ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ดินปั้นมีหลายแบบด้วยกัน รวมถึงดินโพลิเมอร์ (polymer) หรือดินปั้นญี่ปุ่น และดินแบบที่แข็งตัวเองได้ไม่ต้องอบ ซึ่งคนนิยมใช้ทำโครงงานสนุกๆ เช่น ปั้นจานชาม เครื่องประดับ และงานคราฟต์หรืองานฝีมืออื่นๆ ปั้นเสร็จถ้าจะให้ชิ้นงานแข็งตัวก็ทำได้โดยอบดินญี่ปุ่นในเตา หรือทิ้งดินแบบแข็งตัวได้เองผึ่งลมไว้จนแห้งแข็ง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

อบดินปั้นญี่ปุ่น (Polymer Clay)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้เข็มจิ้มรูระบายอากาศ ถ้าชิ้นงานมีโพรงอากาศ. ถ้าชิ้นงานมีโพรงอากาศข้างใน ต้องเจาะรูระบายอากาศ ป้องกันดินแตกเวลาอุณหภูมิเปลี่ยนในเตาอบ ให้ใช้เข็มเจาะดินปั้นทะลุจนถึงโพรงอากาศด้านใน [1]
    • ถ้าชิ้นงานไม่มีโพรงอากาศ ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องเจาะรูระบายอากาศแต่อย่างใด!
    • ให้เจาะอย่างน้อยโพรงละ 1 รู เพื่อระบายอากาศเพียงพอ
    • เช่น พวกดินปั้นรูปสัตว์ ส่วนใหญ่จะมีโพรงอากาศข้างใน เพื่อให้น้ำหนักเบาขึ้น หรือเครื่องประดับอย่างต่างหูและจี้ห้อยคอ ก็จะมีโพรงอากาศเช่นกัน โดยเฉพาะชิ้นงานละเอียดๆ

    ระวังว่าดินปั้นบางชนิดไม่ควรทำให้แห้งแข็ง เช่น ดินน้ำมัน เพราะฉะนั้น ต้องเช็คคำอธิบายการใช้งานที่ห่อให้แน่ใจก่อน ว่าดินปั้นชนิดนั้นแข็งตัวได้

  2. ต้องอ่านคำแนะนำการใช้งานที่ห่อก่อน จะได้รู้อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการอบ. ดินปั้นแต่ละยี่ห้อก็ต้องอบด้วยอุณหภูมิแตกต่างกันไป ซึ่งจะมีบอกไว้ที่หีบห่อ ปกติจะอยู่ที่ประมาณ 100 - 150°C (212 - 300°F) แนะนำให้อ่านข้อมูลที่หีบห่อก่อน ว่าดินปั้นที่หนาขึ้นต้องอบด้วยอุณหภูมิสูงขึ้นหรือเปล่า จากนั้นก็ตั้งอุณหภูมิเตาอบตามนั้นได้เลย [2]
    • ถ้าใช้ดินปั้นหลายๆ ยี่ห้อรวมกันในชิ้นงานเดียว ให้ทำตามคำแนะนำที่ฉลากของยี่ห้อที่ใช้ปริมาณมากสุด ถ้าไม่แน่ใจ ให้ตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 130°C (265°F)
  3. Watermark wikiHow to ทำให้ดินปั้นแข็งตัว
    ระหว่างรอเตาร้อน ให้วางชิ้นงานบนจานเซรามิกที่เอาเข้าเตาอบได้ จะใช้ถาดหรือจานอบโดยเฉพาะก็ได้ เช่น จานพายเซรามิก กระทั่งวางบนกระเบื้องเซรามิกก็ได้ [3]
    • เซรามิกจะร้อนนาน เลยทำให้อุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลงกะทันหันเวลาเปิดฝาเตาอบไว้
    • ห้ามใช้ภาชนะโลหะหรือแก้ว เพราะอุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก
  4. ข้อได้เปรียบมากๆ ของการลงสีชิ้นงานดินญี่ปุ่น คือไม่ต้องรอสีแห้งก่อนอบ พอเคลือบหรือลงสีชิ้นงาน 1 - 2 ชั้นแล้ว ก็เปิดเตารออบได้เลย
    • การลงสีหรือเคลือบผิวชิ้นงาน อาจทำให้ต้องใช้เวลาอบนานขึ้น แต่ปกติต้องใช้เวลาอบ 3 - 5 นาที ต่อการเคลือบหรือลงสี 1 ชั้น
  5. ดินปั้นส่วนใหญ่จะใช้เวลาอบประมาณ 10 - 30 นาที ซึ่งก็แล้วแต่ความหนาและสีของชิ้นงานด้วย แต่ปกติจะอบตามระยะเวลาที่ระบุไว้ที่ห่อ ถ้าชิ้นงานหนา 1/4 นิ้ว (ประมาณ 0.5 ซม.) [4]
    • เช่น ถ้าที่ห่อเขียนว่าให้อบ 15 นาที และชิ้นงานของคุณหนา 1/2 นิ้ว (ประมาณ 1 ซม.) แสดงว่าต้องอบจริง 30 นาที
    • ถ้าทิ้งห่อไปแล้ว จะปลอดภัยกว่าถ้าอบด้วยอุณหภูมิต่ำกว่า โดยอบต่อเนื่องนานๆ ประมาณ 30 - 40 นาที
  6. เอาน้ำกับน้ำแข็งใส่ชามใบใหญ่ระหว่างอบชิ้นงาน. หาหม้อสำหรับทำอาหารหรือถังน้ำขนาดใหญ่ ใส่ชิ้นงานของคุณได้ จากนั้นเทน้ำผสมน้ำแข็งลงไปให้สูงประมาณ 2 นิ้ว (5 ซม.)
    • เพราะต้องให้น้ำมิดชิ้นงาน เลยแนะนำให้ใช้หม้อใบใหญ่ที่สุดที่หาได้
  7. เอาชิ้นงานที่อบเสร็จแล้วออกจากเตา จากนั้นนำมาแช่น้ำทันที. พออบชิ้นงานจนครบตามเวลา ให้ใช้ไม้พายสปาทูล่าแซะออกจากจานเซรามิก จากนั้นค่อยๆ ย้ายชิ้นงานมาที่หม้อ แช่ชิ้นงานลงไปในน้ำผสมน้ำแข็ง ทิ้งไว้อย่างน้อย 30 วินาที เพื่อไม่ให้ชิ้นงานร้อนเกิน เสร็จแล้วค่อยๆ ยกชิ้นงานขึ้นโดยใช้มือหรือที่คีบก็ได้
    • ตอนเอาชิ้นงานออกจากเตาอบ ด้านนอกอาจจะยังนิ่มหยุ่น ซึ่งถ้าใช้ที่คีบ ชิ้นงานร้อนๆ จะเป็นรอยหรือยุบเข้าไปได้ เลยแนะนำให้ใช้ที่คีบเฉพาะตอนแช่ชิ้นงานในน้ำผสมน้ำแข็งแล้วเท่านั้น คีบออกจากน้ำ ไม่ใช่คีบจากเตามาแช่น้ำ
    • ถ้าไม่แน่ใจว่าควรเคลื่อนย้ายชิ้นงานยังไง อาจจะแช่น้ำทั้งชิ้นงานและจานเซรามิกเลยก็ได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ผึ่งดินปั้นแบบแข็งตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เก็บชิ้นงานไว้ในที่แห้ง อากาศถ่ายเทดี อย่าให้อะไรมาโดนหรือรบกวน หมั่นเช็คสภาพชิ้นงานทุก 4 - 6 ชั่วโมง ว่ามีรอยแตกหรือบิ่นไหม ที่สำคัญคือชิ้นงานต้องแข็งขึ้นเรื่อยๆ ส่วนจะทิ้งไว้นานแค่ไหน ก็แล้วแต่ความหนาของชิ้นงาน และความชื้นในอากาศ แต่ส่วนใหญ่ดินปั้นแบบผึ่งลมจะแข็งตัวแห้งสนิทใน 72 ชั่วโมง [5]
    • ถ้าผ่านไป 12 ชั่วโมงหรือมากกว่า แล้วชิ้นงานไม่แข็งตัว ลองเพิ่มอุณหภูมิดู โดยใช้ไดร์เป่าผม หรือจะเอาไปวางในเตาอบ โดยใช้อุณหภูมิต่ำสุด สัก 1 - 2 ชั่วโมงก็ได้ แล้วหมั่นเช็คสภาพชิ้นงานเรื่อยๆ
  2. Watermark wikiHow to ทำให้ดินปั้นแข็งตัว
    ซ่อมแซมรอยแตกที่เกิดขึ้นระหว่างผึ่งไว้ให้แห้ง. ระหว่างรอดินปั้นแห้งแข็ง จะสังเกตว่ามีรอยแตกหรือปูดโปนขึ้นมา ทั้งที่ตอนแรกไม่มี ก็แก้ไขให้เนียนได้ โดยเอานิ้วจุ่มน้ำในแก้ว เอามาทาบริเวณที่มีตำหนิให้เนียนเหมือนเดิม [6]
    • ถ้าระหว่างผึ่งชิ้นงาน มีรอยแตกขนาดใหญ่เกิดขึ้น อาจจะต้องซ่อมแซมโดยคืนสภาพให้ดินปั้นได้ หรือก็คือทาน้ำเล็กน้อย แล้วเอาใส่ถุงซิปล็อคทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที จากนั้นนวดดินแล้วคอยเติมน้ำเรื่อยๆ จนกลับมาปั้นได้
  3. Watermark wikiHow to ทำให้ดินปั้นแข็งตัว
    ถ้าชิ้นงานมีหลายมิติ เช่น เป็นหม้อ หรือเครื่องประดับ ให้กลับด้านชิ้นงาน ด้านล่างของชิ้นงานจะได้แห้งด้วย โดยทำขั้นตอนนี้ตอนผึ่งชิ้นงานไปแล้วครึ่งทาง ซึ่งจะใช้เวลาเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับประเภทดินที่ใช้ [7]
    • จับต้องชิ้นงานอย่างเบามือ ระวังอย่าถือไว้นานเกินความจำเป็น
  4. คุณลงรายละเอียดหรือลงสีชิ้นงานได้ง่ายๆ แค่รอจนชิ้นงานแห้งสนิท จากนั้นใช้พู่กันทาสีอะคริลิกหรือสีฝุ่น tempera เสร็จแล้วทิ้งไว้ให้สีแห้งประมาณ 24 ชั่วโมง สุดท้ายเคลือบกันสีลอกด้วยน้ำยาแบบทาหรือสเปรย์ให้ทั่วชิ้นงาน [8]
    • ถ้าวาดลายค่อนข้างละเอียดบนหม้อดินปั้น ต้องใช้พู่กันเบอร์เล็กๆ สุดท้ายเคลือบผิวทั้งหม้อหลังสีแห้งสนิท
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เวลาอบดินปั้น ระวังอย่าเปิดฝาเตาอบ เพราะความร้อนจะไหลออกมา หรือทำให้ดินปั้นแตกได้ เพราะอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงกะทันหัน
  • ใจเย็นๆ! เพราะบางยี่ห้อต้องรอนานเป็น 72 ชั่วโมง กว่าดินปั้นจะแข็งตัวสมบูรณ์ ถ้าไปแตะต้องหรือขยับเขยื้อนก่อนถึงเวลา เสี่ยงจะทำชิ้นงานเสียได้ง่ายมาก
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 17,393 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา