PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ผิวแห้งเป็นปัญหาที่กวนใจใครหลายคน การทาโลชั่นจึงเป็นสิ่งจำเป็น และบริเวณหลังของเรานั้นน่าจะเป็นจุดที่ทาโลชั่นได้ยากลำบากที่สุดแล้ว ถึงแม้การทาโลชั่นที่หลังจะยากลำบาก แต่เราก็มีกลวิธีที่จะทำให้การทาโลชั่นที่หลังนั้นง่ายขึ้นเยอะ วิธีการทาโลชั่นที่หลังแบบสร้างสรรค์ซึ่งบทความนี้ขอนำเสนอได้แก่ ใช้ปลายแขนทาโลชั่นที่หลัง ใช้ไม้พายทาโลชั่นที่หลัง ใช้แผ่นพลาสติกคลุมอาหารทาโลชั่นที่หลัง และใช้ลูกกลิ้งทาสีทาโลชั่นที่หลัง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ใช้ปลายแขนทาโลชั่นที่หลัง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. บีบโลชั่นใส่แขนไล่ตั้งแต่หลังมือไปจนกระทั่งถึงปลายแขน โดยทำแบบนี้กับแขนอีกข้างหนึ่งด้วย. ยื่นแขนออกมาข้างหน้า งอข้อศอกพร้อมกับวางแขนในแนวราบ ปลายแขนควรอยู่ในแนวนอน บีบโลชั่นใส่ปลายแขนไล่ตั้งแต่หลังมือไปจนเกือบถึงข้อพับของข้อศอก โดยทำแบบนี้กับแขนอีกข้างหนึ่งด้วย [1]
    • เมื่อบีบโลชั่นใส่ปลายแขนเรียบร้อยแล้ว ยังไม่ต้องนวดถูให้โลชั่นซึมเข้าผิว ปล่อยโลชั่นทิ้งไว้ที่ปลายแขนไปก่อน
    • จะใช้โลชั่นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเรา บีบโลชั่นในปริมาณที่สามารถทาหลังของเราได้อย่างทั่วถึง
  2. งอข้อศอและวางแขนทั้งสองข้างไว้ด้านหลัง วางปลายแขนที่มีโลชั่นแนบกับหลังของเรา เราอาจรู้สึกเจ็บสักเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับว่าเรางอแขนได้มากน้อยแค่ไหน การเลือกวางแขนข้างใดข้างหนึ่งไว้ด้านหลังก่อนอาจง่ายกว่า
    • ถ้าเรามีอาการปวดไหล่หรืองอศอกไม่ค่อยได้ เราอาจไม่สามารถทาโลชั่นที่หลังโดยใช้วิธีนี้ได้ ให้เปลี่ยนไปใช้วิธีอื่นแทน
  3. ใช้ปลายแขนและหลังมือทั้งสองข้างถูหลังแบบขึ้นลงเหมือนที่ปัดน้ำฝน ทาโลชั่นให้ทั่วหลังเท่าที่จะทำได้ เราอาจใช้แขนซ้ายทาโลชั่นที่บริเวณหลังด้านซ้ายก่อนและจากนั้นวางแขนขวาไว้ที่ด้านหลังและใช้แขนขวาทาโลชั่นที่บริเวณหลังด้านขวา
    • ทำซ้ำขั้นตอนที่หนึ่งถึงสามอีกครั้ง ถ้าเรารู้สึกว่ายังทาโลชั่นที่หลังไม่เพียงพอ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ใช้ไม้พายทาโลชั่นที่หลัง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เราจะใช้ไม้พายพลาสติกหรือไม้พายยางก็ได้ ไม้พายที่ทำจากไม้ก็นำมาใช้ทาโลชั่นได้เหมือนกัน แต่อย่าใช้ไม้พายโลหะ ถ้าเรามีไม้พายหลายอัน เลือกไม้พายที่มีด้ามยาวที่สุด [2]
    • เราอาจไม่อยากใช้ไม้พายที่ตนเองใช้ทำอาหารบ่อยๆ มาทาโลชั่น ซื้อไม้พายอันใหม่สำหรับไว้ทาโลชั่นที่หลังโดยเฉพาะก็ได้
    • ถ้าเราใช้ไม้พายที่ทำจากไม้ อาจมีโอกาสโดนเสี้ยนตำขณะใช้ทาโลชั่นที่หลังได้ ฉะนั้นระวังด้วยหากเลือกใช้ไม้พายที่ทำจากไม้
  2. ถือไม้พายให้อยู่ในแนวราบ เราจะได้บีบโลชั่นใส่ไม้พายโดยโลชั่นไม่หกลงบนพื้น ถ้ากลัวว่าโลชั่นจะหกลงบนพื้น ให้บีบโลชั่นใส่ไม้พายในปริมาณน้อย แต่บีบใส่บ่อยๆ และทาหลังหลายครั้งแทน
  3. พยายามถือไม้พายที่มีโลชั่นให้อยู่ในแนวราบจากนั้นยกขึ้น งอแขนไปข้างหลัง และใช้ไม้พายแต้มโลชั่นไว้ที่หลังช่วงล่าง
  4. ใช้หัวไม้พายถูหลังบริเวณต่างๆ วนเป็นวงกลม เริ่มตั้งแต่ใช้ไม้พายทาโลชั่นที่บริเวณหลังช่วงล่างจนทั่วก่อน ต่อมาย้ายขึ้นมาทาโลชั่นที่กลางหลัง จากนั้นเอื้อมไม้พายข้ามไหล่แล้วทาโลชั่นที่หลังช่วงบน
    • บีบโลชั่นใส่ไม้พายเพิ่ม ถ้าโลชั่นไม่พอ ทำซ้ำขั้นตอนนี้จนกว่าเราจะทาโลชั่นได้ทั่วหลัง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ใช้แผ่นพลาสติกคลุมอาหารทาโลชั่นที่หลัง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตัดพลาสติกคลุมอาหารให้มีความยาวประมาณเก้าสิบเซนติเมตร. ความจริงจะตัดพลาสติกคลุมอาหารให้มีความยาวแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับเรา แต่การใช้พลาสติกคลุมอาหารที่มีความยาวมากจะช่วยให้ขั้นตอนการทาโลชั่นง่ายขึ้น ใช้มีดคัตเตอร์หรือใช้กรรไกรคมๆ ตัดพลาสติกคลุมอาหารออกเป็นแผ่น [3]
    • พลาสติกคลุมอาหารอาจพันกันยุ่งเหยิงและติดกันเองได้ ฉะนั้นวางพลาสติกคลุมอาหารกางลงบนโต๊ะก่อนตัดออกเป็นแผ่น จะช่วยให้พลาสติกคลุมอาหารไม่ย่น
    • ถ้าไม่มีพลาสติกคลุมอาหาร เราสามารถใช้แผ่นพลาสติกอื่นๆ ได้ ถ้าเรามีผ้าปูโต๊ะเก่าๆ แบบใช้แล้วทิ้ง เราสามารถนำมาใช้ทาโลชั่นที่หลังได้ นำถุงขยะมาตัดเป็นแผ่นก็ได้ เราสามารถนำถุงกระดาษทิชชูแพ็คใหญ่มาตัดเป็นแผ่นแล้วใช้ทาโลชั่นที่หลังได้เหมือนกัน
  2. บีบโลชั่นในปริมาณที่เราต้องการลงบนแผ่นพลาสติกคลุมอาหาร โดยปกติโลชั่นจะกระจายไปได้กว้างกว่าที่เราคิด ฉะนั้นอย่าบีบโลชั่นใส่เยอะเกินไป ให้หยดของโลชั่นยาวสักหนึ่งหรือสองนิ้ว ก็น่าจะเพียงพอแล้ว
    • เราอาจตัดพลาสติกคลุมอาหารออกเป็นแผ่นยาวห้าถึงหกนิ้วก็ได้ แล้วบีบโลชั่นลงบนแผ่นพลาสติกนั้น
  3. ถ้าเราพยายามหยิบแผ่นพลาสติกคลุมอาหารจากด้านหน้า อาจทำให้โลชั่นหกเลอะเทอะได้ ยืนหันหลังให้กับแผ่นพลาสติกคลุมอาหารและยืนอยู่ใกล้พอที่จะเอื้อมมือหยิบถึง
    • ถ้าเราวางแผ่นพลาสติกคลุมอาหารบนโต๊ะที่สูงเกินไปจนเราไม่สามารถเอื้อมมือหยิบจากด้านหลังได้ ให้หยิบแผ่นพลาสติกย้ายไปวางบนโต๊ะตัวอื่นที่เตี้ยกว่า
  4. เอื้อมมือไปด้านหลังและหยิบแผ่นพลาสติกคลุมอาหารขึ้นมาแนบหลัง. เอื้อมมือจับแต่ละด้านของแผ่นพลาสติกและหยิบขึ้นมาจากโต๊ะ วางแผ่นพลาสติกที่มีโลชั่นแนบกับหลังช่วงล่างเป็นส่วนแรก
    • เราอาจต้องเอี้ยวศีรษะมองข้ามไหล่ไปดูสิว่าแผ่นพลาสติกอยู่ตรงไหนเพื่อจะได้หยิบขึ้นมาได้
  5. ใช้แผ่นพลาสติกคลุมอาหารถูหลังบริเวณด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง. ทำเหมือนกับว่าเรากำลังใช้ผ้าขนหนูเช็ดหลังให้แห้ง ใช้แผ่นพลาสติกคลุมอาหารถูหลังบริเวณด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งเพื่อจะได้ทาโลชั่นได้อย่างทั่วถึง เราอาจถูแบบซิกแซ็กไปด้านบนก็ได้ จะได้ทาโลชั่นถึงกลางหลัง [4]
    • ถ้าเราอยากใช้แผ่นพลาสติกคลุมอาหารทาโลชั่นได้ทั่วถึงมากขึ้น เราอาจปล่อยมือข้างหนึ่งแล้วเอื้อมมือข้างนั้นข้ามหัวไหล่ไปเพื่อที่จะได้สามารถใช้แผ่นพลาสติกถูหลังบริเวณสะบักได้มากขึ้น
    • ถ้าเราไม่สามารถขยับไหล่หรือแขนได้มากนัก ลองใช้อีกวิธีหนึ่งคือนำแผ่นพลาสติกคลุมอาหารไปติดที่พื้นผิวในแนวดิ่งซึ่งเรียบ (ขอแนะนำให้ไปติดที่ประตู และเลือกพื้นผิวที่สีจะไม่ได้รับความเสียหายและสามารถเอาโลชั่นที่อาจเลอะอยู่บนพื้นผิวออกได้ง่าย) ให้ทาโลชั่นที่พลาสติกในบริเวณที่สูงพอๆ กับหลังของเรา หันหลังให้กับแผ่นพลาสติกซึ่งติดอยู่นั้น ให้หัวไหล่แนบกับแผ่นพลาสติกบริเวณที่มีโลชั่น โดยอยู่ต่ำกว่าประมาณสามนิ้ว ถูหลังกับแผ่นพลาสติกเพื่อทาโลชั่นที่หลังแล้วยืดตัวขึ้น ทำซ้ำอีกครั้งแล้วเปลี่ยนมาถูหลังจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งเพื่อจะได้ทาโลชั่นได้ทั่วหลัง ทาโลชั่นที่ช่วงล่างของแผ่นพลาสติกแล้วก้มตัวเล็กน้อยเพื่อทาโลชั่นที่บริเวณกระเบนเหน็บ
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ใช้ลูกกลิ้งทาสีทาโลชั่นที่หลัง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ซื้อลูกกลิ้งทาสีพร้อมกับอะไหล่ลูกกลิ้งทาสี. ลูกกลิ้งทาสีขนาดมาตรฐาน 12 นิ้ว (30.5 ซม.) จะช่วยให้เราทาโลชั่นที่หลังได้อย่างทั่วถึง แต่ถ้าเป็นลูกกลิ้งทาสีขนาดสี่นิ้วจะช่วยให้เราทาโลชั่นที่หลังได้อย่างแม่นยำมากขึ้น เลือกอะไหล่ลูกกลิ้งทาสีที่มีความหนา ¼ นิ้ว เราอาจเลือกลูกกลิ้งทาสีที่ด้ามจับมีความยาวต่างกันมาสักสองสามอัน ความสูงของเราจะเป็นเกณฑ์ในการกำหนดความยาวของด้ามจับลูกกลิ้งทาสี [5]
    • เราสามารถหาซื้อลูกกลิ้งทาสีได้ที่ร้านจำหน่ายวัสดุต่อเติมบ้าน ร้านขายอุปกรณ์ทาสีโดยเฉพาะ หรือทางอินเทอร์เน็ต
    • ถ้าลูกกลิ้งทาสีของเราสะอาดอยู่แล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องซื้อลูกกลิ้งทาสีอันใหม่
    • เราจะซื้อถาดลูกกลิ้งทาสีหรือไม่ก็ได้ โดยปกติถาดลูกกลิ้งทาสีมีไว้สำหรับใส่สี เวลาจะใช้สีในถาด เราก็จะใช้ลูกกลิ้งทาสีกลิ้งไปบนถาดเพื่อให้สีติดขึ้นมา
  2. บีบโลชั่นไปตามแนวความยาวของลูกกลิ้งทาสี โดยอาจบีบให้เป็นเส้นยาวสักสองสามเส้นเพื่อจะได้ทาหลังได้อย่างทั่วถึง ถ้าเราซื้อถาดลูกกลิ้งทาสีมาด้วย เราสามารถบีบโลชั่นใส่ถาดและกลิ้งลูกกลิ้งทาสีไปบนถาดเพื่อให้โลชั่นติดลูกกลิ้งทาสีขึ้นมา
    • จะใช้โลชั่นปริมาณมากน้อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับเรา อาจต้องลองผิดลองถูกกันสักหน่อยกว่าจะรู้ปริมาณโลชั่นที่เหมาะสม
    • ถ้าเราสามารถบีบโลชั่นใส่ลูกลิ้งทาสีให้ทั่วได้ อาจช่วยให้เราทาโลชั่นได้ทั่วหลังมากขึ้น
  3. ถือลูกกลิ้งทาสี งอแขนข้ามหัวไหล่และเริ่มทาโลชั่น จากนั้นเปลี่ยนมางอแขนไปด้านข้างและด้านหลังเพื่อใช้ลูกกลิ้งทาสีทาโลชั่นที่หลังช่วงล่างและกลางหลัง [6]
    • เราอาจต้องบีบโลชั่นใส่ลูกกลิ้งทาสีเกินหนึ่งครั้ง เพราะโลชั่นจะซึมเข้าไปในลูกกลิ้งทาสี
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • วิธีในบทความนี้สามารถนำมาใช้ทาครีมกันแดดและครีมอื่นๆ ได้
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • โลชั่น
  • ไม้พาย
  • พลาสติกคลุมอาหาร
  • ลูกกลิ้งทาสี

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,167 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา