ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

สุนัขเป็นเพื่อนผู้แสนมหัศจรรย์และเป็นสัตว์เลี้ยงในอุดมคติ แต่บางครั้ง แม้แต่สุนัขนิสัยดีก็อาจกลายเป็นสุนัขที่เห่าอย่างไม่ยอมหยุด มีเหตุผลมากมายว่าทำไมสุนัขถึงเห่า และพฤติกรรมที่เป็นปริศนานี้ทั้งน่ารำคาญ และยังผิดกฎหมายอีกด้วยในหลายๆ แห่ง ก้าวแรกที่จะทำให้เสียงเห่าของสุนัขของคุณเงียบลงก็คือ หาว่ามันกำลังส่งเสียงดังขนาดนั้นเพราะสาเหตุใด เมื่อคุณลงความเห็นได้แล้วว่สุนัขเห่าเพราะสาเหตุใด คุณจะรู้ว่าสมควรทำอย่างไรเพื่อให้มันหยุดเห่า การเรียนรู้ที่จะทำให้สุนัขที่กำลังเห่าเงียบเสียง อาจช่วยรับประกันเรื่องประชาคมที่เงียบสงบ และช่วยให้คุณไม่ต้องมีปัญหากับกฎหมาย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

ควบคุมการเห่าเพื่อร้องขอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเห่าเพื่อร้องขอ (Request barking) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "การเห่าเพื่อเรียกร้องความสนใจ (Attention-seeking barking)” เป็นปัญหาหนึ่งซึ่งพบได้มากที่สุดสำหรับบรรดาเจ้าของสุนัข ขั้นตอนแรกที่จะหยุดการเห่าเพื่อร้องขอของสุนัขสักตัวหนึ่งก็คือ เลิกให้สิ่งที่มันต้องการไม่ว่าเมื่อไรก็ตามที่มันเห่า แน่นอนว่า การทำเช่นนี้จะต้องใช้เวลาเพื่อฝึกสุนัขของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมันเคยได้ “รับรางวัล” จากการเห่าตลอดหลายปีที่ผ่านมา [1]
    • พยายามแยกแยะระหว่างการเห่าที่เกิดจากต้องการจะขับถ่าย (ซึ่งเป็นความจำเป็นอันสมเหตุสมผลที่สุนัขจะส่งเสียง) กับการเห่าดะสำหรับความต้องการเล็กๆ น้อยๆ ทุกรายการ เช่น ต้องการจะขึ้นไปนอนบนโซฟา หรือเรียกร้องความสนใจเพิ่มมากขึ้น [2]
    • อย่ายอมแพ้ให้กับการเห่าของสุนัขของคุณ ไม่ว่ามันจะเห่ามากแค่ไหน การยอมอ่อนข้อใดๆ ให้กับการเห่าแบบร้องขอของมัน จะยุติความก้าวหน้าใดๆ ที่คุณอาจจะกำลังทำได้อยู่ [3]
  2. การเห่าเพื่อเรียกร้องความสนใจหรือการเห่าเพื่อร้องขอ อาจเป็นหนทางเดียวที่สุนัขจะรู้ว่าสมควรทำตัวอย่างไร แม้หลังจากที่คุณได้หยุดสนับสนุนพฤติกรรมนั้นแล้ว ก็ยังน่าจะใช้เวลาอีกสักพักหนึ่งที่จะให้สุนัขของคุณเลิกนิสัยนั้น ขณะเดียวกัน เป็นการดีที่สุดที่คุณจะเมินเฉย แทนที่จะลงโทษสุนัขสำหรับพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจแบบนี้ [4]
    • ในใจของสุนัขนั้น แม้แต่การตะโกนสั่งให้หยุดเห่า ก็ถือว่าคุณได้ให้ความสนใจกับมันแล้ว หากคุณหมดความอดทนและตะโกนใส่สุนัขของคุณ มันอาจจะยิ่งเห่านานกว่าเดิมในครั้งหน้า เพราะได้ถูกตั้งเงื่อนไขให้คาดหวังการตอบรับชนิดใดก็ได้ (แม้แต่การตอบรับในแง่ลบ) [5]
    • หากสุนัขกำลังเห่าอยู่ อย่าตะโกนใส่มัน ลูบไล้อย่างเอ็นดู หรือให้สิ่งที่มันต้องการ อย่าแม้แต่จะมองดูมันเสียด้วยซ้ำ ยุทธวิธีที่ดีที่สุดคือเบนความสนใจของตัวคุณเอง เช่น อ่านหนังสือหรือหนังสือพิมพ์สักเล่ม จนกว่าสุนัขจะสงบลง หรือเห่าจนเบื่อไปเอง [6]
  3. เมื่อสุนัขของคุณหยุดเห่าในที่สุด มีความสำคัญที่คุณจะต้องชมเชยและให้รางวัลสำหรับการอยู่อย่างเงียบๆ ของมัน เมื่อเวลาผ่านไป สุนัขจะเรียนรู้ว่าการอยู่เงียบๆ และเชื่อฟังจะช่วยให้บรรลุผลที่ยิ่งใหญ่กว่าการแสดงออกและการเห่า [7]
    • เตรียมของอร่อยไว้ใกล้มือ สำหรับเวลาที่มันหยุดเห่าแล้วจริงๆ สมควรให้รางวัลอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลังจากมันทำพฤติกรรมที่คุณต้องการ เพื่อให้การสอนได้ผลดีที่สุด [8]
    • ส่งเสียงดังชมเชยสุนัขของคุณเมื่อมันหยุดเห่า โดยบอกกับมันว่า “หมาดี!” แล้วให้ของอร่อยแก่มัน [9]
    • ในขณะที่สุนัขของคุณเรียนรู้ว่าหากมันเงียบจะได้รางวัลเป็นของอร่อย หากส่งเสียงเห่าจะถูกเมิน คุณจำเป็นต้องค่อยๆ ขยายระยะเวลาที่สุนัขจะต้องหุบปากเงียบก่อนที่จะได้ของอร่อย ตัวอย่างเช่น เมื่อมันผ่านขั้นตอนแรกของการได้ของอร่อยหลังจากหยุดเห่า คุณอาจจะต้องการยืดช่วงเวลาที่มันอยู่เงียบๆ ตามที่ต้องการออกไปอีกสี่ห้านาทีในแต่ละวัน และเพิ่มขึ้นจนเป็นหนึ่งหรือสองนาทีก่อนจะให้รางวัลแก่มัน [10]
    • เพื่อผลลัพธ์ดีที่สุด ให้เปลี่ยนระยะเวลาที่สุนัขของคุณต้องอยู่เงียบๆ ก่อนจะได้กินของอร่อย ด้วยวิธีนั้น มันจะไม่อาจคาดหวังได้ว่าจะได้กินของอร่อยหลังจากช่วงเวลาคงที่ใดๆ และความคาดหวังจะทำให้มันใจจดใจจ่ออย่างเงียบๆ ตัวอย่างเช่น หลังจากฝึกได้สี่ห้าสัปดาห์ ให้สลับระยะเวลาที่สุนัขต้องเงียบ ระหว่าง 20 วินาที หนึ่งนาทีเต็ม และ 30-40 นาทีที่ต้องเงียบ [11]
  4. หนึ่งในวิธีดีที่สุดที่จะฝึกสัตว์ให้เลิกทำพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ คือสอนให้มันทำพฤติกรรมอื่นทดแทน ด้วยวิธีนี้ แทนที่สุนัขของคุณจะผิดหวังและขุ่นเคืองใจมากขึ้นทุกที เมื่อคุณไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อความปรารถนาของมัน สุนัขจะตระหนักความจริงในที่สุดว่า หากมันต้องการจะได้รับอนุญาตให้ทำสิ่งที่ต้องการ มันจำเป็นจะต้องมีพฤติกรรมซึ่งเป็นที่พึงปรารถนามากกว่าเดิม [12]
    • การสอนพฤติกรรมทดแทนอาจจะใช้เวลามาก แต่ในที่สุด จะเป็นหนทางดีที่สุดที่จะส่งเสริมพฤติกรรมอันพึงปรารถนา แทนที่จะตอบสนองต่อเสียงเรียกร้องที่จะเล่นของสุนัขของคุณ ตัวอย่างเช่น สอนให้มันนำเอาของเล่นโปรดของมันมาไว้ที่คุณ และจัดวางมันบนพื้น [13]
    • คุณยังสามารถป้องกันพฤติกรรมไม่พึงปรารถนา โดยลดโอกาสที่จะเกิดสถานการณ์เหล่านั้นตัวอย่างเช่น หากสุนัขเห่าให้คุณช่วย ไม่ว่าเมื่อใดก็ตามที่ลูกบอลกลิ้งเข้าไปอยู่ใต้เก้าอี้นอน ให้คุณทดลองวางบางสิ่งไว้ข้างใต้เก้าอี้นอน เพื่อป้องกันไม่ให้ของเล่นของมันกลิ้งเข้าไปข้างใต้เก้าอี้นอนได้ [14]
  5. อย่าหยุดเพียงแค่ห้ามไม่ให้สุนัขเห่าเรียกร้องความสนใจ จงฝึกต่อไปจนกว่าจะครอบคลุมทุกมุมมองของการเห่าเพื่อเรียกร้องความสนใจ /การเห่าร้องขอ ในที่สุด สุนัขของคุณจะเรียนรู้ที่จะรอคอยอย่างอดทน ไม่ว่าเมื่อไรก็ตามที่มันต้องการจะเล่น กิน หรือได้รับการลูบไล้อย่างเอ็นดู [15]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

สยบความวิตกกังวลจากการถูกจับแยก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความวิตกกังวลจากการถูกจับแยกอาจพบได้หลายรูปแบบในสุนัขตัวหนึ่งๆ แต่สัญญาณซึ่งพบบ่อยครั้งที่สุดของความวิตกกังวลจากการถูกจับแยก คือการสร้างความเสียหายให้กับบ้าน/อพาร์ตเมนต์ และการเห่าอย่างไม่หยุดหย่อน พฤติกรรมเหล่านี้จะเกิดขึ้นเป็นธรรมดาเมื่อเจ้าของสุนัขไปทำงาน หรือไม่อย่างนั้นก็ออกจากบ้านไป และถึงหากสุนัขไม่ชอบทำลาย เจ้าของบางคนก็อาจจะไม่แม้แต่จะตระหนักว่าสุนัขของตนมีความวิตกกังวลจากการถูกจับแยก [16] สัญญาณที่พบบ่อยๆของความวิตกกังวลจากการถูกจับแยกที่คุณสมควรมองหานั้น รวมทั้ง:
  2. พยายามวางเงื่อนไขแบบตรงกันข้าม (Counter conditioning) กับสุนัขของคุณ. การวางเงื่อนไขแบบตรงกันข้ามเป็นวิธีบำบัดสำหรับสุนัขซึ่งพบบ่อยที่สุดวิธีหนึ่ง ตามปกติจะเกี่ยวข้องกับการฝึกสุนัขให้เชื่อมโยงบางสิ่งที่น่ากลัวกับรางวัล ในกรณีของความวิตกกังวลจากการแยกจาก (Separation anxiety) นั้น แทนที่จะกลัวใครบางคนหรือบางสิ่ง สุนัขจะกลัวการถูกทิ้งไว้ตามลำพัง เพื่อที่จะวางเงื่อนไขแบบตรงกันข้ามสำหรับความวิตกกังวลจากการแยกจาก คุณจำเป็นต้องฝึกสุนัขให้เชื่อมโยงการถูกทิ้งไว้ตามลำพังกับบางสิ่งที่มันชอบ (เช่น ของอร่อย) [23]
    • เมื่อไรก็ตามที่คุณออกจากบ้าน จงทดลองให้ของเล่นปริศนา (Puzzle toy) ซึ่งยัดไส้ด้วยอาหารแก่สุนัขของคุณ เพื่อสร้างความประหลาดใจ ของเล่นจะมีข้างในกลวง เพื่อสามารถยัดไส้ของอร่อยๆ ให้มันพ่นเนยแข็งหรือเนยถั่วชนิดไขมันต่ำออกมา เพื่อให้สุนัขของคุณง่วนอยู่กับมันอย่างน้อย 20 - 30 นาที ซึ่งอาจนานพอที่จะทำให้มันลืมเรื่องที่กลัวว่าคุณจะจากมันไป [24]
    • เมื่อคุณกลับถึงบ้าน ให้ย้ายหรือซ่อนของเล่นปริศนาชิ้นนั้น (หรือหลายๆ ชิ้น) เพื่อที่สุนัขของคุณจะได้เริ่มถูกตั้งเงื่อนไขว่าจะได้ของเล่นปริศนาก็ต่อเมื่อคุณออกไปจากบ้านเท่านั้น [25]
    • จงตระหนักว่า เงื่อนไขแบบตรงกันข้ามนั้น ตามปกติจะใช้ได้เฉพาะกับกรณีความวิตกกังวลจากการแยกจากในระดับที่ไม่รุนแรง แม้จะแน่นอนว่าสุนัขของคุณจะสนุกกับของเล่นปริศนา ไม่ว่าอาการของมันจะหนักหนาแค่ไหนก็ตาม คุณอาจจำเป็นต้องหันไปหาวิธีที่แข็งแกร่งกว่านี้ หากสุนัขของคุณทรมานกับความวิตกกังวลระดับปานกลางจนถึงระดับรุนแรง [26]
  3. ทำให้สุนัขของคุณไม่มีความรู้สึกไวต่อการอยู่ตามลำพัง. หากสุนัขมีความวิตกกังวลต่อการแยกจากในระดับปานกลางจนถึงรุนแรง มีความเป็นไปได้มากที่สุดที่จะไม่อาจรักษาให้หายได้แค่ชั่วข้ามคืน หนึ่งในวิธีที่ดีเพื่อให้สุนัขคุ้นชินมากขึ้นกับการอยู่ตามลำพัง คือค่อยๆ ทำให้สุนัขไม่รู้สึกไวต่อการถูกทิ้งไว้ตามลำพัง และเพิ่มน้ำหนักให้กับความจริงที่ว่า การที่คุณพร้อมจะจากไป ไม่ได้หมายความว่าจะทอดทิ้งมัน สิ่งนี้เป็นกระบวนการช้าๆ ซึ่งจะใช้เวลาฝึกฝนหลายสัปดาห์และทำอย่างคงเส้นคงวา แต่สมควรพิสูจน์ให้เห็นว่าได้ผลดีในระยะยาว [27]
    • พยายามรับมือกับความวิตกกังวลก่อนที่คุณจะออกจากบ้าน โดยเปิดเผยสิ่งที่บอกเป็นนัยหลายๆ อย่างว่าคุณกำลังจะออกจากบ้าน เช่น สวมเสื้อคลุม หรือหยิบกุญแจรถยนต์ขึ้นมาและเขย่าให้มีเสียงโลหะกระทบกัน ทดลองแสดงพฤติกรรมเหล่านี้หลายๆ ครั้งตลอดวันโดยไม่ได้ออกจากบ้านไปจริงๆ [28]
    • สอนสุนัขของคุณให้อยู่ตามลำพังได้อย่างสบายใจมากขึ้น โดยพยายามใช้วิธี "อยู่-แบบ-ไม่-ให้-เห็น" กล่าวคือให้สุนัขของคุณนั่ง หรือนอนลง หลังจากนั้น ให้คุณก้าวออกจากห้อง หรือไม่อย่างนั้น ก็ออกให้พ้นจากสายตาของมัน [29]
    • ในขณะที่สุนัขของคุณกำลังสบายใจ และคุณอยู่พ้นจากสายตาของมัน จงทดลองปิดประตูบานหนึ่งเพื่อสกัดกั้นไม่ให้มันเข้าถึงตัวคุณ และค่อยๆ ขยายเวลาที่คุณออกไปจากห้อง หรืออยู่ข้างหลังบานประตูที่ปิดอยู่ [30]
    • เริ่มใช้วิธีอยู่-แบบ-ไม่-ให้-เห็น แถวประตูที่มีความสำคัญต่ำ เช่น ประตูห้องน้ำหรือประตูห้องนอน อย่าพยายามกระโดดตรงไปที่ประตูหน้าบ้านเลยในทีเดียว เพราะอาจจะทำให้สุนัขของคุณตื่นตกใจ [31]
    • หลังจากหลายสัปดาห์ คุณสมควรเพิ่มความคืบหน้าโดยย้ายไปฝึกวิธีอยู่-แบบ-ไม่-ให้-เห็น ที่ประตูทางออกสักบานหนึ่ง แต่จะดีที่สุดที่คุณจะใช้ประตูสำรอง (หากเป็นไปได้) แทนที่จะเป็นประตูบานที่คุณใช้ออกจากบ้านไปทำงานตามปกติ ตัวอย่างเช่น แทนที่จะออกทางประตูหน้าบ้าน หรือประตูไปยังโรงรถ ให้ลองออกทางประตูหลังบ้านแทน [32]
    • ในขณะที่คุณขยายระยะเวลาที่อยู่ห่างจากสายตาสุนัขของคุณ หรืออยู่ข้างหลังประตูซึ่งปิดอยู่ คุณสมควรใช้วิธีวางเงื่อนไขแบบตรงกันข้าม (Counter conditioning) ประกอบด้วย เช่น ใช้ของเล่นปริศนาเพื่อคอยเบี่ยงเบนความสนใจของมัน พยายามเพิ่มส่วนประกอบนี้เวลาที่คุณอยู่ข้างหลังบานประตูที่ปิดอยู่ หรือออกทางประตูหลังบ้านนานอย่างน้อย 10-20 วินาที [33]
  4. ต้องใช้การฝึกอบรมและการฝึกฝนจำนวนมาก เพื่อให้สุนัขของคุณสบายใจกับการเพิ่มระยะเวลาที่คุณจะหายหน้าไป ส่วนใหญ่ของพฤติกรรมไม่พึงปรารถนาของสุนัขที่กระวนกระวายใจสักตัวหนึ่ง จะเกิดขึ้นภายใน 40 นาทีแรกที่คุณจากไป และมันจะต้องใช้การฝึกหลายช่วงมากๆ ก่อนที่คุณจะสามารถหายหน้าไปได้นาน 40 นาทีอย่างสบายใจ [34]
    • เพิ่มเวลาที่คุณหายหน้าไปเพียงแค่ไม่กี่วินาทีในการฝึกแต่ละช่วง เพราะหากมากกว่านั้น อาจทำให้สุนัขของคุณอารมณ์เสีย และกระตุ้นปฏิกิริยาตอบโต้แบบตื่นตระหนกจากมัน [35]
    • เมื่อสุนัขของคุณสามารถถูกทิ้งให้อยู่ตามลำพังอย่างสบายใจได้นาน 90 นาทีแล้ว มีความน่าจะเป็นมากว่ามันจะสามารถรับมือกับการอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้สี่ถึงแปดชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ในช่วงขั้นตอนแรกๆ ของระดับที่มันสบายใจนั้น เป็นการดีที่สุดที่จะ "ทดสอบ" สุนัขของคุณให้อยู่ตัวเดียวนานสี่ชั่วโมง แทนที่จะกระโดดข้ามขั้นไปเป็นช่วงที่คุณไปทำงานเต็มวัน (หากเป็นไปได้) [36]
    • หากคุณเห็นพ้องกับการฝึก และทำการฝึกซ้อมหลายครั้งในแต่ละวันในช่วงสุดสัปดาห์ และอย่างน้อยสองครั้งต่อวันในช่วงวันทำงาน (เช่น ก่อนไปทำงานและในตอนเย็น คุณอาจจะสามารถประสบความสำเร็จในการทำให้สุนัขของคุณอยู่ตามลำพังอย่างสบายใจในระยะยาวได้ภายในเวลาต่ำกว่าหนึ่งเดือน [37] อย่างไรก็ตาม สุนัขทุกตัวแตกต่างกันและสุนัขของคุณอาจจำเป็นต้องใช้เวลาฝึกนานมากขึ้น หรือมีช่วงการฝึกเพิ่มมากขึ้นในแต่ละวัน
    • จงอดทน และจำไว้ว่าสุนัขของคุณกำลังมีพฤติกรรมเช่นนั้น เพราะมันรักคุณ และกลัวว่าคุณจะทอดทิ้งมัน [38]
  5. หากในที่สุดแล้ว สุนัขของคุณไม่สงบลงแม้จะฝึกแล้ว หรือหากเจ้าของบ้านเช่าหรือเพื่อนบ้านของคุณได้แสดงท่าทีว่าจะไม่อดทนต่อการที่สุนัขของคุณจำเป็นต้องฝึก คุณอาจจำเป็นต้องพิจารณาทางเลือกอื่น [39]
    • ดูสิว่าคุณสามารถพาสุนัขไปทำงานกับคุณด้วยได้ไหม (ขึ้นอยู่กับที่ทำงานของคุณ) มันอาจไม่ได้ดีเลิศนัก แต่ที่ทำงานหลายแห่งเป็นมิตรกับสุนัข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณได้อธิบายสถานการณ์ของคุณให้เจ้านายฟังด้วยแล้ว [40]
    • จัดการให้มีเพื่อนสักคนหนึ่ง หรือสมาชิกในครอบครัวของคุณ คอยเฝ้าดูสุนัขของคุณในระหว่างที่คุณจากไป สุนัขส่วนใหญ่จะมีอาการความวิตกกังวลจากการถูกจับแยก หากว่ามันถูกทิ้งให้อยู่ตามลำพังโดยสิ้นเชิงเท่านั้น หรือพูดอีกอย่างหนึ่งได้ว่า ตามปกตินั้น การมีใครสักคนอยู่ที่นั่นจะช่วยได้ [41]
    • พิจารณาเรื่องการฝึกสุนัขด้วยกรง (Crate training) ความสำเร็จของการฝึกสุนัขด้วยกรงนั้นแตกต่างเป็นอย่างมากในสุนัขตัวหนึ่งกับอีกตัวหนึ่ง สุนัขบางตัวตื่นตระหนกหากถูกทิ้งไว้ในกรง ขณะที่ตัวอื่นๆมองกรงเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับพวกมัน และเป็นสิ่งช่วยยืนยันว่าจะมีบางคนมาที่บ้านในบางช่วงเวลาเพื่อเปิดประตูกรง [42]
    • แสวงหาความช่วยเหลือจากผู้ฝึกสุนัขมืออาชีพผู้ผ่านการรับรอง (Certified Professional Dog Trainer หรือ CPDT หากวิธีอื่นๆ ทั้งหมดล้มเหลว CPDT สักคนหนึ่งจะรู้วิธีที่จะช่วยสุนัขของคุณในแบบที่ดีที่สุดที่จะเป็นไปได้ จงหา CPDT ในแถวที่คุณอยู่ด้วยการค้นหาออนไลน์ หรือขอให้สัตวแพทย์ของคุณช่วยแนะนำให้ [43]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

หยุดการเห่าเตือนภัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเห่าเตือนภัยเป็นรูปแบบใดๆ ของการเห่าใส่ผู้ที่มันเข้าใจว่าเป็นผู้บุกรุก ในขณะที่การเห่าใส่ผู้มีบุกรุกอย่างแท้จริงนั้นเป็นประโยชน์ และอาจช่วยชีวิตคนได้ การเห่าใส่ผู้ที่มันเข้าใจว่าเป็นผู้บุกรุก เช่น บุรุษไปรษณีย์ คนส่งพัสดุไปรษณีย์ หรือแม้เพียงเพื่อนบ้านผู้ผ่านไปมาแถวบ้านคุณ สามารถเป็นปัญหา และน่ารำคาญใจ [44]
    • การเห่าเตือนภัยไม่จำเป็นต้องมองเห็นตัว เพื่อยืนยันผู้ที่พวกมันคิดว่าเป็นผู้บุกรุกเสมอไป สุนัขบางตัวอาจเห่าเตือนภัยเพียงเพราะได้ยินเสียงรถยนต์ที่บ้านหลังถัดไป หรือได้ยินเสียงบนบาทวิถี [45]
    • การเห่าเตือนภัยมักเกิดขึ้นพร้อมกับการพุ่งตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย หรือโฉบไปข้างหน้า(หนึ่งหรือสองนิ้ว) พร้อมกับการเห่าแต่ละครั้ง [46]
  2. วิธีดีที่สุดที่จะระงับการเห่าเตือนภัยคือ สอนสุนัขของคุณให้เงียบเมื่อถูกสั่ง ซึ่งเหมือนกับการฝึกทุกชนิด ที่น่าจะเป็นกระบวนการซึ่งต้องใช้เวลานาน จึงต้องการความอดทนและความคงเส้นคงวา แต่หากคุณเต็มใจที่จะทุ่มเทเวลาและความพยายาม แม้แต่สุนัขซึ่งหวงอาณาเขตที่สุดก็จะเรียนรู้ที่จะมีพฤติกรรมที่ดีกว่าเดิม [47]
    • เมื่อสุนัขของคุณเริ่มเห่าเตือนภัย จงชูของอร่อยให้ดู หลังจากมันเห่าสามหรือสี่ครั้ง การทำเช่นนี้จะดึงความสนใจของมัน และน่าจะเบนความสนใจของมันจากผู้ที่คิดว่าเป็นผู้รุกรานอย่างแท้จริง [48]
    • รอจนมันหยุดเห่า คุณเพียงแต่อดทน และชูของอร่อยต่อไป [49]
    • เมื่อสุนัขของคุณหยุดเห่าแล้ว จงพูดกับมันว่า"เงียบ" โดยใช้น้ำเสียงที่สงบแต่เข้มงวด และให้ของอร่อยแก่มัน [50]
    • ทำกระบวนการนี้ซ้ำอีกจนกว่าสุนัขของคุณเรียนรู้ที่จะจับคู่คำว่า "เงียบ" กับการเงียบเสียงของตัวเอง เมื่อสุนัขทำได้สำเร็จเป็นครั้งที่สิบหรือมากกว่า คุณสามารถเริ่มออกคำสั่งให้มันเงียบโดยไม่ต้องโชว์ของอร่อยให้เห็น หากมันยังคงทำตามคำสั่งของคุณ จึงให้ของอร่อยแก่มัน หากมันไม่ทำตาม คุณอาจจำเป็นต้องโชว์ของอร่อยให้มันดูในช่วงการฝึกเพิ่มอีกหลายช่วง [51]
    • ในที่สุด สุนัขของคุณจะเรียนรู้ที่จะเงียบเมื่อถูกสั่งโดยไม่ต้องให้ของอร่อย อย่างไรก็ตาม แม้หลังจากฝึกมาถึงขั้นนี้แล้ว คุณก็สมควรยังคงกล่าวชมเชยสุนัขของคุณเมื่อมันหยุดเห่า [52]
  3. เมื่อสุนัขได้เรียนรู้คำสั่งให้เงียบแล้ว คุณจะต้องการปรับใช้คำสั่งให้มันเงียบในฉากของโลกแห่งความจริงด้วย คุณสามารถทำเช่นนี้ได้โดยให้เพื่อนปิดประตูรถที่หน้าบ้านคุณ เขย่าตู้ไปรษณีย์ของคุณ หรือเดินเข้ามาใกล้ประตูหน้าบ้านของคุณ [53]
    • เตรียมของอร่อยเอาไว้ให้พร้อมทุกครั้งที่เพื่อนของคุณมาที่ประตู แม้หากว่าคุณได้เลยขั้นที่จะให้ของอร่อยแก่มันในระหว่างการฝึกตามปกติแล้ว คุณอาจจำเป็นต้องใช้ของอร่อยสำหรับการฝึกแบบประยุกต์ ในกรณีที่มีผู้บุกรุกตัวจริงเสียงจริง [54]
    • เวลาที่คุณให้ใครบางคนมาที่ประตูโดยแสร้งทำเป็นบุรุษไปรษณีย์ มีความจำเป็นที่เพื่อนของคุณจะไม่ออกไปจากเฉลียงหน้าประตูเข้าบ้าน จนกว่าสุนัขของคุณจะเงียบ หากเขาจากไปตอนที่มันยังเห่า มันอาจจะคิดว่าเสียงเห่าของมันคือสิ่งที่ขับไล่เขาไปได้ [55]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

ป้องกันการเห่าเพราะกดดัน/เบื่อหน่าย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากสุนัขของคุณเห่าเหมือนถูกบังคับโดยไม่มีสาเหตุ หรือมีแนวโน้มจะเห่าเวลาถูกทิ้งไว้ตามลำพัง (เช่น ในสนาม) มันอาจจะกำลังเห่าเพราะเบื่อหน่าย สุนัขซึ่งเห่าเมื่อถูกทิ้งไว้ตามลำพังอาจเป็นเพราะความวิตกกังวลจากการแยกจาก (Separation anxiety) แต่ตามปกติจะมีอาการอื่นร่วมด้วยกับปัญหานี้ เช่น พฤติกรรมชอบทำลาย ปัญหาเรื่องขับถ่ายไม่เป็นที่เป็นทาง และติดตามคุณตลอดเวลาที่คุณอยู่บ้าน สัญญาณซึ่งพบบ่อยที่สุดของการเห่าเพราะกดดัน/เบื่อหน่ายรวมทั้ง:
  2. เวลาออกกำลังกายและเวลาเล่นเป็นยารักษาที่ดีที่สุดสำหรับการเห่าเพราะกดดัน/เบื่อหน่าย ขณะที่แน่นอนว่า การพาสุนัขเดินเล่นเป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งของการให้มันได้ออกกำลังกาย (แม้หากว่าคุณมีสนามในรั้วรอบขอบชิดอยู่แล้ว) ก็ยังไม่อาจเพียงพอ จงพยายามให้สุนัขของคุณวิ่งไปและกลับระหว่างคนสองคนนาน 10-20 นาที วิ่งไล่ตามลูกบอลหรือของเล่น หรือพาสุนัขวิ่งเหยาะๆ กับคุณ ก่อนที่คุณจะออกจากบ้านไปทำงาน [60]
    • ให้สุนัขของคุณได้ออกกำลังกายอย่างกระฉับกระเฉงอย่างน้อย 20 นาทีต่อวัน มีความสำคัญสำหรับสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจของมัน และอาจช่วยลดเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดจากพฤติกรรมที่มีปัญหา เช่น การเห่าเพราะเบื่อหน่าย [61]
    • คุณสมควรใช้เวลาในแต่ละวันเล่นกับสุนัขของคุณบ้าง คุณอาจเล่นซ่อนหา หรือเพียงแค่โยนลูกบอลลูกหนึ่งไปรอบๆ แล้วให้มันวิ่งไล่ หรือ สั่งให้ไปตามเก็บลูกบอลกลับมา [62]
  3. การเรียนรู้และฝึกฝนเทคนิคพิเศษเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมเพื่อป้องกันความเบื่อหน่ายในสุนัข และช่วยสกัดพฤติกรรมที่เกิดจากความกดดันของมัน เทคนิคพิเศษนี้ต้องเพ่งความสนใจ ต้องใส่ใจ และต้องจดจำบทเรียนต่างๆ จึงสามารถทำให้สุนัขของคุณไม่ว่างทั้งกายและใจ [63]
    • เมื่อสุนัขของคุณได้เรียนรู้เทคนิคพิเศษสี่ห้าอย่าง จงให้มันได้แสดงเทคนิคเหล่านั้นทุกวัน การทำเช่นนี้จะช่วยให้มันสามารถจดจำเทคนิคพิเศษที่ได้เรียนมา แถมยังช่วยให้มันไม่ว่าง และพัวพันอยู่กับเทคนิคเหล่านั้นด้วย [64]
  4. ทิ้งสิ่งที่ช่วยเบนความสนใจไว้ให้สุนัขของคุณ. นอกจากฝึก การทิ้งสิ่งที่ช่วยเบนความสนใจเอาไว้รอบๆ บ้าน เป็นวิธีดีเยี่ยมที่จะสกัดกั้นพฤติกรรมมีปัญหาต่างๆ เช่น การเห่าเพราะความเบื่อหน่าย คุณอาจใช้ของเล่นปริศนายัดไส้เนยถั่ว หรือเพียงแค่โยนของอร่อยสักกำมือหนึ่งไว้ในหลายๆ ที่รอบห้อง คุณอาจเปิดวิทยุหรือทีวีทิ้งไว้ให้กับสุนัขด้วย เพื่อให้เสียงช่วยเบนความสนใจของมัน [65]
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

ค้นหาวิธีลดการเห่าโดยรวม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากสุนัขหิวหรือถูกทิ้งไว้ในสนามตลอดทั้งวันและทุกวัน มันอาจจะเห่า ไม่ว่าจะฝึกมามากขนาดไหน หรือใช้เทคนิคควบคุมพฤติกรรมแบบใด ก็ไม่อาจปราบความจำเป็นต้องได้อาหารและความสุขสบายของสุนัข จงทำให้แน่ใจว่าสุนัขของคุณมีน้ำที่สะอาดและเย็นไว้ดื่มเสมอเมื่อมันต้องการ ได้รับอาหารบำรุงร่างกายสองถึงสามมื้อในแต่ละวัน และสามารถเข้าไปในบ้านของคุณได้
  2. บางครั้ง การเห่าคือวิธีที่สุนัขใช้บอกกับคุณว่ามันบาดเจ็บหรือป่วย หากมีโอกาสที่สุนัขของคุณอาจมีปัญหาทางการแพทย์บางประการ หรือบาดเจ็บ คุณสมควรพาไปหาสัตว์แพทย์โดยเร็วที่สุดที่จะทำได้ [66]
  3. สอนสุนัขของคุณด้วยคำสั่งว่า"เงียบ" เป็นเทคนิคการฝึกที่เยี่ยมยอดมาก จะเป็นประโยชน์สำหรับการเห่าทุกชนิดที่เป็นปัญหา แม้ว่าอาจเป็นทางเลือกเดียวสำหรับปัญหาด้านพฤติกรรมที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น การเห่าเตือนเรื่องอาณาเขต [67]
    • ทุกครั้งที่สุนัขของคุณเริ่มเห่าโดยไม่มีความจำเป็น จงชูของอร่อยเพื่อเบนความสนใจของมันจากผู้ที่มันคิดว่าเป็นผู้บุกรุก [68]
    • เมื่อสุนัขของคุณหยุดเห่าแล้ว จงพูดว่า "เงียบ" แล้วให้ของอร่อยแก่มัน [69]
    • ค่อยๆ ยืดช่วงเวลาที่มันจะต้องเงียบออกไปก่อนจะได้ของอร่อย ในที่สุด ก็สมควรถึงจุดที่ว่าคุณเพียงพูดว่า"เงียบ" โดยไม่ต้องชูของอร่อยให้มันเห็น ก็สามารถกระตุ้นให้มันตอบสนองด้วยการเงียบเสียงได้ [70]
  4. การออกกำลังกายเป็นวิธีอันดีเลิศที่จะควบคุมปัญหาด้านพฤติกรรม ซึ่งรวมทั้งการเห่ามากเกินไป ไม่ว่าสุนัขของคุณจะวิตกกังวล แสดงความเป็นเจ้าของ หรือเพียงแค่เบื่อ การได้ออกกำลังดีๆ อาจจะช่วยลดความบ่อยครั้งและความรุนแรงของปัญหาการเห่าของมัน [71]
    • คุณสามารถให้สุนัขของคุณออกกำลังกายได้ในหลายรุูปแบบ ขึ้นอยู่กับอายุของสุนัขและความสามารถทางกายภาพของมัน การเดินเป็นระยะทางไกลๆ ดีสำหรับสุนัขอายุมาก ในขณะที่สุนัขเด็กๆ อาจสนุกกับการออกไปวิ่งเหยาะๆ กับคุณ วิ่งไล่ลูกบอลในการเล่นเกมที่ให้ไปเก็บลูกบอลมา เล่นชักกะเย่อ หรือของเล่นที่มีปฏิกิริยาโต้ตอบ [72]
  5. หากสุนัขมีปัญหาเพราะจะเห่าไม่ว่าเมื่อไรก็ตามที่มันเห็นหรือได้ยินเสียงจากนอกบ้าน วิธีแก้ไขง่ายๆ วิธีหนึ่งอาจเป็นบล็อกการเข้าถึง ไม่ให้มันเห็นหรือได้ยินสิ่งที่จะกระตุ้นให้เห่า หากสุนัขของคุณยืนอยู่ตรงหน้าต่างและเห่า จงทดลองปิดม่านหรือบังตา เพื่อที่มันจะไม่เห็นคนหรือสัตว์ที่ผ่านไปมา หากเสียงที่ได้ยินจากนอกบ้านมีแนวโน้มจะทำให้มันเห่า ให้ทดลองเปิดวิทยุไว้ทั้งวันเพื่อเบนความสนใจของสุนัขของคุณ และปกปิดเสียงจากภายนอกบ้านอย่างจริงจัง [73]
  6. มีผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมของสุนัขที่แตกต่างกันหลายประเภท ซึ่งต่างมีคุณสมบัติเฉพาะของตนเอง ไม่ว่าคุณเลือกผู้เชี่ยวชาญประเภทใด คุณสามารถตรวจสอบคุณสมบัติของบุคคลผู้นั้น กับมองหาข้อแนะนำและบทวิจารณ์ได้ทางออนไลน์ หากคุณไม่อาจหาผู้เชี่ยวชาญทางออนไลน์ ให้สอบถามสัตวแพทย์ของคุณเพื่อขอคำแนะนำเรื่องผู้เชี่ยวชาญผู้ที่สามารถช่วยสุนัขของคุณได้ตรงกับความต้องการเฉพาะของมัน [74]
    • ครูฝึกสุนัขมักจะมีใบประกาศนียบัตรรับรอง แต่ก็ไม่เสมอไป ครูฝึกสุนัขอาจมีชื่อเรียกอื่นๆ ได้ด้วย เช่น ที่ปรึกษาด้านพฤติกรรม (Behavior counselor) นักบำบัดสัตว์เลี้ยง (Pet therapist) นักจิตวิทยาสัตว์ (Pet psychologist) [75]
    • ครูฝึกสุนัขผู้ผ่านการรับรอง (Certified Professional Dog Trainers หรือ CPDTs) จะได้รับใบประกาศนียบัตรจากองค์กรอิสระ ซึ่งเพื่อที่จะผ่านการรับรองนั้น ผู้ที่คาดหวังจะเป็น CPDT จะต้องเรียนจบโครงการฝึกชนิดลงมือปฏิบัติจริงอย่างเข้มงวด ต้องผ่านการฝึกตามมาตรฐาน และต้องสามารถจัดหาหนังสือรับรอง (letters of recommendation) [76]
    • สำหรับในสหรัฐนั้น นักพฤติกรรมนิยม (Behaviorists) อาจจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันหลากหลายประเภท แต่ที่สำคัญก็คือไม่ว่าจะเป็นประเภทใด ก็จะต้องจบปริญญาโทหรือปริญญาเอกด้านพฤติกรรมสัตว์ ตามธรรมเนียมนั้น นักพฤติกรรมนิยมผู้จบปริญญาเอกจะมีชื่อเรียกว่า นักพฤติกรรมนิยมสัตว์ประยุกต์ผู้ผ่านการรับรอง (Certified Applied Animal Behaviorist หรือ CAAB) ในขณะที่นักพฤติกรรมนิยมผู้จบปริญญาโทจะมีชื่อเรียกว่า (รองนักพฤติกรรมนิยมสัตว์ประยุกต์ผู้ผ่านการรับรอง (Associate Certified Applied Animal Behaviorist หรือ ACAAB) [77]
  7. อุปกรณ์กันเห่า เช่น ปลอกคอกันเห่าต่างๆ เป็นสิ่งที่ไม่น่าพึงพอใจอย่างยิ่งสำหรับสุนัข และสมควรใช้เฉพาะเป็นทางเลือกสุดท้าย เมื่อไม่มีวิธีอื่นอีกแล้วที่ใช้ได้ผล บางคนต่อต้านการใช้ปลอกคอกันเห่าเพราะมีแนวความคิดว่าอุปกรณ์กันเห่าใช้เพื่อการลงโทษ การใช้วิธีฝึกสุนัขได้ผลดีกว่าใช้อุปกรณ์ลงโทษ และแน่นอนว่าการฝึกเป็นวิธีแก้ปัญหาด้านพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งดีที่สุดในระยะยาว แต่หากการฝึกใช้ไม่ได้ผลกับสุนัขของคุณ และเจ้าของบ้านเช่าขู่จะขับไล่ หรือให้ตำรวจเข้ามาแทรกแซง คุณอาจจำเป็นต้องใช้ทางเลือกสุดท้ายคือปลอกคอกันเห่า [78]
    • ปลอกคอกันเห่าชนิดตะไคร้หอม (Citronella collars) จะปล่อยสารตะไคร้หอมจำนวนเล็กน้อยออกมาในช่วงสั้นๆ ทุกครั้งที่สุนัขเห่า ปลอกคอชนิดนี้ได้แสดงให้เห็นว่า อย่างน้อยมันมีประสิทธิภาพพอๆ กันกับปลอกคออีเลคโทรนิค และไม่มีความเสี่ยงที่จะทำให้เจ็บปวดหรือสร้างความไม่สบายใจอย่างแท้จริงให้กับสุนัข [79]
    • ปลอกคอกันเห่าที่ทำงานด้วยระบบคลื่นเสียงอุลตราโซนิค (Ultrasonic bark collars) ส่งเสียงอุลตราโซนิคซึ่งมีแต่สุนัขเท่านั้นที่ได้ยิน สุนัขไม่ชอบคลื่นเสียงสูงชนิดนี้ แต่ก็ไม่ได้ทำให้มันบาดเจ็บจริงๆ [80]
    • ปลอกคอช็อตสุนัข (Shock collars) คล้ายคลึงกับปลอกคอกันเห่าชนิดตะไคร้หอม หรือแบบคลื่นเสียงอุลตราโซนิค แต่จะมีไฟฟ้าช็อตไปที่ลำคอของสุนัขเป็นช่วงสั้นๆ แทน ตามปกตินั้น ปลอกคอชนิดนี้จะมีตัวเลขให้สามารถตั้งค่าไฟฟ้าที่ช็อตด้วยความรุนแรงที่แตกต่างกันหลายระดับ และหากคุณใช้ปลอกคอชนิดนี้ จะดีที่สุดหากคณจะตั้งค่าไฟฟ้าในระดับต่ำสุดที่จะเป็นไปได้ เพื่อป้องกันไม่ให้สุนัขบาดเจ็บ และขอแนะนำอีกครั้งหนึ่งว่า สมควรใช้ปลอกคอเหล่านี้เป็นทางเลือกสุดท้ายจริงๆ [81]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การฝึกและการออกกำลังกายคือวิธีดีที่สุดที่จะควบคุมพฤติกรรมใดๆ ที่ไม่พึงปรารถนา


โฆษณา
  1. http://www.humanesociety.org/animals/dogs/tips/how_to_stop_barking.html
  2. http://www.humanesociety.org/animals/dogs/tips/how_to_stop_barking.html
  3. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/barking
  4. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/barking
  5. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/barking
  6. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/barking
  7. https://www.mspca.org/pet_resources/barking-basics/
  8. https://www.mspca.org/pet_resources/barking-basics/
  9. https://www.mspca.org/pet_resources/barking-basics/
  10. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/separation-anxiety
  11. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/separation-anxiety
  12. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/separation-anxiety
  13. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/separation-anxiety
  14. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/separation-anxiety
  15. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/separation-anxiety
  16. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/separation-anxiety
  17. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/separation-anxiety
  18. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/separation-anxiety
  19. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/separation-anxiety
  20. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/separation-anxiety
  21. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/separation-anxiety
  22. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/separation-anxiety
  23. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/separation-anxiety
  24. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/separation-anxiety
  25. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/separation-anxiety
  26. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/separation-anxiety
  27. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/separation-anxiety
  28. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/separation-anxiety
  29. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/separation-anxiety
  30. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/separation-anxiety
  31. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/separation-anxiety
  32. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/separation-anxiety
  33. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/separation-anxiety
  34. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/separation-anxiety
  35. https://www.mspca.org/pet_resources/barking-basics/
  36. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/barking
  37. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/barking
  38. https://www.mspca.org/pet_resources/barking-basics/
  39. https://www.mspca.org/pet_resources/barking-basics/
  40. https://www.mspca.org/pet_resources/barking-basics/
  41. https://www.mspca.org/pet_resources/barking-basics/
  42. https://www.mspca.org/pet_resources/barking-basics/
  43. https://www.mspca.org/pet_resources/barking-basics/
  44. https://www.mspca.org/pet_resources/barking-basics/
  45. https://www.mspca.org/pet_resources/barking-basics/
  46. https://www.mspca.org/pet_resources/barking-basics/
  47. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/barking
  48. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/barking
  49. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/barking
  50. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/barking
  51. https://www.mspca.org/pet_resources/barking-basics/
  52. https://www.mspca.org/pet_resources/barking-basics/
  53. https://www.mspca.org/pet_resources/barking-basics/
  54. https://www.mspca.org/pet_resources/barking-basics/
  55. https://www.mspca.org/pet_resources/barking-basics/
  56. https://www.mspca.org/pet_resources/barking-basics/
  57. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/barking
  58. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/barking
  59. https://www.mspca.org/pet_resources/barking-basics/
  60. https://www.mspca.org/pet_resources/barking-basics/
  61. https://www.mspca.org/pet_resources/barking-basics/
  62. http://www.humanesociety.org/animals/dogs/tips/how_to_stop_barking.html
  63. http://www.humanesociety.org/animals/dogs/tips/how_to_stop_barking.html
  64. http://www.humanesociety.org/animals/dogs/tips/how_to_stop_barking.html
  65. https://www.aspca.org/pet-care/general-pet-care/behavioral-help-your-pet
  66. https://www.aspca.org/pet-care/general-pet-care/behavioral-help-your-pet
  67. https://www.aspca.org/pet-care/general-pet-care/behavioral-help-your-pet
  68. https://www.aspca.org/pet-care/general-pet-care/behavioral-help-your-pet
  69. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/barking
  70. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/barking
  71. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/barking
  72. https://www.aspca.org/pet-care/dog-care/common-dog-behavior-issues/barking

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 41,480 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา