ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การทำตัวขี้เกียจทำให้ดูแย่ แต่เคยคิดไหมว่าทำไม ก็เพราะว่าพวกที่บ้างานที่เครียดจัดมักจะคิดว่าโลกจะต้องแตกแน่ถ้าพวกเขาหยุดพักหายใจโดยไม่ทำอะไรซักนาทีหนึ่ง หรือเพราะความเชื่อบอกว่าความขี้เกียจมันเป็นบาป หรือเพราะการทำแบบนั้นซ้ำๆ อาจจะทำให้คิดว่าเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้เลย ถึงเวลาแล้วที่จะถอนความคิดนั้นออกไป เพราะความจริงแล้วมันเป็นหนทางที่จะไปสู่ความสุข ความผ่อนคลาย และถึงขึ้นประสบความสำเร็จได้เลยทีเดียว

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ปรับความคิด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มันขึ้นอยู่กับคำว่า “ขี้เกียจ” หมายความว่าอะไรสำหรับคุณ. ภูมิหลังและความเชื่อเหล่านั้นจะทำให้มุมมองนั้นแตกต่างกันไป โดยมีความหมายเชิงลบประมาณว่าเป็นตัวถ่วงหรือการไม่ยอมทำอะไรเลยทั้งที่เพื่อนทำไปเยอะแล้ว เป็นการบอกว่าคนๆ นั้นไม่ยอมปรับปรุงตัวเองหรือชีวิตความเป็นอยู่เลย แต่มาพูดถึงการทำตัวขี้เกียจแบบดีๆ กันดีกว่า:
    • ลองคิดว่าการขี้เกียจคือการที่ร่างกายและจิตใจอยากจะพักผ่อน เพราะหลายๆ คนก็อยากจะเครียดน้อยๆ มีความสุขมากๆ แล้วปรับมันให้เข้ากับชีวิตจริงโดยใส่ใจร่างกายและจิตใจที่ร้องขอความขี้เกียจเล็กๆ น้อยๆ นี้ซะ
    • ขี้เกียจหมายถึงการเหนื่อยจากบางสิ่งที่ปกติและในชีวิตประจำวัน ไม่จำเป็นที่จะต้องรักทุกอย่างที่ทำหรอก รวมทั้งกิจวัตรที่น่าเบื่อเหล่านั้นด้วย
    • การขี้เกียจอาจจะแปลว่าการหมดหนทางกับสิ่งที่ควรทำ ซึ่งอาจจะมาจากความกดดันจากภายนอก
    • บางครั้งก็หมายถึงการที่ใครซักคนไม่ยอมทำตามที่เราต้องการหรือการต้องทำตามที่ใครต้องการ ดังนั้นเลยไม่จำเป็นต้องขี้เกียจ แต่ในการควบคุมคือการทำให้ใครทำสิ่งต่างๆ หรือการเราไม่สามารถที่จะพูดให้ทำได้อย่างชัดเจน เลยเรียกพฤติกรรมของคนแบบนี้ว่าเป็นข้ออ้างที่พูดง่ายๆ
    • รวมถึงอาจพูดได้ว่ามันเป็นการพักผ่อนใจที่แท้จริงโดยการไม่ทำอะไร อย่างการทิ้งกองจานที่ไม่ได้ล้างไว้ แล้วจะผิดอะไรล่ะถ้ามันไม่ได้เป็นบ่อยๆ แต่ที่จริงแล้วมันเกิดขึ้นโดยสัญชาตญาณ และมันถือเป็นข้อดีของการเพิ่มความกระฉับกระเฉงและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี
  2. ขึ้นอยู่กับความขี้เกียจจะทำให้ทำงานน้อยลงแค่ไหน. เพราะการทำงานเสร็จด้วยความพยายามน้อยก็กลายเป็นจุดบกพร่อง แต่อยากทำอะไรยากๆ ตลอดหรอ จะทำไปเพื่ออะไรล่ะ ถ้ามันมีวิธีการทำที่ง่ายกว่า แล้วทำไมไม่ทำตามนั้นและฟังเสียงความขี้เกียจในตัวบ้างล่ะ ลองคิดถึงความเป็นจริงแทนที่จะคิดถึงแต่ความเจ้าระเบียบนั้นสิ เพราะแค่การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านั้นก็เป็นตัวทำให้เกิดความขี้เกียจแล้ว ลองมองดูสิ:
    • เราใช้รถแทนการเดินเพราะขี้เกียจเดิน ใช้เครื่องซักผ้าแทนเพราะขี้เกียจขัดถู รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์เพราะขี้เกียจเขียนทุกอย่างด้วยมือ ยิ่งไปกว่านั้นการพิมพ์มันเร็วกว่า ทำให้เสร็จเร็วและได้พักผ่อนเร็วขึ้น
    • ข้อดีของความขี้เกียจคือมันไม่ผิดที่จะทำงานด้วยวิธีที่ดีกว่าโดยลดทั้งความเครียด การใช้พลังงานและเวลา งั้นเรามองการทำตัวขี้เกียจในแง่ดีกันเถอะ
  3. ลองคิดว่าใครหรืออะไรจะได้ประโยชน์จากการที่คุณทำงานหนัก. บ่นเรื่องงานที่ดูดทั้งเวลาและจิตวิญญาณอยู่ตลอด แล้วยังเรื่องการไม่มีเวลาพักอย่างแท้จริงอีก และโดยทั่วไปแล้วก็มองว่าคนขี้เกียจเป็น “สิ่งไม่มีคุณค่า” “คนไร้ประโยชน์” “คนขี้เกียจที่วันๆ ไม่ทำงาน” และ “คนที่ใช้เวลาไปเปล่าๆ ” สำหรับธุรกิจและการตัดสินใจ กลัวว่าจะถูกใครมองแบบนั้น และเมื่อเราทำงานหนักเราก็มองคนอื่นว่าเป็นแบบนั้นด้วย
    • แต่รู้ไหมว่าคนที่ได้พักน่ะ มักจะมีความคิดที่มากกว่าและมีความสุข น่าตลกที่คนส่วนใหญ่ทำงานมากกว่าที่จำเป็นเพราะมัวแต่ทำตัวให้ดูยุ่งแทนที่จะหาความคิดสร้างสรรค์ในเวลาสั้นๆ
    • สังคมที่ทำงานแบบสมดุล และรู้ตัวว่าอะไรที่พอก็ให้พอไม่น้อยเกินไปจะสามารถสร้างสรรค์ได้ดี
  4. รู้ไว้ว่าเวลาที่ออกห่างจากงานสามารถเติมพลังงานและจิตวิญญาณได้. สิ่งที่ดีที่เป็นข้อบกพร่องของของความขี้เกียจคือความขยัน และการยอมให้ตัวเองทำงานด้วยความเชื่อที่กระตือรือร้นและไม่ตั้งคำถาม มีค่าสำหรับการทำงานหนัก กลายเป็นสิ่งที่มากกว่าการทำงานหลายๆ ชั่วโมงเพื่อหาเงินและทำประโยชน์ให้คนอื่นด้วย และมันเป็นมุมมองที่มีต่อโลก ซึ่งที่จริงแล้วอย่างที่ชาวเดนส์ ทำงาน 37 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เพื่อที่จะพบว่าค่าจ้างเกือบทั้งหมดต้องเอามาจ่ายภาษี แต่ได้คืนกลับมาในรูปแบบการบริการทางสังคม และมีวันหยุดโดยเฉลี่ย 6 สัปดาห์ , [1] โดยถูกจัดอันดับเป็นชาติที่มีความสุขมากที่สุดในโลกเลย
    • การเอาเวลาอื่นนอกจากงานใช้ไปกับการทำเพื่อความสุขทำให้รู้ว่าคนที่ทำแต่งานและไม่ยอมพักเลยเป็นคนโง่ บางครั้งคนขยันก็ต้องหัดเรียนรู้อะไรจากคนขี้เกียจซะบ้าง ในการที่จะยอมให้ร่างกายและจิตใจได้พักพอที่จะได้เติมความแข็งแกร่งและแรงบันดาลใจให้เพิ่มขึ้นได้
    • ความขี้เกียจมันแตกต่างกันน้อยมาก เหมือนๆ กับความขยันนั่นแหละ มันไม่ใช่ทั้งสิ่งที่ดีหรือแย่แต่มันมีความพอดีของมันเอง การที่เอาแต่ยืนกรานว่าอะไรดีอะไรแย่มันง่ายเกินไป และยังเป็นการปฏิเสธโอกาสที่จะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ด้วย
  5. วิธีการทำตัวขี้เกียจก็คือการทำตามแบบนั้นไปตรงๆ เหมือนที่มันเป็น ในตอนแรกอาจจะฟังดูขัดๆ ที่จะบอกให้ทำอะไรน้อยลงหรือเรียกกันว่าการขี้เกียจนั้นอาจจะทำให้สร้างสรรค์งานได้มากขึ้น เราจะเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการ “ก่อให้เกิดงาน” ถ้ามองว่ามันเป็น “การทำอะไรที่มากกว่า” “ทำอะไรเสร็จไปมากกว่า” หรืออาจจะถึงขั้น “ไม่เคยหยุดทำอะไรเลย” แล้วล่ะก็ การจะขี้เกียจต้องเป็นอะไรที่ออกนอกลู่นอกทางมากแน่ๆ
    • ในทางกลับกัน ถ้ามองว่า “การก่อให้เกิดงาน” เป็นการทำสิ่งที่คนส่วนใหญ่จะทำ โดยใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำงานหรือทำอะไรอย่างอื่น มันจะเห็นผลแค่ไหนตอนที่มีเวลาและพลังงานทำเท่านั้น ดังนั้นการทำน้อยๆ หรือการทำตัวขี้เกียจนี้เป็นทางที่ดีที่สุด
    • ลองคิดว่า จะทำงานที่แสนโกลาหลและบ้าระห่ำไปทั้งวัน เพียงเพื่อจะประสบความสำเร็จเล็กๆ โดยเฉพาะเมื่อประเมินค่ามันในรูปของความสำเร็จที่ยั่งยืนหรอ
    • หรือจะทำแค่ชั่วโมงละเล็กๆ น้อยๆ แต่ไปสู่ผลสำเร็จอย่างแท้จริง คือการที่ทำน้อยลงแต่ใช้เวลากับมันมากขึ้น มาถึงจุดนี้ก็ลองมองอย่างจริงจังว่าวิธีการที่ใช้ทำงานจริงๆ แล้วคือการทำให้ตัวเอง “ดูยุ่ง” มากกว่าการ “ก่อให้เกิดผลงาน” ไหม
  6. รู้จักที่จะหยุดพักเมื่อไม่อาจทำการก่อให้งานได้. อาจจะคิดว่าการนั่งอยู่บนโต๊ะทำงานหมายถึงการกำลังทำงานหรือถ้ากำลังขัดเคาน์เตอร์ที่สะอาดอยู่แล้วคือการทำงานบ้าน แต่ถ้าอยากจะขี้เกียจต้องรู้ว่าตอนไหนที่ไม่สามารถทำอะไรต่อไปได้ เพราะมันจะช่วยรักษาพลังงานไว้ทำสิ่งที่ต้องการให้เสร็จจริงๆ และเป็นขั้นตอนการขี้เกียจที่มากขึ้นด้วย
    • ถ้าทำงานเสร็จแล้วและนั่งเก๊กต่อเพื่อความเท่ แล้วจะหาสิ่งที่ก่อให้เกิดงานทำหรือกลับบ้านล่ะ เพราะการนั่งที่โต๊ะเช็คอีเมลและพยายามทำตัวยุ่งๆ น่ะไม่ได้ช่วยอะไรหรอก
    • ลองเขียนนิยายดูสิ อาจจะเขียนได้ดีช่วง 2 ชั่วโมงแรกแล้วสมองก็จะว่างเปล่า ถ้าไม่มีพลังหรือแรงกระตุ้นให้ทำต่อแล้ว งั้นก็หยุดจ้องหน้าจอและให้เวลาตัวเองได้พัก แล้วค่อยกลับมาทำอีกทีวันอื่น
  7. เข้าใจว่าการใช้เวลาที่มีคุณค่ากับคนอื่นนั้นไม่เสียหาย. ไม่มีอะไรที่จะต้องทำงานมากมายขนาดนั้นหรอก ถ้าคู่รัก เพื่อนสนิท ญาติหรือคนรู้จักอยากจะใช้เวลากับคุณให้มากขึ้นให้เวลาพวกเขาอย่างเต็มที่ อย่าขอให้แฟนไปซื้อของที่ร้านขายของชำด้วยหรือส่งอีเมลงานตอนที่ดูหนังกับครอบครัว แต่ควรเรียนรู้ที่จะใช้เวลากับคนเหล่านั้นอย่างมีความสุขแม้จะไม่ได้ทำงานซักนิดเลยก็ตาม
    • ใช้เวลากับคนอื่นและใส่ใจพวกเขาอย่างเต็มที่จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ ทำให้มีความสุขมากขึ้น และเป็นการให้ตัวเองได้ผ่อนคลายจากงานไปในตัวด้วย
    • อย่าผิดหวังในตัวเองกับการสนุกซักอย่าง มันดีนะ
  8. แม้ว่าการจัดการและการมีไหวพริบที่ดีสำหรับการทำงานจะดี แต่หากถ้าอยากขี้เกียจขึ้นแล้วไม่สามารถวางมันลงได้ซักนาทีเลย และถ้าการจัดตารางการประชุม วางแผนให้ทันวันส่งงาน หรือแม้กระทั่งปฏิทินการไปเข้าสังคมล่วงหน้าไม่กี่อาทิตย์มันทำให้เครียดมากกว่าการไม่รู้อะไรเลยแล้วล่ะก็ ลองถอยออกมาและไม่ต้องคอยควบคุมอะไรดูสิ .
    • ถ้าการวางแผนอย่างหมกมุ่นนั้นมันทำให้เครียดนัก ก็ถึงเวลาแล้วที่จะยอมรับการไม่รู้ตารางงานของตัวเองซะบ้าง มันจะช่วยให้ผ่อนคลายลงเล็กน้อยและที่แน่ๆ มันก็อาจจะดีที่ได้ขี้เกียจนิดๆ หน่อยๆ
    • ถ้าไม่อยากทำก็หาความสุขที่หาไม่ได้ที่ไหนซักหน่อยเพื่อจะช่วยให้ผ่อนคลายและพร้อมจะทำงานที่สุมหัวอยู่นั้นต่อ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ทำตามแผน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าขี้เกียจก็ไม่ยากเลย แค่ทำน้อยลงไงแต่ทำให้มันฉลาดๆ หน่อย คนขี้เกียจจะนั่งนับรอคอยเวลาตลอดเมื่อทำงาน แต่การทำนี้ไม่ใช่การนับเวลา ไม่ได้ฆ่าเวลาทิ้งหรือไม่ได้ช่วยให้เป็นอิสระได้เร็วขึ้นหรอก แต่เป็นการไม่ต้องทำมันเลยหรือเป็นการทำอะไรก็ได้ที่ทำน้อยลงในเวลาที่น้อยลงและรู้สึกแย่น้อยลง นี่คือวิธีบางอย่างที่จะทำได้ :
    • ส่งอีเมลให้น้อยลง โดยส่งที่จำเป็นจริงๆ แค่ฉบับเดียวก็พอ ทำให้เป็นประโยชน์มากสำหรับคนที่เราจะส่งให้ที่จะช่วยให้พวกเขารู้ว่าเรากำลังทำงานอยู่และยังช่วยปกป้องเราด้วย
    • แปะข้อความนี้ไว้บนหน้าผากเลย (แค่เขียนลงโพสท์อิทและแปะไว้ที่ที่มองเห็นชัดก็พอ): “ ความขี้เกียจไม่ได้หมายถึงการทำน้อยมันทำให้ได้มากขึ้นแต่หมายถึงทำให้ดีกว่า”
  2. จำได้ไหมว่าครั้งสุดท้ายที่นั่งอยู่บนที่กว้างๆและจ้องมองไปยังความสวยงามรอบๆ ตัวน่ะเมื่อไหร่ ถ้าตอบว่า “ตอนเด็กๆ ” หรือแม้กระทั่ง “ไม่เคย”’ งั้นก็ปล่อยเวลาที่จะได้ใกล้ชิดธรรมชาตินานไปแล้ว ถึงแม้จะไม่ใช่พวกชอบทำกิจกรรมนอกบ้านนัก แค่ใช้เวลาซัก 2 – 3 ชั่วโมงอยู่ในทุ่งหญ้า ทะเลสาบ หาดทราย ป่า สวน หรือภูเขาสวยๆ ที่จะช่วยให้รู้สึกสบายและมีชีวิตชีวาทั้งร่างกายและจิตใจเลยทีเดียว
    • เอาเพื่อน หนังสือ ขนม หรืออะไรก็ได้ที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายไปด้วยสิ แต่อย่าเอางานไปทำหรือทำอะไรเยอะแยะนักล่ะ แค่พอใจกับการไม่ต้องทำอะไรมากก็พอแล้ว
  3. ยอมให้ตัวเองนอนขี้เกียจอยู่บนเตียงในวันหยุดสุดสัปดาห์. มีงานวิจัยเกี่ยวกับการนอนที่บอกว่าการนอนหลับแบบปกติเป็นสิ่งสำคัญที่ควรมีไว้ ดังนั้นไม่ควรเปลี่ยนนิสัยการนอนโดยฉับพลัน แต่การนอนแบบนี้ไม่ใช่การนอนหลับแต่คือ การนอนอยู่บนเตียงและคิดทบทวนตัวเอง อ่านหนังสือดีๆ ซักเล่ม กินอาหารเช้าบนเตียง วาดรูปบนเตียง หรือทำอะไรที่อยากทำเพื่อผ่อนคลายบนเตียง
    • ให้สัตว์เลี้ยงหรือเด็กๆ มานอนเอกขเนกด้วย สัตว์เลี้ยงก็ขี้เกียจโดยธรรมชาติอยู่แล้ว และอาจจะยังไม่เคยสอนเด็กๆ ว่าการพักผ่อนเป็นสิ่งสำคัญของทั้งหมดและการมีสุขภาพดีด้วย
    • โทรหาเพื่อนเก่าซัก 2 – 3 คนและถามว่าพวกเขาเป็นอย่างไรบ้าง
    • ถ้าการทำแบบนี้ทำให้รู้สึกเฉื่อยชาเกินไป ก็อาจจะเดินไปสูดอากาศซักหน่อย แต่ก็อย่าทำอะไรมากกว่านั้นนักล่ะ
  4. ทำให้มีเวลาทำอะไรสนุกๆ เพิ่มขึ้น อย่างการใช้เวลากับเพื่อน คู่รัก หรือเด็กๆ หรือไปเที่ยวชายหาด โดยจดรายการ วางแผนและซื้อของเฉพาะตอนที่จำเป็นก็พอ และการใช้น้อยก็หมายถึงการได้รับที่น้อยลง ดังนั้นจะต้องทำอะไรน้อยลง อย่างการเก็บรักษาและทำความสะอาดและยังทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างง่ายดายอีกด้วย แล้วความขี้เกียจอยู่ตรงไหนล่ะ
    • ถ้าวางแผนซื้อของที่ร้านของชำใหญ่ๆ ซักเดือนละที่หรือสองที่ มันจะช่วยประหยัดทั้งเวลาและทำให้มีเวลาที่จะขี้เกียจได้มากขึ้น
    • สามารถขอให้สมาชิกในบ้านไปซื้อของให้หรือจะซื้อออนไลน์ก็ได้
  5. มันเป็นนิสัยโดยไม่ต้องตั้งคำถามเลย แต่ไม่ใช่วิธีที่จะประสบความสำเร็จหรอก ความต้องการที่จะดูเหมือนยุ่งและยุ่งตลอดเวลานั้นจะลดทอนการก่อให้เกิดงานอย่างมาก เพราะทำให้มัวสนใจแต่ความยุ่งไม่ใช่ความสำเร็จ แทนที่จะทำอย่างนั้นก็หยุดช้าลงดีกว่าไหม โดยทำน้อยลงและใช้ชีวิตอย่างสงบขึ้น ทำให้มีชีวิตที่สงบสุขมากขึ้น ดังนั้นมาพอใจที่จะนั่งอยู่เฉยๆ พักซักหน่อย แล้วยิ้มและมีความสุขกันเถอะ
    • ดูรายการ “สิ่งที่ต้องทำ” และดูว่าอะไรที่จำเป็นต้องทำจริงๆ ทำน้อยๆ แต่ไม่ต้องเครียดกับมันหรือให้เวลากับมันจนไม่มีเวลาว่างเลย
  6. มีเสื้อผ้า รถ ของต่างๆ หรืออะไรที่ต้องรักษา ใช้เวลา สนใจ และงานหนักให้น้อยลง โดยเอาเสื้อผ้าพวกนั้นไปบริจาคหรือเสื้อผ้าที่ไม่ใส่แล้วออกไป ทำความสะอาดตู้กับข้าว ทำให้ตารางการเข้าสังคมยุ่งน้อยลง และทำให้ชีวิตง่ายขึ้นตอนที่สามารถทำได้ แม้ว่ามันจะทำยากในตอนแรก แต่มันจะทำให้ขี้เกียจได้มากขึ้นทีหลังนะ
    • ลงชื่อทำกิจกรรม อาสาช่วยเพื่อน บอกว่าจะทำอาหารยากๆ กิน หรือทำอะไรหลายอย่างมากเกินไปจนไม่มีเวลาสำหรับความขี้เกียจเลย งั้นลองมาดูว่าจะตัดอะไรออกไปได้มั่งเพื่อจะได้มีเวลาพักผ่อนและไม่ต้องทำอะไรมากขึ้น
  7. ไม่ใช่การยักย้ายถ่ายเทหรอก แต่เป็นการปล่อยให้คนที่เหมาะสมได้ทำมัน ถ้าพวกเขาเต็มใจ มีความสุขและมีความสามารถที่สุด แล้วก็อย่าเข้าไปก้าวก่าย โดยส่วนใหญ่แล้วจะรู้สึกผิดกับการปล่อยให้ใครซักคนทำอะไรต่อ แม้เขาจะทำได้ดีที่สุดก็ตาม เพราะเรารู้สึกว่าต้องช่วย แต่บางครั้งความช่วยเหลือเหล่านั้นก็เป็นตัวถ่วงและหลายๆ ครั้งก็ดูเจ้ากี้เจ้าการและไม่เป็นที่ต้องการอีกด้วย
    • ในตำแหน่งที่คอยควบคุมต้องเชื่อใจพนักงาน เด็กๆ หรืออาสาสมัครเหล่านั้นว่าสามารถทำได้ และอย่าบังคับกะเกณฑ์และปกครองใครมากเกินไป
    • จัดการอะไรให้น้อยลงแล้วปล่อยให้ลูกจ้าง เด็กๆ หรืออาสาสมัครได้ทำตามความต้องการ ให้โอกาสพวกเขาได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ออกมา ปล่อยให้พวกเขาได้เรียนรู้ด้วยตัวเองมีความสำเร็จและล้มเหลวบ้าง
    • ยิ่งทำน้อย ยิ่งทำให้คนอื่นคิดได้ว่าต้องทำยังไง โดยสามารถแนะนำได้แต่อย่าเข้าไปยุ่งมาก
    • แบ่งหน้าที่ทำความสะอาด ทำอาหาร จัดการ และทิ้งขยะให้คนอื่น คนส่วนมากจะคิดว่าตัวเองมีความเหนื่อยที่มีตามปกติอยู่แล้ว ดังนั้นอย่างน้อยต้องแบ่งปันความรู้สึกนี้ให้รู้สึกร่วมกันและทำให้ได้ทำอะไรที่อยากทำเร็วขึ้น และงานบ้านจะเป็นตัวต้านความขี้เกียจที่ดีเลย
    • มอบงานและเชื่อใจพวกเขาด้วย ถ้าทุกคนช่วยกันงานจะเบาลง ดังนั้นต้องแบ่งภาระกันเพื่อให้โอกาสทุกคนได้กลับบ้านเร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงาน งานเลี้ยงที่โบสถ์ใกล้บ้าน หรืองานพบปะใหญ่ๆ ของวิกิ
  8. การโต้ตอบแบบออนไลน์โดยไม่มีการแบ่งอาจจะทำให้เสียเวลาทำงานแทนที่จะมีความสุขหรือก่อให้เกิดงานขึ้น การสื่อสารที่น้อยลงและให้พื้นที่ตัวเองได้ขี้เกียจบ้าง มีการคุย เชื่อมั่น ตะโกน โต้เถียง ส่งอีเมล ส่งข้อความ คุยโทรศัพท์ และเช็คอินให้น้อยลง ถ้าทำตามนี้ได้จะทำให้รู้สึก “ขี้เกียจ” และผ่อนคลายได้เร็วขึ้น
    • เราอยู่ในโลกที่การสื่อสารไม่มีที่สิ้นสุด ถ้ารู้สึกว่ามันเป็นเป็นสิ่งที่ต้องทำ หลีกเลี่ยงไม่ได้ และไม่ทำต่อ รู้สึกผิดอย่างแปลกประหลาดหรือแม้กระทั่งมองข้ามคนเหล่านั้นโดยการปลีกตัวออกไป ที่จริงแล้วส่วนมากก็ไม่มีอะไรก็แค่คุยเรื่อยเปื่อยกันไป ด้วยการฟังนิดๆ หน่อยๆ ซึ่งเสียงเหล่านี้มันรบกวน
    • ปล่อยให้ชีวิตเงียบบ้าง โดยยอมให้ความเงียบสงบครอบคลุมจิตใจ และให้ตัวเองขี้เกียจที่จะเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต สังคมออนไลน์หรือส่งข้อความที่เป็น “ภาระหน้าที่” เหล่านั้น
    • ทำทุกอีเมลให้คุ้มค่า แต่ถ้าจำเป็นก็เอาแค่ข้อความด่วนๆ ก็พอ
    • ใช้เวลากับโทรศัพท์ ทวิตเตอร์ แบล็คเบอร์รี แอนดรอยด์และไอโฟนให้น้อยลง แล้วใช้เวลากับคนอื่น ตัวเอง หนังสือเล่มโปรด และปัจจุบันให้มากขึ้น
  9. ฟังดูเหมือนงาน แต่ความเป็นจริงแล้วคือหลายๆ สิ่งถูกทำโดยทันทีเพื่อรักษาโอกาสอื่นๆ ผู้มุ่งหน้าให้กับการทำอะไรน้อยลงที่แท้จริง และผู้คนที่ขี้เกียจเหล่านั้นอาจจะเคยตระหนักได้ว่างานที่แท้จริงอาจจะไม่ได้ทำได้ดีตั้งแต่ต้น จำคำพูดที่ว่า “เมื่อเสื้อขาดให้รีบปะชุนเสีย” นี้ไว้ และนี่เป็นวิธีที่จะประหยัดเวลาที่จะทำงานได้อย่างถูกต้องตั้งแต่ครั้งแรก :
    • เรียนรู้วิธีที่จะเขียนแบบร่างแรกให้ดีอย่างรวดเร็ว โดยการฝึกฝน
    • พับผ้าหลังจากออกจากเครื่องอบ มันทำได้ทันทีและดีกว่ากองไว้ในเครื่องอบนั้นหรือตะกร้าผ้าเป็นวันๆ
    • ระบายสีบ้านครั้งแรกให้ถูกต้อง ไม่อย่างงั้นอาจจะต้องมานั่งแก้งานที่ทำไว้ลวกๆ นั้นอีกหลายชั่วโมงเลยล่ะ งานปรับปรุงและสร้างส่วนใหญ่มีสิ่งหลักๆ ที่ต้องทำเลยก็คือ การทำให้ถูกต้องตั้งแต่ต้นและจะได้บำรุงรักษาและงานซ่อมที่น้อยลงตามมาด้วย
    • อ่านอีเมลและทำให้เหมือนตอนที่ได้รับมัน เมื่อปล่อยไว้ให้มันอยู่ในสิ่งที่จะมา “จัดการทีหลัง” มันจะกลายเป็นงานหินที่ไม่กล้าเผชิญ จากนั้นก็ไม่พอใจแล้วก็รู้สึกจมปลัก ถ้ามันเป็นสิ่งที่ไม่ต้องให้ความสนใจอะไร ลบมันไปเลย ส่วนที่ต้องตอบกลับทันทีก็ทำซะ และต้องทำให้อีเมลในกล่องขาเข้ามีต่ำกว่า 5% ของทั้งหมดและหาเหตุผลดีๆ ที่จะทำอย่างนั้นซะ อย่างการหาคำตอบ หรือขอเวลาตัดสินใจ
    • ซื้อของขวัญสำหรับเทศกาลหรือการเฉลิมฉลองล่วงหน้าก่อนหลายๆ วัน จะได้รีบและรู้สึกยุ่งยากน้อยลง เพราะคนขี้เกียจจะมีเวลาที่จะหลีกเลี่ยงความเร่งรีบเหล่านี้ได้เสมอ
  10. คนขี้เกียจไม่บ่นกันหรอก เพราะหนึ่งเลยมันเปลืองพลังงานและสองการบ่นเป็นตัวก่อให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ยุติธรรม พลาดโอกาส และรู้สึกตกต่ำ ถ้างั้นมาบ่นและวิจารณ์ให้น้อยลงจะได้มีเวลาและช่องว่างทางใจ เพื่อความคิดสร้างสรรค์ที่มากขึ้นและมีการโต้ตอบที่ดีมากขึ้นต่อสถานการณ์ต่างๆ รวมทั้งหาวิธีการแก้ปัญหาที่มากขึ้น โดยการตำหนิที่น้อยลงแต่แก้ปัญหาให้มากขึ้นแทน
    • ทุกคนคร่ำครวญและวิจารณ์อยู่ตลอดแหละ แต่อย่าปล่อยให้มันเป็นนิสัยและชินชากับการทำมันและเตือนตัวเองด้วยพลังทั้งหมดที่มี เพราะมันเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ และมันจะดีกว่าไหมถ้าเอาเวลาเหล่านั้นไปพักผ่อนแล้วไปสู้กับสิ่งที่รบกวนเราต่อ
    • ถ้ามีเหตุผลที่จะบ่นจริงๆ ก็ควรจะใช้เวลาทำอะไรที่มันสร้างสรรค์กว่าการคร่ำครวญ อย่างการเขียนจดหมายไปยังตัวแทนประจำถิ่นหรือฉีดสเปรย์ลงป้ายรณรงค์ต่อต้านความทุจริตแผ่นใหญ่ๆ ไปเลย
    • การพัฒนาความเห็นใจ การยอมรับ ความรักและความเข้าใจ เป็นการทำลายการบ่นที่ดี
    • หยุดความหายนะ. มันอาจจะไม่เกิดขึ้นแม้ว่าจะเคยก็ตาม แล้วถ้าทำให้มันดีขึ้นจะดีกว่าไหม แม้บางทีแค่ต้องการเป็นฝ่ายถูกและพูดคำว่า “ฉันบอกคุณแล้วไง” แต่มันมีวิธีที่จะจัดการกับอนาคตได้ดีกว่าการมัวกังวลและจุกจิกกับมัน
    • เรียนรู้ที่จะปล่อยมันไปแล้วมองหาโอกาสสิ หาทางที่เป็นธรรมชาติของสิ่งต่างๆ และดูว่ามันต้องการอะไรในตอนนี้ คุณไม่สามารถควบคุมผลลัพธ์ได้หรอกแต่ถ้าเรียนรู้ที่จะทำงานอย่างราบรื่น และเตรียมความพร้อมอย่างดีให้ตัวเองกับเหตุการณ์ต่างๆ อย่างการเอาเตรียมอุปกรณ์ฉุกเฉินไว้ในแต่ละสถานที่แล้ว จะทำให้สามารถแก้ไขผลของสิ่งต่างๆ ที่มากระทบตัวเองได้เลยล่ะ
  11. บางครั้งก็ต้องทำสิ่งที่แตกต่างบ้าง เช่น นอนบนโซฟากับกองเสื้อผ้าแล้วนั่งเลือกมัน(แต่ไม่ใช่เหนื่อยเกินที่จะขยับล่ะ) หรือสร้างเต้นท์จากผ้าห่มกับเด็กๆ แล้วคลานเล่นและแค่นอนกองรวมกันก็พอ หรือจะนอนลงบนพื้นหญ้าและนับก้อนเมฆหรือดวงดาวจนนับไม่ไหวและมันจะลอยออกไปอย่างช้าๆ รวมทั้งไม่ต้องใส่ชุดสวยๆ ตลอดวันอาทิตย์ทั้งๆ ที่ไม่ชอบ ไม่ต้องไปกังวลว่าเพื่อนบ้านจะคิดยังไงหรอก
    • ปล่อยไปตามน้ำ โดยแค่ปล่อยให้มันเป็นไป ถอยออกมาและปล่อยให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นโดยไม่ต้องเข้าไปยุ่ง
    • อย่าฝืน ทำตัวให้เหมือนน้ำที่ไม่ต้องพยายามอะไรและทำให้ทางเรียบเมื่อมันไหลผ่านไป
    • หาจุดกดดันชีวิตแล้วกำจัดมันซะแทนที่จะกำจัดกำแพงอิฐเหล่านั้น หาที่ที่กดดันน้อยที่สุดดีกว่า มันเป็นการคิดที่ฉลาดไม่ใช่การปัดความรับผิดชอบหรอก
  12. ถ้ามีเวลาทั้งวันหรืออยากนั่งเฉยๆ ไม่ทำอะไร ก็ทำมันด้วยความภูมิใจซะเถอะ โดยนั่งลงบนระเบียงหน้าบ้านนั้นตรงหน้าทีวีหรือที่ไหนก็ได้รู้สึกสบายที่สุด ยกเท้าขึ้น เอนหลัง แล้วสนุกกับความรู้สึกที่ไม่ต้องทำอะไรอย่างแท้จริง อย่าไปคิดถึงอะไรที่จะต้องทำภายหลังหรือกังวลว่าจะถูกตัดสินขนาดไหน แค่คิดถึงสิ่งที่ทำให้ยิ้มได้หรือไม่ต้องคิดอะไรก็พอ
    • ความขี้เกียจรักการเข้าสังคม ถ้ามีเพื่อนดีๆ ที่อยากจะไม่ทำอะไรนอกจากนั่งยกเท้าขึ้นก็ชวนเขามาสนุกด้วยกัน
    • ฟังเพลงที่ชอบ เลี้ยงแมว กินไอศกรีม หรือทำอะไรก็ได้ที่อยากจะทำจริงๆตอนที่นั่งอยู่ตรงนั้นก็ได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ตั้งวันที่จะขี้เกียจไว้อาทิตย์ละครั้ง อาจจะเป็นวันอาทิตย์โดยจะเป็นตอนบ่ายหรือเย็นก็ได้ แค่ทำให้มันเป็นเวลาของตัวเองก็พอ เพื่อการพักผ่อนและไม่ต้องตอบสนองกับอะไร ไม่ต้องสนใจว่าจะรู้สึกผิดแค่ไหนก็ตาม จะได้มีช่วงเวลาอย่างนี้และรักษามันไว้เพื่อความสมดุลที่จะฟื้นฟูชีวิต
  • การขี้เกียจตลอดเวลามาพร้อมกับความเสียหายได้ ถ้าทำตัวไม่ฉลาดโดยไม่ยอมทำอะไรให้น้อยลง
  • นักล่าและชนเผ่าที่รวมตัวกันหลายๆ กลุ่มมีแบบแผนที่เกี่ยวกับการทำให้น้อยที่สุดเท่าที่ทำได้มากกว่าที่ต้องการเพื่อรักษาความจำเป็นพื้นฐานจริงๆ ของพวกเขา การลดทอนสิ่งเหล่านี้จะทำให้มีเวลาที่จะทำกิจกรรมและคิดว่าควรทำอะไรมากขึ้นได้
  • ทำสิ่งที่รู้สึกชอบไม่ได้ทำลายความขี้เกียจไปหรอก ถ้าแค่คุยออนไลน์และชอบพูดเกี่ยวกับนกและโมเดลเรือแล้วล่ะก็ มันไม่ใช่การทำตัวบ้างาน เพราะต่างคนก็ต่างมีวิธีการผ่อนคลายที่แตกต่างกัน บางทีการเต้นอาจจะเป็นการพักผ่อนได้พอๆ กับการนั่งเฉยๆ ก็ได้ มันขึ้นอยู่กับใจ และโดยส่วนใหญ่แล้วมันคือการทำอะไรซักอย่างเพราะจะได้สนุกกับมันมากกว่ามัวมาคิดถึงผลที่จะตามมา
โฆษณา

คำเตือน

  • บางคนเป็นพวก “กระต่ายเครียด” ที่ต้องทำตัวยุ่งและคอยแต่พูดถึงคนที่ไม่ยุ่งเลย สำหรับคนพวกนั้นแล้ว การยุ่งเป็นนิสัยและตัวตัดสินความดีทั้งหมด ต้องให้เวลาพวกเขามากๆ
  • อย่าให้ความขี้เกียจเป็นความไม่มีระเบียบ หรือแมลงสาบมาเป็นผู้อาศัยคนใหม่ การมีกองจานที่ไม่ได้ล้างและผ้าขนหนูกลิ่นเหม็นบ้างก็ไม่ได้แย่อะไร แค่ลองเปิดประตูห้องครัวมาแล้วปล่อยจานกลิ่นเหม็นๆ นั้นพัดไป แต่ก็ควรหันมาใส่ใจความสะอาดหลักและปัญหาเกี่ยวกับการดูแลตัวเองแทนที่จะร้องขอการทำอะไรน้อยลงบ้าง
  • อย่าตำหนิตัวเองกับการพักผ่อน ไม่มีใครห้ามซะหน่อย เรียกมันว่าเป็น “การฟื้นฟูจิตใจ” ก็ได้ ถ้าจำเป็น แต่อย่ารู้สึกเสียใจในการทำอะไรน้อยลงและได้เพิ่มเติมอะไรให้ชีวิตมากขึ้น
  • ถ้าปล่อยเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์กับงานอดิเรกอย่างการวาดรูปมาหลายปี อาจจะถึงขั้นเป็นทักษะที่คนอื่นอยากจะให้เป็นผู้เชี่ยวชาญได้เลย ถามตัวเองเลยถ้าอยากเปลี่ยนมันเป็นงานและเปลี่ยนมันในชีวิต
  • ถ้าทำอย่างนี้จริงๆ ก็ต้องหางานอดิเรกที่จะมาแทนที่กิจกรรมฆ่าเวลาที่ไม่ต้องคอยกังวลว่ามันจะดีจะแย่พวกนั้น แต่การที่ทำการตลาดเกี่ยวกับงานฝีมือและงานอดิเรกให้พอเพื่อที่จะจ่ายค่าอุปกรณ์ทำมันนั้นยอดเยี่ยมมากเพราะเมื่อถึงเรื่องค่าใช้จ่าย
  • หลีกเลี่ยงการเจ้ากี้เจ้าการหรือการขู่ให้คนอื่นทำอะไรให้ มันไม่ใช่ความขี้เกียจ แต่เป็นการพยายามควบคุมคนอื่นและใช้พลังงานที่จะวางแผนและรักษาไว้มาก และยังเป็นการทำที่แย่มาก
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Dan Buettner, Thrive: Finding Happiness the Blue Zones Way , p. 70, (2010), ISBN 978-1-4262-0515-6
  2. Partial source of article from Leo Babauta, http://zenhabits.net/the-lazy-manifesto-do-less-then-do-even-less/ , shared under an uncopyright.

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,944 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา