ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ชีวิตของคุณมีบางด้านรู้สึกเบื่อหรือไม่มีความสุขหรือไม่ ชีวิตของคุณกำลังแย่ลงและอยากจะพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้นหรือไม่ การทำให้ชีวิตมีความสุขคือการมีความรู้สึกอยู่ดีมีสุข (Well-being) และมีความพอใจในชีวิตของตัวเอง (Life satisfaction) นอกจากนี้การมีอารมณ์ในด้านดียังมีส่วนช่วยในเรื่องสุขภาพและช่วยให้มีอายุยืนอีกด้วย [1] [2] คุณสามารถเรียนรู้ที่จะทำให้ชีวิตมีความสุขด้วยการรักและยอมรับตัวเอง คิดอย่างมีเหตุผล ทำกิจกรรมที่ส่งผลดี และก้าวเดินไปให้ถึงจุดหมายของตัวเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

รักและยอมรับตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีทัศนคติต่อตัวเองในทางที่ดี . การยอมรับตัวเองเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้คุณรักตัวเองและมีความสุขกับชีวิตได้ [3]
    • ยอมรับในตัวตนของตัวเอง ณ ปัจจุบันมากกว่าที่จะยึดติดกับการพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเอง
    • พูดหรือบอกตัวเองในทำนองว่า “ฉันรักตัวของฉัน ฉันยอมรับทุกอย่างที่ฉันเป็นในตอนนี้ แม้ว่าจะมีสิ่งที่ฉันอยากจะเปลี่ยน แต่การที่ฉันรู้สึกดีกับตัวเองก็เป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว”
  2. การรับรู้ถึงสิ่งดีๆ ในตัวเองจะช่วยให้คุณพัฒนาความสุขในตัวตนของตัวเองได้ เมื่อคุณรู้สึกไม่ดี การเตือนตัวเองว่าคุณมีข้อดีจะช่วยรักษาความรู้สึกมีความสุขกับอัตลักษณ์ของตัวเองได้ เพราะคุณเป็นคนที่พิเศษและไม่เหมือนใคร
    • เขียนหรือนึกถึงสิ่งที่คุณชอบในตัวเอง เมื่อคุณรู้สึกแย่ก็ให้อ่านหรือเตือนตัวเองด้วยข้อดีเหล่านั้น ตัวอย่างสิ่งที่คุณชอบอาจจะเป็น บุคลิก เส้นผม ความมุ่งมั่น ดวงตา สไตล์ ความรัก หรือทัศนคติในการเสี่ยงภัย เป็นต้น
    • ความเมตตาเป็นคุณสมบัติที่ดีที่คุณควรจะมี ให้ลองนับดูว่าคุณได้มีเมตตาต่อคนอื่นกี่ครั้งในสัปดาห์นี้ คุณอาจะเขียนบันทึกหรือพิมพ์ไว้ในคอมพิวเตอร์ก็ได้ การให้ความสนใจกับจำนวนครั้งที่คุณมีเมตตาต่อผู้อื่นสามารถเพิ่มระดับความสุขได้ [4]
  3. พวกเราทุกคนล้วนมีสิ่งที่อยากจะปรับปรุง ซึ่งก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิด อย่างไรก็ตาม อย่ายึดติดอยู่กับข้อเสียของตัวเอง ให้มองข้อเสียเป็นเหมือนโอกาสที่คุณจะได้เติบโต
    • การเปิดใจมองหาประสบการณ์ใหม่ๆ จะช่วยให้คุณสนใจอยู่กับการเติบโตของตัวเอง ให้ลองทำอะไรใหม่ๆ เช่น สนใจศิลปะหลากหลายรูปแบบ (เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม) ออกไปเที่ยวที่ใหม่ๆ และลองทำสิ่งที่คุณกลัว (เช่น การพูดในที่ชุมชน) เป็นต้น
    • สังเกตและให้รางวัลกับความสำเร็จ จากนั้นให้เปลี่ยนแปลงเป้าหมายของตัวเอง การทำแบบนี้จะช่วยให้คุณสนใจอยู่กับการเปลี่ยนแปลงที่คุณได้ทำมาแล้ว และยังช่วยให้คุณเติบโตอีกในภายภาคหน้าได้
  4. [5] บางครั้งเราจะรู้สึกไม่พอใจตัวเองกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต แต่แทนที่จะนั่งคิดถึงแต่เรื่องแย่ๆ ให้ลองมองมุมดีๆ ในชีวิตที่เคยทำในอดีตจะดีกว่า
    • สร้างรายการเขียนถึงสิ่งดีๆ ที่คุณได้ทำสำเร็จ ตัวอย่างเช่น การเรียนจบ การสอบผ่าน การทำโครงงานเสร็จสิ้น หรือการสร้างชิ้นงานศิลปะ เป็นต้น
    • ให้อภัยตัวเองกับความผิดพลาดที่เคยทำมา และให้มองความผิดพลาดเป็นเหมือนหนทางในการเรียนรู้และเติบโต ความผิดพลาดของคุณไม่ได้บ่งบอกว่าคุณเป็นคนอย่างไร คุณสามารถตัดสินใจที่จะเติบโตและทำทุกอย่างให้ดีขึ้นได้ตั้งแต่วันนี้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

คิดในแง่ดีและมีเหตุผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความเชื่อที่ว่าคุณมีความสุขมากแค่ไหนจะส่งผลต่อความรู้สึกอยู่ดีกินดีของคุณเอง [6] แต่น่าเสียดายที่บางคนมองความสุขเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมีได้หรือมองว่ายังไม่มีความสุขกับชีวิต ถ้าคุณคิดแบบนี้ คุณอาจจะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการพยายามเติมช่องว่างในชีวิต อย่างไรก็ตาม คนที่มีความสุขจะเชื่อว่าพวกเขามีความสุขและไม่มองหาสิ่งของหรือประสบการณ์ภายนอกมาทำให้พวกเขามีรู้สึกความสุข ดังนั้น ถ้าคุณคิดว่าตัวเองมีความสุข คุณก็จะมีความสุข
    • แทนที่จะมองว่ามีที่ว่างในแก้วครึ่งหนึ่ง (มองแต่ข้อเสีย) ให้มองว่ามีน้ำอยู่ครึ่งแก้วจะดีกว่า (มองแต่ข้อดี)
    • ให้ความสำคัญกับมุมมองชีวิตในแง่ดี อะไรที่ช่วยให้คุณอยู่ดีมีสุข ยกตัวอย่างเช่น คนที่มีชีวิตดีและมีความสุขโดยทั่วไปจะมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นในทางที่ดี คอยดูแลคนในบ้าน และมีจุดหมายในสายอาชีพที่แน่นอน (หรือกำลังมองหาจุดหมายอยู่) คิดถึงและมองว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความอยู่ดีมีสุขในตัวเองได้อย่างไร
    • ถ้าคุณกำลังคิดว่าตัวเองไม่มีความสุข และมีความคิดประมาณว่า “ฉันยังไม่พอใจเท่าที่ควร” ให้ลองหาหลักฐานที่ช่วยโต้ความคิดนี้ให้ได้ บอกกับตัวเองว่า “ฉันมีทุกอย่างที่ฉันต้องการ ฉันมีความสุขกับสิ่งที่เป็นอยู่ตอนนี้แม้ว่าจะไม่สมบูรณ์แบบก็ตาม ซึ่งสิ่งที่ฉันมีอยู่ตอนนี้ก็ดีพอแล้วสำหรับฉัน”
  2. ความหวังเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับความสุขและความพอใจในชีวิต [7] ความหวังจะส่งผลให้เกิดความคิดที่ว่าทุกอย่างจะต้องออกมาดี และคาดหวังถึงสิ่งดีที่สุด (โดยไม่คาดถึงสิ่งแย่ๆ ที่จะเกิดขึ้น) ให้สนใจอยู่กับสิ่งที่คุณคาดหวังที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
    • เชื่อว่าทุกอย่างจะต้องออกมาดี หรือจะต้องเป็นในแบบที่ควรจะเป็น แม้ว่าสิ่งเหล่านั้นจะเป็นไปตามที่คุณวางแผนไว้ก็ตาม
    • หนทางหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มความหวังก็คือการสังเกตความคิดแย่ๆ เช่น “คงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงได้แล้ว ฉันไม่สามารถแก้ไขได้แล้ว” ความคิดแบบนี้เป็นความคิดที่ไร้ความหวัง ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้าได้ ถ้าคุณสังเกตเห็นความคิดรูปแบบนี้โผล่มาในใจ ให้รีบพูดกับตัวเองว่า “นี่มันเป็นความคิดที่สิ้นหวัง แต่ฉันยังมีความหวังอยู่ ถึงแม้ฉันจะไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้อย่างเต็มที่ แต่ฉันก็ยังสามารถเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่างในสถานการณ์นี้ได้ หรืออย่างน้อยฉันก็สามารถเปลี่ยนวิธีคิดของฉันได้” ให้มุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนความคิดของตัวเองให้มีลักษณะดังกล่าว แล้วคุณจะมีความหวังมากขึ้น
  3. คนส่วนใหญ่คิดถึงสถานการณ์ในแง่ลบมากกว่าในแง่บวก ให้ลองอดทนฝ่าอุปสรรคในชีวิตและสนใจอยู่กับสิ่งที่คุณได้เรียนรู้และเติบโตจากความยากลำบากนี้ ทุกๆ สิ่งในโลกนั้นเมื่อมีด้านลบย่อมมีด้านบวกอยู่เสมอ และการคิดแบบนี้จะช่วยให้คุณกลับมาอยู่ในที่ที่ถูกต้อง ซึ่งคุณจะสามารถเดินหน้าเพื่อสร้างความสุขในชีวิตได้
    • ถ้าคุณหรือคนรักเกิดล้มเหลวในหน้าที่การงานหรือเรื่องส่วนตัว ให้มองหาผลดีที่เกิดขึ้นจากความล้มเหลวแทนที่จะมองแต่ผลเสีย ยกตัวอย่างเช่น ให้ลองมองว่าสถานการณ์แย่ๆ จะช่วยให้คุณแข็งแกร่งขึ้นได้ เพราะสถานการณ์แย่ๆ นี้จะช่วยให้คุณสร้างคุณลักษณะของตัวเอง ช่วยให้คุณได้เรียนรู้ และช่วยสร้างความอดทนกับความเครียดทางอารมณ์ได้
    • ถ้าคุณตกงาน ให้คิดว่าเป็นช่วงเวลาดีที่คุณจะได้หางานดีๆ ที่ให้ค่าตอบแทนสูงขึ้น มีเวลาทำงานน้อยลง และช่วยให้มีชีวิตที่ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้นได้
  4. ความกตัญญูอาจจะหนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดที่สามารถบ่งบอกถึงความสุขและความอยู่ดีกินดีได้ [8]
    • ถ้าคุณมีสุขภาพที่ดี คุณก็จะมีทุกอย่าง [9] ดังนั้น ให้รู้สึกขอบคุณว่าคุณมีสุขภาพที่ดีพอที่จะมุ้งเน้นการหาความสุขในชีวิตของตัวเองได้
    • สร้างรายการ (ในใจ เขียนลงกระดาษ บันทึก หรือพิมพ์ในคอมพิวเตอร์) ถึงสิ่งที่คุณรู้สึกขอบคุณ ซึ่งอาจจะเป็น ครอบครัว เพื่อน งาน สัตว์เลี้ยง คู่รัก ความบันเทิง เพลง รัฐบาล ความปลอดภัย อาหาร เงิน และบ้าน เมื่อคุณรู้สึกว่าคุณขาดอะไรสักอย่างในชีวิต ให้เตือนตัวเองด้วยรายการแสดงถึงสิ่งที่คุณรู้สึกขอบคุณ ซึ่งคุณก็มีมากพอแล้ว
  5. แม้แต่คนที่มีความสุขที่สุดย่อมเคยมีทุกข์บ้างในบางครั้ง คุณต้องยอมรับว่าบางครั้งชีวิตก็ต้องมีความเจ็บปวดทางอารมณ์ เช่น ความโกรธ ความกลัว ความกังวล ความเครียด และความเศร้า [10]
    • ระบายอารมณ์ออกมาเมื่อคุณต้องการ คุณจะรู้สึกมีความสุขมากยิ่งขึ้นเมื่อได้ระบายอารมณ์ออกมา แต่ถ้าคุณเก็บอารมณ์เอาไว้ในใจ คุณอาจจะระเบิดอารมณ์ออกมาด้วยวิธีที่เป็นอันตราย (เช่น ระเบิดอารมณ์โกรธและลงด้วยความรุนแรง) อย่างไรก็ตาม การระบายอารมณ์ออกมาทีละนิดด้วยวิธีที่ดี เช่น ต่อยมวยเมื่อรู้สึกโกรธ จะช่วยให้คุณรู้สึกมีความสมดุลทางอารมณ์มากขึ้นในระยะยาวได้
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ทำกิจกรรมที่ทำให้คุณมีความสุข

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความรัก (Love) เป็นสิ่งที่ช่วยทำนายความอยู่ดีมีสุขได้ [11] เพราะความสัมพันธ์โดยทั่วไปนั้นมีความสำคัญต่อความรู้สึกอยู่ดีมีสุข [12] พวกเราล้วนต้องการมิตรภาพที่น่าพึงพอใจและมีความสัมพันธ์กับครอบครัวเพื่อให้ชีวิตมีความสุข สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราเป็นมนุษย์ [13]
    • คนที่มีความสุขมีแนวโน้มที่จะเข้าสังคมมากกว่าคนที่ไม่มีความสุข ดังนั้นให้ออกไปเข้าสังคมบ้าง
    • ถ้าคุณรู้สึกอึดอัดหรือประหม่าเมื่อพบปะผู้คนใหม่ๆ ให้ใช้เวลากับคนที่คุณรู้จักและรู้สึกปลอดภัย คุณอาจจะสร้างความมั่นใจจากการอยู่กับพวกเขา แล้วลองพยายามพูดคุยกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน บอกกับตัวเองไว้ว่า “คนแปลกหน้าก็คือเพื่อนที่เรายังไม่ได้พบกัน”
    • จำไว้ว่าการมีความสัมพันธ์กับคนใครสักคนอย่างใกล้ชิดมีความสำคัญมากกว่าการมีคนรู้จักมากๆ แต่คุณไม่รู้จักพวกเขาดี จริงๆ ก็คือมีความสัมพันธ์ที่เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณนั่นเอง ดังนั้น ให้เสริมสร้างและเข้าหาความสัมพันธ์ที่คุณมีอยู่แล้ว
    • เข้าใจว่าความสัมพันธ์นั้นคือการให้และรับ หรือการพึ่งพาอาศัยกัน บางครั้งคุณต้องประนีประนอมกัน ดังนั้น ทำตัวให้เป็นคนที่น่าพอใจ ยืดหยุ่น และเต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลงเมื่อถึงคราวจำเป็น อย่างไรก็ตาม หลีกเลี่ยงการลดทอนคุณค่าของตัวเองหรือเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่สุ่มเสี่ยง
    • มอบความรักและสร้างความสนิทสนมกับคนอื่นๆ ในทางที่ดี แบ่งปันความคิดและความรู้สึกกับเพื่อนที่คุณไว้ใจ อย่าแยกตัวเองเมื่อคุณรู้สึกเศร้าและหดหู่ ถ้าคุณต้องการที่จะอยู่คนเดียว ก็จำไว้ว่าให้หาแรงสนับสนุนจากสังคมหลังจากที่ทำใจได้แล้ว
  2. คนที่ไม่ดีและมีความคิดที่ไม่ดีอาจจะคอยปิดกั้นจิตใจของคุณ และอาจจะนำความคิดที่ไม่ดีเข้ามาในชีวิตของคุณได้ ให้ละทิ้งวิถีพวกเขาเหมือนกับทิ้งปลาเน่าเอาไว้ แล้วไปอยู่กับคนที่มีวิธีหาความสุขให้กับชีวิตและมักจะแบ่งปันความสุขกับผู้อื่นอยู่เสมอ
    • สร้างขอบเขตกับคนที่ทำให้คุณรู้สึกแย่ และพูดว่า “ไม่” เมื่อจำเป็นต้องทำ
    • ใช้เวลาพิจารณาที่จะออกห่างจากความสัมพันธ์หรือเพื่อนที่ทำลายความรู้สึกอยู่ดีมีสุขหรือความสุขของคุณ
  3. ความพึงพอใจ (Pleasure) เป็นส่วนประกอบสำคัญของความสุขและความพึงพอใจในชีวิต [14]
    • ทำแต่กิจกรรมที่ดีกับคนดีๆ ที่คอยนำโอกาสที่จะมีความสุขเข้ามาในชีวิตของคุณ
    • การเป็นคนตื่นตัวนั้นมีความสัมพันธ์กับระดับความสุขด้วยเช่นกัน [15] ลองทำกิจกรรมที่น่าสนุก เช่น ปีนเขา พายเรือคายัค พายเรือแคนนู ตกปลา ทำสวน เต้น คิกบ็อกซิ่ง หรือเล่นโยคะ เป็นต้น
    • ทำกิจกรรมเพื่อความบันเทิง [16] ตัวอย่างเช่น ชมภาพยนตร์ เขียนหนังสือ วาดรูป เล่นดนตรี เย็บปักถักร้อย ถักนิตติ้ง และอ่านหนังสือ เป็นต้น
    • การมุ่งเน้นที่ประสบการณ์มากกว่าสิ่งของจะช่วยเพิ่มความสุขให้กับคุณได้ [17] แทนที่คุณจะซื้อรถใหม่หรือไปเที่ยวต่างประเทศ ให้จำไว้ว่าสิ่งของนั้นได้มาก็หายไปและเสียหายได้ในอนาคต ในขณะที่ความทรงจำจะคงอยู่เป็นเวลานาน และประสบการณ์ยังช่วยขัดเกลาความเป็นตัวคุณอีกด้วย
  4. การตระหนักถึงความเป็นอยู่ของคนอื่นและการแสดงออกถึงความเมตตาสามารถเพิ่มความสุขได้ [18] [19] ดังนั้น พยายามมีความคิดและการกระทำที่ดีด้วยการแบ่งปันและช่วยเหลือผู้อื่น ในการที่จะช่วยคนนั้นมีวิธีทำมากมาย ดังนั้น ให้หาวิธีที่จะช่วยให้ชีวิตของคนอื่นดีขึ้น ในขณะเดียวกันคุณจะรู้สึกมีความสุขภายในใจจากการทำเพื่อให้คนอื่นมีชีวิตที่ดีขึ้น
    • ใช้เงินไปกับสิ่งอื่นที่ช่วยเพิ่มความสุข [20] ลองซื้ออาหารให้คนไร้บ้านทานดูก็เป็นวิธีที่ดีในการใช้เงินเพื่อความสุขทางใจ
    • ทำตัวให้เป็นคนเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและคอยเอาใจคนอื่นมาใส่ใจเรา บางครั้งคนเราก็แค่ต้องการให้ใครสักคนรับฟังปัญหาภายในใจของพวกเขา
    • ช่วยเหลือคนที่เขาต้องการความช่วยเหลือด้วยการเป็นอาสาสมัครที่หน่วยงานชุมชนหรือโรงพยายาล ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจไปช่วยเสิร์ฟอาหารที่ห้องครัว หรือช่วยสร้างบ้านให้กับเหยื่อที่รอดชีวิตจากภัยอันตราย เป็นต้น
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ก้าวต่อไปให้ถึงเป้าหมาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เป็นอิสระ . การเป็นคนที่พึ่งพาตัวเองนั้นมีความสำคัญต่อการเพิ่มและรักษาความรู้สึกอยู่ดีมีสุขและความสุขโดยรวมได้ [21]
    • พยายามต่อต้านแรงกดดันทางสังคมเพื่อเชื่อหรือทำอะไรบางอย่างที่อยากจะทำ และจริงใจต่อความเชื่อของตัวเอง
    • ควบคุมพฤติกรรมของตัวเอง คุณต้องควบคุมการกระทำของตัวเองเพื่อให้ชีวิตมีความสุข การควบคุมแรงกระตุ้นหรือความสามารถในการหยุดและคิดก่อนทำเป็นส่วนสำคัญของการควบคุมพฤติกรรม
    • ประเมินตัวเองด้วยมาตรฐานส่วนตัวแทนที่จะปล่อยให้สังคมบอกว่าคุณควรทำหรือเป็นอะไร
  2. คุณค่าและความสนใจเป็นเหมือนแสงนำทางของแรงขับเคลื่อนในใจ [22] นอกจากนี้ ความอยากรู้อยากเห็นและความกระตือรือร้นยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในชีวิตและความรู้สึกอยู่ดีมีสุขเป็นอย่างมาก
    • สนใจสิ่งใหม่ๆ ลองทำงานอดิเรกใหม่ๆ กิจกรรมใหม่ๆ หรือออกกำลังกายรูปแบบใหม่ สำรวจความคิดที่คุณยังไม่ได้พิจารณาที่จะทำ
  3. ความหมายและจุดประสงค์ของการมีชีวิตมีความเกี่ยวข้องกับความสุขอย่างมาก [23] ซึ่งก็คือการมีเป้าหมายและความปรารถนาในชีวิตนั่นเอง
    • จำไว้ว่าเงินไม่ได้ช่วยรักษาความสุขได้เสมอไป [24]
    • สร้างเป้าหมายระยะสั้นในทุกๆ แง่มุมของชีวิต แทนที่จะสร้างเป้าหมายใหญ่ๆ ให้กับตัวเอง สู้ทำให้เป้าหมายสั้นลงและง่ายต่อการทำให้สำเร็จจะดีกว่า ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการที่จะลดน้ำหนัก อย่าตั้งว่าจะลดน้ำหนักเยอะๆ ให้ตั้งเป้าไว้ที่ 4 กิโลกรัม ซึ่งจะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น ในขณะที่การลดน้ำหนัก 20 กิโลกรัมในทีเดียวนั้นทำได้ยาก ดังนั้น ให้พยายามตั้งเป้าไว้ให้ลดอีก 4 กิโลกรัมจนวันหนึ่งคุณจะเห็นว่าคุณได้ลดน้ำหนักลง 20 กิโลกรัมแล้ว
    • คิดถึงความเป็นไปได้ที่คุณจะบรรลุเป้าหมายในการศึกษาแทนที่จะคิดให้ไกลเกินความเป็นจริง ลองค้นหาว่าวิชาไหนที่คุณสามารถเริ่มต้นและเดินหน้าต่อไปให้ถึงเป้าหมายได้
  4. ถ้าคุณเป็นคนทำงาน การมีความสุขกับงานก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน เพราะสุดท้ายแล้ว คุณอาจจะต้องใช้เวลาทำงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ [25] มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าบรรยากาศการทำงานที่แย่อาจทำให้เกิดความเครียด และทำให้ความสามารถในการทำงานลดลง
    • มองหางานที่ให้ค่าตอบแทนที่ดี ปลอดภัย มีการสนับสนุนให้การช่วยเหลือ และเลื่อนขั้นด้วยความเท่าเทียมและเป็นธรรม นอกจากนี้ ความรู้สึกว่าตัวเองมีค่าก็เป็นสิ่งที่สำคัญ [26]
    โฆษณา
  1. http://www.researchgate.net/profile/Christie_Scollon/publication/228761850_The_evolving_concept_of_subjective_well-being_The_multifaceted_nature_of_happiness/links/0f3175375b0f16af3d000000.pdf
  2. http://www.viacharacterblog.org/wp-content/uploads/2013/12/Character-strengths-well-being-Park-Peterson-Seligman-2004.pdf
  3. http://deepblue.lib.umich.edu/bitstream/handle/2027.42/43062/10902_2004_Article_1278.pdf?sequence=1&isAllowed=y
  4. https://lemosandcrane.co.uk/resources/RISE%20psychological%20wellbeing%20in%20adulthood.pdf
  5. http://deepblue.lib.umich.edu/bitstream/handle/2027.42/43062/10902_2004_Article_1278.pdf?sequence=1&isAllowed=y
  6. http://www.howellfoundation.org/Upload/Events/9-25-12Intentional%20Happiness/IntentionalHappinessResearchArticles.pdf
  7. http://www.howellfoundation.org/Upload/Events/9-25-12Intentional%20Happiness/IntentionalHappinessResearchArticles.pdf
  8. http://psych.colorado.edu/~vanboven/vanboven/Publications_files/vb_gilo_2003.pdf
  9. https://lemosandcrane.co.uk/resources/RISE%20psychological%20wellbeing%20in%20adulthood.pdf
  10. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1820947/
  11. http://www.researchgate.net/profile/Lara_Aknin/publication/5494996_Spending_money_on_others_promotes_happiness/links/0c960536bc4c368a69000000.pdf
  12. https://lemosandcrane.co.uk/resources/RISE%20psychological%20wellbeing%20in%20adulthood.pdf
  13. https://lemosandcrane.co.uk/resources/RISE%20psychological%20wellbeing%20in%20adulthood.pdf
  14. http://deepblue.lib.umich.edu/bitstream/handle/2027.42/43062/10902_2004_Article_1278.pdf?sequence=1&isAllowed=y
  15. http://www.researchgate.net/profile/Lara_Aknin/publication/5494996_Spending_money_on_others_promotes_happiness/links/0c960536bc4c368a69000000.pdf
  16. https://iacp.memberclicks.net/assets/CBTBR/cbtbr-vol_55a.pdf
  17. https://iacp.memberclicks.net/assets/CBTBR/cbtbr-vol_55a.pdf

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 26,797 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา