ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้ามือถือเปียกขึ้นมาก็อย่าเพิ่งเครียดไป กระทั่งทำตกชักโครก อ่างล้างมือ หรืออ่างอาบน้ำ ก็น่าจะกู้คืนมาได้ จุดสำคัญอยู่ที่ต้องลงมือให้เร็วที่สุด เอาเครื่องขึ้นจากน้ำโดยด่วน ปิดเครื่อง ถอดแบต รวมถึงอุปกรณ์เสริมทั้งหลาย ต้องทำให้มือถือแห้งที่สุดโดยใช้ผ้าขนหนูกับเครื่องดูดฝุ่น จากนั้นเอาไปแช่ชามข้าวสาร หรือสารดูดความชื้นอื่นๆ ประมาณ 48 - 72 ชั่วโมง แล้วค่อยเปิดเครื่อง ถ้าลงมือเร็วและโชคเข้าข้าง มือถือของคุณก็น่าจะฟื้นคืนชีพได้ไม่ยาก

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ลงมือทันทีเพื่อลดความเสียหายจากน้ำ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รีบเอามือถือขึ้นจากน้ำให้เร็วที่สุด เว้นแต่เสียบสายอยู่. ยิ่งมือถือแช่น้ำนานแค่ไหน ก็ยิ่งเสียหายมากขึ้นเท่านั้น ถ้ามือถือคุณจมอยู่ในน้ำมานาน เป็นไปได้มากว่าอาจจะกู้คืนมายาก [1]
  2. ถอดปลั๊กไฟออก ถ้ามือถือที่แช่น้ำอยู่เสียบชาร์จไว้. ถ้ามือถือที่จมน้ำเสียบปลั๊กอยู่ ให้ถอดปลั๊กไฟก่อนจะหยิบขึ้นจากน้ำ เพราะถ้าหยิบขึ้นมาทั้งๆ ที่เสียบปลั๊กอยู่ อาจจะไฟดูดได้ [2]
    • ตัดไฟที่กล่องฟิวส์เลยจะปลอดภัยสุด
  3. ปิดเครื่องทันที ถึงเครื่องจะยังใช้การได้ก็เถอะ. ถ้าเปิดเครื่องทิ้งไว้เสี่ยงจะไฟช็อต ถ้ามือถือตกน้ำ ก็สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าน้ำเข้าแล้ว ไม่ว่าจะยังใช้ได้หรือไม่ก็ตาม [3]
    • อย่าทดสอบการทำงานโดยเปิดเครื่องขึ้นมา
  4. พอเอามือถือขึ้นจากน้ำแล้ว ให้รีบเตรียมทิชชู่หรือผ้าแห้งนุ่มๆ วางมือถือไว้บนนั้น จากนั้นถอดฝาและแบตออกมา ส่วนใหญ่ต้องใช้ไขควงปากแฉก (Philips) แต่ถ้าใช้ iPhone ก็ต้องใช้ไขควง 5 แฉก หรือ “pentalobe” โดยเฉพาะ [4]
    • อ่านคู่มือก่อน ถ้าไม่แน่ใจว่าจะถอดแบตของมือถือที่ใช้ได้ยังไง
    • นี่คือหนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่ชี้ชะตามือถือคุณได้ ปกติแผงวงจรในเครื่องจะยังรอดอยู่ถึงมือถือตกน้ำ ถ้าไม่มีแบตค้างอยู่ตอนเปียก
    • ถ้าอยากเช็คว่ามือถือน้ำเข้าจริงหรือเปล่า ให้ดูมุมแถวๆ แบต จะเห็นวงกลมหรือสี่เหลี่ยมสีขาว ถ้ากลายเป็นสีชมพูหรือแดง แสดงว่ามือถือน้ำเข้าซะแล้ว [5]
  5. พอถอดซิมแล้ว ให้ซับด้วยทิชชู่หรือผ้าแห้ง จากนั้นวางพักไว้บนทิชชู่หรือผ้าแห้งเช่นกันจนแห้งสนิท เอาไว้มือถือเชื่อมต่อเครือข่ายได้แล้วค่อยใส่คืน ถ้ามือถือไม่มีซิมข้างใน ก็ไม่ต้องทำขั้นตอนนี้ [6]
    • บางรายชื่อ contacts หรือทั้งหมด (รวมถึงข้อมูลอื่นๆ) จะถูกบันทึกไว้ในซิม ถือเป็นข้อมูลสำคัญของมือถือ ส่วนใหญ่ที่คนต้องการกู้ชีพมือถือ ก็เพราะจะเอาข้อมูลที่ว่ามากกว่าตัวเครื่อง
  6. ทั้งเคส หูฟัง memory card และอื่นๆ ที่เสียบต่อไว้กับมือถือ ต้องให้เห็นทุกซอก ทุกมุม ทุก slot ของเครื่องชัดเจน จะได้อากาศถ่ายเท มือถือแห้งเร็ว [7]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ทำให้มือถือแห้ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เทข้าวสาร 4 ถ้วยตวง (950 มล.) ลงในชามใบใหญ่ จากนั้นแช่ทั้งมือถือและแบตลงไปให้มิด ข้าวสารจะช่วยดูดความชื้นไม่พึงประสงค์จากเครื่อง [8]
    • พลิกมือถือเปลี่ยนมุมทุกชั่วโมง แล้วทิ้งไว้ข้ามคืน เพื่อให้แน่ใจว่าน้ำที่ค้างอยู่ในเครื่องจะแห้งหรือไหลออกมาหมดตามช่องต่างๆ [9]
    • ถ้าเป็นข้าวหุงสุกเร็วหรือข้าวกึ่งสำเร็จรูป (instant rice) จะดูดความชื้นได้เห็นผลดีกว่าข้าวสารธรรมดา ทั้งข้าวขาวและข้าวกล้อง
  2. เอาซองกันชื้น มือถือ และแบตที่ถอดออกมา ใส่รวมกันในกล่องหรือภาชนะเดียว จากนั้นทิ้งไว้ 48 - 72 ชั่วโมง เพื่อให้เจลมีเวลาดูดความชื้นตกค้างได้มากที่สุด [10]
    • ซองกันชื้นจะเป็นห่อเล็กๆ ที่ติดมาเวลาคุณซื้อรองเท้า กระเป๋า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และสินค้าอื่นๆ ที่ต้องป้องกันความชื้น
    • มือถือจะรอดไม่รอดขึ้นอยู่กับความไวของคุณ เพราะงั้นถ้าไม่มีซองกันชื้น ก็ใช้ข้าวสารหรือสารดูดความชื้นอื่นๆ แทนได้
  3. เททรายแมวแบบเม็ดเจล 4 ถ้วยตวง (950 มล) ให้ท่วมมือถือ. ถ้าไม่มีข้าวสารหรือซองกันชื้น ทรายแมวเม็ดเจลก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ ให้เททรายแมวเม็ดเจลใส่ภาชนะที่จุได้อย่างน้อย 1 - 2 ลิตร (1 - 2 ควอร์ต) จากนั้นเอามือถือและแบตวางด้านบน สุดท้ายเททรายแมวที่เหลือให้มิดเครื่องและแบต [11]
    • คุณหาซื้อทรายแมวเม็ดเจลได้ตามร้านขายของใช้สัตว์เลี้ยงหรือซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป
    • อย่าใช้ทรายแมวอื่นๆ โดยเฉพาะแบบ clay หรือจับตัวเป็นก้อนได้ ใช้ได้แค่ทรายแมว crystal ที่เป็นเม็ดซิลิก้าเจลเท่านั้น
    • สารดูดความชื้นอื่นๆ เช่น เม็ดสาคู เม็ดไข่มุก หรือข้าวโอ๊ตสำเร็จรูป ถ้ามีติดบ้าน ก็ใช้แก้ขัดไปก่อน
  4. ประกอบหัวดูดที่ตัวเครื่องดูดฝุ่น จากนั้นปรับค่าแรงสุด แล้วเอามาดูดแถวๆ รูและช่องต่างๆ ของมือถือ [12]
    • ถ้ามีเครื่องดูดฝุ่นเปียก/แห้งในเครื่องเดียว ยิ่งดีเป็นพิเศษ
    • วิธีนี้ใช้ดูดน้ำและความชื้นในเครื่องได้เร็วสุด มือถือน่าจะแห้งสนิทพร้อมเปิดเครื่องได้ภายใน 30 นาที แต่ถ้ามือถือถึงขั้น ตกน้ำจมน้ำ ก็อย่าเพิ่งรีบเปิดเครื่องจะดีกว่า
  5. ปรับให้แรงดันอากาศต่ำๆ (psi หรือปอนด์ต่อตารางนิ้ว) แล้วฉีดพ่นให้ทั่วเครื่องและพอร์ทต่างๆ [13]
    • หรือใช้กระป๋องอัดอากาศแทนก็ได้
    • ถ้า psi สูงๆ อาจทำชิ้นส่วนภายในเสียหายได้
    • ห้ามใช้ไดร์เป่าผมทำให้มือถือแห้ง เพราะลมร้อนเป็นอันตรายต่อชิ้นส่วนต่างๆ ของมือถือ
  6. ระหว่างเป่าลมหรือดูดน้ำออกจากมือถือ พยายามเช็ดน้ำที่ตัวเครื่องให้แห้งมากที่สุดอย่างเบามือ ถึงการทำให้ด้านในของเครื่องแห้งนั้นจะสำคัญ แต่ก็อย่าลืมเช็ดน้ำที่ตัวเครื่องด้านนอกด้วย [14]
    • อย่าเขย่ามือถือไล่น้ำ เพราะเป็นอันตรายต่อชิ้นส่วน แถมน้ำยังอาจจะไหลเข้าไปมากกว่าเดิม
  7. วางมือถือบนผ้าแห้งนุ่มๆ หรืออะไรที่ซับน้ำได้ดี เปิดพัดลม (ถ้ามี) แล้วเป่าจ่อมือถือไว้ [15]
  8. ก่อนจะเปิดเครื่องกลับมา ต้องเช็คก่อนว่ามือถือแห้งสะอาดดีไหม ต้องเช็ดหรือดูดฝุ่นผงและสิ่งสกปรกต่างๆ จากเครื่องและแบตให้หมด จากนั้นใส่แบตคืนเครื่อง แล้วลองเปิดดู [16]
    • ยิ่งทิ้งให้เครื่องแห้งสนิทนานแค่ไหน ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสกู้คืนข้อมูล
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าซ่อมมือถือเองไม่ได้ผล เอาไปให้ช่างที่ศูนย์ดูจะปลอดภัยและเห็นผลกว่า
  • วิธีเอามือถือแช่ข้าวสารต้องระวัง เพราะเมล็ดข้าวอาจเข้าไปอุดพอร์ทสายชาร์จหรือหูฟังได้
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าพยายามแยกชิ้นส่วนมือถือเอง เว้นแต่มีความรู้และประสบการณ์ด้านนี้
  • อย่าใช้ความร้อนเป่าหรือจ่อให้มือถือแห้ง เพราะอาจทำให้มือถือเสียหายกว่าเดิม
  • อย่าไปจับหรือดึงสายชาร์จออกจากมือถือที่แช่น้ำอยู่ เพราะไฟดูดได้ ให้เอามือถือขึ้นจากน้ำหลังตัดไฟ คือดึงปลั๊กออกแล้วเท่านั้น
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ทิชชู่หรือผ้าแห้ง
  • เครื่องดูดฝุ่น
  • กระป๋องอัดอากาศ / ปืนฉีดลม (ไม่จำเป็น)
  • ชามใหญ่ๆ ที่จุได้ 1 - 2 ลิตร (1 - 2 ควอร์ต)
  • ข้าวสาร หรือทรายแมวแบบเม็ดเจล 4 ถ้วยตวง (950 มล.)
  • ซองกันชื้น (ซิลิก้าเจล) (ไม่จำเป็น)

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

แก้ไขเมื่อมือถือขึ้นข้อความเตือนว่าไม่มีซิม
ใช้งาน WeChat
กำจัดฟองอากาศบนฟิล์มกันรอย
หา PUK Code ของมือถือ
ปลดล็อคซิมโดยไม่ใช้รหัส PUK
เช็คเบอร์มือถือตัวเองจากซิม
โทรออกแบบไม่โชว์เบอร์
แก้ไขเมื่อมือถือขึ้นว่าโทรฉุกเฉินเท่านั้น
โทรเข้าเบอร์ต่อ (extension)
ค้นหา Apple Watch ที่หายไปอย่างไรเมื่อแบตเตอรี่หมด
เช็คว่ามือถือปลดล็อคเครือข่ายหรือยัง
โกงจำนวนนับก้าวในมือถือแบบไม่ต้องเดิน
หาเบอร์มือถือสำหรับใช้ชั่วคราว
เช็คผ่าน iPhone หรือ iPad ว่าอีกฝ่ายอ่านข้อความของคุณหรือยัง
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 57,072 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา