ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
เดี๋ยวนี้การถ่ายโอนข้อมูลระหว่างแล็ปท็อปไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป มีหลายวิธีใช้ย้ายไฟล์จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องได้แบบรวดเร็วทันใจ แต่ควรใช้วิธีไหนก็แล้วแต่จำนวนและขนาดไฟล์ รวมถึงประเภทแล็ปท็อป และความเชี่ยวชาญด้านไอทีของคุณ
ขั้นตอน
-
คอมทั้ง 2 เครื่องต้องต่อเน็ตเครือข่ายเดียวกัน. Server Message Block (SMB) เป็น protocol (ชุดกฎ) สำหรับถ่ายโอนไฟล์ระหว่างคอมผ่านเน็ต โดยแล็ปท็อปที่ใช้จะเป็น PC หรือ Mac ก็ได้ (หรือ 2 ระบบรวมกัน) ถือเป็นวิธีที่ง่ายและเร็วที่สุด ถ้าอยากถ่ายโอนไฟล์ขนาดใหญ่ระหว่างแล็ปท็อป
- ถ่ายโอนข้อมูลผ่านเน็ตที่เข้ารหัสเท่านั้น ห้ามใช้เน็ตสาธารณะ (public network)
- อย่าลืมเข้ารหัสโปรไฟล์ผู้ใช้ในคอมทั้ง 2 เครื่องเพื่อความปลอดภัยยิ่งขึ้น
- server laptop คือเครื่องต้นทางที่มีไฟล์ ส่วน client laptop คือเครื่องปลายทางที่จะถ่ายโอนไฟล์ไป
-
ตั้งค่า server laptop. server computer ก็คือเครื่องต้นทางที่มีไฟล์ที่จะถ่ายโอน คุณต้องตั้งค่า network settings ก่อน โดยตั้งชื่อ workgroup ซึ่ง workgroup นี้ให้นึกภาพง่ายๆ ว่าเป็นเหมือน "ห้องประชุม" ให้คอม 2 เครื่องมาเชื่อมต่อกัน คุณจะตั้งชื่อ workgroup ว่าอะไรก็ได้
- ถ้าใช้ Windows ให้ตั้งชื่อ workgroup ใน "computer domain and workgroup settings" พอตกลงใช้ค่าใหม่แล้วคอมจะรีสตาร์ท
- ถ้าใช้ Mac ให้ตั้งชื่อ workgroup ใน System Preferences->Network->Advanced->WINS เสร็จแล้ว apply change หรือตกลงใช้ค่าใหม่ได้เลย [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ไม่ว่าจะใช้ระบบไหน ให้จำ "ชื่อ" ของ server computer ไว้ด้วย
-
สลับไปที่ client laptop. ตั้งค่า network workgroup ตามขั้นตอนเดียวกับที่ทำใน client computer อย่าลืมใช้ชื่อ workgroup เดียวกับที่ตั้งไปใน server computer [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ไปที่ไฟล์แล้วเริ่มถ่ายโอน. ถึงเวลาย้ายไฟล์ ให้หา "ชื่อ" server laptop เจอแล้วก็คลิกเพื่อเข้าโฟลเดอร์ที่ใช้งานร่วมกันในแล็ปท็อปนั้น
- ถ้าใช้ Windows ให้เปิดโปรแกรม "Network" ไม่กี่วินาทีจะเห็นคอมทุกเครื่องใน shared network workgroup รวมถึง server laptop ที่เพิ่งตั้งค่าไปด้วย
- ถ้าใช้ Mac คอมทุกเครื่องใน shared network workgroup จะโผล่มาในหน้าต่าง Finder
โฆษณา
-
ตั้งค่า FTP server. FTP (File Transfer Protocol) เป็นอีกวิธีใช้ถ่ายโอนไฟล์ระหว่างคอมผ่านเน็ตได้สะดวก ขั้นแรกต้องตั้งค่า server computer หรือเครื่องต้นทางที่มีไฟล์ที่จะถ่ายโอนซะก่อน ถึงจะเข้าถึงไฟล์ได้ FTP นั้นเหมาะมากสำหรับคนที่ต้องถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเครื่องเป็นประจำ
- ถ้าใช้ Mac ให้ไปที่ System Preferences->Sharing->Services แล้วติ๊ก "FTP Access" ต่อมาคลิก "Start" แล้วรอจนค่าใหม่มีผล ซึ่ง path นี้อาจแตกต่างกันไปบ้างตามเวอร์ชั่น OSX ที่ใช้
- ถ้าใช้ Windows ให้ไปที่ Control Panel->Programs->Programs and Features->Turn Windows features on or off ต่อมาคลิกเครื่องหมาย + ข้าง "Internet Information Services" (IIS) แล้วติ๊ก "FTP Server" สุดท้ายคลิก "OK"
-
ติดตั้ง FTP client ใน client computer. เป็นโปรแกรมสำหรับเข้าใช้งาน FTP servers ได้ง่ายๆ แค่มี server address หรือ IP address โปรแกรมที่คนนิยมใช้กันก็เช่น FileZilla, WinSCP, Cyberduck และ WebDrive [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ไปที่ไฟล์ใน FTP server โดยเข้าผ่านโปรแกรม. ตอนนี้ที่ต้องทำคือล็อกอินเข้า FTP server จากใน client computer แล้วไปที่ไฟล์ จะได้ถ่ายโอนไฟล์แบบปลอดภัยแต่เร็วทันใจ
- ถ้าใช้ Mac ให้ไปที่ Finder->Go->Connect to Server จะมีให้ใส่ server หรือ IP address ของ server computer เสร็จแล้วคลิก "Connect"
- ถ้าใช้ Windows ให้เปิดเบราว์เซอร์ แล้วพิมพ์ IP address ของ server computer ในแถบ address ได้เลย จากนั้นไปที่ File->Login As ตามด้วยใส่ username และรหัสผ่านเพื่อล็อกอิน
- ถ้าหา IP address ของ server computer ไม่เจอ ให้อ่านวิธีจากในบทความวิธีการ หา IP Address เครื่อง Mac ของคุณ ส่วนของ PC ให้ลองศึกษาเพิ่มเติมในเน็ตดู
- สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีถ่ายโอนไฟล์แบบ FTP ให้ลองหาอ่านเพิ่มเติมในเน็ตเช่นกัน
โฆษณา
-
หาอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ใช้กับแล็ปท็อปนั้นได้. เพราะบาง external hard drive หรือ USB flash drive จะถูกกำหนดหรือฟอร์แมตมาให้ใช้ได้กับบางระบบปฏิบัติการเท่านั้น (OSX หรือ Windows) อันนี้แล้วแต่ว่าคุณใช้ระบบไหน บางทีก็ต้องฟอร์แมตอุปกรณ์นั้นให้เป็นแบบที่ใช้ได้กับทุกระบบ (FAT32) ซะก่อน ถึงจะเริ่มถ่ายโอนข้อมูลได้ วิธีถ่ายโอนข้อมูลด้วย storage device นี้เป็นหนึ่งในวิธีที่ช้าไม่ทันใจที่สุด แต่เหมาะกับคนที่ไม่ค่อยถนัดด้านเทคโนโลยี เพราะง่ายอย่าบอกใคร
- ถ้าเสียบ storage device แล้วคอมสแกนเจอ เข้าถึงไฟล์ได้จากคอมทั้ง 2 เครื่อง ก็ทำขั้นตอนต่อไปได้เลย
- ถ้าต้องฟอร์แมตอุปกรณ์ใหม่ก่อน ให้ศึกษาวิธีเพิ่มเติมได้ในบทความวิธีการ ฟอร์แมตไดรฟ์เป็น FAT32 ของเรา
- ข้อเสียของวิธีนี้คือ "ช้า" เพราะการถ่ายโอนไฟล์ใหญ่ๆ เยอะๆ ผ่าน storage device ค่อนข้างเสียเวลา
-
เสียบ storage device กับ server computer. เช็คก่อนว่ามีพื้นที่เก็บข้อมูลใน storage device มากพอสำหรับใส่ทุกไฟล์ที่จะถ่ายโอน แล้วค่อยลงมือ จุดสำคัญคือควรรู้ล่วงหน้าไว้ก่อน ว่าต้องมีพื้นที่เก็บข้อมูลทั้งหมดเท่าไหร่ในการนี้
-
ย้ายไฟล์เข้า storage device. เป็นขั้นตอนเดียวกับเวลาจัดการไฟล์ในคอม คือลากไฟล์ไปหย่อนใส่ storage device แล้วรอจนถ่ายโอนเสร็จสิ้น
-
ถอด (eject) ไดรฟ์หรืออุปกรณ์นั้น แล้วเอาไปเสียบกับ client laptop. ให้คลิก disconnect ก่อนแล้วค่อยถอด ไฟล์จะได้ไม่เสียหาย จากนั้นก็เชื่อมต่อแล้วลากไฟล์ไปหย่อนใส่หน้า desktop หรือตำแหน่งอื่นๆ ของ client laptop ได้ตามใจชอบโฆษณา
-
เลือกเว็บที่ให้บริการ cloud storage (เก็บข้อมูลในระบบคลาวด์). เว็บอย่าง Dropbox, Google Drive และอื่นๆ มีบริการ cloud storage ไว้เก็บไฟล์สำคัญ และเป็นช่องทางสำหรับถ่ายโอนไฟล์ระหว่างเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนอื่นให้สมัครใช้งานเว็บที่สนใจ (ปกติสมัครฟรีก็มีพื้นที่เก็บข้อมูลให้แล้ว แต่จะน้อยกว่าสมาชิกแบบเสียเงิน) [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ข้อเสียของวิธีนี้ก็คือพื้นที่จัดเก็บข้อมูล (storage space) เวลาที่ใช้ในการอัพโหลด และบางเว็บต้องให้คุณเสียค่าบริการ แต่ถ้าคุณต้องถ่ายโอนไฟล์ขนาดเล็กเป็นประจำ น่าจะเหมาะกับคุณ
-
ถ่ายโอนไฟล์ไปยังเว็บ cloud. อันนี้แล้วแต่เว็บ บางเว็บก็ทำง่าย แค่ลากไฟล์ไปหย่อนใส่เบราว์เซอร์ แต่บางเว็บก็ขั้นตอนเยอะแยะยุ่งยากหน่อย หลังจากนั้นให้รอจนอัพโหลดไฟล์เสร็จ
-
เข้าเว็บ cloud นั้นจาก client computer. ดาวน์โหลดไฟล์ที่ต้องการลงแล็ปท็อปได้เลย เท่านี้ก็เรียบร้อย!
- เว็บ cloud ส่วนใหญ่มีบริการรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติมด้วย เช่น backup ไฟล์เป็นระยะ และเข้าไปใช้งานหรือแก้ไขไฟล์ร่วมกันได้ ยังไงให้เลือกเว็บแล้วศึกษาฟีเจอร์ต่างๆ ให้ละเอียดก่อนจะดีที่สุด!
โฆษณา
-
เช็คก่อนว่าใช้กับคอมคุณได้ไหม. แล็ปท็อปทั้ง 2 เครื่องต้องมีพอร์ท firewire ส่วนคุณก็ต้องมีสาย firewire ที่ใช้เชื่อมต่อได้
- วิธีนี้เหมาะกับการถ่ายโอนข้อมูลระหว่าง 2 เครื่องที่ใช้ระบบเดียวกัน (เป็น Mac หรือ PC ทั้งคู่) ถ้าจะถ่ายโอนข้อมูลข้ามระบบ คงต้องใช้วิธีอื่นแทน
-
เสียบปลายสาย firewire ทั้ง 2 ข้างให้เรียบร้อย. ปกติหัวเสียบ firewire มีหลายแบบ ให้เช็คดีๆ ก่อนว่ามีสายและ adaptor ถูกแล้ว ใช้ได้กับแล็ปท็อปทั้ง 2 เครื่อง
-
เข้า server computer ผ่าน client computer. ใช้ client laptop (เครื่องปลายทาง) เข้าไปหาไฟล์จากใน server laptop (เครื่องต้นทางที่มีไฟล์) ถ้าเชื่อมต่อกันถูกต้องแล้ว จะไปโผล่ที่หน้า desktop หรือตำแหน่งอื่นที่ external drive ชอบไปโผล่
-
ลากไฟล์ไปหย่อนตามปกติ. พอแล็ปท็อป 2 เครื่องเชื่อมต่อกันโดยตรงแล้ว ก็ถ่ายโอนไฟล์ได้เลย เหมือนเวลาจัดระเบียบไฟล์ในคอมนั่นแหละโฆษณา
-
ใส่ที่อยู่อีเมลของคุณเองในช่องผู้รับ (receiver). แนบไฟล์แล้วส่งอีเมลหาตัวเองนี่แหละง่ายและเร็วที่สุด ถ้าจะถ่ายโอนแค่ 1 - 2 ไฟล์เล็กๆ ไปยังคอมอีกเครื่อง แต่ถ้าไฟล์ใหญ่หรือมีหลายไฟล์ ให้ใช้วิธีอื่นจะดีกว่า
-
แนบไฟล์ในอีเมล. แต่ละเว็บหรือโปรแกรมอีเมล (เช่น gmail, hotmail, yahoo) จะมีขนาดไฟล์สูงสุดที่แนบได้ต่างกันไป บางเว็บก็ให้ลากไฟล์ไปหย่อนในเนื้อหาอีเมลได้เลย แต่บางเว็บก็ต้องคลิก "attach" (แนบไฟล์) ก่อน เพื่อ browse หาไฟล์จากในคอม
-
ล็อกอินเข้าอีเมลตัวเองจากใน client computer. แล้วดาวน์โหลดไฟล์แนบได้เลยโฆษณา
เคล็ดลับ
- ถ้าจะถ่ายโอนไฟล์ใหญ่ๆ ให้ใช้วิธีที่ 1 หรือ 2 (smb หรือ FTP)
- เพื่อความปลอดภัย อย่าถ่ายโอนไฟล์ผ่านเน็ตที่ไม่ได้เข้ารหัส (เน็ตสาธารณะ)
โฆษณา
สิ่งของที่ใช้
- แล็ปท็อป 2 เครื่อง
- สัญญาณอินเทอร์เน็ตที่มีการเข้ารหัส (private ไม่ใช่ public)
- สาย firewire
- external hard drive หรือ USB drive ที่ฟอร์แมตให้ใช้กับแล็ปท็อปทั้ง 2 เครื่องได้
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ http://mac.tutsplus.com/tutorials/networking/how-to-set-up-an-smb-server-in-os-x-and-windows-8/
- ↑ http://computers.tutsplus.com/tutorials/how-to-set-up-an-smb-server-in-os-x-and-windows-8--mac-46276
- ↑ http://lifehacker.com/5039956/five-best-ftp-clients
- ↑ http://www.theverge.com/2012/4/24/2954960/google-drive-dropbox-skydrive-sugarsync-cloud-storage-competition
โฆษณา