ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

แมวของคุณอาจจะพยายามจู่โจมคุณในบางครั้ง พอๆ กับที่คุณรักมันนั่นแหละ มันอาจจะจู่โจมคุณเนื่องจากปัญหาทางการแพทย์หรือทางพฤติกรรม แต่ผลลัพธ์สุดท้ายคือคุณถูกกัดหรือข่วน ซึ่งจะเจ็บและอาจจะนำไปสู่การแพร่กระจายโรคจากแมวมาสู่คุณได้ [1] ถ้าไม่หยุดพฤติกรรมแบบนี้อาจจะเป็นอันตรายต่อคุณอย่างแท้จริง [2] การรู้ว่าทำไมแมวจึงจู่โจมคุณและคุณสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อหยุดไม่ให้มันทำสิ่งนี้จะช่วยปรับปรุงความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ของคุณกับเจ้าเหมียวของคุณได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

การหยุดแมวไม่ให้จู่โจมคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ควรใช้เวลาประมาณ 10 นาทีต่อครั้งและเริ่มเล่นตอนแมวอยู่ในอารมณ์อยากเล่นสนุก พยายามกำหนดเวลาเล่นแบบนี้อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง [3] [4] การเพิ่มระยะเวลาที่คุณเล่นกับแมวจะช่วยแก้หนึ่งในสาเหตุที่เป็นไปได้ของการจู่โจมและสามารถใช้เป็นโอกาสในการสอนมันไม่ให้ทำร้ายและ/หรือกัดคุณได้
    • ของเล่นประเภทเสาหรือของเล่นห้อยทั้งแบบที่คุณทำเองหรือซื้อจากร้านขายสัตว์เลี้ยงในท้องถิ่นนั้นจะรักษาระยะห่างระหว่างแมวกับมือและเท้าของคุณ ของเล่นประเภทนี้ยังส่งเสริมสัญชาตญาณการล่าเหยื่อตามธรรมชาติของแมวอีกด้วย [5]
    • ตุ๊กตายัดนุ่นมีประโยชน์ถ้าแมวของคุณชอบเล่นสู้ฟัด โดยจะมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับลูกแมว เลือกตุ๊กตายัดนุ่นที่มีขนาดพอๆ กับแมว ถ้ามันเริ่มเล่นกับคุณรุนแรงเกินไปในช่วงเวลาเล่น ก็ให้ถูตุ๊กตายัดนุ่นเข้ากับท้องของมันเพื่อหันเหทิศทางการเล่นของมันจากคุณไปยังตุ๊กตายัดนุ่นแทน [6]
    • นอกจากนี้คุณยังสามารถโยนของเล่นชิ้นโปรดของมันออกไปให้ห่างจากตัวคุณในช่วงเวลาเล่นได้เช่นกัน การโยนของเล่นจะตอบสนองวัตถุประสงค์ 2 อย่าง นั่นคือคุณกำลังทำให้มันอยู่ห่างจากมือและเท้าของคุณ และคุณกำลังส่งเสริมสัญชาตญาณตามธรรมชาติของมันในการไล่ล่าและตะครุบ [7]
  2. ถ้าคุณสามารถทำให้แมวยุ่งอยู่กับสภาพแวดล้อมของมันได้ มันอาจใช้เวลาน้อยลงในการพยายามจู่โจมคุณ วิธีหนึ่งในการเพิ่มสิ่งเร้านี้คือการมีของเล่นที่หลากหลายและหมุนเวียนออกมาเป็นประจำ [8] ไม่จำเป็นต้องซื้อของเล่นใหม่อย่างสม่ำเสมอ คุณสามารถนำอันที่คุณมีออกมาปนรวมๆ กันเพื่อที่มันจะได้ไม่เล่นกับของเล่นชุดเดิมเสมอไป
    • ให้แมวได้สำรวจสิ่งใหม่ๆ เป็นประจำ เช่น ลังกระดาษเปล่า [9]
    • หาเครื่องจ่ายอาหารปริศนาให้แมว เครื่องจ่ายอาหารปริศนาเป็นของเล่นที่คุณสามารถใส่อาหารได้ แมวจะต้องใช้ความพยายามเป็นพิเศษเพื่อให้ได้อาหารซึ่งจะทำให้แมวไม่ว่างและได้รับการกระตุ้นทางจิตใจ [10]
    • นำของเล่นเก่าใส่ในอะไรใหม่ๆ เช่น ลังกระดาษเปล่าหรือถุงกระดาษ [11] วิธีนี้จะมีประโยชน์ถ้าคุณสังเกตเห็นว่าแมวเริ่มเบื่อของเล่นเก่าๆ แล้ว
    • วางคอนปีนหรือเสาข่วนในจุดโปรดของแมวเพื่อให้มันปีนป่ายและเล่นบนนั้น [12] แมวมักจะรู้สึกปลอดภัยมากขึ้นเมื่ออยู่ในที่สูงกว่า
    • ถ้าแมวรู้สึกสบายใจกับการอยู่ข้างนอก คุณสามารถซื้อหรือสร้างกรงกลางแจ้งเพื่อให้แมวสามารถออกไปเล่นข้างนอกได้อย่างปลอดภัย [13] ไปร้านขายสัตว์เลี้ยงในท้องถิ่นเพื่อดูกรงแมวกลางแจ้งประเภทต่างๆ ที่มีขาย
  3. ลุกขึ้นและเดินออกจากห้องโดยไม่สนใจมันถ้าการเล่นของมันเริ่มรุนแรงเกินไป [14] คุณอาจจะเดินไปไกลถึงห้องอื่นแล้วปิดประตูกั้นไม่ให้มันเข้ามาหาคุณได้ [15] เนื่องจากแมวจะหลีกเลี่ยงการทำสิ่งที่จะส่งผลในด้านลบ [16] ดังนั้นการทำให้ความสนุกสนานในช่วงเวลาเล่นหายไปจะสอนให้มันรู้ว่าไม่ให้เล่นกับคุณแบบแรงๆ
    • สิ่งสำคัญก็คือคุณจะต้องเดินออกไปจากมันแทนที่จะอุ้มและย้ายมันไปไว้ห้องอื่น แมวของคุณอาจจะตีความการสัมผัสทางกายภาพว่าเป็นรางวัลและคุณไม่ได้ต้องการให้รางวัลมันสำหรับการเล่นที่รุนแรง [17]
  4. ตอนที่คุณไม่ทันได้ระวังตัว แมวอาจจะกระโดดออกมาและเริ่มกัดข้อเท้าของคุณ สำหรับแมวแล้วข้อเท้าของคุณเป็นเป้าหมายง่ายๆ ที่เคลื่อนไหวได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามันไม่ค่อยมีของเล่นหรือสิ่งของอื่นรอบๆ ตัวให้มันเล่นเท่าไร เมื่อมันกัดข้อเท้าของคุณอย่าพยายามวิ่งหรือดึงออกไป การวิ่งหรือดึงออกนั้นจะคล้ายกับพฤติกรรมของเหยื่อและสัญชาตญาณนักล่าของแมวจะกระตุ้นให้มันกัดแรงขึ้น [18]
    • ให้ค่อยๆ ดันเข้าหามันแทนที่จะพยายามหนี เนื่องจากเหยื่อมักจะไม่เคลื่อนที่เข้าหาผู้ล่า คุณจะทำให้แมวของคุณสับสนกับการกระทำนี้ มันจะปล่อยข้อเท้าของคุณเมื่อมันรู้ว่าคุณไม่ได้ทำตัวเหมือนเหยื่อ
    • เมื่อมันปล่อย ให้อยู่นิ่งๆ สักครู่และอย่าไปสนใจมัน [19] มันจะหยุดกัดข้อเท้าของคุณไปเองเมื่อคุณได้ทำให้ความตื่นเต้นจากการจับเหยื่อหายไป
  5. ติดตั้งอุปกรณ์กันแมวในจุดที่แมวมักจะแอบตาม. ถ้าคุณระบุบริเวณที่แมวชอบซ่อนตัวและพยายามจู่โจมคุณได้แล้วก็ให้ทำบริเวณเหล่านั้นให้ไม่พึงปรารถนาสำหรับแมวมากที่สุด คุณสามารถใช้อุปกรณ์กันแมวที่มีขายทั่วไปได้ เช่น กับดักหนูคว่ำ และอุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหวที่พ่นลมอัด [20] อุปกรณ์เหล่านี้จะทำให้แมวตกใจโดยไม่ทำให้แมวบาดเจ็บ ในที่สุดมันจะเลิกกลับไปที่บริเวณเหล่านั้นเนื่องจากผลกระทบที่น่าตกใจและเสียงรบกวนของอุปกรณ์เหล่านั้น [21]
  6. สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าแมวไม่ได้เรียนรู้จากการลงโทษ (เช่น การตะโกน การตี การแตะที่จมูกของมัน เป็นต้น) แต่แมวจะกลัวและระวังคุณถ้าคุณลงโทษมัน มันอาจจะสับสนด้วยซ้ำ เนื่องจากการลงโทษน่าจะเกิดขึ้นหลังจากที่มันอะไรทำผิด และมันอาจจะไม่รู้เท่าไรว่ามันถูกลงโทษเรื่องอะไร
    • แมวบางตัวอาจจะมองว่าการลงโทษเป็นเรื่องท้าทายแทนที่จะเป็นการขัดขวาง [23]
  7. แมวจะทำพฤติกรรมซึ่งมีผลที่ตามมาในเชิงบวกซ้ำๆ ถ้าคุณให้การสนับสนุนในเชิงบวกอย่างเต็มที่เมื่อมันทำสิ่งที่ถูกต้อง (เช่น เล่นเบาๆ กับคุณ คลอเคลียคุณแทนที่จะกัดมือ เป็นต้น) มันก็จะทำต่อไป จำไว้ว่าคุณต้องให้การสนับสนุนในเชิงบวกในระหว่างที่มันประพฤติดีเพื่อที่มันจะได้สร้างความเชื่อมโยงระหว่างพฤติกรรมที่ดีและรางวัล
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

การเรียนรู้เกี่ยวกับการจู่โจมของแมว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในป่าแมวเป็นสัตว์นักล่า เมื่อแมวแอบตามคุณและจู่โจมและ/หรือกัดคุณแล้วล่ะก็ มันกำลังเห็นคุณเป็นเหยื่อ [24] คุณอาจจะไม่เห็นว่าตัวเองเป็นเหยื่อ เนื่องจากคุณซึ่งเป็นเจ้าของมันตัวใหญ่กว่ามัน อย่างไรก็ตามแม้ว่าแมวจะไม่จู่โจมอะไรมากไปกว่าข้อเท้าของคุณ แต่มันก็แสดงให้เห็นถึงสัญชาตญาณของนักล่าตามธรรมชาติ
    • แมวอาจจะจู่โจมคุณเพราะว่ามันมีของเล่นหรือสิ่งเร้าทางสภาพแวดล้อมอื่นๆ ไม่พอที่จะทำให้มันยุ่ง มันอาจจะเบื่อและมองว่าคุณเป็นเป้าหมายที่ง่ายดาย [25]
    • เวลาเล่นแบบโต้ตอบที่ไม่เพียงพออาจจะเป็นสาเหตุให้มันจู่โจมได้ [26]
    • ลูกแมวที่แยกจากแม่และพี่น้องในครอกเดียวกันเร็วเกินไปนั้นจะไม่ได้เรียนรู้วิธีการหยุดกัด ดังนั้นพวกมันจึงมีแนวโน้มที่จะจู่โจมและกัดคุณที่เป็นเจ้าของของมัน [27] สิ่งที่คุณอาจจะเห็นว่าเป็นพฤติกรรมน่ารักของลูกแมวอาจจะกลายเป็นปัญหาด้านพฤติกรรมที่ยากจะแก้ไขได้
    • ปัญหาทางการแพทย์ต่างๆ เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินและความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดการจู่โจมได้เช่นกัน สัตวแพทย์จะสามารถระบุได้ว่าปัญหาทางการแพทย์เป็นต้นเหตุหรือไม่ [28] ปัญหาทางการแพทย์ควรถูกตัดออกก่อนที่จะพิจารณาปัญหาด้านพฤติกรรม
  2. เมื่อคุณเล่นกับแมวอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะบอกความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมการเล่นปกติและพฤติกรรมการจู่โจม (เล่นแบบรุนแรงเกินไป) [29] แมวจะบอกใบ้เป็นนัยๆ เพื่อแจ้งให้คุณรู้ว่ามันตั้งใจจะเล่นสนุกหรือทำร้าย ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามันมีอารมณ์สดใสและขี้เล่น มันจะอ้าปากครึ่งหนึ่ง ตะครุบ หรือกระโดดไปด้านข้างและโก่งหลัง มันน่าจะไม่ส่งเสียงดังมากเท่าไร [30]
    • เมื่อแมวเข้าสู่โหมดจู่โจม มันจะเริ่มส่งเสียงขู่ฟ่อ คำราม หรือพ่นลมแรงๆ สั้นๆ ในช่วงเวลาเล่น [31] นอกจากนี้มันอาจจะเริ่มพยายามคว้ามือของคุณไปกัดอีกด้วย [32] คุณอาจเห็นหูของมันลู่ รูม่านตาขยาย และตวัดหางไปมา [33]
    • ถ้าคุณไม่ได้กำลังเล่นกับแมวแต่สังเกตว่ามันกำลังแอบตามคุณ ก็ค่อนข้างมั่นใจได้ว่ามันกำลังจะพยายามจู่โจมคุณ [34]
  3. การจดบันทึกว่าแมวจู่โจมคุณเมื่อไรนั้นจะสามารถช่วยให้คุณเข้าใจสถานการณ์และเวลาที่มีแนวโน้มว่ามันจะจู่โจมได้ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจสังเกตเห็นว่ามันมักจะกัดข้อเท้าของคุณในตอนเช้าเพื่อปลุกคุณ หรือก้าวร้าวทุกครั้งที่คุณเล่นและโต้ตอบกับมัน ถ้าคุณสามารถคาดการณ์ได้ว่าเมื่อไรที่มันมีแนวโน้มที่จะจู่โจมมากที่สุด คุณจะสามารถวางแผนล่วงหน้าเพื่อพยายามเบี่ยงเบนความสนใจของมันจากการจู่โจมคุณไปเล่นกับของเล่นได้ [35]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เมื่อคุณเล่นกับแมว อย่าใช้มือเป็นของเล่นหรือกระตุ้นให้แมวกัดมือคุณ การกัดไม่ใช่พฤติกรรมเล่นสนุกและไม่ควรได้รับรางวัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากมันเจ็บและอาจจะแพร่กระจายโรคจากแมวมาสู่คุณได้
  • ถ้าแมวยังคงพยายามจู่โจมคุณอยู่หลังจากที่คุณพยายามหยุดพฤติกรรมดังกล่าวแล้ว ให้ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญจากสัตวแพทย์หรือนักพฤติกรรมแมว
  • แมวมักจะมีสัญชาตญาณนักล่า แต่ถ้ามีการสร้างวินัยและการฝึกที่เหมาะสม มันจะได้เรียนรู้ว่าการจู่โจมคุณนั้นจะมีผลในเชิงลบตามมา
  • เด็กเล็กอาจจะไม่รู้จักความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมเล่นสนุกและพฤติกรรมการจู่โจม [36] ถ้าคุณมีเด็กเล็กให้สอนพวกเขาถึงความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมทั้งสองอย่างนี้เพื่อที่พวกเขาจะได้ไม่ยั่วยุอารมณ์หรือกระตุ้นให้เกิดการจู่โจมโดยไม่รู้ตัว
  • ลูกแมวนั้นโน้มน้าวใจได้ง่ายกว่าแมวที่อายุมากกว่า ดังนั้นการหยุดพฤติกรรมการจู่โจมของแมวที่อายุน้อยกว่าจะทำได้ง่ายกว่า ถ้าแมวโตแล้วคุณอาจจะต้องใช้เวลามากขึ้นเพื่อสอนไม่ให้แมวจู่โจมคุณ
โฆษณา

คำเตือน

  • โรคที่สามารถติดต่อได้ทางรอยแมวกัดและรอยข่วน เช่น โรคไข้แมวข่วน สามารถทำให้คนป่วยหนักได้ [37] ถ้าคุณเริ่มรู้สึกไม่สบายหลังจากที่แมวข่วนหรือกัดคุณ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
โฆษณา
  1. http://www.catbehaviorassociates.com/stop-your-cat-from-biting-your-ankles/
  2. http://www.catbehaviorassociates.com/stop-your-cat-from-biting-your-ankles/
  3. http://www.vet.cornell.edu/fhc/health_information/brochure_aggression.cfm
  4. http://pets.webmd.com/cats/guide/cat-aggression-biting-rough-play
  5. http://pets.webmd.com/cats/guide/cat-aggression-biting-rough-play
  6. http://www.humanesociety.org/animals/cats/tips/kitten_play.html
  7. http://www.perfectpaws.com/cat_training_and_cat_behavior.html#.VbJfFfk1NTV
  8. http://www.humanesociety.org/animals/cats/tips/kitten_play.html
  9. http://www.catbehaviorassociates.com/stop-your-cat-from-biting-your-ankles/
  10. http://www.catbehaviorassociates.com/stop-your-cat-from-biting-your-ankles/
  11. https://www.aspca.org/pet-care/virtual-pet-behaviorist/cat-behavior/keeping-your-cat-countertops-and-tables
  12. http://www.vet.cornell.edu/fhc/health_information/brochure_aggression.cfm
  13. https://www.aspca.org/pet-care/virtual-pet-behaviorist/cat-behavior/keeping-your-cat-countertops-and-tables
  14. http://www.vet.cornell.edu/fhc/health_information/brochure_aggression.cfm
  15. http://www.humanesociety.org/animals/cats/tips/kitten_play.html
  16. http://www.catbehaviorassociates.com/stop-your-cat-from-biting-your-ankles/
  17. http://www.catbehaviorassociates.com/stop-your-cat-from-biting-your-ankles/
  18. http://www.catbehaviorassociates.com/stop-your-cat-from-biting-your-ankles/
  19. http://www.vet.cornell.edu/fhc/health_information/brochure_aggression.cfm
  20. http://pets.webmd.com/cats/guide/cat-aggression-biting-rough-play
  21. http://pets.webmd.com/cats/guide/cat-aggression-biting-rough-play
  22. http://pets.webmd.com/cats/guide/cat-aggression-biting-rough-play
  23. https://www.aspca.org/pet-care/virtual-pet-behaviorist/cat-behavior/aggression-cats
  24. http://www.vet.cornell.edu/fhc/health_information/brochure_aggression.cfm
  25. http://www.vet.cornell.edu/fhc/health_information/brochure_aggression.cfm
  26. http://www.vet.cornell.edu/fhc/health_information/brochure_aggression.cfm
  27. http://www.vet.cornell.edu/fhc/health_information/brochure_aggression.cfm
  28. https://www.aspca.org/pet-care/virtual-pet-behaviorist/cat-behavior/aggression-cats

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,646 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา