ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
การเจาะหูบริเวณกระดูกอ่อนเป็นแฟชั่นยอดนิยมที่ต้องการการดูแลอย่างเป็นพิเศษในช่วงที่แผลกำลังฟื้นฟู พยายามสัมผัสรูเจาะหูอย่างเบามือและล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนการสัมผัส รวมถึงทำความสะอาดบริเวณรูเจาะหูวันละ 2 ครั้งด้วยน้ำเกลือและขจัดคราบสะเก็ดรอบๆ รูเจาะหู นอกจากนี้คุณควรหมั่นสังเกตสัญญาณของการติดเชื้อและพยายามหลีกเลี่ยงการหมุนหรือเล่นต่างหู
ขั้นตอน
-
ล้างมือให้สะอาด. หมั่น ล้างมือ ให้สะอาดอยู่เสมอด้วยสบู่ต้านเชื้อแบคทีเรียก่อนสัมผัสรูเจาะหูเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อโรคอื่นๆ เข้าสู่ร่างกาย
-
จุ่มแช่ในน้ำเกลือ. ละลายเกลือทะเล ¼ ช้อนชาในน้ำอุ่นปริมาณ 1 ถ้วยวางไข่ นำบริเวณของหูที่เจาะจุ่มแช่ในน้ำเกลือนาน 2-3 นาทีแล้วจึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด [1] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ National Health Service (UK) ไปที่แหล่งข้อมูล
-
ขจัดคราบสะเก็ดอย่างเบามือ. เช็ดทำความสะอาดคราบสะเก็ดที่ก่อตัวขึ้นรอบรูเจาะหูออกให้หมดจด โดยใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำแตะเบาๆ เพื่อเช็ดคราบสะเก็ดออก แต่หากคราบสะเก็ดไม่สามารถหลุดออกได้อย่างง่ายดาย ให้ปล่อยทิ้งไว้โดยไม่จำเป็นต้องถูแรงๆ เพื่อให้หลุดออก [2] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ National Health Service (UK) ไปที่แหล่งข้อมูล
- หลีกเลี่ยงการใช้สำลีก้อนหรือคอตตอนบัดในการเช็ดทำความสะอาดรูเจาะหูเพื่อไม่ให้ขุยจากสำลีติดที่ผิวรวมถึงป้องกันไม่ให้สำลีเกี่ยวถูกต่างหูจนหูของคุณได้รับบาดเจ็บ
-
เช็ดให้แห้ง. ใช้กระดาษอเนกประสงค์ซับเบาๆ ตรงบริเวณที่เจาะหู หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าขนหนูที่ใช้ร่วมกับผู้อื่นเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายสู่รูเจาะหูจนก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ รวมถึงหลีกเลี่ยงการถูแรงๆ เพื่อไม่ให้เกิดระคายเคืองขึ้นในช่วงที่แผลกำลังฟื้นฟู [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิงโฆษณา
-
หลีกเลี่ยงการจับรูเจาะหู. ในช่วงที่แผลกำลังฟื้นฟู พยายามหลีกเลี่ยงการจับรูเจาะหูนอกเหนือจากการทำความสะอาด เนื่องจากการหมุนหรือบิดต่างหูอาจทำให้รูเจาะหูเกิดการติดเชื้อได้ นอกจากนี้คุณควรสัมผัสรูเจาะหูด้วยมือที่เพิ่งล้างสะอาดเท่านั้น [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ซักเสื้อผ้าและชุดเครื่องนอนให้สะอาด. เพื่อป้องกันการติดเชื้อ คุณควรแน่ใจว่าเสื้อผ้าและชุดเครื่องนอนที่ใช้นั้นสะอาดมากพอ ในช่วงที่แผลกำลังฟื้นฟู เสื้อผ้าที่อาจสัมผัสถูกหูของคุณ (เช่น ฮู้ดของเสื้อกันหนาว) ควรนำไปซักให้สะอาดทุกครั้งหลังการสวมใส่ในแต่ละโอกาส รวมถึงซักชุดเครื่องนอน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลอกหมอน) ให้เรียบร้อยอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง [5] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
งดใช้สารเคมีที่รุนแรงบริเวณรูเจาะหู. หลีกเลี่ยงการใช้แอลกอฮอล์หรือเปอร์ออกไซด์ที่บริเวณรอบๆ รูเจาะหู เนื่องจากสารเคมีเหล่านี้อาจทำให้ผิวหนังแห้งเป็นพิเศษและได้รับความเสียหายได้ รวมถึงงดใช้สบู่ต้านเชื้อแบคทีเรียและสบู่เพิ่มความชุ่มชื้นที่อาจทิ้งคราบที่ล้างออกไม่หมดจนทำให้รูเจาะหูเกิดการติดเชื้อหรือใช้เวลานานยิ่งขึ้นในการฟื้นฟู [6] X แหล่งข้อมูลอ้างอิงโฆษณา
-
สังเกตสีของผิวหนังบริเวณรูเจาะหู. ผิวหนังรอบๆ รูเจาะหูจะมีรอยแดงเกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติในช่วงวันแรกๆ หลังการเจาะหู แต่หากรอยแดงยังคงไม่หายดีหลังผ่านไปแล้ว 3-4 วัน นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของการติดเชื้อได้ รวมถึงสีของผิวหนังรอบๆ รูเจาะหูที่ผิดปกติ (เช่น สีออกเหลืองๆ) ก็อาจเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนของการติดเชื้อเช่นเดียวกัน ลองสังเกตสีของผิวหนังบริเวณรูเจาะหูวันละ 2 ครั้งในกระจกโดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนเริ่มทำความสะอาดรูเจาะหู [7] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
สังเกตดูว่ามีน้ำหนองหรือไม่. ในช่วงที่แผลกำลังฟื้นฟู อาจมีของเหลวสีขาวไหลออกจากรูเจาะหูเล็กน้อยเป็นเรื่องปกติ แต่หากคุณสังเกตเห็นน้ำหนองสีออกเหลืองหรือเขียว แสดงว่ารูเจาะหูของคุณอาจกำลังเกิดการติดเชื้อได้ อย่าลืมสังเกตดูว่ามีน้ำหนองไหลออกจากรูเจาะหูหรือไม่ก่อนเริ่มทำความสะอาดรูเจาะหู ไม่เช่นนั้นร่องรอยของของเหลวที่ไหลออกมาอาจถูกชะล้างออกไปจนหมดได้ [8] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
สังเกตดูว่ามีเลือดออกหรืออาการบวมหรือไม่. เลือดที่ไหลออกจากรูเจาะรูไม่หยุดเป็นอาการที่ผิดปกติและอาจเป็นสาเหตุของอาการรุนแรงต่างๆ เช่นเดียวกับอาการบวมที่ยังคงไม่ยุบลงหลังผ่านไปแล้ว 3-4 วันก็อาจเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนของการติดเชื้อที่เกิดขึ้น คุณจึงควรหมั่นสังเกตดูรูเจาะหูของคุณเป็นประจำทุกวัน [9] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ปรึกษาแพทย์หากมีสัญญาณของการติดเชื้อใดๆ เกิดขึ้น. หากคุณสังเกตเห็นสัญญาณของการติดเชื้อแบคทีเรียที่รูเจาะหูของคุณ ควรโทรปรึกษาหรือไปพบแพทย์โดยทันที โดยแพทย์ของคุณอาจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะหรือยาทาต้านเชื้อแบคทีเรียเพื่อรักษาอาการติดเชื้อที่เกิดขึ้น เพราะหากคุณปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษาใดๆ อาการติดเชื้ออาจรุนแรงขึ้นจนนำไปสู่การเกิดฝีที่รูเจาะหูได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักต้องรักษาด้วยการผ่าตัดจนอาจส่งผลให้หูของคุณมีรูปทรงที่ผิดไปจากเดิม [10] X แหล่งข้อมูลอ้างอิงเคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญผู้เชี่ยวชาญด้านการเจาะร่างกายเจฟ ซอนเดอร์สเป็นช่างเจาะมานานกว่า 20 ปี เขาเป็นผู้ประสานงานด้านการประชาสัมพันธ์ให้กับสมาคมช่างเจาะ (APP) องค์การระหว่างประเทศแบบไม่แสวงผลกำไรที่เน้นการให้ความรู้ในเรื่องความปลอดภัยของร่างกายและสุขภาพจากการเจาะแก่สาธารณชน เขายังสอนการเจาะให้กับ Fakir Intensives ในปี 2014 เจฟได้รับเลือกให้เป็นคณะกรรมการบริหารของช่างเจาะอาชีพ ส่วนปี 2015 เจฟได้รับรางวัลของประธาน APP จากไบรอัน สเกลลี่
หากคุณรู้สึกเจ็บที่รูเจาะหูแม้ไม่ได้สัมผัสถูก ควรปรึกษาช่างเจาะโดยทันที "อาการเจ็บที่เกิดขึ้นจากการนอนทับหรือการทำความสะอาดรูเจาะหูมักเกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ แต่หากคุณกลับรู้สึกเจ็บแม้ในขณะนั่งเฉยๆ และไม่ได้สัมผัสถูกรูเจาะหู นี่อาจเป็นสัญญาณของอาการผิดปกติและคุณควรปรึกษาช่างเจาะหรือแพทย์โดยทันที"
โฆษณา
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ http://www.nhs.uk/Conditions/Body-piercing/Pages/Introduction.aspx
- ↑ http://www.nhs.uk/Conditions/Body-piercing/Pages/Introduction.aspx
- ↑ https://www.medhealthdaily.com/how-to-speed-up-cartilage-piercing-healing-process/
- ↑ https://piercingexp.com/aftercare/
- ↑ https://www.medhealthdaily.com/how-to-speed-up-cartilage-piercing-healing-process/
- ↑ https://piercingexp.com/aftercare/
- ↑ http://www.healcure.org/ear/cartilage-piercing/cartilage-piercing-infection-causes-signs-bump-how-to-treat-clean-it/
- ↑ http://www.healcure.org/ear/cartilage-piercing/cartilage-piercing-infection-causes-signs-bump-how-to-treat-clean-it/
- ↑ https://www.medhealthdaily.com/infected-cartilage-piercing/
โฆษณา