ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การช่วยตัวเองพบมากในเด็ก ถึงแม้ว่าการช่วยตัวเองถือเป็นวิธีที่ธรรมชาติและไม่เป็นอันตรายสำหรับเด็กในการค้นหาเรื่องเพศของตัวเองแต่การช่วยตัวเองที่มากเกินไปหรือไม่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่สาธารณะ เด็กช่วยตัวเองในทุกช่วงวัยและถ้าหากพวกเขาอายุน้อยกว่า 5 ขวบก็อาจจะไม่เข้าใจว่าพวกเขาต้องการความเป็นส่วนตัว คุณต้องใจเย็นและหลีกเลี่ยงการด่วนสรุปสุขภาพจิตของลูก เมื่อคุณเห็นลูกกำลังช่วยตัวเอง แทนที่จะลงโทษหรือพาไปรักษา คุณต้องร่วมมือกับลูกเพื่อหาขอบเขตที่จำกัด มีบทสนทนาที่เปิดใจและสนับสนุนพฤติกรรมที่เหมาะสม

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

สร้างขอบเขตและจำกัดพฤติกรรม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทุกคนต้องการเวลาส่วนตัวรวมถึงวัยรุ่นและเด็กเล็กและการช่วยตัวเองในระหว่างเวลาส่วนตัวถือเป็นสิ่งที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ถ้าหากพวกเขาตัดสินใจที่จะช่วยตัวเองต่อหน้าคุณและคนอื่น คุณต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอาจจะลดลงถ้าหากคุณให้ความเป็นส่วนตัวกับลูกมากขึ้น [1]
    • ปล่อยผ่านในช่วงเวลาเข้านอน ถ้าหากคุณพบว่าลูกช่วยตัวเองในเวลาเข้านอนหรือเมื่ออยู่ตามลำพังในห้องน้ำ คุณไม่ควรลงโทษและควรปล่อยให้ลูกอยู่ตามลำพัง
    • จำไว้ว่าการช่วยตัวเองไม่ได้แปลว่าลูกของคุณจะกลายเป็นคนหมกมุ่นกับเรื่องเพศกับผู้อื่นในเร็ววัน มันเป็นเพียงสัญญาณของการค้นพบร่างกายของตัวเอง
    • ให้ความเป็นส่วนตัวกับลูกที่บ้านจนกว่าพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อหน้าคนอื่นจะลดลงแต่ยังคงเฝ้ามองพวกเขาต่อหน้าเด็กคนอื่น
  2. เมื่อคุณอยู่ในที่สาธารณะ คุณอาจจะไม่ต้องการพูดถึงพฤติกรรมนี้โดยตรงเพราะมันจะยิ่งเรียกร้องความสนใจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณสามารถเบี่ยงเบนความสนใจของลูกเพื่อทำให้เขาหยุดและจดจ่อกับสิ่งอื่นที่เหมาะสม [2]
    • ถ้าหากพวกเขายังเด็กมาก คุณสามารถใช้เกมเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจได้ เช่น คุณสามารถเล่นเกมแอบดู
    • ถ้าหากพวกเขาเป็นเด็กโต คุณสามารถถามคำถามหรือขอให้เขาทำอะไรบางอย่าง เช่น “ไปหยิบทิชชูให้หน่อยได้ไหม?”
    • ถ้าหากสิ่งนี้ไม่ได้ผล ลองพูดว่า “หยุดทำอย่างนั้น” และจากนั้นจึงพูดกับเขาเรื่องอื่น
  3. หาวัตถุเพิ่มความมั่นใจเพื่อให้ลูกนำไปยังที่สาธารณะ. การหาผ้าห่มหรือตุ๊กตาให้กับเด็กเล็กเป็นวิธีที่ดีในการควบคุมจิตใจและมือของลูกเพื่อไม่ให้ช่วยตัวเอง วิธีนี้ยังสามารถบรรเทาเด็กที่เครียดหรือมีปัญหาด้านพัฒนาการ [3]
    • ถ้าหากเป็นเด็กที่โตขึ้นมาหน่อย ลองหาของเล่น เช่น กล่อง ลูกข่างหรือดินปั้น
  4. ถ้าหากคุณอยู่ใกล้บ้าน คุณอาจจะต้องส่งลูกกลับไปที่ห้องเพื่อที่เขาจะสามารถอยู่ตามลำพังและได้รับความเป็นส่วนตัว บางที่คุณอยู่ที่บ้านเพื่อนข้างบ้านกับลูกและเขาสามารถเดินกลับบ้านได้ด้วยตัวเอง ถ้าเป็นเช่นนั้น บอกให้ลูกเดินกลับบ้านแล้วค่อยพูดคุยในภายหลัง [4]
    • ถ้าหากลูกยังเด็กเกินไป คุณต้องเดินกลับบ้านพร้อมลูกและพูดคุยทันที
  5. ลูกของคุณอาจจะช่วยตัวเองในที่สาธารณะเวลาที่คุณอยู่กับเขาหรือไม่ได้อยู่ด้วย เช่น เมื่อเขาไปโรงเรียน ถ้าหากลูกของคุณช่วยตัวเองที่โรงเรียน คุณต้องพยายามหาทางแก้ไขเพื่อที่เขาจะสามารถอดใจและรอจนกว่าจะถึงบ้าน ติดต่อคุณครูเพื่อดูว่าเขาเป็นอย่างไรที่โรงเรียนและมีเรื่องต้องกังวลหรือไม่
    • อย่าถามถึงการช่วยตัวเองโดยตรงเพราะคุณอาจจะทำให้ลูกขายหน้าหรือทำให้คุณครูตกใจ ลองพูดว่า “ดิฉันอยากจะดูว่าน้องวินเรียนเป็นอย่างไรบ้าง มีความคืบหน้าอะไรเกี่ยวกับผลการเรียนหรือพฤติกรรมที่ดิฉันควรรู้หรือไม่?”
    • ถ้าหากคุณครูบอกคุณว่าลูกช่วยตัวเองในห้องเรียน คุณต้องขอบคุณคุณครูและบอกให้คุณครูรู้ว่าคุณกำลังแก้ไขเรื่องนี้และให้บอกคุณถ้าหากเรื่องนี้เกิดขึ้นอีก
  6. ถ้าลูกของคุณมีพี่เลี้ยงรวมไปถึงโปรแกรมสอนก่อนหรือหลังเข้าเรียน พี่เลี้ยง ผู้ดูแลหรืออื่นๆ คุณต้องพูดกับเขาเกี่ยวกับสถานการณ์นี้ ขอให้เขารายงานการกระทำของลูกและบอกให้พวกเขารู้ว่าคุณต้องการให้พวกเขารับมือกับสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสมอย่างไร [5]
    • ความคงเส้นคงวาเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะฉะนั้นคนดูแลลูกทุกคนควรรับรู้วิธีรับมือกับการช่วยตัวเองของลูก
  7. การช่วยตัวเองอาจเกิดขึ้นบ่อยครั้งในเด็กที่กำลังมองหาการปลอบใจหรือความสุข ในการช่วยจำกัดพฤติกรรมนี้ คุณควรพยายามให้ลูกมีกิจกรรมที่ครบถ้วนที่เขาสามารถทำเมื่อมองหาความสนุกและช่วยเสริมสร้างความมั่นใจเพื่อที่เขาจะสามารถหาการปลอบใจได้จากรูปแบบอื่นๆ [6]
    • ให้คำเยินยอที่เหมาะสม ใช้เวลาร่วมกันและความสนใจที่เป็นบวก
    • อนุญาตให้ลูกลองทำงานอดิเรกและกิจกรรมอื่นๆ การหาว่าพวกเขาชอบทำอะไรจริงๆ จะทำให้เขาจดจ่อและเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง
    • ทำให้ลูกรู้ว่าพวกเขามีความสามารถ มีค่าและเป็นที่ยอมรับในบ้าน สร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและสนับสนุนคือช่วยเพิ่มความมั่นใจของเด็ก
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

พูดคุยกับลูก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่าเผชิญหน้ากับลูกอย่างรุนแรงหรือในวิธีที่จะทำให้ลูกปิดตัวและรู้สึกอาย ถ้าหากลูกยังเล็กมาก เขาอาจจะไม่เข้าใจว่าเขากำลังทำอะไรอยู่หรือเขามีความซับซ้อนทางเพศอย่างไร เพราะฉะนั้นเข้าใจและทำตัวอ่อนโยนคือกุญแจสำคัญกับวิธีที่ลูกจะมองเรื่องเพศในอนาคต มันยังจะทำให้ลูกพูดคุยกับคุณในอนาคตเกี่ยวกับเรื่องเพศแทนที่จะหันไปหาคนอื่นหรือเก็บเป็นความลับ [7]
    • จำไว้ว่าอย่าทำให้ลูกอับอายหรือทำให้รู้สึกผิดกับการช่วยตัวเอง อธิบายให้เขาว่าการทำสิ่งนั้นในที่สาธารณะอาจเป็นปัญหาได้
  2. คุณอาจจะต้องการพูดถึงการกระทำนี้ทันทีที่มันเกิดขึ้นแต่คุณไม่ควรมีบทสนทนาที่จริงจังเกี่ยวกับเรื่องนี้ในที่สาธารณะ บอกให้ลูกหยุดหรือเบี่ยงเบนความสนใจไปจากพฤติกรรมนี้ เมื่อคุณกลับถึงบ้านจึงคุยกับลูกในที่ส่วนตัวเกี่ยวกับสิ่งที่เขาทำและทำไมมันถึงไม่เหมาะสม
    • พูดว่า “น้องวิน ร่างกายของลูกเป็นของลูกและลูกสามารถสัมผัสมันได้ตามต้องการ ส่วนลับของลูกก็เป็นส่วนลับ เพราะฉะนั้นถ้าลูกอยากสัมผัสลูกต้องทำเวลาที่อยู่คนเดียว ผู้คนจะรู้สึกอายและไม่สบายใจถ้าหากลูกทำในที่สาธารณะ ถ้าลูกอยากทำ ลูกต้องทำในห้องของลูก เข้าใจไหม?”
    • อย่าพูดถึงปัญหานี้ต่อหน้าคนอื่น คุณคงไม่อยากทำให้ลูกรู้สึกอับอายในที่สาธารณะหรือต่อหน้าพี่น้อง
  3. อธิบายให้ลูกฟังว่ามันไม่มีอะไรผิดปกติกับการค้นหาส่วนลับของตัวเอง. การกระทำไม่ใช่ปัญหาแต่มันคือสถานที่ ทำให้พวกเขารู้ว่าเขาไม่ควรเปิดหรือสัมผัสส่วนลับในที่สาธารณะหรือเมื่อมีคนอยู่ด้วย [8]
    • เปรียบเทียบมันกับสิ่งอื่นๆ ที่ควรทำในที่ส่วนตัว เช่น การอาบน้ำหรือการใช้ห้องน้ำ
  4. แทนที่จะจดจ่อกับสิ่งที่ไม่ควรทำ คุณควรพูดถึงสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้ อธิบายว่าถ้าหากลูกต้องการช่วยตัวเองก็ต้องทำในที่ที่เป็นส่วนตัว เช่น ห้องนอนหรือห้องน้ำ [9]
    • บอกลูกว่าลูกต้องทำความสะอาดหลังเสร็จกิจถ้าหากทำเลอะเทอะ
    • ถ้าหากห้องน้ำของครอบครัวมีคนใช้ตลอดเวลา บอกให้ลูกทำในห้องเท่านั้น (คุณคงไม่อยากให้ลูกช่วยตัวเองในห้องน้ำเป็นเวลานานในขณะที่คนอื่นต้องการใช้ห้องน้ำ)
  5. การพูดคุยนี้อาจนำไปสู่คำถามมากมายเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์และเพศกับเด็กโต เพราะฉะนั้นคุณต้องเปิดใจกับการได้ยินคำถามและการหาคำตอบเกี่ยวกับการกระทำและคุณค่าของครอบครัวที่มีต่อพวกเขา กับเด็กเล็กๆ คุณอาจจะต้องพูดกับพวกเขาเกี่ยวกับส่วนลับและวิธีการทำงานของมัน
    • อย่าใส่อารมณ์มากเกินกว่าที่ลูกจะรับได้กับเด็กเล็กแต่ทำให้เรียบง่าย เช่น คุณสามารถพูดว่า “การสัมผัสไม่เป็นไรแต่ทำได้ในที่ส่วนตัวเท่านั้น ลูกไม่ควรทำในห้องเรียนหรือเมื่อมีคนอื่นอยู่ในห้องเดียวกันที่บ้าน ลูกอยากไปที่ห้องและทำสิ่งนั้นหรือไม่?”
    • พิจารณาว่าใครที่จะสามารถพูดเรื่องนี้กับลูกได้อย่างได้ผลมากที่สุด เด็กบางคนอาจจะโต้ตอบได้ดีกว่ากับพ่อแม่ที่เป็นเพศเดียวกันหรืออาจจะพูดคุยกับพ่อแม่ที่สนิทมากกว่า
  6. ถ้าหากคุณสังเกตว่าลูกของคุณช่วยตัวเองบ่อยครั้งจนถึงจุดที่พวกเขาบาดเจ็บ พยายามทำให้เด็กคนอื่นช่วยตัวเองหรือหากคุณสงสัยว่ามีใครบางคนสอนให้พวกเขาช่วยตัวเอง คุณต้องปรึกษากุมารแพทย์หรือนักบำบัด การทารุณทางเพศอาจเกิดขึ้นและอาจเป็นต้นตอของปัญหา
    • จำไว้ว่าการติดเชื้อในระบบปัสสาวะซ้ำๆ อาจเป็นสัญญาณของการช่วยตัวเองบ่อยเกินไปและความเป็นไปได้ของการถูกทารุณทางเพศ
  7. หลังจากที่พยายามอธิบายว่าเมื่อไหร่ที่เหมาะสมกับการช่วยตัวเองและเมื่อไหร่ที่ไม่เหมาะสมแล้ว ถ้าหากลูกของคุณยังเลือกที่จะทำเกินขอบเขต คุณต้องเก็บของรักของหวงของลูกไปซ่อน การทำสิ่งนี้จะย้ำพวกเขาว่าการช่วยตัวเองในที่สาธารณะนั้นไม่เหมาะสมและลูกต้องหยุดพฤติกรรมนี้
    • ลองเก็บโทรศัพท์มือถือไปซ่อนหรือไม่อนุญาตให้ดูโทรทัศน์
    • ลองพูดว่า “น้องวิน แม่พูดกับลูกเรื่องช่วยตัวเองแล้วนะ ลูกสามารถทำในห้องของลูกได้แต่ลูกต้องไม่ทำที่โรงเรียน แม่จะไม่ให้ลูกเล่นโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตวันนี้เพราะลูกช่วยตัวเองที่โรงเรียน”
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เสริมสร้างการกระทำที่เป็นบวกมากขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เด็กบางคนช่วยตัวเองเพราะเป็นความต้องการการสัมผัสทางกาย ความต้องการที่ไม่เกี่ยวกับเพศเสมอไป กอดลูกเพิ่มขึ้น นั่งบนโซฟาเพื่อดูทีวีกับลูกและให้ความรักทางกายกับลูกเพิ่มขึ้นโดยรวม [10]
    • ถ้าหากลูกเริ่มสัมผัสร่างกายเวลาที่อยู่ใกล้คุณ คุณต้องขอให้พวกเขาไปยังห้องนอนหรือห้องน้ำ
  2. ในขณะที่คุณกำลังสร้างขอบเขตใหม่ให้กับลูก คุณก็ต้องสร้างขอบเขตใหม่กับตัวเองและให้ความเป็นส่วนตัวกับลูกเพิ่มขึ้น เมื่อคุณได้อธิบายให้ลูกฟังเกี่ยวกับสถานที่ที่เหมาะสมกับการช่วยตัวเองแล้ว คุณก็ต้องไม่ไปยังสถานที่เหล่านั้นโดยไม่เคาะประตูก่อน
    • การเคารพขอบเขตของลูกจะทำให้พวกเขาเคารพขอบเขตของคุณเช่นกัน
    • ลองหาป้าย “กรุณาอย่ารบกวน” ให้ลูกเพื่อแขวนประตูเมื่อลูกต้องการความเป็นส่วนตัว
  3. ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนใหม่สำหรับคุณและลูก คุณต้องแน่วแน่กับพวกเขาแต่ทำตัวอ่อนโยนและให้กำลังใจ ย้ำเตือนลูกว่าการช่วยตัวเองสามารถทำได้ในที่ส่วนตัวและบอกลูกว่าลูกสามารถถามคำถามหรือพูดคุยกับคุณได้เสมอ
    • เตรียมตัวตอบคำถามที่ลูกถาม มันไม่ยุติธรรมสำหรับพวกเขาถ้าหากคุณให้สัญญาที่คุณทำไม่ได้
  4. เด็กบางคนใช้พฤติกรรมการทำให้ตัวเองมีความสุขเพื่อรับมือหรือปลดปล่อยความเครียด สอนให้ลูกสื่อสารความรู้สึกโดยการใช้คำเรียกอารมณ์ต่างๆ เช่น “เสียใจ” หรือ “โกรธ” และทำให้พวกเขารู้ว่าการมีความรู้สึกเจ็บปวดไม่ใช่เรื่องผิดตราบใดที่พวกเขาสามารถบอกเล่าความรู้สึกนั้นได้ [11]
    • ฝึกใช้การรับมือที่เหมาะสมในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลูกของคุณอยู่ด้วยเพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับวิธีการรับมือกับสถานการณ์ที่ตึงเครียดต่างๆ

เคล็ดลับ

  • อย่ากล้าแกร่งหรือโกรธหรือดุร้ายเกี่ยวกับเรื่องนี้ วิธีนี้มีแต่จะทำให้ลูกของคุณกลัวและทำให้ทุกอย่างแย่ลง
  • อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าการช่วยตัวเองเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์เช่นกัน ในจุดนั้น ลูกของคุณไม่มีวิธีในการตัดสินใจช่วยตัวเองแต่มันก็เกิดขึ้น
  • ย้ำเตือนลูกว่าคุณอยู่เคียงข้างลูกเสมอ
  • ให้ความรักแต่วางตัวแน่วแน่กับการพูดถึงปัญหา

คำเตือน

  • การทำตัวดุร้ายหรือทำโทษจะไม่ทำให้ลูกหยุดพฤติกรรมนี้แต่อาจจะทำให้พวกเขาโกหกและหลบซ่อนสิ่งต่างๆ จากคุณ

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,668 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม