ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เมื่อคุณเก็บโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไว้ในกระเป๋าหรือกระเป๋าเสื้อ สิ่งสกปรกและขุยผ้าอาจเข้าไปสะสมอยู่ในช่องเสียบหูฟังได้ ซึ่งการปล่อยทิ้งไว้นานๆ โดยไม่ทำความสะอาดอาจทำให้คุณไม่สามารถเสียบหูฟังเข้าไปได้ในที่สุด คุณสามารถทำความสะอาดช่องเสียบหูฟังได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยโดยใช้สเปรย์ลมกำจัดฝุ่นเป่าให้สิ่งสกปรกหลุดออกจนหมด นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ไม้พันสำลีเช็ดสิ่งสกปรกที่เกาะแน่นหรือใช้คลิปหนีบกระดาษพันเทปกาวเก็บขุยผ้าก็ได้เช่นกัน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ใช้สเปรย์ลมกำจัดฝุ่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สเปรย์ลมกำจัดฝุ่นมีวางจำหน่ายตามร้านขายอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ทั่วไป และเนื่องจากสเปรย์ลมกำจัดฝุ่นยังนิยมใช้ในการทำความสะอาดชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ดังนั้นคุณจึงอาจมองหาสเปรย์ลมกำจัดฝุ่นได้จากร้านจำหน่ายอะไหล่คอมพิวเตอร์เช่นกัน การใช้สเปรย์ลมกำจัดฝุ่นแทบไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับช่องเสียบหูฟัง เนื่องจากคุณไม่จำเป็นต้องสอดอุปกรณ์ใดๆ เข้าไปในช่องเสียบหูฟังนอกเหนือจากลมที่พ่นออกมาจากสเปรย์เท่านั้น [1]
  2. ถือกระบอกสเปรย์โดยหันหัวฉีดเข้าหาช่องเสียบหูฟัง สเปรย์ลมกำจัดฝุ่นบางยี่ห้ออาจมีก้านหลอดยาวติดมากับหัวฉีดเพื่อให้ง่ายขึ้นต่อการเป่า เนื่องจากก้านหลอดยาวสามารถซอกซอนและพ่นลมเข้าไปในช่องเสียบหูฟังได้อย่างแม่นยำ [2]
  3. กดหัวฉีดลงเพื่อเริ่มฉีดพ่นลมออกมา โดยกดหัวฉีดเพียง 1-2 ครั้งเท่านั้นก็สามารถเป่าสิ่งสกปรกที่อุดตันอยู่ในช่องเสียบหูฟังออกมาได้จนเกือบหมด อย่าลืมตรวจสอบให้แน่ใจว่าช่องเสียบหูฟังไม่มีสิ่งสกปรกหลงเหลืออยู่ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

เช็ดด้วยไม้พันสำลี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณสามารถหาซื้อไม้พันสำลีหรือคอตตอนบัดได้ตามร้านขายของชำทั่วไปหรือร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพและความงามโดยเฉพาะ โดยเลือกใช้ไม้พันสำลีที่ไม่หนาจนเกินไปเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ขุยจากสำลีติดค้างอยู่ในช่องเสียบหูฟัง นอกจากนี้ไม้พันสำลีที่มีปลายเรียวบางยังสามารถซอกซอนเข้าไปในช่องเสียบหูฟังได้อย่างพอดี จึงช่วยให้สามารถทำความสะอาดได้อย่างหมดจดยิ่งขึ้น.
  2. ดึงหรือตัดสำลีที่ปลายด้านใดด้านหนึ่งออกบางส่วนเพื่อให้ปลายสำลีมีความหนาเท่าๆ กับตัวก้านมากที่สุด ปลายสำลีมีขนาดที่เหมาะสมจะสามารถสอดเข้าไปในช่องเสียบหูฟังได้พอดี [3]
  3. อย่ายัดปลายสำลีเข้าไปในช่องเสียบหูฟังแรงๆ และพยายามสอดเข้าไปช้าๆ ให้ลึกที่สุด จากนั้นจึงหมุนไม้ไปรอบๆ เพื่อเช็ดทำความสะอาดให้ทั่วทุกด้านของช่องเสียบหูฟัง เมื่อคุณดึงปลายสำลีออกมาจากช่องเสียบหูฟัง สิ่งสกปรกที่ติดอยู่ด้านในเกือบทั้งหมดก็จะหลุดออกมาพร้อมๆ กัน [4]
  4. สำหรับสิ่งสกปรกที่ฝังแน่น ให้คุณนำปลายสำลีจุ่มลงไปในรับบิ้งแอลกอฮอล์ให้พอหมาดเล็กน้อยและไม่ชุ่มหรือเปียกโชกจนเกินไป บีบปลายสำลีเพื่อเอาแอลกอฮอล์ส่วนเกินออกก่อนสอดเข้าไปในช่องเสียบหูฟังและหมุนไม้ไปรอบๆ อีกครั้ง [5]
    • รับบิ้งแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะ ดังนั้นคุณจึงควรเช็ดด้วยแอลกอฮอล์เท่าที่จำเป็น
  5. เช็ดช่องเสียบหูฟังให้แห้งด้วยก้านพันสำลีสะอาด. รับบิ้งแอลกอฮอล์สามารถระเหยหายได้ในระยะเวลาที่รวดเร็ว อย่างไรก็ตาม คุณอาจเช็ดคราบแอลกอฮอล์ที่เหลือตกค้างเพื่อให้ช่องเสียบหูฟังสัมผัสกับความชื้นน้อยที่สุด ให้คุณใช้ก้านพันสำลีสะอาดสอดเข้าไปในช่องเสียบหูฟัง จากนั้นทิ้งไว้สักครู่หนึ่งแล้วจึงหมุนไม้ไปรอบๆ เพื่อเช็ดแอลกอฮอล์ให้แห้ง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ใช้คลิปหนีบกระดาษพันเทปกาว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จับปลายด้านหนึ่งของคลิปหนีบกระดาษยืดออกเป็นเส้นตรงสำหรับใช้เขี่ยสิ่งสกปรกให้หลุดออก อย่างไรก็ตาม โลหะอาจขูดเข้ากับด้านในของช่องเสียบหูฟังจนก่อให้เกิดรอยขูดขีดได้
    • คุณอาจเลือกใช้ไม้จิ้มฟันแทนได้ แต่พึงระวังไว้ว่าปลายแหลมของไม้จิ้มฟันก็สามารถก่อให้เกิดรอยขูดขีดที่ด้านในของช่องเสียบหูฟังได้เช่นกัน [6]
    • คุณอาจเลือกใช้เข็มที่สามารถเข้าถึงขุยผ้าและสิ่งสกปรกชิ้นใหญ่ได้อย่างง่ายดาย อย่างไรก็ตาม เข็มอาจขูดเข้ากับด้านในของช่องเสียบหูฟังได้ง่ายและควรใช้เป็นทางเลือกสุดท้าย
  2. ใช้เทปกาวที่ใช้ในสำนักงานทั่วไปพันรอบๆ ปลายคลิปหนีบกระดาษที่ยืดออกเป็นเส้นตรงให้แน่นโดยหันด้านกาวเหนียวๆ ออก ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเทปกาวพันแน่นดีแล้วและไม่หลุดออกมาก่อนสอดเข้าไปในช่องเสียบหูฟัง [7]
  3. สอดคลิปหนีบกระดาษเข้าไปในช่องเสียบหูฟังอย่างเบามือ. อย่าสอดคลิปหนีบกระดาษเข้าไปในช่องเสียบหูฟังแรงๆ และพยายามสอดเข้าไปช้าๆ ให้ถึงจุดที่มีสิ่งสกปรกติดอยู่ พยายามใช้เทปกาวเก็บสิ่งสกปรกที่มองเห็นให้มากที่สุด ซึ่งเทปกาวจะทำหน้าที่เหมือนลูกกลิ้งเก็บฝุ่นและเก็บสิ่งสกปรกและขุยผ้าอย่างหมดจด
    โฆษณา

คำเตือน

  • ระมัดระวังและเบามือเป็นพิเศษเมื่อใช้อุปกรณ์ใดๆ สอดเข้าไปในช่องเสียบหูฟัง เพราะด้านในของช่องเสียบหูฟังที่เป็นโลหะสามารถเกิดรอยขูดขีดหรือการกัดกร่อนได้
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • สเปรย์ลมกำจัดฝุ่น
  • ไม้พันสำลี
  • คลิปหนีบกระดาษ
  • เทปกาว
  • รับบิ้งแอลกอฮอล์

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,942 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา