ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ความสุขกายและความสุขใจนั้น จริงๆ แล้วเกี่ยวพันกันมากกว่าที่คุณคิด ถ้าหมั่นดูแลตัวเองจนสุขภาพแข็งแรง ก็จะทำให้อารมณ์ดีมีความสุข ชีวิตโดยรวมก็จะดี๊ดี ส่วนถ้าใครอารมณ์ดี คิดบวกอยู่เสมอ ก็จะช่วยยืดอายุขัย ห่างไกลพฤติกรรมอันตรายต่อร่างกาย ใครอยากสุขภาพดีมีความสุข ต้องเริ่มจากเปลี่ยนความคิด มองโลกในแง่ดี กล้าคิดกล้าทำ สรุปแล้วทั้งอาหารการกิน การกระทำ และคนที่คุณเลือกคบ จะเป็นตัวกำหนดสุขภาพกายใจของคุณเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ปรับทัศนคติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คิดบวก นี่แหละก้าวแรกและก้าวใหญ่ที่จะพาคุณไปสู่ความสุขใจ แทนที่จะเอาแต่จ้องจับผิด ให้ใส่ใจแต่เรื่องดีๆ แทน [1]
    • อย่าตำหนิหรือโทษตัวเอง พอมองตัวเองแย่ๆ เมื่อไหร่ ให้รีบเปลี่ยนไปหาด้านดี เช่น ถ้าพาลคิดไปว่า “ทำอะไรโคตรช้าเลยเรา ไม่มีทางทำทันเลย” ให้รีบเปลี่ยนเป็น “ฮึดอีกหน่อยเรา เดี๋ยวก็ได้นอนแล้ว!”
    • ถ้าทำพลาด ให้มองว่าเป็นโอกาสให้ได้เรียนรู้ เช่น แทนที่จะคิดว่า “งานนี้ทำพลาดเต็มๆ จบเห่เลย” ให้เปลี่ยนเป็น “โชคดีที่หัวหน้าแนะนำมา คราวหน้าจะไม่ทำผิดซ้ำสองแน่นอน!”
  2. 2
    บริหารความเครียด. เครียดแล้วอารมณ์ก็บูด พอป่วยใจก็อาจป่วยกายตาม ทั้งวิตกจริต โมโห รำคาญใจ ไปจนถึงปวดหัว ปวดตัว อ่อนเพลีย และนอนไม่หลับ วิธีควบคุมความเครียด คืออะไรที่สำคัญกับเราจริงๆ อะไรที่ตัดออกจากชีวิตได้ [2]
    • รู้จัก “ปฏิเสธ” อย่าเหมาหมดทุกงานจนหนักอึ้งแล้วรับผิดชอบไม่ไหว ต้องขีดเส้นให้ชัดเจน ทั้งกับเพื่อนและเพื่อนร่วมงาน ว่าคุณมีลิมิตแค่ไหน ทำอะไรได้ และไม่ขอทำอะไร
    • ถ้าภาระหน้าที่บีบบังคับ ก็ต้องเปลี่ยนวิธี รับมือกับความเครียด ถ้าเครียดจนเกินรับ ให้หยุดพักสัก 5 นาที อาจจะทำสมาธิ หายใจเข้าออกลึกๆ หรือลุกเดินไปมาในห้องก็ได้
  3. ตั้งเป้าหมายกระตุ้นตัวเอง แต่ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง. คนมีเป้าหมายแล้วมักกระฉับกระเฉง ชีวิตจะมีความหมาย มีคุณค่า ให้ตั้งเป้าหมายไม่ว่าเล็กหรือใหญ่เพื่อกระตุ้นเตือนตัวเอง รับรองจะใช้ชีวิตมีระเบียบแบบแผนขึ้นอีกเยอะ เช่น ตั้งเป้าว่าจะวิ่งมาราธอน หรือหาเพื่อนใหม่ [3]
    • ตั้งเป้าแล้วซอยย่อยออกเป็นขั้นเล็กๆ จะดูแล้วเป็นไปได้ ทำง่ายขึ้นอีกเยอะ เช่น ถ้าอยากเขียนนิยายให้ได้สักเล่ม ก็ต้องตั้งเป้าไว้เลย ว่าแต่ละวันจะเขียนทั้งหมดกี่คำ หรือเข้าร่วมกลุ่มหรือค่ายนักเขียนกระตุ้นตัวเอง พอทำอะไรเสร็จไปสักขั้นเล็กๆ จะรู้สึกภูมิใจ มีแรงผลักดันให้ไปต่อ
  4. ถ้ารู้ค่าของสิ่งต่างๆ ในชีวิต จะทำให้คุณเลือกมองแต่เรื่องดีๆ พอใจสุข กายก็สุขภาพดีตาม แถมถ้าคุณเห็นคุณค่าของคนอื่นหรือสิ่งที่เขาทำให้ ก็จะทำให้สายสัมพันธ์ระหว่างกันยิ่งแน่นแฟ้น มีความสุขเข้าไปอีก [4]
    • จดบันทึกขอบคุณสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต โดยเขียนเรื่องดีๆ ที่อยากขอบคุณวันละ 1 เรื่อง ถ้าเศร้า เซ็ง เครียดเมื่อไหร่ ก็เปิดอ่านเติมพลังให้ตัวเองซะ
    • เห็นค่าคนสำคัญในชีวิตคุณ ขอบคุณเขาด้วยคำพูดหรือการกระทำ เขาจะได้รู้ว่าเขาสำคัญต่อคุณแค่ไหน
  5. 5
    ถ้าซึมเศร้า วิตกกังวล หรือถึงขั้นอยากฆ่าตัวตาย ให้ปรึกษานักบำบัดผู้เชี่ยวชาญ. ถ้าเศร้า สิ้นหวัง ด้านชา ว่างเปล่า เหนื่อยล้า หรือวิตกกังวลผิดปกติหรือต่อเนื่องยาวนาน ให้เข้ารับการบำบัดจะดีกว่า นักจิตบำบัดจะให้คำแนะนำ ช่วยคุณหาสาเหตุของปัญหาและให้คำปรึกษาจนคุณสบายใจเอง [5]
    • ถ้าถึงขั้นอยากฆ่าตัวตาย ต้องปรึกษาใครสักคน ไม่ว่าจะพ่อแม่ พี่ เพื่อน ครูอาจารย์ เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน แต่ถ้าไม่มีใครจริงๆ ให้รีบโทรไปที่สายด่วนสุขภาพจิต 1667
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

กินยังไงให้กายใจแข็งแรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1
    กินอย่างมีสติ จะอิ่มเร็วขึ้น. เวลาตักอาหารคำใหม่ ให้เคี้ยวช้าๆ รับรู้ถึงรสชาติอาหาร ใส่ใจรสชาติและสัมผัสที่แตกต่างกันออกไป แบบนี้เรียกกินแบบมีสติ จะทำให้อาหารอร่อยขึ้นด้วย ลองดู! [6]
    • กินอย่างมีสติจะอิ่มเร็วขึ้นเยอะ ไม่ต้องกินจุเหมือนเคย แถมยังช่วยให้รู้สึกว่าอาหารรสชาติดีขึ้นด้วย
  2. ผักผลไม้นี่แหละแหล่งรวมแร่ธาตุ วิตามิน และสารอาหารสำคัญอื่นๆ ที่ช่วยให้คุณสุขภาพดีมีความสุข อาหารที่ดีมีประโยชน์ ควรประกอบด้วยอาหารสดใหม่จากธรรมชาติเป็นหลัก [7]
    • 1 หน่วยบริโภค ก็คือผัก 75 กรัม (ประมาณ 3 ออนซ์) และผลไม้ 150 กรัม (ประมาณ 5 ออนซ์) [8]
  3. 3
    กินอาหารไฟเบอร์สูง. ไฟเบอร์หรือกากใยนี่แหละที่จะทำให้คุณอิ่มเร็วขึ้น แถมดีต่อกระเพาะ ลำไส้ และร่างกาย พอสุขภาพดี อารมณ์ก็ดีตาม พยายามเปลี่ยนจากธัญพืชขัดสี เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว ไปกินธัญพืชเต็มเมล็ด อย่างข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ และขนมปังโฮลวีทแทน อาหารอุดมไฟเบอร์ก็เช่น [9]
    • ขนมปังโฮลวีท
    • ข้าวกล้อง
    • พาสต้าโฮลวีท
    • ถั่วฝัก ถั่วเมล็ดแบน และถั่วเมล็ดแห้ง
    • ผักต่างๆ เช่น บร็อคโคลี่ กะหล่ำดาว และอาร์ติโชค
    • ผลไม้ต่างๆ เช่น เบอร์รี่ และแอปเปิ้ล
  4. 4
    กินอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3. ถ้าขาดกรดไขมันโอเมก้า-3 อาจทำให้รู้สึกหดหู่ ไม่มีความสุขได้ [10] กรดไขมันโอเมก้า-3 มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ช่วยให้หัวใจแข็งแรง อาหารอุดมกรดไขมันโอเมก้า-3 ก็เช่น [11]
    • ปลา
    • วอลนัท
    • เต้าหู้
    • ปวยเล้ง
    • ผักเคล
    • ไข่
  5. 5
    อย่ากินอาหารแปรรูปและฟาสต์ฟู้ด. ฟาสต์ฟู้ดหาซื้อง่าย กินเร็วทันใจ แต่ส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพกายและใจ อาหารแปรรูปมักมีแคลอรี่ โซเดียม และไขมันเลวสูง หาโอกาสทำอาหารกินเองดีกว่า หรือกินอาหารสดจากธรรมชาติให้มากเท่าที่จะทำได้ [12]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

พฤติกรรมทำแล้วดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นอนหลับให้เพียงพอ . ถ้านอนหลับสนิท ยาวตลอดคืน จะช่วยให้ความจำและสมาธิดีขึ้น ภูมิคุ้มกันแข็งแรง และรับมือกับความเครียดได้ง่ายกว่า พยายามนอนให้ได้ 7 - 9 ชั่วโมงต่อวัน [13]
    • ถ้าอยากนอนให้หลับสนิทกว่าเดิม ต้องใช้ม่านตัดแสง งดใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องมือสื่อสาร เช่น มือถือ และคอมพิวเตอร์ 1 ชั่วโมงก่อนเข้านอน ดื่มชาสมุนไพร เช่น ชาคาโมไมล์ หรือชา valerian ไม่ก็อาบน้ำอุ่นก่อนเข้านอน
  2. ร่างกายจะได้ฟิตแอนด์เฟิร์ม แถมดีต่อสุขภาพจิตมากๆ อย่างน้อย 2 - 3 ครั้งต่ออาทิตย์ ให้ออกกำลังกายปานกลางไปจนถึงหนัก เช่น วิ่ง เล่นเวท หรือว่ายน้ำ สลับกับออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดิน หรือโยคะ [14]
    • ถ้าเครียดหรือหดหู่ ให้เดินเร็วหรือกระโดดตบรัวๆ ต้องออกแรงเข้าไว้ถึงจะหายฟุ้งซ่าน
    • ถ้าตารางชีวิตอัดแน่นจนหาเวลาออกกำลังกายได้ยาก ก็พยายามออกกำลังกายเร็วๆ สั้นๆ ตลอดวัน เช่น ลุกเดินไปมาในออฟฟิศ ขึ้นบันไดแทนลิฟต์ หรือทำงานบ้าน
  3. ทุกวันต้องได้ออกแดดบ้าง เพราะช่วยทำให้ร่าเริงสดใส แถมได้วิตามินดี ที่ลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ อารมณ์ก็แจ่มใสขึ้นด้วย พยายามออกไปเดินตากแดดนอกบ้านให้ได้ช่วงสั้นๆ ของทุกวันก็ยังดี [15]
    • ไปเดินเล่น หรือขี่จักรยานนอกบ้านช่วงเช้าๆ ได้ทั้งแดดและออกกำลังกายไปในตัว
    • ทาครีมกันแดดด้วย ถ้ารู้ตัวว่าต้องออกแดดนานเกิน 12 - 15 นาที นอกจากนี้ให้ใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว หรือหมวก ป้องกันผิวไหม้แดด
  4. ฝึกสมาธิ ทุกวัน. เพราะช่วยลดอาการเจ็บปวด ลดความดันเลือด ทำให้ซึมเศร้าหรือวิตกกังวลน้อยลง และรับมือกับความเครียดในชีวิตประจำวันได้ดี ก่อนเริ่มทำสมาธิ ให้หามุมสงบ แล้วหลับตาลง เพ่งสมาธิไปที่ลมหายใจเข้า-ออกของตัวเองประมาณ 5 นาที ถ้าจับได้ไล่ทันว่าใจลอยไปไหน ให้รีบกลับมาจดจ่อที่ลมหายใจ [16]
    • นั่งสมาธิทุกวัน พอนานเข้า เริ่มนิ่ง ก็จะนั่งได้ต่อเนื่องยาวนานกว่าเดิม เช่น เพิ่มเป็น 10, 15 หรือ 20 นาที
    • เดี๋ยวนี้มีหลายแอพและคลิปออนไลน์ให้เลือกฝึกสมาธิตาม เช่น Headspace, Calm และ Insight Timer
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ว่าด้วยการคบค้าสมาคม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ผูกสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับเพื่อนฝูงและครอบครัว. หนึ่งในกุญแจสำคัญสู่ชีวิตยืนยาวอย่างแข็งแรงและมีความสุข ก็คือมีเพื่อนดีๆ มากมาย ถ้าคุณมีเพื่อนสนิทมานานหลายปี ก็ปรึกษาหารือกันได้เวลาเจอมรสุมชีวิต ทำให้ไปได้ตลอดรอดฝั่งทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว แถมลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ [17]
    • กลับไปคุยกับเพื่อนที่ห่างหายกันมานาน อาจจะส่งจดหมาย อีเมล หรือส่งของขวัญไปให้ก็ได้ อย่าลืมวันสำคัญของเพื่อน เช่น วันเกิด และวันครบรอบต่างๆ
    • ผูกสัมพันธ์กับคนในชุมชน เช่น ทำความรู้จักกับเพื่อนบ้านและคนในละแวกใกล้เคียง อาจจะไปเป็นอาสาสมัครในชุมชน ตามวัด ตามโรงเรียน ทำงานการกุศล เข้าร่วมงานประจำปี งานเทศกาลต่างๆ ของหมู่บ้าน หรืออื่นๆ ที่คุณได้ทำตัวให้มีประโยชน์และพบเจอกับเพื่อนใหม่บ้านใกล้เรือนเคียง
    • ไม่ต้องมีเพื่อนมากหน้าหลายตาก็มีความสุขได้ จริงๆ แล้วแค่มีเพื่อนกลุ่มเล็กๆ ที่สนิทสนมกันแบบรู้ไส้รู้พุง ก็ยังดีกว่าคบคนไปทั่วแต่แทบไม่รู้เรื่องราวของกันและกันเลย
  2. 2
    เลี้ยงสัตว์ ถ้าเวลาและทุนทรัพย์เอื้ออำนวย. เขาว่ามีสัตว์เลี้ยงแสนรักแล้วช่วยลดคอเลสเตอรอล ความดัน และโดยเฉพาะช่วยคลายความเหงาและความวิตกกังวลได้ แต่ต้องถามตัวเองก่อน ว่ามีเวลา ทุนทรัพย์ และความรับผิดชอบมากพอ [18]
    • แค่เริ่มเลี้ยงหมาเลี้ยงแมวเดือนแรก ก็ต้องจ่ายหลายร้อยไปจนถึงหลายพัน เพราะค่าฉีดวัคซีน ทำหมัน ชามน้ำ ชามอาหาร เบาะนอนและอื่นๆ หลังจากนั้นก็ต้องมีค่าใช้จ่ายรายเดือนไปตลอด ซึ่งก็แล้วแต่สไตล์การเลี้ยง ว่าปกติธรรมดาหรือไฮโซ (ตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลายพันแตะหลักหมื่น) ยังไม่นับว่าสัตว์เลี้ยงอาจป่วยขึ้นมาได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะน้องแมว [19]
    • การมีสัตว์เลี้ยง เหมาะกับคนที่ชอบอยู่บ้าน เพราะต้องดูแลประจำวัน 2 - 3 ชั่วโมง และคอยเอาใจใส่ให้ความรักมากเท่าที่จะทำได้
  3. ช่วยคนอื่นก็เท่ากับช่วยตัวเองในแง่หนึ่ง ลองไปเป็นจิตอาสา ช่วยคนที่ต้องการความช่วยเหลือ รับรองจะรู้สึกภูมิใจ เห็นคุณค่าในตัวเองมากกว่าเดิม ง่ายที่สุดก็คือช่วยเหลือและใส่ใจเพื่อนฝูง ครอบครัว คนใกล้ตัวนั่นแหละ [20]
    • ไม่ต้องถึงขนาด “เหมาหมด” ทุกงาน แค่ช่วยเท่าที่จะทำได้ ในสิ่งที่คุณถนัด หรือในยามที่คนขอความช่วยเหลือ
    • บางทีแค่ชวนคุยหรือรับฟังปัญหาของคนอื่น ก็ช่วยได้มากแล้ว โดยเฉพาะตอนที่เขากำลังมืดแปดด้าน ถ้ารู้ว่าคนใกล้ตัวกำลังไม่สบายใจ ลองโทรหาหรือส่งการ์ดให้กำลังใจซะหน่อย เขาก็ซึ้งใจแล้ว
    • ช่วยงานการกุศลตามถนัดหรือตามความสนใจ เช่น ช่วยงานมูลนิธิสัตว์ เรี่ยไรเงินบริจาคทางการแพทย์ หรือรวบรวมเสื้อผ้าและของใช้ไว้แจกจ่ายคนที่เขาต้องการ
  4. ใคร เจ้ากี้เจ้าการ ชอบจับผิด อย่าไปคบ. พวกคนคิดลบ จอมบงการ หรือก้าวร้าว ใช้อารมณ์ อยู่ด้วยแล้วมีแต่ปวดหัว ไม่เป็นตัวของตัวเอง เพราะงั้นพยายามตีตัวออกห่างซะ [21]
    • เจอคนประเภทนี้ต้อง อย่าให้ล้ำเส้น เปิดอกกันตรงๆ เลยว่าพฤติกรรมไหนเกินรับได้สำหรับคุณ
    • ถ้าเป็นญาติพี่น้องซะเองที่ทำคุณเครียดขึ้นสมอง ก็คงหลีกเลี่ยงกันได้ยากหน่อย ใช้วิธีหาข้ออ้างไม่ไปงานรวมญาติที่มีเขาคนนั้นอยู่แล้วกัน
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,660 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา