ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณสร้างงานศิลปะโดยฉลุลายแล้วพ่นสีสเปรย์ทับให้เป็นรูปสวยงาม ได้ตั้งแต่รูปทรงง่ายๆ อย่างรูปหัวใจหรือวงกลม ไปจนถึงรูปยากๆ ที่เต็มไปด้วยรายละเอียด อย่างวิวทิวทัศน์หรือภาพเหมือน งานศิลปะแนวนี้ใช้แต่งบ้านได้ด้วย เช่น ใช้ชุบชีวิตเฟอร์นิเจอร์เก่าๆ หรือทำเป็นแถบลวดลายประดับห้อง ใครอาร์ตตัวพ่อตัวแม่ก็ฉลุลายให้ละเอียดเว่อร์วังอลังการไปเลย รับรองจะได้สื่อใหม่ในการนำเสนออารมณ์และเรื่องราวของคุณ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เตรียมตัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คิดก่อนว่าจะเอาลายฉลุนี้ไปทำอะไร เช่น ตกแต่งกล่องนิดๆ หน่อยๆ หรือสร้างลวดลายบนผนังห้อง จุดประสงค์นี่แหละที่จะกำหนดลวดลาย จุดที่ควรคำนึงถึงก่อนกำหนดลายที่จะฉลุก็เช่น
    • อย่าใช้กระดาษ ต้องกำหนดขนาดของลายฉลุก่อน ถ้าจะทำลายฉลุขนาดใหญ่ ก็ลงรายละเอียดยิบย่อยได้ แต่ถ้าจะทำลายฉลุขนาดเล็ก ก็ต้องเลือกลายง่ายๆ เรียบๆ
    • จะพ่นหรือระบายสีทับลายฉลุกี่สี ถ้าอยากได้หลายสี ก็ให้ใช้หลายแผ่น โดยแต่ละแผ่นก็เป็นชั้นสีของตัวเอง ต้องรู้ตรงนี้ถึงจะเตรียมวัสดุอุปกรณ์ถูก ว่าต้องทำลายฉลุกี่แผ่น
  2. คราวนี้ถึงเวลาวาดรูปหรือร่างแบบที่จะเอามาฉลุ ลองวาดลายต่างๆ ดู หรือถ้ามีรูปที่ต้องการอยู่แล้วก็ร่างแบบไปเลย
  3. มีหลายวัสดุให้เลือกใช้ทำแผ่นฉลุลายได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนแผ่นที่คุณต้องการด้วย (แผ่นเดียวหรือหลายแผ่น?) ควรจะเลือกวัสดุที่ฉลุง่ายหน่อย
    • กระดาษลังหรือแผ่นโฟมเหมาะสำหรับทำแผ่นฉลุลายขนาดใหญ่ แต่ลายไม่ซับซ้อนมาก ใช้พ่นหรือทาสีบนพื้นผิวที่เรียบเป็นแผ่นได้เท่านั้น
    • กระดาษ เหมาะสำหรับทำแผ่นฉลุลายแบบใช้แล้วทิ้ง จะใช้ทำลายบนพื้นผิวราบเรียบหรือกลมมนก็ได้ทั้งนั้น
    • ฟิวเจอร์บอร์ดจะคงรูปได้ดีเพราะแข็งกว่ากระดาษ ใช้ทำลายได้ทั้งพื้นผิวเรียบและมนนิดหน่อย
    • แผ่นพลาสติกใสเหมาะสำหรับใช้ทำแผ่นฉลุลายแบบเอากลับมาใช้ได้อีก ทำลายได้ทั้งบนพื้นผิวเรียบและโค้งมน
    • เทปฟิล์มกันเปื้อนหรือฟิล์มกาวใส ใช้ทำลายได้ทั้งบนพื้นผิวเรียบและโค้งมน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ฉลุลาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตัดเส้นรูปต้นแบบให้สะอาดชัดเจน และรายละเอียดแตกต่างกัน สังเกตง่าย. รูปต้องชัดเจน ไม่รก จะได้กรีดตามง่ายๆ [1]
    • ถ้าวาดเองเลย ก็ต้องตัดเส้นส่วนที่จะตัดหรือฉลุให้ชัดเจน ถ้าฉลุขอบและรายละเอียดในรูปได้ไม่ชัดเจน สุดท้ายอาจจะออกมาไม่เหมือนรูปต้นฉบับตามที่ตั้งใจ
    • ถ้าต้นแบบเป็นรูปถ่ายหรือรูปที่หาจากในเน็ต ก็ต้องใช้โปรแกรมแต่งรูปปรับ contrast และ brightness ของรูปให้ส่วนที่มืดและสว่างต่างกันแบบเห็นได้ชัด ถ้าเปลี่ยนรูปเป็นขาวดำในโปรแกรมเลยจะง่ายที่สุด [2]
    • ต้องเลือกรูปที่ใช้ทำลายฉลุได้จริง ถ้ารายละเอียดยิบย่อย มีทั้งพื้นผิวและเงา ก็ระวังอย่าเผลอฉลุออกไปทั้งส่วนจนเสียรายละเอียด พยายามปรับเปลี่ยนให้รายละเอียดน้อยลงแต่คงลักษณะเด่นของรูปไว้ได้หลังฉลุจะดีกว่า [3]
    • ถ้าจะใช้รูปถ่ายทำลายฉลุ แนะนำให้ลบพื้นหลังออกก่อนจะดีที่สุด แต่เป็นขั้นตอนที่กินเวลาน่าดู [4]
  2. พริ้นท์รูปที่จะฉลุในกระดาษต่อเนื่อง (computer paper) ถ้าสะดวก. เสร็จแล้วก็เอามาตัดเส้นอีกที ถ้าส่วนไหนแตกต่างกันไม่ชัดเจน ต้องให้ได้รูปที่เส้นชัดเจนที่สุด จะได้ฉลุง่าย
  3. Watermark wikiHow to ทำลายฉลุสำหรับพ่นสีสเปรย์
    คุณติดกระดาษกับแผ่นฉลุลายได้หลายวิธี
    • ติดเทปกาว เช่น มาสกิ้งเทปหรือเทปใส ติดเทปตามขอบเดียว แต่จะสะดวกถ้ายึดรูปไว้โดยตรงกลางด้านล่างด้วย
    • หรือใช้สเปรย์กาว โดยฉีดพ่นใส่วัสดุที่จะฉลุ แล้วค่อยแปะกระดาษลงไปด้านบน
    • อีกวิธีคือใช้กระดาษลอกลาย แต่จะเห็นผลที่สุดถ้าใช้กระดาษลังหรือฟิวเจอร์บอร์ด
  4. Watermark wikiHow to ทำลายฉลุสำหรับพ่นสีสเปรย์
    ใช้คัตเตอร์ค่อยๆ กรีดส่วนที่ไม่จำเป็นออกไป ถ้าลายของคุณจะลงหลายๆ สี ก็ควรทำลายฉลุหลายๆ แผ่น แยกสีไปเลย
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ใช้ลายฉลุ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ทำลายฉลุสำหรับพ่นสีสเปรย์
    สำคัญมากว่าแผ่นลายฉลุต้องแนบไปกับพื้นผิวนั้นตอนเริ่มพ่นสีสเปรย์ ถ้าส่วนไหนกระเดิด สีจะไหลไปข้างใต้ ลายผิดเพี้ยนกันพอดี วิธีที่แนะนำคือ
    • ติดเทปเลยถ้าเป็นลายง่ายๆ แต่ถ้ารายละเอียดเยอะ แค่ติดเทปอาจจะไม่พอ
    • ใช้สเปรย์กาวแบบติดชั่วคราวแทน หาซื้อได้ตามแผนกเครื่องเขียนหรืองานฝีมือ ถ้าเป็นลายที่รายละเอียดยิบย่อย ต้องใช้วิธีนี้ เพราะจะแน่ใจได้ว่าไม่มีส่วนไหนกระเดิดขึ้นมาตอนพ่นสี
    • ถ้าวัสดุฉลุลายที่คุณใช้เป็นฟิล์มกาวใส ก็แค่ลองกระดาษด้านหลังออก แล้วแปะที่พื้นผิวได้เลย
  2. Watermark wikiHow to ทำลายฉลุสำหรับพ่นสีสเปรย์
    อย่าพ่นหนาไป เพราะสีจะเจิ่งหรือขัง และซึมเข้าใต้แผ่นลายฉลุได้ พยายามพ่นเร็วๆ อย่ากดแช่ที่เดียวนานๆ
  3. Watermark wikiHow to ทำลายฉลุสำหรับพ่นสีสเปรย์
    เป็นเรื่องธรรมชาติที่สีจะเลยขอบแผ่นลายฉลุไปบ้าง (ถึงจะพยายามแล้วก็เถอะ) ยังไงก็ลองชื่นชมผลงานดู ว่าถูกใจหรือยัง อาจจะต้องเก็บรายละเอียดนิดหน่อยตรงส่วนที่สีจางไปหรือไปไม่ถึง
    • แนะนำให้ลองพ่นสีใส่แผ่นลายฉลุบนกระดาษหรือพื้นผิวอื่นเพื่อทดสอบก่อนใช้จริง จะได้พอเห็นภาพว่ารูปจริงจะออกมาเป็นยังไง ล้นขอบตรงไหนบ้าง ทีนี้ตอนพ่นสีบนพื้นผิวจริงจะได้ป้องกันถูก
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าทำลายฉลุจากรูปหรือรูปถ่าย จะดัดแปลงหน่อยก็ได้ จะได้ทำแบบฉลุลายง่ายขึ้น โดยกำหนดกรอบของรูป หรือตัดส่วนที่เป็นสีเข้มในรูปออกไป จะได้ออกมาดูออกและสวยเหมือนต้นฉบับ
  • เวลาจะใช้คัตเตอร์กรีด ต้องทำบนพื้นผิวที่เป็นรอยได้ เช่น เขียง หรือแผ่นรองตัดโดยเฉพาะ
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • รูปหรือรูปวาดสำหรับฉลุลาย
  • โปรแกรมแต่งรูป
  • พรินเตอร์
  • กระดาษต่อเนื่อง (computer paper)
  • กระดาษลัง หรือแผ่นโฟม
  • ฟิวเจอร์บอร์ด
  • แผ่นพลาสติกใส (plastic/clear acetate) แบบปกหนังสือ
  • เทปฟิล์มกันเปื้อน หรือฟิล์มกาวใส (Frisket film)
  • มาสกิ้งเทป หรือเทปช่างทาสี
  • กระดาษลอกลาย
  • คัตเตอร์
  • สเปรย์กาว
  • สีสเปรย์ (ถ้าจะวาดรูปโดยพ่นสเปรย์ใส่แบบฉลุลาย)
  • สีชนิดอื่นๆ (ถ้าไม่มีสีสเปรย์)

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 33,740 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา