ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

สำหรับผู้ที่เคยประสบปัญหาเรื่องน้ำหนักตัว คุณคงเคยได้ยินคำว่า “เลปติน” มาบ้าง หากพูดให้เข้าใจง่ายๆ เลปตินก็คือฮอร์โมนชนิดหนึ่งในร่างกายที่ทำหน้าที่ควบคุมความอยากอาหาร ทำให้คุณรู้สึกหิวเมื่อต้องทานอาหารหรือรู้สึกอิ่มเมื่อได้รับอาหารเพียงพอแล้ว ซึ่งหากร่างกายมีระดับเลปตินที่สูงเกินไป สัญญาณที่ส่งไปยังสมองอาจถูกรบกวนจนส่งผลให้ความสามารถในการควบคุมความอยากอาหารและการจัดการพลังงานเสียระบบไป แต่ไม่ต้องกังวล มีหลายวิธีการที่จะช่วยให้เลปตินกลับมาอยู่ในระดับปกติอีกครั้งซึ่งคุณสามารถทำได้ง่ายๆ โดยไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

Question 1 ของ 8:

จะเกิดอะไรขึ้นหากระดับเลปตินสูงเกินไป?

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การรักษาระดับน้ำหนักตัวที่ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมอาจทำได้ยากขึ้น. เลปตินเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อส่งสัญญาณความรู้สึกอิ่มไปยังสมอง (เมื่อคุณรู้สึกว่า “อิ่มแล้ว” หลังจากทานอาหารเสร็จแล้วนั่นเอง) หากคุณมีน้ำหนักตัวเกินหรือประสบภาวะดื้อเลปติน สมองอาจไม่ตอบสนองต่อเลปตินมากเท่าที่ควรและต้องได้รับเลปตินมากขึ้นกว่าที่คุณจะรู้สึกอิ่ม และหากร่างกายของคุณผลิตเลปตินออกมากเกินไป นั่นอาจเป็นการรบกวนการส่งสัญญาณที่ช่วยในการรักษาระดับน้ำหนักตัวไปยังสมองได้ [1]
  2. เลปตินยังมีผลต่อการควบคุมความอยากอาหารและการจัดการพลังงานอีกด้วยของร่างกายอีกด้วย. หากเลปตินอยู่ในระดับที่ผิดปกติ ร่างกายของคุณอาจส่งสัญญาณผิดพลาดจนส่งผลให้คุณรู้สึกอยากทานอาหารตลอดเวลาแม้จะไม่รู้สึกหิวก็ตาม จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้การลดน้ำหนักเป็นเรื่องยากขึ้น [2]
    โฆษณา
Question 2 ของ 8:

จะลดระดับเลปตินลงได้อย่างไร?

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินในระยะยาวและการออกกำลังกายเป็นประจำสามารถช่วยได้. เลปตินถูกสร้างจากเซลล์ไขมันในร่างกาย ดังนั้นน้ำหนักตัวของคุณจึงมีบทบาทสำคัญในการรักษาสมดุลของร่างกาย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยวิธีการที่คุณสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว โดยคุณอาจเริ่มจากการสิ่งเล็กๆ น้อยๆ อย่างการเดินออกกำลังกายเป็นประจำทุกวันหรือลองวิ่งเหยาะสัก 15-20 นาทีต่อวัน เมื่อเวลาผ่านไป วิถีชีวิตของคุณจะเริ่มเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นและส่งผลให้ระดับเลปตินในร่างกายของคุณลดลงตามที่ต้องการ [3]
  2. ลองเลือกทานอาหารโดยจำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตเพื่อลดระดับเลปตินลง. ผลการศึกษาพบว่าการทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำสามารถช่วยลดระดับเลปตินในร่างกายได้ [4] อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนอาหารที่ทานแบบหักดิบและทันทีทันใดไม่ใช่เรื่องง่าย และคงเป็นเรื่องยากเช่นกันที่คุณจะทำได้เรื่อยๆ จนกลายเป็นกิจวัตร ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการเริ่มทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำคือการค่อยๆ ปรับทีละเล็กทีละน้อยเพื่อให้คุณสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว
  3. คุณอาจลดระดับเลปตินด้วยการทานอาหารเสริมกรดอัลฟาไลโปอิคและน้ำมันปลาได้เช่นกัน. ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ทานอาหารเสริมกระอัลฟาไลโปอิคและน้ำมันปลาสามารถลดน้ำหนักตัวได้มากกว่าและมีเลปตินในร่างกายน้อยกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม [5] จึงเชื่อกันว่าการทานอาหารเสริมกรดอัลฟาไลโปอิค .3 กรัมและน้ำมันปลา 1.3 กรัมต่อวันจึงอาจช่วยลดระดับเลปตินโดยรวมได้
    โฆษณา
Question 3 ของ 8:

อาหารชนิดใดบ้างที่ทำให้ระดับเลปตินสูงขึ้น?

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไขมันสัตว์ ไขมันพืช และน้ำตาลมีส่วนทำให้เกิดภาวะดื้อเลปตินได้. ผลการศึกษาพบว่าอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันสัตว์และไขมันพืชอย่างเนย มาการีน ชอร์ตเทนนิ่ง หรือน้ำมันหมู รวมทั้งน้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าวเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระดับไขมันและน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และหากร่างกายมีการสะสมของไขมันและน้ำตาลในปริมาณมาก นั่นอาจทำให้ระดับเลปตินในร่างกายของคุณสูงขึ้นได้ ดังนั้นหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่อมน้ำมัน น้ำสลัดครีม และผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันสูง รวมถึงงดเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงและขนมขบเคี้ยวที่มีรสหวาน [6]
Question 4 ของ 8:

อาหารชนิดใดบ้างที่ช่วยลดระดับเลปตินลงได้?

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การทานโปรตีนไขมันต่ำสามารถช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้. เลือกทานปลา เนื้อสัตว์ปีก ถั่วฝัก หรือถั่วเหลืองซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพและแทบไม่ทำให้ระดับเลปตินในร่างกายสูงขึ้น และหลีกเลี่ยงการทานเนื้อสัตว์ติดมัน เนื้อแดง และไข่แดง [7]
  2. ธัญพืชเต็มเมล็ดและผักผลไม้ต่างๆ ยังคงเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเสมอ. ขนมปังธัญพืช ซีเรียล และพาสต้าไม่เพียงช่วยให้อิ่มท้องได้นานและอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการเท่านั้น แต่ยังทำให้ภาวะดื้อเลปตินดีขึ้นอีกด้วย เพิ่มปริมาณผักในแต่ละมื้ออาหารของคุณเพื่อให้คุณรู้สึกอิ่มท้องโดยไม่ส่งผลให้ระดับน้ำตาลหรือไขมันในเลือดสูงขึ้น และหากคุณรู้สึกอยากทานอะไรหวานๆ ให้คุณเลือกทานผลไม้สักชิ้นแทนขนมขบเคี้ยวที่ผ่านการแปรรูปหรือมีปริมาณน้ำตาลสูง [8]
    โฆษณา
Question 5 ของ 8:

จะสามารถลดภาวะดื้นเลปตินด้วยวิธีธรรมชาติได้อย่างไร?

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีที่ดีที่สุดคือการเลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ. พยายามเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์และไม่มีปริมาณไขมันหรือน้ำตาลสูงเกินไป การทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณลดน้ำหนักตัวลงได้โดยที่น้ำหนักตัวไม่เพิ่มกลับมาอีก ซึ่งการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ดีเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยรักษาสมดุลของเลปตินให้คงที่ได้โดยธรรมชาติ [9]
  2. การออกกำลังเป็นประจำสามารถช่วยลดน้ำหนักและรักษาสมดุลของเลปตินได้. นอกเหนือจากการเลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพแล้ว การออกกำลังกายก็มีบทบาทสำคัญไม่แพ้กันในการรักษาสมดุลของเลปติน ประโยชน์ต่อสุขภาพจากการออกกำลังกายมีอยู่มากมาย แต่ข้อดีหลักๆ อย่างหนึ่งที่ร่างกายของคุณได้รับคือการเผาผลาญไขมันและลดน้ำหนัก ซึ่งการลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกตินั่นเองที่จะช่วยให้ร่างกายสามารถรักษาสมดุลของเลปตินให้คงที่ได้ [10]
    โฆษณา
Question 6 ของ 8:

เลปตินมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักหรือไม่?

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เลปตินมีหน้าที่ควบคุมความอยากอาหารและการจัดการพลังงาน ไม่ใช่การลดน้ำหนัก. ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อน้ำหนักตัวของคุณลดลง ระดับเลปตินในร่างกายก็จะน้อยลงตามไปด้วย และผลที่ตามมาคือฮอร์โมนเลปตินจะส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อให้คุณรู้สึกหิวและอยากอาหารมากขึ้น แม้ว่ากลไกดังกล่าวจะมีความสมเหตุสมผลในแง่ของการวิวัฒนาการ แต่การมีระดับเลปตินต่ำเกินไปอาจทำให้การควบคุมอาหารทำได้ยากขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากมีระดับเลปตินสูงเกินไป ร่างกายของคุณอาจเกิดภาวะดื้นเลปตินและทำให้การลดน้ำหนักเป็นเรื่องยากขึ้นเช่นเดียวกัน ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือการรักษาสมดุลของเลปตินให้อยู่ในระดับที่พอดี [11]
Question 7 ของ 8:

มีอาหารเสริมกระตุ้นการทำงานของเลปตินหรือยาที่ช่วยลดการดื้อเลปตินหรือไม่?

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มี แต่คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการเลือกยาหรืออาหารเสริม. ไม่ปฏิเสธว่าแรกเริ่มเดิมทีแล้วเลปตินมีบทบาทในการลดความอยากอาหาร นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมบางคนจึงทานอาหารเสริมกระตุ้นการทำงานของเลปตินเพื่อเป็นตัวช่วยในการลดน้ำหนัก แต่การทานอาหารเสริมในปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลให้ร่างกายของคุณเกิดการดื้อต่อเลปตินแทนได้ และสำหรับผู้ที่ประสบภาวะดื้อเลปติน แพทย์ของคุณอาจแนะนำหรือสั่งจ่ายยาหรืออาหารเสริมที่ช่วยลดระดับเลปตินลงได้อย่างปลอดภัย [12] อย่างไรก็ตาม ส่ิงสำคัญคือการขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนเป็นอันดับแรกในการเลือกยาหรืออาหารเสริมที่ดีและปลอดภัยต่อตัวเองมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคเบาหวานหรือโรคหัวใจ
    โฆษณา
Question 8 ของ 8:

การอดอาหารจะทำให้ระดับเลปตินเพิ่มขึ้นหรือไม่?

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีหลักฐานบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าการอดอาหารมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของระดับเลปติน โดยในช่วงที่คุณอดอาหาร ระดับอินซูลินในร่างกายจะลดลงและส่งผลให้ร่างกายดึงไขมันที่สะสมไว้ออกมาใช้มากขึ้น นอกจากนี้การอดอาหารยังกระตุ้นให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเลปตินออกมามากขึ้นเพื่อช่วยในการควบคุมความหิว ดังนั้นหากคุณกำลังพยายามลดระดับเลปตินในร่างกาย การอดอาหารอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนักสำหรับคุณ [13]

เคล็ดลับ

  • เลือกทานอาหารเพื่อสุขภาพที่มีรสชาติถูกใจคุณเพื่อให้คุณสามารถทานต่อไปได้เรื่อยๆ โดยไม่รู้สึกฝืนจนเกินไป
  • หากเพิ่งเคยออกกำลังกาย ให้คุณเริ่มต้นออกกำลังกายเบาๆ ที่ทำได้ง่ายๆ โดยคุณอาจเลือกเดินหรือปั่นจักรยานเป็นประจำทุกวันเพื่อเป็นการค่อยๆ สร้างกิจวัตรการออกกำลังกายของคุณ
โฆษณา

คำเตือน

  • ปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนปรับเปลี่ยนรูปแบบการทานอาหารหรือรูปแบบการใช้ชีวิตเพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัยต่อสุขภาพของคุณ
  • อย่าทานยา อาหารเสริม หรือยาลดความอ้วนใดๆ ด้วยตัวเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 748 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา