ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าอยากให้ผิวเนียนใส ก็ต้องทำตามขั้นตอนดูแลผิวประจำวัน โดยเฉพาะผิวหน้าที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ ถ้ามีสิว ก็ต้องป้องกันไม่ให้สิวเห่อ ถ้าเป็นแล้วก็ต้องรักษาให้หายดี พยายามดูแลผิวให้อยู่ในสภาพดีที่สุด โดยผิวต้องได้สารอาหารและน้ำเพียงพอ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ดูแลผิวหน้าตามขั้นตอนประจำวัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ผิวคนเรามีทั้งแห้งไปจนถึงมัน ผิวผสมก็มี เวลาเลือก cleanser หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เลยต้องเลือกที่ตรงกับสภาพผิวของคุณที่สุด ปกติที่ฉลากจะมีบอกเลยว่าสำหรับคนผิวมัน ผิวแห้ง หรือผิวผสม ไม่ก็ใช้ได้กับทุกสภาพผิว [1]
  2. ล้างหน้า วันละ 2 ครั้ง. ล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง คือตอนเช้ากับตอนกลางคืน โดยเฉพาะตอนกลางคืนห้ามเว้นเด็ดขาด เพราะเป็นการชำระล้างสิ่งสกปรกและแบคทีเรียระหว่างวัน
  3. เวลาผิวแห้ง ให้ใช้มอยส์เจอไรเซอร์ วิธีที่ดีที่สุดคือทาครีมบำรุงทุกครั้งหลังล้างหน้า ก่อนที่จะเริ่มแต่งหน้าด้วยเครื่องสำอาง เลือกมอยส์เจอไรเซอร์ที่เหมาะกับสภาพผิวคุณ โดยสำรวจฉลากว่าเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับคนผิวมัน ผิวธรรมดา หรือผิวแห้ง เป็นต้น [4]
    • สำหรับตอนเช้าให้เลือกมอยส์เจอไรเซอร์ที่มีกันแดดด้วย
  4. บางคนก็โชคดี ผลัด/ขัดผิวแล้วเนียนใสกว่าเดิม แต่ปกติไม่แนะนำให้ผลัดเซลล์ผิวบ่อยๆ เพราะทำร้ายผิวได้ แนะนำให้ขัดหรือผลัดผิวอาทิตย์ละ 2 - 3 ครั้ง ถ้าเป็นอะไรแรงๆ กว่านี้ก็ต้องนานกว่านั้น นอกจากนี้ ไม่แนะนำให้ทำตอนกำลังรักษาสิวอยู่ เพราะอาจเป็นหนักกว่าเดิม [5]

    เลือกวิธีผลัดเซลล์ผิว:
    ผลัดผิวด้วยสารเคมี: อันนี้ส่งผลรุนแรงต่อผิว เหมาะกับคนผิวมัน การผลัดผิวด้วยสารเคมี คือละลายเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ด้วยสารเคมีอย่าง alpha และ beta hydroxy acid
    ขัดผิว: ขัดผิวต้องใช้สครับขัดหน้า ผ้าขนหนู และแปรง เพื่อกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว เหมาะสำหรับคนหน้าแห้ง แต่ระวังจะระคายเคืองถ้าผิวแพ้ง่าย หรือจะทำ microdermabrasion (กรอผิว) ที่คลินิกหมอผิวหนังหรือสปาเสริมความงามก็ได้
    เคล็ดลับ: ผลัดเซลล์ผิวแล้วให้บำรุงด้วยมอยส์เจอไรเซอร์ เพราะผิวแห้งหลังทำ ที่สำคัญคืออย่าให้ร่างกายขาดน้ำ

    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

รักษาสิวด้วยตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลายคนอดใจไม่ไหว ต้องคุ้ยแคะแกะเกา หรือบีบสิว กระทั่งได้ยินหลายคนเขาพูดกัน ว่าบีบแล้วสิวจะหายเร็ว แต่บอกเลยว่าปล่อยสิวไว้แบบนั้นแหละ ถ้าไปบีบหรือสัมผัสแตะต้องเรื่อยๆ อาจได้แผลเป็นมาประดับหน้าแทน แถมการบีบสิวยังทำให้หน้ามีแบคทีเรีย สิวยิ่งขึ้น ผิวหนังอักเสบได้ [6]
  2. ถ้าผิว โดยเฉพาะผิวหน้า มีแรงกดทับ ไม่ว่าจากอะไรก็ตาม อาจทำให้สิวเห่อได้ ทั้งเฮดโฟนและมือถือก็เข้าข่าย รวมถึงหมวกด้วย หรือถ้าคอเสื้อคับไป ก็อาจมีสิวหรือผื่นโผล่มา กระทั่งเป้ที่คุณสะพายกดทับที่หลัง ก็ทำให้สิวขึ้นได้เช่นกัน [7]

    อย่าให้อะไรมาสัมผัสกดทับผิว
    ใช้ speakerphone เวลาโทรหาใครแทน เวลาจะคุยกับใคร ให้เปิดลำโพงแทน จะได้ไม่ต้องเอาหน้าจอแนบแก้มตลอด
    ใช้หูฟังเล็กๆ ที่เสียบเข้าไปในหู แทนเฮดโฟนครอบหัว แบบเล็กจะไม่กดทับใบหน้า ไม่ได้สัมผัสผิวของเรา (นอกจากในหู) เลยด้วยซ้ำ
    อย่าให้คอเสื้อคับ แกะกระดุมคลายเสื้อหน่อย หรือเลือกเสื้อผ้าที่ไม่คับแน่นหรือถูผิวบริเวณคอ
    เลื่อนสายเป้ให้หลวมขึ้น อาจจะใส่ของให้เบาลง ป้องกันการกดทับบริเวณหลัง อะไรถือได้ก็ถือ เช่น หนังสือ

  3. เพราะเท่ากับเอาแบคทีเรียไปสัมผัสใบหน้า ทำให้สิวเห่อกว่าเดิม เพราะงั้นถ้าอยากหน้าใส ก็ต้องอดใจไม่เอามือไปจับต้องใบหน้าตลอดวัน [8]
  4. ปกติเราควรล้างหน้าวันละ 2 ครั้งอยู่แล้ว แต่ยิ่งดีถ้าล้างหน้าบริเวณที่เป็นสิววันละ 2 ครั้งด้วย ให้ใช้มือล้างหน้าด้วยน้ำสะอาดกับ cleanser สูตรอ่อนโยน สระผมทุกวันถ้าเป็นสิวที่หนังศีรษะหรือตามกรอบหน้า [9]
  5. สิวเกิดจากรูขุมขนอุดตัน ซึ่งโลชั่นมันๆ ก็ไปอุดตันรูขุมขนได้ เวลาเลือกผลิตภัณฑ์ ให้เลือกที่เขียนว่า "noncomedogenic" หรือสูตรน้ำ เพราะไม่อุดตันรูขุมขน ที่สำคัญคือเครื่องสำอางที่ใช้ต้องเขียนว่า "noncomedogenic" คือใช้แล้วรูขุมขนไม่อุดตัน [10]
  6. กรดซาลิไซลิกเป็นผลิตภัณฑ์ที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาและเครื่องสำอาง ใช้ล้างหน้าหรือทาหน้า ให้เลือกที่มีความเข้มข้นประมาณ 0.5% ก่อน ถ้าใช้ทาหน้า ให้ทาบริเวณที่สิวขึ้น ถ้าใช้ล้างหน้าหรือเป็นสบู่ ก็ถูให้ขึ้นฟอง แล้วเอาไปฟอกบริเวณที่มีสิวได้เลย [11]
    • เช็ดหรือล้างครีมออกจากบริเวณที่ไม่ได้เป็นสิว เช่น มือคุณนี่แหละ
  7. เซลล์ผิวที่ตายแล้วก็ทำรูขุมขนอุดตันได้ ยาสิวที่ขายกันบางตัว เลยมีสรรพคุณขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ซึ่ง benzoyl peroxide เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น แถมยังขจัดน้ำมันส่วนเกินด้วย ให้เริ่มใช้จากความเข้มข้นประมาณ 2.5% ตัวนี้จะเหมือน salicylic acid ตรงที่มีทั้งผลิตภัณฑ์ล้างหน้าและครีมทาหน้า [12]
    • ซัลเฟอร์ก็ออกฤทธิ์เหมือน benzoyl peroxide แต่ข้อเสียคือกลิ่นไม่ค่อยดี ส่วนใหญ่ซัลเฟอร์จะผสมอยู่กับส่วนประกอบอื่นๆ ในผลิตภัณฑ์
  8. ก็เหมือน benzoyl peroxide คือ AHA ช่วยผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว แต่ที่ดีกว่าคือลดอาการอักเสบ กระตุ้นการเกิดใหม่ของเซลล์ผิว พอรวมๆ กันแล้วเลยช่วยให้ผิวเนียน AHA ที่พบบ่อยก็เช่น กรดแลคติก (lactic acid) และกรดไกลโคลิก (glycolic acid) [13]
  9. บางวิธีธรรมชาติก็ใช้แล้วก็เห็นผลพอๆ กับการใช้ยา แต่แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอก่อนลองใช้หนึ่งในวิธีต่อไปนี้ เพราะอาจออกฤทธิ์ต้านกันกับยาที่ใช้อยู่ได้ [14]
    • ทาเจลทีทรีออยล์ 5% หลายคนใช้แล้วเห็นผลเรื่องลดสิว แต่บางคนก็แพ้ได้เหมือนกัน
    • Azelaic acid เป็นกรดตามธรรมชาติ ก็ใช้แล้วน่าจะเห็นผลเช่นกัน แนะนำให้ลองใช้ครีมที่มีกรดนี้ผสมอยู่ประมาณ 20%
    • ลองใช้ครีมที่มีสารสกัดจากชาเขียว 2% น่าจะช่วยลดสิวได้
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    Alicia Ramos

    Medical Aesthetician
    อลิเซีย รามอสเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความงามที่มีใบอนุญาตและเป็นเจ้าของ Smoothe Denver ในเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด เธอได้รับใบอนุญาตจากวิทยาลัยเสริมความงาม โดยผ่านการฝึกในด้านการสักคิ้ว โกนขนหน้า แว็กซ์ การขัดผิว และการลอกผิวด้วยสารเคมี และตอนนี้เป็นผู้ดูแลผิวพรรณให้กับลูกค้านับพัน
    Alicia Ramos
    Medical Aesthetician

    พวกผลิตภัณฑ์ทำเองก็ใช่ว่าจะปลอดภัย 100% Alicia Ramos นักเวชศาสตร์ความงามให้สัมภาษณ์ว่า "ปกติเวลารักษาสิว ดิฉันจะแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์มียี่ห้อน่าเชื่อถือหรือผลิตภัณฑ์เกรดทางการแพทย์ มากกว่าส่วนผสมทำมือ เพราะอาจมีแบคทีเรียตกค้าง ติดต่อไปยังผิวหนังได้ ทำให้สิวยิ่งเห่อ หรือเกิดการติดเชื้อ"

    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

หาหมอสิว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ใกล้เคียงกับยาที่หาซื้อเองได้ คือใช้ยาทาภายนอก ทาบริเวณใบหน้า ข้อแตกต่างคือตัว active ingredients จะไม่เหมือนกับในยาที่ซื้อเอง [15]

    ยารักษาสิวที่คุณหมอนิยมจ่ายให้:
    Retinoids: retinoid ช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วอย่างรวดเร็ว ทำให้รูขุมขนไม่อุดตัน ถ้าคุณหมอจ่ายยา retinoid ให้คุณ แนะนำให้เริ่มทาอาทิตย์ละ 3 วัน แล้วค่อยเพิ่มเป็นทาทุกวัน
    ยาปฏิชีวนะที่ใช้ภายนอก: ยาปฏิชีวนะช่วยกำจัดแบคทีเรียที่ผิวหนัง อันเป็นต้นเหตุของสิว นอกจากนี้ยังช่วยลดการอักเสบด้วย ถึงยาปฏิชีวนะที่ใช้ภายนอก เวลารักษาสิวเห่อจะไม่เห็นผลเร็วเท่ายากิน แต่ก็ถือเป็นทางเลือกที่ดี ส่วนใหญ่คุณหมอจะจ่ายยา benzoyl peroxide ให้ด้วย

  2. ถ้าสิวเห่อหนัก คุณหมอมักแนะนำให้กินยามากกว่า ยากินจะเข้าไปทำงานจากระบบภายในร่างกาย ไม่ใช่ที่ผิวหนังโดยตรง [16]

    ยากินที่คุณหมอนิยมจ่าย
    ยาปฏิชีวนะแบบกิน: อันนี้จะแรงกว่ายาทา และลดแบคทีเรีย ต้านอักเสบ ได้เห็นผลกว่า ปกติคุณหมอโรคผิวหนังจะจ่ายยานี้ร่วมกับ retinoid และ benzoyl peroxide สำหรับทาด้วย เพื่อลดความเสี่ยงเกิดอาการดื้อยาปฏิชีวนะ
    ยาคุมกำเนิดแบบเม็ด หรือย้าต้านฮอร์โมนเพศชาย (antiandrogen) สำหรับผู้หญิง: ยาคุมแบบเม็ดจะมี estrogen ฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนให้ผิวกระจ่างใส ยา antiandrogen ก็เป็นยาฮอร์โมน ใช้ยับยั้งผลจากฮอร์โมนที่มีต่อบางต่อม
    ใช้ Isotretinoin เป็นทางเลือกสุดท้าย: isotretinoin แบบกิน (แต่ก่อนเรียก Accutane) นั้นเห็นผลทันตามาก แต่ก็มีผลข้างเคียงร้ายแรง เช่น โรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล เสี่ยงเกิดโรคซึมเศร้า และบุตรพิการแต่กำเนิด ด้วยความเสี่ยงตามที่กล่าวมา คุณหมอเลยนิยมติดตามอาการใกล้ชิด เมื่อคุณจำเป็นต้องใช้ยา Isotretinoin

  3. ยาปฏิชีวนะช่วยลดแบคทีเรียที่ผิวหนัง และลดการอักเสบ แพ้แดง ทำให้ผิวเนียนใสขึ้น บางทีคุณหมอก็จ่ายยาปฏิชีวนะแบบครีมทาภายนอกให้ นอกเหนือไปจากยากินตามปกติ [17]
    • ปกติคุณหมอจะไม่ให้กินยาปฏิชีวนะต่อเนื่องนานๆ เพราะจะเกิดอาการดื้อยาได้ เพราะร่างกายทำปฏิกิริยาต่อต้าน จนแบคทีเรียตามธรรมชาติในลำไส้และ/หรือในอวัยวะเพศเปลี่ยนแปลงไปได้
  4. คุณหมอโรคผิวหนังหรือสถานเสริมความงาม สามารถลอกหน้าด้วยสารเคมีให้คุณได้ เพื่อรักษาสิวบางชนิด โดยเฉพาะสิวหัวดำกับตุ่มนูน ที่เห็นผลเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังทำให้หน้าเนียนขึ้น ยังไงลองปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญด้านความงามดู ว่าวิธีนี้เหมาะกับสภาพผิวของคุณไหม [18]
  5. อีกตัวเลือกที่แพทย์ผิวหนังใช้ก็คือรักษาด้วยเลเซอร์ โดยช่วยลดจำนวนแบคทีเรียบนใบหน้า และกระชับรูขุมขน เลยทำให้สิวน้อยลง [19] ลองปรึกษาดูว่าวิธีนี้เหมาะกับสภาพผิวของคุณไหม [20]
  6. ถ้าหน้ามีรอยสิวเป็นแผลเป็น คุณหมอโรคผิวหนังจะรักษาให้หน้าเนียนขึ้น โดยใช้วิธีอย่างการลอกผิวหน้าด้วยสารเคมี หรือเลเซอร์ รวมถึงวิธีการอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ [21]
    • อาจจะทำฉีดฟิลเลอร์ คุณหมอโรคผิวหนังจะฉีดฟิลเลอร์เข้าไปใต้ผิวหนัง ช่วยให้หน้าดูเนียนขึ้น
    • ต่อมาคือกรอผิวแบบ microdermabrasion โดยจะมีการพ่นผลึกแร่ละเอียดแล้วขัดผิวให้ตื้นขึ้นด้วยแปรงพิเศษ
    • ส่วนวิธีขั้นสุด คือผ่าตัดผิว ศัลยแพทย์จะตัดส่วนที่มีแผลเป็นออกไป แล้วซ่อมแซมหลุมที่เหลือ
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ดูแลผิวให้สุขภาพดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. น้ำร้อนทำให้ผิวแห้ง ถ้าอาบน้ำร้อนนานๆ ก็ส่งผลเสียต่อผิวได้ ให้อาบน้ำอุ่นแทน แต่ก็อย่าแช่น้ำนานอยู่ดี [22]
    • นอกจากนี้อาบน้ำเสร็จเร็วยังช่วยประหยัดน้ำด้วย
  2. ตากแดดนานๆ ผิวก็เสียได้ ทำให้แก่ก่อนวัย คุณปกป้องผิวได้โดยใช้ครีมกันแดดทุกวัน หลีกเลี่ยงแสงแดด โดยเฉพาะช่วงที่ร้อนที่สุดของวัน และสวมเสื้อผ้าที่ปกปิดผิว รวมถึงหมวก แว่นกันแดด กางเกงขายาว และเสื้อแขนยาว [23]

    เลือกและใช้งานครีมกันแดด
    เลือกครีมกันแดดแบบ broad-spectrum ที่ช่วยป้องกัน UVA และ UVB เพราะรังสี UVA ทำให้ผิวแก่ก่อนวัยได้ ส่วนรังสี UVB จะทำให้ไหม้แดด แต่ไม่ว่าผิวเผชิญกับรังสีไหนมากไป ก็ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ทั้งนั้น
    อย่างน้อยต้องมี SPF 30 ขึ้นไป SPF 30 จะปกป้องผิวได้ดีกว่า SPF 15 ส่วน SPF 50 ขึ้นไป ก็จะปกป้องผิวดีขึ้นอีกหน่อยเท่านั้น ให้เลือกครีมกันแดดแบบ broad spectrum ดีกว่าค่า SPF สูงๆ
    ถ้าใช้สเปรย์ ให้ฉีดพ่นให้ทั่วถึง โลชั่นและครีมจะป้องกันได้ทั่วถึงกว่า แต่สเปรย์ก็ปกป้องผิวได้ดีพอๆ กัน ถ้าฉีดพ่นเยอะๆ ให้ทั่วร่างกาย อาจจะใช้เจล ครีม หรือโลชั่นก่อน แล้วฉีดพ่นสเปรย์ทับทีหลังก็ได้
    ทาครีมกันแดด 15 นาทีก่อนออกแดด แล้วลงซ้ำทุก 2 ชั่วโมง รวมถึงลงซ้ำทันทีหลังว่ายน้ำหรือเหงื่อออกเยอะๆ ถึงกันแดดที่ใช้จะกันน้ำก็ตาม

  3. การดื่มน้ำสำคัญต่อร่างกายมาก ร่างกายต้องได้รับน้ำเพียงพอ ถึงจะทำงานได้ดีตามปกติ ผิวหนังก็เช่นกัน ถ้าร่างกายขาดน้ำ ผิวจะแห้ง ให้ดื่มน้ำเพียงพอจนไม่รู้สึกหิวน้ำ เท่านั้นก็พอให้ผิวไม่ขาดน้ำแล้ว [24]
    • ถ้าเป็นผู้หญิง แนะนำให้ดื่มน้ำวันละ 1 แกลลอน (ประมาณ 2 ลิตรกว่า) ขึ้นไป หรือ 9 แก้วต่อวัน [25]
    • ถ้าเป็นผู้ชาย แนะนำให้ดื่มน้ำวันละ 3 ลิตรขึ้นไป (13 แก้ว)
  4. ถ้าผิวแห้ง แปลว่าต้องการมอยส์เจอไรเซอร์ดีๆ เช่น body lotion เวลาเลือกโลชั่น ต้องให้เหมาะกับสภาพผิว เช่น โลชั่นสำหรับคนผิวมันหรือผิวแห้ง ถ้ามี SPF ด้วยก็ยิ่งดี เพราะทั้งให้ความชุ่มชื้นและปกป้องผิวจากแสงแดด [26]
  5. ผิวต้องได้รับไขมันดี ถึงจะแข็งแรงสุขภาพดี ดูเปล่งปลั่งตามธรรมชาติ อาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 สูงๆ ถือเป็นแหล่งอาหารชั้นดี แนะนำให้กินปลาแซลมอน แมคเคอเรล (ปลาทู) น้ำมันถั่วเหลือง วอลนัท เมล็ดแฟลกซ์ ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า (albacore tuna) และเต้าหู้ เพื่อบำรุงผิวให้ดีกว่าเดิม [27]
  6. ถ้าป่วยกายแล้วใจไม่สบายด้วย ก็อาจอาการหนักกว่าเดิม อาการทางใจก็เช่น ความเครียด วิตกกังวล และซึมเศร้า โรคผิวหนังก็ได้รับผลกระทบแบบเดียวกัน แบบนี้ต้องลองแก้ปัญหาทางใจซะก่อน ถ้าคุณมีอาการวิตกกังวลหรือซึมเศร้า บางทีเข้ารับการบำบัดหรือใช้ยาก็ช่วยได้ ให้ปรึกษาคุณหมอจะดีที่สุด [28]
  7. เครียดจัดอาจทำให้สิวเห่อบ่อยกว่าเดิม ให้ลองคลายเครียดโดยเล่นโยคะ ออกกำลังกาย หรือนั่งสมาธิดู พยายามลดละเลิกสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียด เช่น ถ้าดูข่าวมากไปจนเครียด ให้ลดเวลาดูข่าวเหลือแค่วันละ 30 นาที [29]
    • แต่หนึ่งในเทคนิคคลายเครียดแบบด่วนทันใจ คือหายใจเข้าออกลึกๆ ให้หลับตา จดจ่อที่ลมหายใจ หายใจเข้านับ 1 - 4 ค้างไว้ 1 - 4 จากนั้นหายใจออกนับ 1 - 4 หายใจแบบมีสมาธิแบบนี้ไปสัก 2 - 3 นาที จะช่วยให้หายเครียดได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เปลี่ยนผ้าปูที่นอนกับปลอกหมอนบ่อยๆ เพราะเป็นแหล่งสะสมสิ่งสกปรก น้ำมัน และแบคทีเรีย
  • อย่าใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์หลายตัวทีเดียวเยอะไปหมด!
  • ซับหน้าให้แห้ง อย่าเช็ดถู
  • ดื่มน้ำเยอะๆ!! จะช่วยให้สิวเม็ดเล็กๆ ที่กระจุกตัวกัน จางหายไปได้
  • ผ้าเช็ดตัวกับผ้าเช็ดหน้า ให้แยกผืนกัน
  • ปรึกษาคุณหมอโรคผิวหนังก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี benzoyl peroxide เพราะกัดสีผิวให้ซีดขาวขึ้น
  • ล้างหน้าด้วยน้ำเย็น หรือเอาน้ำแข็งลูบหน้าก่อนนอน จะช่วยกระชับรูขุมขนให้ดูตื้นขึ้นหรือเล็กลงได้
  • อย่าแต่งหน้าหนาเกินไป เพราะจะอุดตันรูขุมขนได้!
  • ใช้คอนซีลเลอร์เวลาแต่งหน้า ต้องเลือกที่ถนอมผิว และเลือก primer คุณภาพดี ที่สีกลมกลืนไปกับผิว
โฆษณา

คำเตือน

  • บางทีเราก็แพ้สารเคมีบางอย่างในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวได้ เพราะงั้นต้องทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ดูก่อน บริเวณด้านในของข้อมือ ถ้าปลอดภัยค่อยใช้กับใบหน้า
  • ห้าม ใช้ยาสีฟันแต้มสิว เพราะทำให้ผิวแห้ง อาจจะระคายเคือง หรือหน้าลอกได้ [30]
โฆษณา
  1. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/acne/basics/lifestyle-home-remedies/con-20020580
  2. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/salicylic-acid-topical-route/proper-use/drg-20066030
  3. http://www.mayo.edu/diseases-conditions/acne/in-depth/acne-products/art-20045814
  4. http://www.mayo.edu/diseases-conditions/acne/in-depth/acne-products/art-20045814
  5. https://www.mayo.edu/diseases-conditions/acne/expert-answers/natural-acne-treatment/faq-20057915
  6. http://www.mayo.edu/diseases-conditions/acne/basics/treatment/con-20020580
  7. http://www.mayo.edu/diseases-conditions/acne/basics/treatment/con-20020580
  8. http://www.mayo.edu/diseases-conditions/acne/basics/treatment/con-20020580
  9. https://www.aad.org/public/diseases/acne-and-rosacea/acne#treatment
  10. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4745852/
  11. https://www.aad.org/public/diseases/acne-and-rosacea/acne#treatment
  12. http://www.mayo.edu/diseases-conditions/acne/basics/treatment/con-20020580
  13. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/skin-care/art-20048237?pg=2
  14. http://lpi.oregonstate.edu/mic/health-disease/skin-health#sthash.H06yYSwD.dpbs
  15. http://www.joslin.harvard.edu/info/good_skin_care_and_diabetes.html
  16. http://www.mayoclinic.com/health/water/NU00283
  17. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/skin-care/art-20048237?pg=2
  18. http://www.joslin.harvard.edu/info/good_skin_care_and_diabetes.html
  19. http://www.health.harvard.edu/newsletter_article/Recognizing_the_mind-skin_connection
  20. http://www.health.harvard.edu/newsletter_article/Recognizing_the_mind-skin_connection
  21. http://www.huffingtonpost.ca/entry/toothpaste-pimples-acne-dry-out_n_1994320

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 116,246 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา