
  4. หลังจากที่เนื้อไก่เย็นแล้ว คุณจะเสิร์ฟอย่างไรก็ได้ คุณจะรับประทานอกไก่ทั้งชิ้นหรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ก็ได้ [15]
    • คุณสามารถปรุงรสเนื้อไก่เพิ่มด้วยเครื่องเทศหรือซอสก็ได้ เช่น คุณอาจจะเคลือบเนื้อไก่ด้วยซอสบาร์บีคิวหรือผสมกับซัลซามะม่วงก็ได้
    • คุณอาจจะเติมเนื้อไก่ต้มในสลัด ผัดผัก หรือฟาจิตาก็ได้
  5. Watermark wikiHow to ต้มอกไก่
    ใช้ส้อม 2 คันฉีกเนื้อไก่หากคุณจะทำทาโกหรือแซนด์วิช. ถือส้อมไว้ในมือทั้งสองข้าง จากนั้นใช้ส้อมดึงเนื้อไก่ออกจากกัน ฉีกและดึงเนื้อไก่ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ขนาดตามที่คุณต้องการ จากนั้นก็นำไปทำอาหารต่อ [16]
    • คุณจะใช้มีดฉีกเนื้อไก่ก็ได้แล้วแต่ถนัด
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าเป็นเนื้อไก่แช่แข็ง คุณควรละลายเนื้อไก่ในตู้เย็น 9 ชั่วโมงก่อนนำไปทำอาหารจะดีที่สุด หรือจะใช้โหมดละลายของแช่แข็งในไมโครเวฟก็ได้ [17]
  • ไก่ที่ต้มในน้ำเปล่าอย่างเดียวอาจจะจืดชืด คุณอาจจะเติมผักหรือน้ำสต๊อกลงไปในหม้อ และเติมซอสหรือเครื่องเทศต่างๆ ลงไปเพื่อปรุงรส
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าลืมล้างมือก่อนและหลังสัมผัสเนื้อไก่เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อซัลโมเนลลาแพร่กระจาย ล้างหรือฆ่าเชื้อมีด ส้อม จาน และเคาน์เตอร์ครัวที่สัมผัสเนื้อไก่ดิบ
  • เนื้อไก่สามารถเก็บในตู้เย็นได้อย่างปลอดภัยไม่เกิน 2 วัน ถ้าคุณไม่ได้กะจะรับประทานเนื้อไก่ภายใน 2 วัน ให้เก็บไว้ในช่องแช่แข็ง [18]
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • หม้อ
  • น้ำ
  • น้ำสต๊อก (ตามชอบ)
  • เขียง
  • ไก่
  • เครื่องเทศ (ตามชอบ)
  • ผักหั่น (ตามชอบ)

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 56,808 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา