ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บ่อยครั้งที่นักเรียนนักศึกษาต้องทบทวนเนื้อหาเพื่อเตรียมสอบ ทำรายงานหรืองานอื่นๆ ที่ต้องใช้เวลานานจนไม่ได้หลับไม่ได้นอน ถึงแม้การคร่ำเคร่งทำภารกิจต่างๆ จนดึกดื่นนั้นไม่ใช่ความคิดที่ดีนักเพราะอาจทำให้ความจำและสมาธิแย่ลง แต่บางครั้งเราก็ต้องทำเพื่อทบทวนบทเรียนและเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสอบครั้งสำคัญ [1] การทบทวนบทเรียนจนไม่ได้หลับไม่ได้นอนก็เป็นอะไรที่ท้าทาย แต่เราก็ต้องเตรียมร่างกายให้พร้อม จะได้ตื่นตัวอยู่เสมอ และสามารถทบทวนบทเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้จะขอแนะนำวิธีการที่ทำให้เราสามารถอยู่จนดึกดื่นได้ง่ายขึ้น

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เพิ่มประสิทธิภาพในการทบทวนบทเรียน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าต้องอยู่จนดึกดื่น แสดงว่าเนื้อหาที่จะทบทวนนั้นต้องเป็นอะไรที่สำคัญ การรู้ว่าต้องทบทวนเนื้อหาอะไรบ้างจะช่วยให้สามารถวางแผนทบทวนตอนดึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ [2]
    • ดูประมวลรายวิชาและอ่านคำแนะนำหรือข้อมูลที่เราต้องรู้ให้ละเอียด ดูโน้ตที่จดระหว่างเรียน จะได้รู้ว่าครูหรืออาจารย์ได้ชี้แจงอะไรเป็นพิเศษไหม เราจะได้นำคำชี้แจงนั้นมาช่วยในการวางแผนทบทวนบทเรียนด้วย
    • เขียนรายการเนื้อหาที่ต้องทบทวนในคืนนั้น เรียงลำดับเนื้อหาหรืองานตามความสำคัญ ถ้างานหรือเนื้อหานั้นสำคัญมากที่สุด ให้เขียนไว้ในรายการแรก แล้วค่อยเขียนรายการที่เหลือตามลำดับความสำคัญรองลงมา [3]
  2. รวบรวมเอกสารที่จำเป็นต่อการทบทวนบทเรียน.โน้ตจาการฟังบรรยายและประมวลรายวิชานั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการเรียนวิชาต่างๆ การมีโน้ตและประมวลรายวิชาจะช่วยให้เราสามารถทบทวนบทเรียนได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพในคืนนั้น
    • เราต้องมีโน้ต หนังสือ และเอกสารอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการทบทวนบทเรียน อุปกรณ์ในการทบทวนบทเรียนยังรวมไปถึงกระดาษไว้จดบันทึก ปากกา คอมพิวเตอร์พร้อมกับปลั๊กชาร์จ ของว่างและเครื่องดื่ม เราจะได้ไม่ต้องเสียเวลาลุกขึ้นไปหยิบบ่อยๆ และเสียสมาธิจนไม่สามารถทำตามกำหนดเวลาได้
  3. เพราะเรารู้ว่ามีเวลาทบทวนบทเรียนตอนดึกจำกัด ฉะนั้นจึงต้องกำหนดเวลาที่ชัดเจน การมีตารางเวลาจะช่วยให้เรามีสมาธิและทบทวนบทเรียนได้ตลอดคืน [4]
    • ทุ่มเทเวลาให้กับการทบทวนเนื้อหาที่สำคัญที่สุด เราอาจต้องการทุ่มเทเวลาให้กับการทบทวนเนื้อหาที่ตนเองไม่เข้าใจนัก ให้เลือกทบทวนเนื้อหาที่สำคัญหรือเนื้อหาที่ไม่เข้าใจตั้งแต่ต้นชั่วโมงหรือหลังจากพักแล้ว สมองจะสามารถจดจำข้อมูลได้ดีขึ้น
    • กำหนดระยะเวลาและและสิ่งที่ต้องทำให้ชัดเจน รวมทั้งอย่าลืมมีช่วงพักด้วย ตัวอย่างเช่น เราอาจกำหนดว่า "เวลา 2 ทุ่มถึง 3 ทุ่ม อ่านหนังสือวิชาประวัติศาสตร์หน้าที่ 60-100 เวลา 3 ทุ่มถึง 3 ทุ่ม 15 นาที พัก เวลา 3 ทุ่ม 15 นาทีถึง 4 ทุ่ม 15 นาที อ่านหน้าที่มีเนื้อหาครอบคลุมเอกสารชั้นต้น 4-10 ในหนังสือที่เป็นงานเขียนต้นแบบทางประวัติศาสตร์ เวลา 4 ทุ่ม 15 นาที ถึง 4 ทุ่มครึ่ง พัก"
  4. ทุกคนต่างก็มีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน การรู้วิธีทบทวนบทเรียนที่เหมาะสมกับตนเองที่สุดจะช่วยให้เราทบทวนบทเรียนตอนดึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งอาจช่วยให้จดจำข้อมูลได้ดีขึ้นด้วย [5]
    • ลองคิดว่าที่ผ่านมาเมื่อต้องทบทวนบทเรียนตอนดึก สภาพแวดล้อมไหนที่ทำให้เราทบทวนบทเรียนได้ง่ายที่สุด ตัวอย่างเช่น เราอาจต้องทบทวนบทเรียนในบริเวณที่เงียบสงบจริงๆ ฉะนั้นจึงอาจเลือกทบทวนบทเรียนที่ห้องสมุดหรือที่บ้านก็ได้ ถ้าต้องการให้มีเสียงหรือความอึกทึกสักหน่อย ก็อาจเลือกทบทวนบทเรียนที่ร้านคาเฟ่แบบเปิดตลอด 24 ชั่วโมงก็ได้
  5. ขณะที่ทบทวนบทเรียน การมีสมุดจดและปากกาไว้ใกล้มือแล้วจดเนื้อหาลงไปสามารถช่วยให้เราจดจำข้อมูลได้ดีขึ้น เราควรจดบันทึกด้วยมือเพราะเราจะเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาได้ดีกว่าพิมพ์ใส่คอมพิวเตอร์ [6]
    • เขียนเพียงแค่ประเด็นสำคัญ เขียนคำสำคัญหรือหัวข้อพร้อมคำอธิบายสั้นๆ 3-6 คำ [7] การจดบันทึกจะช่วยให้เรายังรู้สึกตัวและตื่นตัวตลอดคืน
    • อ่านเนื้อหาที่จดไว้ในวันถัดไปก่อนสอบหรือเมื่อได้รับมอบหมายให้อ่านส่วนนั้น
  6. ต้องทบทวนบทเรียนอย่างมีแบบแผนและทำตามตารางที่กำหนดไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในคืนนั้น เราจะได้ทบทวนเนื้อหาได้ครบถ้วนโดยไม่เหนื่อย
    • ดูตารางเวลาก่อนที่จะเริ่มทบทวนบทเรียนเพื่อเป็นการเตือนตนเองให้รู้ว่าเราต้องทำอะไรบ้าง
    • แตกภารกิจใหญ่ให้เป็นภารกิจย่อยที่สามารถจัดการได้ง่าย ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องอ่านหนังสือ 40 หน้าในหนึ่งชั่วโมงก่อนพัก ตั้งเป้าหมายอ่านให้ได้ 10 หน้าใน 15 นาที ถ้ากำลังแก้โจทย์คณิตศาสตร์ อาจตั้งเป้าหมายว่าจะแก้โจทย์คณิตศาสตร์ให้ได้ 15 ข้อภายใน 30 นาที บางครั้งก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมบ้าง แต่การทำแผนการที่วางไว้โดยเคร่งครัดจะช่วยให้เราทบทวนบทเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  7. ถ้ามีใครหลายคนกำลังทบทวนเนื้อหาเดียวกันอยู่ ชักชวนให้มานั่งทบทวนบทเรียนด้วยกัน การมีกลุ่มไว้นั่งทบทวนบทเรียนด้วยกันหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอาจช่วยให้เราตื่นตัวและกระตือรือร้นอีกทั้งสามารถทบทวนบทเรียนได้ดีขึ้น
    • ลองแบ่งเนื้อหาให้ผู้เข้าร่วมไปศึกษาทำความเข้าใจและจากนั้นจึงนำเนื้อหาของแต่ละคนมานำเสนอให้เพื่อนฟัง ทุกคนมีรูปแบบการเรียนรู้ที่ถนัดไม่เหมือนกัน เราอาจเข้าใจเนื้อหาบางอย่างไม่ดีเท่าผู้อื่นและมีเนื้อหาบางอย่างที่เราเข้าใจดีกว่าผู้อื่น เมื่อให้แต่ละคนนำเสนอเนื้อหาเรียบร้อยแล้ว ให้ถามในจุดที่เรายังไม่เข้าใจ [8]
    • ระวังอย่าให้การนั่งทบทวนเป็นกลุ่มกลายเป็นการเอาแต่พูดคุยกันอย่างสนุกสนานเสียมากกว่าเพราะสมาชิกแต่ละคนเริ่มเหนื่อย การพยายามทำตามตารางเวลาและข้อตกลงที่มีร่วมกันจะสามารถทำให้เราเรียนรู้เนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เราอาจพบว่าการมีเพื่อนมานั่งทบทวนบทเรียนด้วยกันยังทำให้เราตื่นตัวและกระตือรือร้นอยู่ตลอดด้วย
  8. หลังทบทวนบทเรียน 8-10 ชั่วโมง เราจะเหนื่อยมาก อาจเครียด และรู้สึกสับสนมึนงง ฉะนั้นหยุดทบทวนบทเรียนและนอนหลับพักผ่อนสักสองสามชั่วโมง ถ้าทำได้ อย่าลืมว่าแม้แต่การหลับสัก 90 นาทีก็สามารถช่วยให้ร่างกายสดชื่นและกลับมาจดจ่อกับการทำภารกิจต่างๆ ในวันถัดไปได้ [9]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ทำร่างกายให้ตื่นตัวตลอดเวลา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แสงสีขาวที่สว่างสดใสจะกระตุ้นร่างกายให้ตื่นตัวตลอด ฉะนั้นต้องให้บริเวณที่จะใช้ทบทวนบทเรียนมีแสงสว่างมากพอที่จะไม่ทำให้เราง่วงและช่วยให้เรามีสมาธิในการทบทวนบทเรียนมากขึ้น [10]
    • หาห้องที่มีแสงสีขาวสว่างสดใส ถ้าทบทวนหนังสืออยู่ที่บ้าน ให้เปลี่ยนหลอดไฟที่ให้แสงสว่างธรรมดาเป็นหลอดไฟที่มีกำลังวัตต์สูงขึ้น
    • อาจเปิดไฟดวงเล็กๆ หรือโคมไฟเพื่อให้แสงสว่างตอนที่กำลังอ่านหนังสือหรือทบทวนบทเรียน แสงสว่างนี้จะช่วยกระตุ้นให้สมองตื่นตัวมากขึ้น
  2. ถ้าต้องทบทวนบทเรียนหลายชั่วโมง ก็อาจอยากเปิดโทรศัพท์มือถือและเล่นไลน์หรือเฟสบุ๊กเพื่อกระตุ้นให้ตนเองตื่นตัว การทำแบบนี้อาจทำให้เราเพลิดเพลินจนลืมไปว่าต้องทบทวนบทเรียนและสุดท้ายก็ทำคะแนนสอบออกมาแย่หรือส่งงานไม่ทันตามกำหนด
    • ปิดโทรศัพท์มือถือ ถ้าทำได้ หากทำไม่ได้ ให้ปิดเสียงไว้ เราจะได้ไม่เอาแต่เช็คข้อความทุกครั้งที่ได้ยินเสียงข้อความเข้า
    • บอกให้เพื่อนและครอบครัวรู้ว่าเราต้องทบทวนบทเรียน พวกเขาจะได้ไม่โทรมารบกวนในช่วงดึกวันนั้น เว้นเสียแต่ว่ามีเหตุจำเป็นจริงๆ
  3. การมีของกินให้เคี้ยวหรืออมอยู่ในปากอาจช่วยให้เราอดทนอ่านหนังสือตอนดึกได้ หมากฝรั่งรสมินต์หรือลูกอมสามารถช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้นและเพิ่มความตื่นตัวได้ [11]
    • เคี้ยวหมากฝรั่งรสอะไรก็ได้เพราะไม่ว่าจะเคี้ยวรสใดก็ช่วยให้เราตื่นตัวได้ทั้งนั้น
    • นำขวดน้ำมันเปเปอร์มินต์ขวดเล็กมาไว้ข้างกาย จะได้ไว้สูดดม กลิ่นของน้ำมันนี้จะช่วยกระตุ้นสมองและช่วยให้จดจำข้อมูลได้มากขึ้น [12]
  4. ถ้าเห็นว่าการได้วาดภาพหรือขีดเขียนลงในกระดาษทำให้เราสามารถอยู่ต่อได้จนดึกดื่น ก็ลองวาดรูปหรือขีดเขียนลงในเศษกระดาษดู การได้ทำงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเช่น ขีดเขียน วาดรูป หรือปั้นดินน้ำมันอาจช่วยให้เราตื่นตัวและผ่อนคลายมากขึ้น [13]
    • ขีดเขียน วาดรูป หรือทำอะไรอย่างอื่นสัก 10 นาที อาจหาอะไรมากลิ้งในมือหรือบีบลูกบอลสำหรับคลายเครียดขณะที่อ่านหนังสือ จะช่วยให้เราผ่อนคลายและจดจ่อกับการทบทวนบทเรียนได้มากขึ้น
  5. การทบทวนบทเรียนตลอดคืนต้องใช้พลังงานมาก การกินของว่างทุกสองชั่วโมงจะช่วยให้เราตื่นตัวและผ่อนคลายได้ [14] กินอะไรเบาๆ ที่มีโปรตีนอย่างเช่น ชีสสักชิ้น ผลไม้สด แท่งกราโนลา หรือเพรทเซล จะเลือกกินพีนัทบัตเตอร์แอนด์เจลลี่แซนวิชเป็นของว่างก็ได้เหมือนกัน
    • อย่าลืมเตรียมน้ำดื่มไว้สักแก้วหรือสักขวด จะได้เอาไว้ดื่มระหว่างทบทวนบทเรียน
  6. ถ้าตั้งใจทบทวนเนื้อหาและข้อมูลต่างๆ อย่างจริงจังนานๆ เราอาจเริ่มเหนื่อยและเสียสมาธิได้ ฉะนั้นหลังจากทบทวนบทเรียนไป 60-90 นาที ควรพัก 10-15 นาทีเพื่อฟื้นฟูกำลังกายและพลังใจ [15]
    • ออกไปเดินเล่นในช่วงสั้นๆ เดินไปเดินมาในห้อง เล่นโยคะแบบเบาๆ หรือยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ทำกิจกรรมใดก็ได้ที่ทำให้เลือดไหลเวียน ทำให้สมองได้รับออกซิเจน ผ่อนคลายร่างกาย และช่วยให้เราสามารถกลับมาทบทวนบทเรียนต่อได้
    • ถ้าจำเป็นต้องเข้าไปทำธุระส่วนตัวในห้องน้ำ ก็ลุกไปเข้าให้เรียบร้อย
    • อย่านั่งทบทวนเนื้อหาแบบรวดเดียวเป็นเวลา 60-90 นาทีโดยไม่ยอมพักเลย การทบทวนบทเรียนโดยไม่ยอมหยุดพักอาจทำให้เราเหนื่อยมากขึ้น มีผลกระทบต่ออารมณ์ และทำให้ประสิทธิภาพในเรียนรู้ลดลง
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เตรียมร่างกายให้พร้อมนอนดึกได้อย่างสบาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เราอาจรู้ล่วงหน้าว่ามีงานหรือการสอบใกล้เข้ามาและรู้ว่าต้องใช้เวลาทำงานหรือทบทวนบทเรียนทั้งคืน เราต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการนอนดึกด้วยการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนอนหลับเพื่อให้ตนเองสามารถอยู่ดึกได้ง่ายขึ้นเมื่อถึงเวลา [16] แต่อย่านอนหลับเป็นระยะเวลานานบ่อยเกินไป เพราะอาจส่งผลตรงข้าม มีผลกระทบต่อสุขภาพและความสามารถในการเรียนรู้
    • เข้านอนแต่หัวค่ำหรือตื่นสายสักหลายวันก่อนที่จะต้องทบทวนบทเรียนจนดึกดื่น เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตารางชีวิตมาก แค่เพิ่มเวลานอนไปสักหนึ่งหรือสองชั่วโมง ก็ช่วยให้เราสามารถทบทวนบทเรียนได้จนดึกดื่นแล้ว เวลาที่เพิ่มเข้ามาช่วยบอกใบ้ให้ร่างกายเตรียมพร้อมที่จะนอนดึก แค่นอนเพิ่มหนึ่งถึงสองชั่วโมงก็ทำให้เราสามารถทบทวนบทเรียนตอนดึกได้แล้ว
  2. ถ้าจำเป็นต้องทบทวนบทเรียนตอนดึกกะทันหัน ให้ "นอนหลับสักงีบ" เพื่อช่วยให้ตนเองสามารถอยู่ทบทวนบทเรียนได้จนดึกดื่น การงีบหลับไม่เพียงช่วยให้เราอยู่จนดึกดื่นได้เท่านั้น แต่อาจยังช่วยเพิ่มพลังสมอง ความคิดสร้างสรรค์ ความตื่นตัว และประสิทธิภาพในการรับรู้ด้วย [17]
    • งีบหลับสัก 90 นาที ระหว่างบ่าย 1 และบ่าย 3 เพื่อให้สามารถทบทวนบทเรียนตอนดึกได้ ถ้าตัดสินใจจะงีบหลับในช่วงกลางคืน การงีบหลับช่วงระหว่างตี 1 และตี 3 ก็ช่วยให้สามารถอยู่ทบทวนบทเรียนตอนดึกได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเลือกหลับในช่วงไหน การงีบหลับ 90 นาทีก็ได้ผลทั้งนั้นเพราะให้ผลเทียบเท่ากับการนอนหลับสามชั่วโมง
    • ผลของการงีบหลับจะอยู่แค่ 8-10 ชั่วโมง เท่านั้น อาจนอนงีบหลับสั้นๆ ก่อนเริ่มทบทวนบทเรียนเพื่อจะได้อยู่อ่านหนังสือจนดึกได้
  3. ถ้าจะต้องอยู่ทบทวนบทเรียนตลอดคืน ไม่เพียงต้องทำให้ร่างกายของตนเองรู้สึกบายเท่านั้น ยังต้องให้ร่างกายได้รับพลังงานอย่างเพียงพอด้วย เราต้องดื่มน้ำตลอดวันเพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอ เราจะได้รู้สึกดีขึ้นและตื่นตัวอยู่เสมอ นอกจากนี้การกินอาหารแปดมื้อจะช่วยเพิ่มความตื่นตัวและทำให้เรามีกำลังกายที่จะทบทวนบทเรียน ไม่อึดอัดหรือรู้สึกเฉื่อยชา
    • ดื่มน้ำอย่างน้อยประมาณ 0.2 ลิตรทุกหนึ่งชั่วโมงตลอดวันจนถึงตอนดึก การขาดน้ำอาจทำให้เหนื่อยล้าและลดความตื่นตัวลง อาจทำให้มีอาการปวดหรือวิงเวียนศีรษะ จึงเป็นผลให้เราไม่มีสมาธิในการทบทวนบทเรียนไปด้วย
    • จะดื่มกาแฟหรือชาก็ได้ แต่เครื่องดื่มพวกนี้อาจไม่ช่วยให้เราตื่นตัวนานขึ้นหรือมากขึ้น [18] ที่จริงแล้วถ้าดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไปหรือแม้แต่ดื่มเครื่องดื่มชูกำลังก็ตาม อาจทำให้กระวนกระวายจนไม่เป็นอันทบทวนบทเรียนด้วยซ้ำ [19]
    • อย่าดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนวันและเวลาที่จะต้องทบทวนบทเรียน เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้ง่วงซึมและไม่สามารถจดจ่อกับการทบทวนบทเรียนได้
    • อย่ากินอาหารที่หนักท้องในวันที่เราต้องอยู่อ่านหนังสือจนดึกดื่น อาหารที่หนักท้องจะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลงเพราะต้องนำเลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหารเพื่อช่วยในการย่อยอาหาร กินอาหารที่เบาท้อง เช่น ซุปและสลัดที่มีอาหารพวกโปรตีนอย่างเช่นไก่ อาหารแบบนี้จะช่วยเพิ่มพลังงานให้เราสามารถทบทวนหนังสือได้ตลอดคืนโดยไม่อึดอัดท้อง
    • อย่ากินอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไป เพราะอาจลดความตื่นตัวและมีผลกระทบต่ออารมณ์ ออกไปเดินเล่นสักสิบนาที เราจะได้มีแรง ผ่อนคลาย และตื่นตัวมากขึ้น [20]
  4. การใส่เสื้อผ้าที่ไม่สบายตัวอาจทำให้การทบทวนบทเรียนเป็นไปอย่างเชื่องช้าและรู้สึกทรมานเพราะไม่สบายตัว ฉะนั้นเลือกเสื้อผ้าที่ใส่แล้วเคลื่อนไหวสะดวกและไม่คับในตอนที่ทบทวนบทเรียนด้วย [21]
    • เลือกกางเกงและเสื้อที่ไม่พอดีตัวจนเกินไป. อย่าเลือกใส่กางเกงยีนส์แบบแนบเนื้อ ให้เลือกใส่กางเกงวอร์มหรือกางเกงโยคะเพื่อจะได้เคลื่อนไหวขาสะดวก [22] การใส่เสื้อให้เหมาะสมกับสภาพอากาศตอนดึกก็สำคัญ เราจะได้ไม่รู้สึกร้อนเกินไปหรือหนาวเกินไป ตัวอย่างเช่น ถ้าเห็นว่าอากาศหนาว อาจใส่เสื้อยืดที่เบาสบายแล้วสวมเสื้อสเว็ตเชิ้ตทับอีกชั้นหรือใส่เสื้อกันหนาวและผูกผ้าพันคอบางๆ ก็ได้ พยายามใส่เสื้อผ้าที่สบายตัวและเหมาะสมกับสภาพอากาศ
    • สวมรองเท้าที่ใส่สบาย ถ้านั่งนาน ก็อาจจะทำให้เท้าบวม ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องสวมรองเท้าที่ใส่สบาย อาจใส่รองเท้าแตะ รองเท้าที่ใช้วิ่ง หรือรองเท้าส้นแบนก็ได้ [23]
  5. การนั่งตัวตรงจะช่วยให้เราตื่นตัวและป้องกันไม่ให้คอและหลังเมื่อยล้า [24] ฉะนั้นนั่งในท่าที่เหมาะสม เราจะได้ทบทวนบทเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและง่ายขึ้น [25]
    • เก้าอี้ที่ใช้นั่งควรมีพนักพิง เพราะจะช่วยให้เรานั่งในท่าที่เหมาะสมและตื่นตัวอยู่เสมอ การวางเท้าราบไปกับพื้นจะช่วยให้เรานั่งในท่าที่เหมาะสม [26]
    • นั่งโดยตั้งศีรษะและคอให้ตรง แขม่วท้อง หลังตรง ยืดไหล่ การนั่งแบบดังกล่าวจะช่วยให้เราได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ จึงทำให้เรายังคงตื่นตัวอยู่เสมอ อย่านั่งหลังงอ ไม่อย่างนั้นเราอาจง่วงนอน ได้
  6. ทุกชั่วโมง ให้ลุกขึ้นยืนหรือเคลื่อนไหวตัวเพื่อยืดแข้งยืดขา การยืดแข้งยืดขาไม่เพียงทำให้เราได้พักสักเล็กน้อยเท่านั้น ยังทำให้เรายังคงตื่นตัวเพราะช่วยให้เลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกายได้ดี [27]
    • พยายามเคลื่อนไหวตัวและยืดแข้งยืดขาในท่าต่างๆ เช่น ทำท่ายืดกล้ามเนื้อต้นขา ขยับนิ้วเท้าขึ้นและลง หมุนข้อเท้าและข้อมือ
    • ลุกขึ้นเพื่อยืดเส้นยืดสาย ถ้าไม่เป็นการรบกวนคนที่อยู่รอบข้าง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การเคี้ยวหมากฝรั่งรสเปปเปอร์มินต์ช่วยกระตุ้นสมองได้
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่านอนดึกบ่อย เพราะจะทำให้อารมณ์แปรปรวน กำลังถดถอย จดจ่อกับภารกิจต่างๆ ได้ลดลง สมาธิลดลง และความสามารถในการเรียนรู้ลดลง [28]
โฆษณา
  1. http://www.thedailybeast.com/articles/2013/12/04/five-healthy-and-legal-ways-to-stay-awake-longer.html
  2. http://www.wsusignpost.com/2014/07/21/top-five-ways-to-survive-long-summer-classes/
  3. http://jass.neuro.wisc.edu/2012/01/Lab%20603%20Group%205%20The%20Effect%20of%20Peppermint%20on%20Memory%20Performance.pdf
  4. http://www.cdl.org/articles/15-strategies-for-managing-attention/
  5. http://www.wsusignpost.com/2014/07/21/top-five-ways-to-survive-long-summer-classes/
  6. http://www4.semo.edu/gjohnson/study%20tips/study_tips.htm
  7. http://www.artofmanliness.com/2013/12/05/how-to-pull-an-all-nighter-tips-from-the-special-forces/
  8. http://www.artofmanliness.com/2013/12/05/how-to-pull-an-all-nighter-tips-from-the-special-forces/
  9. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23108937
  10. http://www.artofmanliness.com/2013/12/05/how-to-pull-an-all-nighter-tips-from-the-special-forces/
  11. http://www.rd.com/health/healthy-eating/this-is-your-body-on-sugar/
  12. http://why.ryerson.ca/survive-3-hour-lecture/
  13. http://why.ryerson.ca/survive-3-hour-lecture/
  14. http://why.ryerson.ca/survive-3-hour-lecture/
  15. http://blog.harvardvanguard.org/2012/03/stand-up-straight-improving-your-posture/
  16. https://www.linkedin.com/pulse/how-stay-awake-all-night-study-before-exam-without-sleepy-education
  17. http://blog.harvardvanguard.org/2012/03/stand-up-straight-improving-your-posture/
  18. http://com.msu.edu/Students/Academic_Guidance/during_lecture.pdf
  19. https://www.harrishealth.org/en/news/pages/sleep-key-doing-well-exams.aspx

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,962 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา