ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ตารางเรียนเป็นเครื่องมือที่หยิบใช้สะดวก ไม่ต้องเสียเงิน และช่วยให้จัดสรรเวลาเรียนได้ ตารางเรียนช่วยทำให้เราเห็นว่าต้องทำอะไรให้เสร็จ และต้องทำเวลาไหน ถ้าอยากทำอะไรให้เป็นระเบียบ และรู้สึกมีแรงจูงใจที่จะทำงานให้เสร็จลุล่วงอย่างเต็มความสามารถแล้ว ลองใช้ตารางเรียนส่วนตัวมาช่วยดู

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

กำหนดตารางเรียน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คิดและเขียนสิ่งที่ต้องทำทั้งหมด จะได้เอามาจัดไว้ในรายการได้อย่างเหมาะสม การคิดและเขียนสิ่งที่ต้องทำเอาไว้ล่วงหน้าก่อนลงตารางจริงจะทำให้สร้างตารางจริงได้อย่างราบรื่นมากขึ้น [1]
    • ควรคิดถึงทุกอย่าง วิชาที่เรียนทั้งหมดในแต่ละวัน งาน งานบ้าน กีฬา และการออกกำลังกาย รวมทั้งอะไรอย่างอื่นที่ทำเป็นกิจวัตรประจำวันซึ่งอาจเป็นช่วงเวลาที่น่าจะนำมาใช้เรียนเพิ่มเติมได้
    • อย่าลืมวันเกิดเพื่อนๆ พ่อแม่ พี่น้อง และวันหยุดสำคัญ
    • อาจไม่จำเป็นต้องคิดออกหมดทุกอย่างตั้งแต่แรก ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น แล้วใส่เพิ่มทีหลังก็ได้
  2. จะทำแบบนี้ก็ต่อเมื่อมีคำอธิบายรายวิชาหมดทุกวิชาแล้ว และมีเอกสารการบ้าน หรือเอกสารโครงงานที่ต้องทำส่ง อาจดูทางอินเตอร์เน็ตก็ได้ถ้ามีห้องเรียนออนไลน์ (เช่น Blackboard หรือระบบจัดการเรียนการสอนอื่นๆ ) [2]
  3. ใช้เวลาคิดสักหน่อยว่าเมื่อไรที่เรียน หรือจะเรียนได้ดีที่สุด เป็นคนที่ชอบตื่นเช้า หรือเป็นคนที่ชอบนอนดึก การคิดถึงเรื่องนี้ด้วยจะได้ช่วยให้จัดตารางเวลาศึกษาบทเรียนที่สำคัญให้เหมาะกับช่วงที่เราเรียนได้ดีที่สุด [3]
    • เมื่อเสร็จขั้นตอนนี้ อย่าคิดถึงหน้าที่ความรับผิดชอบอื่นๆ (อย่างงานเป็นต้น) แค่จดเวลาที่ทำได้ดีที่สุดราวกับว่าไม่มีอะไรอื่นให้ทำอีก
  4. จะทำตารางเรียนแบบกระดาษ หรือตารางเรียนแบบดิจิทัลซึ่งใช้ตารางจัดการ หรือแอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือทำก็ได้
    • โปรแกรมตารางจัดการ อย่าง Microsoft Excel หรือ Apple Numbers ก็มีไว้เพื่อทำตารางต่างๆ อยู่แล้ว และยังมีโปรแกรมประมวลผลคำมากมายที่มีแม่แบบตารางให้นำมาใช้ได้ [4]
    • ถ้าเลือกตัวช่วยสร้างตารางทางอินเตอร์เน็ต ขอแนะนำโปรแกรมที่มีการเข้าใช้สร้างตารางเรียนซึ่งมีให้ใช้ทั้งรูปแบบแอปพลิเคชันและรูปแบบเว็บ นั่นคือ My Study Life
    • ถึงแม้จะดูตารางเรียนจากเว็บ หรือมือถือบ่อยๆ แต่ตารางเรียนที่เป็นกระดาษก็อาจยังคงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดอยู่ โดยเฉพาะกรณีที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์ใดๆ ในห้องเรียน
    • ทั้งตารางเรียนที่เป็นกระดาษและตารางเรียนแบบดิจิทัลต่างก็มีข้อดี ตารางเรียนแบบดิจิทัลอาจกำหนด และปรับแก้ได้มากมาย ง่ายกว่า ขณะที่ตารางเรียนที่เป็นกระดาษถึงแม้จะพกติดตัวไปไหนก็ได้ แต่ปรับแก้ได้สะดวกน้อยกว่าเยอะ แต่ตารางเรียนกระดาษก็ยังใส่สีสัน (อย่างน้อยจะได้เพิ่มความสนุกไปในตัว) และใส่เอกลักษณ์เฉพาะตัวได้ง่ายกว่า
    • อาจทำตารางเรียนโดยใช้ทั้งสองวิธีผสมกันก็ได้ ใช้คอมพิวเตอร์พิมพ์ตารางที่ใส่วันและเวลาไว้แล้วออกมา พิมพ์กระดาษตารางให้มากที่สุดเท่าที่ต้องการ (ขึ้นอยู่กับว่าวางแผนไว้กี่สัปดาห์) และเขียนสิ่งที่ต้องทำลงไปด้วยมือ
  5. ตารางใดๆ ก็ตามควรจะมี “วัน”และ “เวลา” ต่างๆ พิมพ์วันของแต่ละสัปดาห์ไว้ที่หัวแถวแรกของแนวตั้งและเวลาที่หัวแถวแรกของแนวนอน
    • ถ้าวาดตารางเรียนเอง ก็ต้องสร้างเส้นตารางเอง จะใช้กระดาษสมุดธรรมดา หรือกระดาษเปล่าก็ได้ ตีเส้นด้วยไม้บรรทัดจะได้ดูเรียบร้อย
    • ข้อเสียใหญ่ของการวาดตารางด้วยตนเองคือเปลี่ยนแปลงได้ยากภายหลัง ถึงแม้จะใช้ดินสอร่างทุกอย่างไว้ตั้งแต่แรก ก็อาจพบความยากลำบากในการปรับจำนวนแถวแนวตั้งและแนวนอนในภายหลัง ถ้าต้องการหลายหน้าเพื่อทำเป็นตารางเรียนสำหรับแต่ละเดือน ก็ต้องทำตารางใหม่ทุกครั้ง
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เติมตารางเรียน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เลือกใช้ตารางเรียนเดียว หรือปรับตามความเหมาะสม. จะใช้ตารางเรียนเดียวเหมือนเดิมทุกสัปดาห์ หรือทำตารางให้เหมาะแต่ละสัปดาห์ เปลี่ยนไปตามความเฉพาะเจาะจงของสัปดาห์นั้นๆ จะทำตารางเรียนแบบปรับตามความเหมาะสมในคราวเดียวเลยก็ได้
    • สำหรับตารางเรียนที่ปรับไปตามสัปดาห์ ให้เริ่มทำตรงกันข้าม คือเริ่มวันเวลาทำการบ้านชิ้นสำคัญหรือวันเวลาสอบปลายภาค และเขียนย้อนกลับ ตารางเรียนจะต้องปรับเปลี่ยนโดยดูจากการบ้านชิ้นสำคัญที่กำลังจะมาถึง [5]
    • อย่าลืมใส่ทุกอย่างที่คิดเอาไว้ก่อนหน้านี้ลงในตาราง ควรใส่กิจกรรมก่อนใส่เวลา ทุกอย่างนี้รวมถึงสิ่งที่ทำตามปกติอย่างซ้อมกีฬา ต้องใส่กิจกรรมก่อนจะได้รู้ว่าควรใส่เวลาเรียนตรงไหน
    • ถ้าทำตารางเรียนแบบปรับไปตามแต่ละสัปดาห์ อย่าลืมเพิ่มวันพิเศษอย่างวันเกิดและวันหยุด
  2. ควรใส่ช่วงเวลาเรียนให้นานพอสมควร อย่างเช่น ใช้เวลา 2-4 ชั่วโมงต่อการเรียนวิชาหนึ่ง การใส่เวลาจะช่วยเป็นแนวทางการเรียน และช่วยให้ใช้เวลาได้เกิดผลดีมากขึ้น [6]
    • ถึงไม่มีเวลามากสักสองสามชั่วโมง แต่ไม่ได้หมายความว่าแบ่งช่วงเวลาเรียนไม่ได้ ถ้ารู้สึกว่าจัดเวลาเรียน 45 นาทีช่วงนี้หรือหนึ่งชั่วโมงช่วงนั้นแล้วเป็นผลดีจริงๆ ก็ทำไปเถอะ
    • สำหรับวิชาที่ยากให้จัดเวลาศึกษาเพิ่มเติมให้มากขึ้น [7]
  3. การหยุดพักก็สำคัญต่อความสำเร็จ มนุษย์ไม่ใช่หุ่นยนต์ ฉะนั้นจึงไม่สามารถทำงานโดยไม่หยุดพักหลายชั่วโมงจนจบงานได้ ส่วนใหญ่จะทำได้ดีกว่าถ้าหยุดพักตามปกติ [8]
    • ผู้เชี่ยวชาญหลายคนแนะนำว่าควรทำงาน 45 นาที และพัก 15 นาที แต่ทุกคนก็แตกต่างกันไป ถึงแม้ผลการทดลองจะช่วยหาจำนวนเวลาที่เราทำได้ดีที่สุดก็ตาม [9]
  4. จำได้ไหมว่าให้รวบรวมงานและใบคำอธิบายรายวิชา ตอนนี้ได้เวลานำมาใช้แล้ว จัดลงเวลาสำหรับวิชาต่างๆ และเขียนการบ้านที่มี รวมทั้งช่วงเวลาที่จะทำด้วย
    • สิ่งต่างๆ จะเปลี่ยนไปตามกาลเวลาอยู่แล้ว และบางอย่างที่วางแผนไว้สองเดือนก่อนอาจเอามาใช้ไม่ได้อีก แต่อย่าให้เรื่องนี้หยุดเราได้ ให้มองการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นแนวทางที่มีประโยชน์อย่างหนึ่ง อาจมีบางอย่างที่ทำต่อไปได้ และบางอย่างที่ช่วยให้แตกงานชิ้นใหญ่เป็นชิ้นย่อย
    • ถ้ามีการบ้านเสมอทุกอาทิตย์ ให้เพิ่มในตารางเรียนเลย ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องทำการบ้านคณิตศาสตร์ 20 ข้อทุกอาทิตย์เสมอ จะแตกการบ้านชิ้นนี้เป็นงานชิ้นย่อยใส่ในตารางเรียนก็ได้
  5. จัดการเรียนวิชาต่างๆ แต่ละเทอมเข้าไปในตาราง. การเรียนหลายวิชาในเทอมเดียวจะช่วยทำให้ไม่เบื่อหน่าย เพราะต้องคอยจดจ่อแค่วิชาเดียว และไม่มีแรงไปทำอะไรอย่างอื่นเลย [10]
    • แต่ต้องเปลี่ยนมาจัดตารางเรียนแบบเน้นวิชาเดียวบ้างเหมือนกัน ถ้าวิชานั้นมีสอบ เราจะได้อุทิศแรงกายแรงใจให้กับวิชานั้นวิชาเดียวเต็มที่!
  6. ใช้สีบอกแต่ละวิชาที่เรียนและสิ่งที่ต้องรับผิดชอบ จะช่วยให้ตารางเรียนใช้ง่าย และดูง่าย อาจต้องดูตารางบ่อยๆ ทำซะเลย
    • อาจใช้ดินสอสี ถ้าเป็นตารางกระดาษ หรือเน้นส่วนที่ต้องการเน้นด้วยคอมพิวเตอร์ และพิมพ์สีออกมา ถ้าใช้แอปพลิเคชันทางอินเตอร์เน็ตอย่างเดียว ตารางเรียนจะถูกกำหนดเป็นสีอยู่แล้ว แต่ก็สามารถปรับเปลี่ยนสีได้ตามความเหมาะสม
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ใช้ตารางเรียน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาจใช้เวลาบ้างที่จะใช้ตารางเรียนอย่างเคยชินจริงๆ แต่ก็คอยดูเสมอ พอการดูตารางเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันแล้ว จะช่วยได้มากทีเดียว
  2. อย่ารู้สึกเหมือนว่าต้องทำตามตารางเรียนทุกนาที ตารางแค่เป็นส่วนช่วยเล็กๆ ที่ทำให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น ทำตามเวลา แต่อย่าตรงทุกกระเบียดนิ้ว
  3. ดูว่ามีอะไรที่ได้ผล และมีอะไรที่ไม่ได้ผล ถ้าอะไรไม่ได้ผลให้แก้ไข! อุตส่าห์ทุ่มเททำตารางเรียนขึ้นมา ก็ไม่ควรฉีกทิ้ง การปรับตารางอย่างง่ายๆ สองสามครั้งจะช่วยให้ตารางนั้นนำมาปรับใช้กับตัวเราอย่างได้ผล ทำตามตารางเรียนอย่างสม่ำเสมอ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าเริ่มทำตารางเรียนย้อนกลับ และทำตารางเรียนแบบปรับตามความเหมาะสม แล้วเห็นว่าการปรับเปลี่ยนตารางทุกสัปดาห์ดูเหมือนจะเป็นภาระที่หนักเกินไปตอนนี้ ให้ลองเปลี่ยนเป็นทำตารางเรียนแบบใช้ได้ทุกสัปดาห์อย่างง่ายๆ ถึงแม้แต่ละสัปดาห์จะไม่เหมือนกันบ้าง แต่การมีตารางเรียนไว้ก็มีประโยชน์มหาศาล
  • ลองค้นรูปภาพทางอินเตอร์เน็ตหรือใช้ Flickr หรือ Pinterest เพื่อหาตัวอย่างแม่แบบของตารางเรียนที่สามารถนำไปใช้ได้ฟรี
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 15,073 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา