ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าอยากเข้าใจบทเรียนมากขึ้น หรือได้เกรดดีๆ ก็ต้องอ่านหนังสือให้ถูกวิธี ใครๆ ก็ประสบความสำเร็จในการเรียนได้ ขอแค่รู้จักวางแผน รวมถึงเตรียมแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็น ระหว่างทบทวนบทเรียนต้องหมั่นให้กำลังใจตัวเอง และหามุมสงบปราศจากคนและสิ่งรบกวน จะยกระดับการทบทวนโดยทำควิซถามตอบด้วยก็ได้ รวมถึงเขียนสรุปเลคเชอร์อีกรอบ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อย่าลืมหาเวลาพักสมองบ้าง จะได้สดชื่นตื่นตัว

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เตรียมตัวอ่านหนังสือ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลงมือแจกแจงบทเรียนที่คิดว่าจะออกสอบหรือมีควิซย่อย แล้วรวบรวมตำรา ชีท และเลคเชอร์ทั้งหลายที่มี จะได้รู้ว่าต้องอ่านอะไร จะฝึกทำข้อสอบหรือติวกันเป็นกลุ่มก็ได้ [1]
  2. พอรู้แล้วว่าต้องอ่านอะไรบ้าง และมีข้อมูลอะไรในมือแล้วบ้าง ให้ลงมือจัดตารางการอ่านหนังสือ จัดตารางแล้วต้องยึดตามนั้นอย่างเคร่งครัด ถึงชั่วโมงอ่านหนังสือต้องอ่านลูกเดียว อย่าแวบไปทำอย่างอื่น
    • เผื่อเวลาไว้ด้วย เพราะเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้นได้เสมอ
  3. มองการอ่านหนังสือให้สนุกและมุ่งมั่นตั้งใจ ถ้าวอกแวกเมื่อไหร่จะอ่านไม่ค่อยเข้าหัว เสียเวลาไปเปล่าๆ อย่าแข่งขันกับใคร แค่คิดถึงเรื่องดีๆ ที่จะตามมาถ้าคุณตั้งใจเรียนอย่างดีที่สุด [2]
    • ให้กำลังใจตัวเองหน่อย เช่น “ถ้าตั้งใจจริง อะไรก็เกิดขึ้นได้ คราวนี้คะแนนดีกว่าคราวที่แล้วแน่นอน!”
    • ถ้าเริ่มจิตตก ประมาณว่า “เหนื่อยจัง อ่านไม่ทันแล้วแน่ๆ” ให้หยุดทันที จากนั้นตั้งสติ เตือนตัวเองว่า “ยังเหลือเวลาอีกตั้งเยอะ ดีที่เราอ่านแต่เนิ่นๆ เดี๋ยวทวนอีกรอบดีกว่า!”
  4. สถานที่อ่านหนังสือสำคัญมาก ถ้าทีวีก็เปิด เน็ตก็ใช้ แถมมีเพื่อนนั่งเม้าท์อีก แบบนี้จะอ่านไปได้สักกี่น้ำ ตัดไฟแต่ต้นลมดีกว่า [3]
    • ย้ายถิ่นไปสิงห้องสมุดก็ดี เพราะโต๊ะ เก้าอี้ และตำราอ้างอิงพร้อม แถมสงบดี จะมีก็แค่เสียงเดินไปมาเบาๆ
    • หรือเข้าร้านกาแฟช่วงสายๆ ก็อ่านหนังสือสบายดี
    • ถ้าอยู่หอ พยายามอ่านหนังสือช่วงที่เพื่อนมีเรียนหรือทำงานพิเศษ จะได้ยึดห้องเงียบๆ เป็นของตัวเอง
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ทบทวนอย่างมีชั้นเชิง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้ากะอ่านแบบม้วนเดียวจบ ไม่พักไม่ลุกไปไหน ระวังจะสมองตื้อ จำอะไรได้ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ทางที่ดีควรแบ่งอ่านเป็นช่วงๆ ไป โดยพักสายตาและสมองเป็นระยะ พยายามอ่านรอบละ 30 นาที สลับกับพัก 5 - 10 นาที [4]
  2. ใช้บัตรคำ (flash card) ตั้งควิซย่อยขึ้นมา หรือฝึกทำข้อสอบ จะได้มี output บ้าง ไม่ใช่มีแต่ input คืออ่านเข้าไปอย่างเดียว การลงมือทำสอบหรือตอบคำถามจริง จะทำให้สมองประมวลผลได้ดีกว่าอ่านหนังสือซ้ำๆ ใช้บัตรคำถามตอบตัวเองนี่แหละสะดวก หรือให้เพื่อนช่วยถามและตรวจคำตอบให้ก็ได้ [5]
  3. บางคนจะจดจำได้ดีกว่าถ้าใช้ประสาทสัมผัสหลายๆ ส่วน หนึ่งในวิธีที่น่าสนใจก็คืออ่านเลคเชอร์ออกมาดังๆ ตอนเขียนทวน เป็นวิธีกระตุ้นตัวเองให้ใช้หลายๆ สัมผัสในเวลาเดียว จะจดจำข้อมูลได้มากขึ้น [6]
  4. อาจจะใช้เพลง, acronym (เอาตัวอักษรแรกของแต่ละคำมาเรียงต่อกัน) หรือเทคนิคช่วยจำอื่นๆ เช่น ถ้าอยากจำประโยชน์ของวิตามินแต่ละชนิดได้ ก็ลองย่อแล้วเอามารวมกัน อย่าง "เอตา, บีชา, ซีลัก" คือ วิตามินเอช่วยเรื่องสายตา วิตามินบีช่วยเรื่องเหน็บชา และวิตามินซีช่วยเรื่องลักปิดลักเปิด เป็นต้น [7]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

อ่านเลคเชอร์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาคุณเอาเลคเชอร์ที่จดมารีบๆ ลวกๆ ในห้องเรียน มาเขียนใหม่สวยๆ หรือสรุปย่อ เท่ากับได้ทบทวนข้อมูลเดิมที่ได้รับรู้มาแล้วครั้งหนึ่ง เป็นเหมือนการย้ำเตือนข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ เพราะงั้นคราวหน้าถ้าจะสอบหรือมีควิซย่อย ให้ลองเขียนทวนเนื้อหาแบบนี้ดู จะช่วยได้เยอะเลย [8]
  2. ถ้าวิชาไหนจดไม่ทัน จดไม่ละเอียด ก็ยืมเลคเชอร์เพื่อนมาลองสรุปหรือเขียนขึ้นใหม่ในภาษาของคุณดู แบบนี้นอกจากจะอ่านง่ายขึ้นแล้ว ยังเป็นการทบทวนบทเรียนไปในตัวด้วย [9]
  3. รวบรวมเลคเชอร์กับเนื้อหาในตำรามาเขียนสรุปคร่าวๆ (อาจจะเป็น bullet points) จะได้เห็นชัดว่าต้องอ่านอะไรบ้าง โดยเฉพาะการสรุปเลคเชอร์ที่มั่วซั่วไปหมดออกมาเป็นข้อๆ ให้เห็นใจความชัดเจน แล้วเชื่อมโยงเนื้อหาในตำราเข้าไป [10]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,643 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา