ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้ามียาทาเล็บขวดเก่าที่ทิ้งไว้จนแห้งแข็ง แต่อยากจะกลับมาใช้ ก็ทำได้ด้วย 2 - 3 วิธีการและเทคนิคในบทความวิกิฮาวนี้ ถ้าใช้อะซิโตน (Acetone) จะเห็นผลที่สุด เพราะเป็นส่วนผสมหลักในยาทาเล็บส่วนใหญ่ แต่ถ้าหาอะซิโตนไม่ได้จริงๆ ก็ลองใช้ยาละลายยาทาเล็บ (nail polish thinner) หรือยาล้างเล็บ (nail polish remover) แทน ถ้าไม่แห้งแข็งหนักมาก บางทีแค่เอาขวดมาคลึงๆ ในฝ่ามือให้อุ่นๆ ก็ช่วยให้ยาทาเล็บกลับมาใช้งานได้ตามเดิมแล้ว

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ใช้อะซิโตน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทั้งร้านขายอุปกรณ์เสริมความงาม และพวกร้านขายเครื่องสำอางและยาทั่วไป มีอะซิโตนขายแน่นอน พอมีอะซิโตนแล้ว ให้หยด 2 - 3 หยดลงในภาชนะ [1]
    • อะซิโตนเป็นกรด ต้องเลือกภาชนะที่ไม่ถูกกัดกร่อนได้ เพราะฉะนั้นห้ามใช้พลาสติก ให้ใช้เป็นแก้วแทน แก้วช็อตเล็กๆ ก็ได้ ถ้าใช้แก้วที่ไม่ได้เอาไว้ดื่มน้ำจะปลอดภัยที่สุด หรือไม่ก็ต้องล้างให้สะอาดหลังใช้งาน [2]
  2. Watermark wikiHow to ทำให้ยาทาเล็บแห้งแข็งกลับมาเหลวอีกครั้ง
    ผสมในสัดส่วนที่เท่ากัน แล้วคนผสมให้เนียนเข้ากัน [3]
  3. Watermark wikiHow to ทำให้ยาทาเล็บแห้งแข็งกลับมาเหลวอีกครั้ง
    เอาแปรงของยาทาเล็บมาจุ่มอะซิโตนที่ผสมแล้ว จากนั้นคนไปมา ถ้ามียาทาเล็บจับตัวเป็นก้อนแข็งอยู่ที่แปรง ก็จะหลุดออกมา ให้ทำไปเรื่อยๆ จนแปรงสะอาด [4]
    • ถ้ามีก้อนยาทาเล็บที่ไม่ยอมหลุดจากแปรง ให้ใช้ทิชชู่เช็ดออกมา
  4. Watermark wikiHow to ทำให้ยาทาเล็บแห้งแข็งกลับมาเหลวอีกครั้ง
    ตอนนี้แปรงจะชุ่มไปด้วยอะซิโตน พอใส่กลับเข้าไปในขวดยาทาเล็บ ให้หมุนปิดฝาให้แน่นแล้วเขย่าขวด อะซิโตนที่ติดแปรงจะช่วยให้ยาทาเล็บในขวดละลายกลับมาเหลว ทาได้ตามเดิม [5]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ลองใช้วิธีอื่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ทำให้ยาทาเล็บแห้งแข็งกลับมาเหลวอีกครั้ง
    ยาละลายยาทาเล็บ มีขายตามร้านอุปกรณ์เสริมสวย และร้านขายเครื่องสำอางและยาทั่วไป แค่ใช้ยาละลายหยดเดียว แล้วเพิ่มทีละน้อยถ้ายังไม่ได้ผล อย่าให้ยาทาเล็บเจือจางหรือเหลวเกินไป [6]
    • หยดยาละลาย 1 หยด ปิดฝาขวดยาทาเล็บให้แน่น แล้วคลึงไปมาในฝ่ามือ จากนั้นเช็คว่าเหลวได้ที่หรือยัง
    • ถ้ายังไม่พอ ให้เพิ่มยาละลายอีกหยด แล้วทำซ้ำตามขั้นตอน ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนยาทาเล็บกลับมาเหลว ทาได้ตามเดิม
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    Lindsay Yoshitomi

    นักเขียนบล็อกเรื่องเล็บ
    ลินด์เซย์ โยชิโทมิเป็นศิลปินทำเล็บที่อยู่เบื้องหลังบล็อก Lacquered Lawyer เธอเคยถูกพูดถึงในคอลัมน์ "บล็อกเกอร์ที่คุณควรรู้จัก" ของนิตยสาร Nail It! และเคยขึ้นหน้าปกนิตยสาร Nail Art Gallery เธอเป็นช่างตกแต่งเล็บมากว่า 15 ปี
    Lindsay Yoshitomi
    นักเขียนบล็อกเรื่องเล็บ

    รู้หรือไม่? น้ำยาล้างเล็บมีอะซิโตน จะทำให้ยาทาเล็บแตกตัว ส่วนยาละลายมีสารเคมีที่ทำให้ยาทาเล็บคืนสภาพ เหลวทาได้ตามเดิม แนะนำให้ใช้ยาละลายก่อนผสมอย่างอื่น

  2. Watermark wikiHow to ทำให้ยาทาเล็บแห้งแข็งกลับมาเหลวอีกครั้ง
    ถ้าเพิ่งแห้งไม่นาน หรือแห้งแข็งไม่มาก แค่คลึงขวดด้วยฝ่ามือ ก็น่าจะกลับมาใช้ทาได้ตามเดิมแล้ว เริ่มจากคว่ำขวดเพื่อกระจายสีให้ทั่วขวด จากนั้นคลึงขวดโดยถูฝ่ามือไปมา [7]
    • ถูขวดไปมาระหว่างฝ่ามือทั้ง 2 ข้าง ก็น่าจะช่วยวอร์มยาทาเล็บให้เหลวได้แล้ว
    • ถ้าวิธีการนี้ไม่ได้ผล ให้ลองใช้วิธีการอื่นๆ ในบทความนี้แทน
  3. Watermark wikiHow to ทำให้ยาทาเล็บแห้งแข็งกลับมาเหลวอีกครั้ง
    น้ำยาล้างเล็บมีอะซิโตน ถ้าหาอะซิโตนไม่ได้ ก็หยดน้ำยาล้างเล็บลงไปสัก 2 - 3 หยด ถ้ามีน้ำยาล้างเล็บที่ใกล้หมดขวดแล้วยิ่งเหมาะจะใช้วิธีนี้ [8]
    • ใช้ที่หยดสี หยดยาล้างเล็บลงไปทีละหยด จากนั้นเขย่าขวด จะใช้กี่หยดก็ได้ จนกว่ายาทาเล็บจะกลับมาเหลว
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ป้องกันไม่ให้ยาทาเล็บแห้งแข็ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้ายาทาเล็บที่แห้งแข็ง มีอายุมากกว่า 2 ปี ก็ไม่น่าจะคืนสภาพได้แล้ว เพราะเป็นยาทาเล็บหมดอายุ ไม่น่าจะนำกลับมาใช้ได้อีก จะง่ายกว่าถ้าทิ้งไปแล้วซื้อยาทาเล็บใหม่แทน [9]
  2. ถ้าเก็บรักษาถูกวิธี จะช่วยยืดอายุยาทาเล็บได้ โดยเก็บในที่แห้งและเย็น ไม่โดนแดดตรงๆ [10]
  3. หลายคนชอบเก็บยาทาเล็บไว้ในตู้เย็น ซึ่งไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง เพราะองค์ประกอบของสารเคมีในยาทาเล็บจะเปลี่ยนไป ทำให้ยาทาเล็บแห้งแข็งง่ายกว่าเดิม [11]
    โฆษณา

คำเตือน

  • บางทีก็ทำตามขั้นตอนในบทความนี้แล้วไม่ได้ผล ขึ้นอยู่กับส่วนผสมของยาทาเล็บ รวมถึงว่ายาทาเล็บนั้นแห้งแข็งมากแค่ไหน
  • ไม่ว่าจะเลือกทำตามวิธีไหนก็ต้องทำอย่างระวัง ถ้ายังเป็นน้องๆ หนูๆ ต้องมีผู้ใหญ่คอยดูแลให้คำแนะนำ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,355 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา