ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ความสามารถในการรับรู้รสชาติของความอร่อยเป็นความสุขอย่างหนึ่งของชีวิต ในบางครั้งเนื่องจากความเจ็บป่วยหรืออายุที่มากขึ้น ทำให้เราสูญเสียความสามารถในการรับรสชาติอาหารไปได้ สิ่งนี้ทำให้เรามีความสุขกับการรับประทานอาหารได้ยากขึ้น แต่ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะโดยส่วนมากแล้วการสูญเสียความสามารถในการรับรู้รสอาหารนั้นมักหายไปชั่วคราวและกลับมาได้ ด้วยเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ที่เราเตรียมมาฝาก ซึ่งจะช่วยให้คุณเจริญอาหารได้โดยไม่ต้องรอนาน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ทำตามเคล็ดลับที่ทำได้เองที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในการช่วยบรรเทาอาการไซนัสอักเสบและช่วยฟื้นการรับกลิ่นและรสชาตินั้น ให้ใช้นำน้ำมันละหุ่งประมาณครึ่งช้อนชาผสมกับน้ำมันหอมระเหยจำพวกยูคาลิปตัสมาถูบนใบหน้า ใช้แรงนวดปานกลางโดยเริ่มนวดจากระหว่างดวงตาทั้งสองข้าง แล้วนวดในทิศออกมาผ่านเหนือคิ้วลงไปถึงหูทั้งสองข้าง จากนั้นวนลงมาที่ด้านข้างของปีกจมูกทั้งสองข้าง
    • การนวดด้วยน้ำมันละหุ่งเฉพาะที่นั้นสามารถช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดและช่วยให้เพิ่มการระบายในโพรงอากาศบริเวณหน้าหรือไซนัสได้ [1]
    • ความสามารถในการรับรสอาหารและรับกลิ่นนั้นเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด และหากอย่างใดอย่างหนึ่งหายไปจะส่งผลต่ออีกอย่างด้วย ซึ่งเป็นเหตุผลให้สูญเสียการรับรสชาติเมื่อเป็นหวัด, เป็นไข้ หรือคัดจมูกจากอาการภูมิแพ้
  2. ต้มน้ำในหม้อหรือกาต้มน้ำแล้วเทลงในหม้อชา ใส่ใบชาหรือถุงชาสมุนไพรตามชอบแช่ทิ้งไว้ในเวลาที่พอเหมาะขึ้นกับว่าต้องการให้ชาเข้มขนาดไหน โดยส่วนมากมักแช่ทิ้งไว้ 3-5 นาที จากนั้นให้ดื่มชาขณะที่ยังร้อนอยู่
    • สามารถดื่มชาสมุนไพรจำนวนครั้งได้มากตามต้องการ แต่ควรดื่มให้ได้อย่างน้อย 1 ถ้วยต่อวันในช่วงที่ป่วย
    • การดื่มชาร้อนๆ เมื่อเป็นหวัดจะช่วยไล่น้ำมูกในจมูก ฟื้นฟูความสามารถในการดมกลิ่นและรับรส ชาร้อนๆ ที่มีรสชาติสามารถช่วยกระตุ้นต่อมรับรสที่ลิ้นได้
    • มีชาสมุนไพรมากมายให้ลองชิม ชาคาร์โมไมล์ก็มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและเปปเปอร์มินท์ก็มีฤทธิ์ต้านเชื้อโรคซึ่งดีต่อระบบย่อยอาหาร ทั้งคู่มีส่วนช่วยในการต่อสู้กับอาการป่วยและบรรเทาอาการจากหวัดได้ [2]
  3. กระเทียมมีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะตามธรรมชาติที่ช่วยต่อสู้กับอาการป่วยได้ โดยวิธีที่ได้ผลมากที่สุดคือ นำกระเทียมบดละเอียด 1-2 กลีบมาใส่ในแก้วขนาดเล็กผสมน้ำแล้วดื่มทันที
    • สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานกระเทียมมากกว่า 1 กลีบต่อวัน [3]
    • สามารถเพิ่มกระเทียมเข้าไปในมื้ออาหารได้ เพราะกระเทียมจะช่วยกระตุ้นต่อมรับรสได้ด้วยรสที่ฉุนจัดของมัน
  4. ต้มน้ำ 240-470 มิลลิลิตรในหม้อใหญ่แล้วยกของจากเตา ปิดฝาไว้ 5 นาทีจากนั้นเปิดฝาออกแล้วนำหน้าไปอังเหนือปากหม้อ โดยใช้ผ้าห่มใหญ่คลุมศีรษะเป็นกระโจมเพื่อให้ไอร้อนยังคงอยู่และระเหยขึ้นมาที่หน้าโดยตรง หายใจเอาไอน้ำเข้าไปลึกๆ ให้นานเท่าที่จะนานได้ โดยให้นานถึง 15 นาที
    • หากต้องการเพิ่มกลิ่นหอม ให้เติมไม้หอม, ออริกาโน และโรสแมรีลงไปในน้ำสัก 2 ช้อนชา
    • สามารถเติมน้ำส้มสายชู 120 มิลลิลิตรลงในน้ำเพื่อช่วยลดอาการของไข้หวัดได้ [4]
  5. บ้วนปากด้วยน้ำมันเพื่อรักษาสุขภาพของช่องปาก. เทน้ำมันมะพร้าว, น้ำมันมะกอก, หรือน้ำมันงา 1-2 ช้อนชาลงในปากแล้วอมไว้ 20 นาที น้ำมันจะเคลือบไปในช่องปากนานระยะเวลาที่อมไว้และควรบ้วนออกมาแล้วเป็นสีขาวข้นๆ เมื่ออมกลั้วไว้เสร็จแล้ว ให้บ้วนน้ำมันใส่ถังขยะแทนบ้วนใส่อ่างล้างหน้าเพื่อป้องกันไม่ให้ท่อตัน
    • บ้วนปากด้วยน้ำอุ่นและแปรงฟันตามหลัง
    • น้ำมันจะเป็นตัวสู้กับแบคทีเรียที่เป็นอันตรายในช่องปากซึ่งทำให้สูญเสียการรับรสอาหารและช่วยช่วยทำความสะอาดรสชาติที่ไม่ดีออกไป บ้วนด้วยน้ำมันทุกเช้าก่อนรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม [5]
  6. รับประทานอบเชยทุกวันเพื่อสุขภาพที่ดีของช่องปาก. สามารถผสมอบเชยลงในอาหารและเครื่องดื่ม หากคุณเป็นหวัดหรือมีไข้ ให้เติมอบเชยครึ่งช้อนชาลงในถ้วยชาตามด้วยน้ำผึ้ง 1 หยดเพื่อความหวานและดื่มตอนร้อนๆ
    • อบเชยมีคุณประโยชน์มากมายมีทั้งฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านเชื้อโรค และยังช่วยลดอาการบวมจากไข้และหวัดซึ่งไปลดความสามารถในการรับรสชาติอาหาร แถมยังช่วยป้องกันโรคเหงือกและฟันที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
    • เช่นเดียวกันอาหารชนิดอื่นๆ การรับประทานอบเชยในปริมาณที่มากเกินไปก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ให้รับประทานแค่ 1-2 ช้อนชาต่อวันในคนที่ไม่ได้มีโรคประจำตัว ฉะนั้นให้ปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานหากไม่แน่ใจ [6]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเสียความสามารถในการรับกลิ่นหรือรสชาติสามารถเกิดได้จากการขาดแร่ธาตุสังกะสี สังกะสีเป็นแร่ธาตุที่สำคัญมากในการทำงานของร่างกาย แต่สะสมอยู่ในร่างกายได้ไม่นาน ดังนั้นเราจำเป็นจะต้องได้รับสังกะสีจากอาหาร
    • อาหารจำพวกหอยนางรม, เนื้อวัว, เมล็ดฟักทอง, เนยถั่ว, ดาร์กช็อคโกแลต, เนื้อปู, กุ้งมังกร, เนื้อหมู, และถั่วฝัก ล้วนอุดมไปด้วยสังกะสี
    • บางครั้งอาหารเสริมจำพวกสังกะสีก็จำเป็น แต่ไม่ควรรับประทานเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ การรับประทานสังกะสีมากเกินไป คือมากกว่า 100-200 มิลลิกรัมต่อวันสามารถเป็นสาเหตุให้ขาดธาตุเหล็กและทองแดง, อาเจียน และมีปัญหาเดี่ยวกับการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ [7]
  2. อาหารปากแห้งสามารถเป็นสาเหตุให้สูญเสียความสามารถในการรับรสชาติและกลิ่นได้ ภาวะที่ร่างกายไม่ขาดน้ำเป็นวิธีที่ดีในการรักษาสุขภาพเบื้องต้นและป้องกันไข้หวัดซึ่งเป็นสาเหตุให้สูญเสียการรับรสชาติได้
    • การดื่มน้ำที่เพียงพอก็คือคุณจะไม่ค่อยรู้สึกกระหายน้ำและปัสสาวะมีลักษณะใสหรือเหลืองอ่อน
    • สำหรับบางคนอาจจำเป็นจะต้องดื่มน้ำให้มากกว่าหรือน้อยกว่า 8 แก้วต่อวันเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงจะต้องการน้ำประมาณ 2.7 ลิตรต่อวัน ส่วนผู้ชาย 3.7 ลิตรต่อวัน [8]
  3. เพื่อรักษาสุขอนามัยของฟันที่ดี สิ่งสำคัญคือการป้องกันภาวะเหงือกอักเสบ ซึ่งขั้นแรกของเหงือกอักเสบนั้นเกิดจากการมีคราบพลัคเกิดขึ้นที่เหงือก คราบพลัคที่สะสมมากๆ บริเวรเหงือกจะทำให้เกิดโรคและการทำลายของฟันซึ่งทำให้การรับรสชาติบกพร่องได้ ดังนั้นควรรักษาสุขภาพของช่องปากด้วยการใช้ไหมขัดฟันและแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์อย่างน้อย 2 นาที 2 ครั้งต่อวัน [9]
  4. อีกวิธีหนึ่งทื่ได้ผลคือเลิกบุหรี่ การรักษาด้วยการใช้สารแทนนิโคตินอย่างเช่น หมากฝรั่งหรือแผ่นแปะเลิกบุหรี่เพื่อค่อยๆ ลดการใช้นิโคตินลง หรือนำใบสั่งยา Chantix หรือ Zyban จากแพทย์ไปซื้อ ซึ่งจะลดอาการอยากบุหรี่และบรรเทาอาการจากการขาดนิโคตินโดยการไปเปลี่ยนสารเคมีในสมอง [10]
    • การสูบบุหรี่นั้นไม่เพียงแต่ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายโดยรวม แต่ยังทำให้ความสามารถในการรับรสชาติอาหารบกพร่อง โดยคุณจะกลับมารับรสอาหารได้ภายใน 2 วันหลังเลิกบุหรี่ [11]
    • นับเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมาก แต่อย่าท้อที่จะพยายาม เลิกบุหรี่ เพราะมีวิธีเลิกอยู่มากมาย มันต้องสักวิธีที่เหมาะกับคุณ สิงห์อมควันบางคนประสบความสำเร็จในการเลิกบุหรี่ด้วยการใช้วิธีสะกดจิต, ฝังเข็ม, และการทำสมาธิเพื่อช่วยแก้พฤติกรรมทางจิตและร่างกายในการสูบบุหรี่ [12]
  5. เพิ่มเครื่องเทศและรสชาติใหม่ๆ ลงในมื้ออาหารตามช่วงอายุ. ความสามารถในการรับรู้รสชาติโดยธรรมชาติแล้วจะค่อยๆ ลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น [13] เพื่อชดเชยการรับรสชาติที่สูญเสียไป ให้เพิ่มรสชาติลงไปในอาหารด้วยการเติมเครื่องเทษและสมุนไพรอย่างเช่น ใบกะเพรา, ออริกาโน, ผักชี และพริกไทยดำลงไป
    • หากอายุยังไม่มากหรือไม่มีข้อห้ามในการรับประทานอาหาร อาจเพิ่มชีส, เบคอนกรอบ, น้ำมันมะกอก, และถั่วคั่วลงไปในอาหารจำพวกผักเพื่อเพิ่มรสชาติได้
    • หลีกเลี่ยงการเติมเกลือหรือน้ำตาลมากเกินไป เพราะไม่ดีต่อสุขภาพ
    • หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกลาซานญ่า ผักโขมอบชีสที่มีส่วนผสมจำนวนมากและรสชาติแต่ละส่วนผสมไม่เด่น ทำให้รสอาหารยิ่งเจือจางลง [14]
    • เครื่องเทศต้องไม่เก่าเก็บเกินไป เพราะจะทำให้รสชาติหายไปตามกาลเวลา [15]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ใช้ยาสามัญประจำบ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รับประทานยาลดน้ำมูกหรือยาแก้แพ้เพื่อให้จมูกโล่ง. หากคุณไม่รู้รสชาติอาหารจากการที่เป็นหวัด เป็นไช้ หรือแพ้อากาศ สามารถรับประทานยาแก้อาการเพื่อลดน้ำมูกได้ จะช่วยให้กลับมาได้กลิ่นและรับรสชาติอาหารได้เร็วขึ้น [16]
    • ยาลดน้ำมูกจะมาในรูปแบบเม็ด, ยาน้ำ และสเปรย์พ่นจมูก ยาลดน้ำมูกบางตัวมีส่วนผสมของ pseudoephedrine ซึ่งอาจหาซื้อได้เองตามร้านขายยาโดยไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ [17]
  2. ขอใบสั่งยาปฏิชีวนะหากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย. ในบางกรณีอย่างเช่นไซนัสอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย มีการติดเชื้อในลำคอและต่อมน้ำลาย สามารถทำให้การรับรสชาติบกพร่องได้ ลองไปปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยและให้ใบสั่งยาเพื่อช่วยรักษาตามอาการและช่วยให้การรับรสชาติกลับมาได้ [18]
    • ยังคงมีการถกเถียงกันในวงการแพทย์ว่าจำเป็นจะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบตามจำนวนหรือสามารถหยุดได้เลยเมื่ออาการดีขึ้น ซึ่งก็ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามให้ไปปรึกษาแพทย์ว่าจะต้องรับประทานยานานแค่ไหนหรือหยุดได้เมื่อไม่มีอาการแล้ว [19]
  3. ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหูคอจมูกหากสูญเสียการรับรสชาติเป็นเวลานาน. แพทย์เฉพาะทางด้านหูคอจมูก มักเรียกกันว่า ENT เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความผิดปกติของหู จมูก คอ ปาก และกล่องเสียง หากคุณเคยมีประวัติการรับรสหายซึ่งไม่ได้เกิดจากไข้หวัดหรืออายุมาก ควรพบแพทย์เพื่อส่งตัวให้แพทย์เฉพาะทาง เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสูญเสียการรับรสและช่วยหาวิธีการรักษาตามภาวะที่เป็น
    • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะตรวจหู จมูก ลำคอ และปาก รวมถึงให้ทดสอบชิมรสชาติเพื่อประเมินความเข้มข้นของรสชาติที่ต่ำที่สุดที่รับรู้ได้ และอาจถูกทดสอบให้เทียบความเข้มข้นของสารเคมีที่ความเข้มข้นต่างกันโดยจิบนิดหน่อยแล้วบ้วนทิ้ง หรือหยดลงไปที่ลิ้นโดยตรง [20]
    • ความผิดปกติของร่างกายจำพวกพาร์กินสัน อัลไซเมอร์ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง และปากหรือหน้าเบี้ยว ล้วนสามารถทำให้การรับรสชาติ [21]
  4. บางครั้งการสูญเสียการรับรสนั้นเกิดจากการรับประทานยาจากอาการเจ็บป่วยอื่นๆ อย่างเช่น การทำเคมีบำบัดสำหรับโรคมะเร็ง สามารถทำให้การรับรสบกพร่องหรือเปลี่ยนไปจากเดิมได้ [22] ปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อประเมินว่าสามารถเปลี่ยนยาหรือปรับขนาดยาได้หรือไม่ [23]
  5. การสูญเสียการรับรสชาติสามารถเกิดจากริดสีดวงจมูกได้ ซึ่งเป็นเนื้อนิ่มๆ ไม่มีอาการปวด และไม่ใช่เซลล์มะเร็ง เกิดในโพรงอากาศหรือทางผ่านเข้ารูจมูก [24] ริดสีดวงจมูกสามารถรักษาได้ด้วยยา แต่ในรายที่เรื้อรังอาจต้องผ่าตัด
    • แพทย์จะสั่งจ่ายยาสเตียรอยด์เพื่อให้ริดสีดวงยุบลงและลดการอักเสบ
    • หากการรักษาด้วยยาไม่ช่วยให้ริดสีดวงลดหรือหายไป แพทย์อาจรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง โดยศัลยแพทย์จะสอดท่อที่มีกล้องเข้าไปในรูจมูกและใช้เครื่องมือขนาดเล็กนำเนื้อริดสีดวงออกมาเพื่อขยายรูที่เป็นทางผ่านอากาศจากโพรงอากาศมายังโพรงจมูก การผ่าตัดนี้มักไม่ต้องนอนค้างโรงพยาบาลและฟื้นตัวได้ภายในประมาณ 2 สัปดาห์ [25]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 23,545 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา