ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
เหนื่อยหน่ายกับการต้องเข้าสอบอย่างฉุกละหุก แถมจำเนื้อหาที่อ่านมาเมื่อคืนไม่ได้เลยใช่มั้ย? แต่มันจะง่ายในการจดจำทุกอย่างที่จำเป็น ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำแบบเฉพาะตัว บนพื้นฐานที่ว่า คุณอยู่ในโหมดเรียนรู้แบบใดเป็นหลัก ซึ่งทั้งหมดที่คุณต้องทำ ก็แค่ประเมินดูว่าตนเองตรงกับโหมดใดที่สุด ไม่นานนัก คุณก็สามารถจะจดจำรัฐธรรมนูญได้ทั้งฉบับเลยทีเดียว
ขั้นตอน
-
มาฟังกัน. หากคุณเรียนรู้ด้วยการฟังถนัดที่สุด และสามารถจดจำข้อมูลได้มากหากมีใครพูดให้ฟัง ก็แสดงว่าคุณเป็นผู้ถนัดการเรียนรู้ผ่านการได้ยิน และคุณอาจจะตัดสินสรุปจากคุณลักษณะดังนี้ร่วมด้วย:
- คุณสามารถจดจำเนื้อหาที่คุณได้ยินเวลาสนทนาหรือฟังเลคเชอร์ได้แม่นยำในรายละเอียด
- คุณจดจำคำศัพท์ได้มากมาย ชอบเล่นคำศัพท์ และมีทักษะด้านภาษาสูงมาก หรือเรียนภาษาใหม่ได้เร็ว
- คุณเป็นนักพูดที่ดี สามารถดำเนินบทสนทนา และถ่ายทอดแนวคิดของตัวเองได้ดี
- คุณมีทักษะพรสวรรค์ด้านดนตรี และทักษะในการแยกโทนเสียง จังหวะ รวมถึงตัวโน้ตแต่ละตัวในคอร์ดหรือในการเล่นเป็นวง
-
หายใจลึกๆ. สแกนเนื้อหาทั้งหมดคร่าวๆ เพื่อดูว่าคุณจะต้องอ่านเรื่องอะไรบ้าง หากมันมีเนื้อหายาวมาก ก็แตกย่อยเป็นส่วนๆ
- ค้นหาและสังเกตความเชื่อมโยงบางอย่างที่เข้าเค้า ระหว่างเนื้อหาดังกล่าวกับสิ่งที่คุณรู้อยู่แล้ว เทคนิคนี้เรียกว่า การจำด้วยความเชื่อมโยง ความเชื่อมโยงดังกล่าวไม่จำเป็นต้องสมเหตุสมผล ขอแค่ให้มันจำง่าย (น่าสนใจ สนุก และเพลิดเพลิน) และทำให้รู้สึกดีก็พอ ตัวอย่างเช่น หากคุณจะจำข้อความในมาตราที่ 1 ของรัฐธรรมนูญไทย ที่กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้” คุณก็อาจจะจำภาพแผนที่ประเทศไทยหรือขวานสีทองเอาไว้ โดยจินตนาการว่ามันเป็นรูปคล้ายเลข 1 ด้วย
- นำตัวอักษรแรกของรายชื่อที่คุณต้องการจะจำ มาทำเป็นตัวย่อของคำอื่น และสร้างประโยค ตัวอย่างการสร้างประโยค ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่คุณย่า เช่นประโยคที่ว่า “ชิดชัยมิลังเล เพียงพบอนงค์” ซึ่งใช้จำจังหวัดทางภาคเหนือของไทยทั้ง 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ และน่าน
- สร้างเรื่องราวที่น่าสนใจด้วยให้กับตัวละคร โดยเชื่อมโยงกับสิ่งที่คุณต้องการจำ เช่น หากคุณมักสับสนระหว่างชื่อทางแยกต่างๆ ที่มีชื่อคล้ายกันในตัวเมือง หรืองงว่าแยกไหนถึงก่อน-ถึงหลัง คุณก็อาจจะใส่ชื่อเพื่อนของคุณที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้นเข้าไป เพื่อให้เห็นภาพหรือนึกออกได้ง่ายขึ้น เช่น ป๋อง รัชวิภา, ต้อม รัชโยธิน, และ บอย รัชดาลาดพร้าว เป็นต้น
- สร้างภาพร่างคร่าวๆ หรือพอเหมาะ ให้พรรณาเกี่ยวกับกับเรื่องที่คุณต้องการจดจำ ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการจำคำนิยามของ “การหาคำตอบทางวิทยาศาสตร์” (ซึ่งก็คือ วิธีการต่างๆ ที่นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และนำเสนอคำอธิบายบนพื้นฐานของหลักฐานที่พวกเขาค้นพบ) คุณก็อาจจะวาดภาพร่างๆ เป็นรูปนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง กำลังส่งมอบบางอย่างให้นักวิทยาศาสตร์อีกคนหนึ่ง โดยมีคำว่า “หลักฐาน” เขียนไว้ตรงสิ่งที่มอบให้นั้น รวมถึงเขียนคำคุณศัพท์ต่างๆ ที่ปรากฏในคำนิยามดังกล่าว เอาไว้ข้างๆ รูปวาดด้วยเช่นกัน พยายามอย่าวาดสะเปะสะปะ จงวาดและเขียนเป็นลำดับๆ
-
การทำซ้ำ คือ กุญแจสำคัญ. ใช้การพูดและฟังซ้ำไปซ้ำมา ในการช่วยจำลำดับของสิ่งต่างๆ:
- อ่านชื่อสิ่งของชิ้นแรก
- พูดชื่อนั้นออกมาโดยไม่ดูโพย
- อ่านชื่อสิ่งของชิ้นแรกและชิ้นที่สอง
- พูดชื่อเหล่านั้นออกมาดังๆ จนกว่าจะจำหรือพูดได้โดยไม่ดูโพย
- อ่านชื่อสิ่งของชิ้นแรก ชิ้นที่สอง และชื้นที่สาม
- พูดชื่อเหล่านั้นออกมาดังๆ จนกว่าจะจำหรือพูดได้
- ทำตามกระบวนการข้างต้นซ้ำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจำหรือพูดได้โดยไม่ดูโพย
- หลังจากทำจนถึงรายชื่อสุดท้ายแล้ว ลองทวนรายชื่อทั้งหมดโดยไม่ดูโพย พูดออกมาดังๆ 3 หน
- หากคุณไม่สามารถพูดได้ครบ 3 รอบ ให้เริ่มใหม่หมดเลย
-
พักเบรคสั้นๆ. การทำจิตใจให้ปลอดโปร่งเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น หากคุณมีเรื่องยากๆ ที่ต้องจำ ก็ควรเบรคประมาณ 20-30 นาที และไปทำกิจกรรมที่คุณชอบ ซึ่งทำให้สำเร็จลุล่วงได้ง่ายๆ (เช่น กิจกรรมที่ไม่เกี่ยวการเรียน) ในระหว่างพักเบรค เช่นคุยโทรศัทพ์กับใครบางคน เดินเล่นในสวน เป็นการผ่อนคลายสมอง และให้เวลากับมันในการย่อยสิ่งที่คุณเพิ่งจำลงในสมองส่วนความจำระยะยาว การยัดเยียดเรื่องใหม่ๆ หรือการเรียนรู้สิ่งต่างๆ หลากหลายมากเกินไป จะไปขัดขวางกระบวนการกลั่นกรองข้อมูลลงสู่สมองส่วนดังกล่าว
-
ทดสอบความจำตัวเอง. หลังจากพักเบรคแล้ว ลองทดสอบตนเองอีกครั้งเพื่อดูว่า คุณยังจำได้ทั้งหมดอยู่เหมือนเดิมมั้ย หากคุณยังสามารถจำได้หมด ก็อาจแสดงว่าได้ผลแล้ว หากไม่ ก็ย้อนกลับไปพยายามจำในส่วนที่พลาดไป หลังจากนั้นค่อยพักเบรคอีกรอบ และกลับมาทดสอบตนเองใหม่
-
ฟังเสียงตัวเอง. บันทึกเสียงตัวเองพูดสิ่งที่ต้องจำเอาไว้หนึ่งรอบก่อน จากนั้น เล่นไฟล์ดังกล่าวให้ตัวเองฟังระหว่างนอน แม้ว่าวิธีนี้อาจจะไม่ค่อยได้ผลในกรณีจดจำเรื่องใหม่ๆ แต่การฟังซ้ำระหว่างนอน จะช่วยเตรียมสมองให้พร้อมอัดข้อมูลที่คุณพยายามฝึกจำ ให้อัดแน่นเข้าไปอีก
- คุณอาจจะหาซื้อหรือทำหูฟังแบบที่สวมคาดหัว และเสียบกับเครื่องเล่นออดิโอหรือเอ็มพี 3 ในขณะที่คุณนอนหลับได้ มันมักจะถูกใช้โดยกลุ่มคนที่ต้องการฟังเพลงกล่อมตนเองนอน
-
ฟังจากผู้อื่น. หากเป็นไปได้ และได้รับการเห็นชอบ ก็ลองอัดเสียงเลคเชอร์ เพื่อนำมาช่วยทั้งเรื่องเพิ่มความสมบูรณ์ของข้อมูลที่คุณจดโน้ตไว้ และเป็นการนำมาฟังอีกรอบด้วย การฟังมันเป็นรอบที่สองหรือที่สาม จะเพียงพอแล้วที่จะช่วยให้ข้อมูลต่างๆ ฝังลงในสมองโดยไม่ต้องพยายามมาก
-
เคลื่อนไหวบ้าง. เดินไปรอบๆ ห้องในขณะที่ติวเนื้อหาหรือทวนข้อมูลให้ตนเองฟัง การเดินไปพลางๆ จะช่วยให้สมองคุณได้ทำงานทั้งซีกซ้ายและขวาพร้อมกัน ทำให้จดจำสิ่งต่างๆ ได้แม่นยำขึ้นโฆษณา
-
มองมันให้นานพอ. หากมีสิ่งใดแวบขึ้นมาให้คุณเห็นและจดจำได้อย่างแม่นยำ ก็แสดงว่าคุณอาจเป็นผู้ถนัดการเรียนรู้ผ่านการได้เห็น ซึ่งจดจำข้อมูลผ่านการเห็นถนัดที่สุด วิธีต่างๆ ที่คุณรู้สึกว่าทำให้จดจำได้ดี คือ:
- ข้อมูลบนรูปภาพ แผนผัง หรือไดอะแกรม ซึ่งจำง่ายกว่าข้อมูลเดียวกันที่ถ่ายทอดผ่านการพูด
- คุณใช้หัวจินตนาการภาพตามไปด้วยขณะเรียนรู้บางสิ่ง มักมองเหม่อไกลออกไป ราวกับว่าคุณกำลังดูภาพข้อมูลนั้นอยู่
- คุณสร้างภาพที่แจ่มชัดของข้อมูลต่างๆ ขึ้นในใจ ในขณะที่กำลังศึกษาเรื่องราวของรัฐธรรมนูญดั้งเดิม คุณอาจจะนึกภาพของบรรดาบรรพบุรุษผู้ก่อตั้งประเทศกำลังร่วมกันร่างมันขึ้นมา
- ทักษะด้านมิติความสัมพันธ์ของคุณสุดยอด ทั้งเรื่องขนาด รูปทรง พื้นผิว มุม และลักษณะรอบด้าน ล้วนเป็นเรื่องที่คุณสามารถทำความเข้าใจได้รวดเร็ว
- คุณสามารถอ่านใจคนอื่นได้ผ่านทางภาษากายพวกเขา รู้ว่าพวกเขากำลังคิดอะไรอยู่ แม้ว่าจะกำลังพูดเรื่องอื่นๆ ก็ตาม
- คุณค่อนข้างมีความตระหนักรู้ในสภาวการณ์รอบตัว และมีความเข้าถึงศิลปะ ความสุนทรีย์ และสื่อภาพประเภทต่างๆ
-
นั่งในที่เงียบสงบ. หาสถานที่ๆ ไม่มีสิ่งรบกวน หรือภาพใดๆ ที่จะมาดึงความสนใจสายตาคุณ การหลีกเลี่ยงสถานที่ๆ มีแสงวิบวับ จะช่วยให้คุณสามารถจดจำเรื่องที่ต้องการได้ โดยไม่ควรเปิดทีวี หน้าต่าง หรืออยู่ในที่ๆ มีสัตว์เลี้ยงเดินเพ่นพ่าน
-
ใส่รหัสจัดประเภทโดยใช้สีต่างๆ. เช่น หากคุณต้องการจะจดจำรายละเอียดทางประวัติศาสตร์ ก็อาจจะใส่รหัสจัดหมวดของวันที่และบุคคลสำคัญต่างๆ ด้วยสีแต่ละสี เช่น จอร์จ วอชิงตัน ใช้สีฟ้า เบนจามิน แฟรงคลิน ใช้สีส้ม เหตุการณ์ปฏิวัตินองเลือดต่างๆ ใช้สีแดง ส่วนกษัตริย์จอร์จ ใช้สีเขียว เป็นต้น
-
มองภาพรวมรหัสสีต่างๆ จากนั้นก็เขียนซ้ำไปซ้ำมา จนกว่าคุณสามารถจำมันได้ทั้งหมด. การเขียนแต่ละข้อมูลของไปบนกระดาษโพสอิท ที่มีสีเดียวกับหมวดหมู่ที่จัดเอาไว้ ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ข้อมูลเหล่านั้นตราตรึงอยู่ในใจของคุณ แต่มันยังมีประโยชน์ในขั้นตอนถัดไปด้วย
-
แปะกระดาษโพสท์อิทหรือกระดาษโน้ตไว้ตรงบริเวณที่คุณแวะบ่อย. เช่น ประตูห้องนอน หรือล็อคเกอร์ และอ่านข้อมูลบนกระดาษทุกครั้งที่เห็น เรียงกระดาษตามสีสัน เป็นแนวตั้ง และเรียงตามช่วงเวลา เป็นแนวนอน
-
เขียนข้อมูลที่จดไว้บนกระดาษบ่อยๆ. เวลาที่คุณไปตรงบริเวณที่แปะกระดาษโน้ตเอาไว้ จงมองดูแต่ละใบ และเขียนมันลงบนกระดาษหรือโพสท์อิทเปล่าๆ อีกรอบ จากนั้นก็แปะไว้แทนกระดาษหรือโพสท์อิทแผ่นเดิม หากคุณมีปัญหาในการจดจำข้อมูลจากแผ่นไหน ก็ให้เอาแผ่นนั้นไปแปะที่อื่น ซึ่งคุณสามารถเห็นมันได้บ่อยกว่าเดิม และแทนที่มันเหมือนเมื่อกี๊เป็นระยะๆ
-
หาคู่หูมาติวเป็นเพื่อน. ด้วยการเขียนกราฟหรือไดอะแกรม คำอธิบาย และสอนซึ่งกันและกัน เพื่อให้ต่างฝ่ายต่างสามารถจดจำเนื้อหาได้
-
ไฮไลท์ประเด็นสำคัญ. มองหาคีย์เวิร์ดสำคัญๆ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณต้องการจำ จากนั้นก็ไฮไลท์มันไว้ และพยายามจำมัน แล้วจึงค่อยพยายามจำส่วนที่เหลือ หากคุณอ่านจากไฟล์พีดีเอฟ ก็ควรใช้คำสั่งไฮไลท์ของมันให้เป็นประโยชน์ในการเน้นข้อความสำคัญ รวมถึงคำสั่งในการค้นหาข้อมูลเฉพาะที่ต้องการ เวลาที่เปิดมาอ่านใหม่อีกรอบ
-
เคลื่อนไหวบ้าง. เดินไปรอบๆ ห้องในขณะที่ติวเนื้อหาหรือทวนข้อมูลให้ตนเองฟัง การเดินไปพลางๆ จะช่วยให้สมองคุณได้ทำงานทั้งซีกซ้ายและขวาพร้อมกัน ทำให้จดจำสิ่งต่างๆ ได้ง่ายและแม่นยำขึ้นโฆษณา
-
หากคุณชอบรับข้อมูลผ่านการสัมผัส แสดงว่ามีแนวโน้มเป็นคนประเภทชอบประสบการณ์ตรง. คุณเป็นคนชอบเข้าถึงความรู้สึกของสิ่งต่างๆ หากเป็นไปได้ คุณจะเลือกเรียนรู้ผ่านการกระทำ และยังมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้:
- คุณจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านประสบการณ์ตรง การเคลื่อนไหว ลงมือทำ และการสัมผัส จะช่วยให้รายละเอียดดูสมจริงสำหรับคุณ
- คุณมักใช้มือประกอบการพูด
- คุณจดจำเหตุการณ์ต่างๆ จากเรื่องราวที่เกิดขึ้น มักไม่ใช่จากข้อมูลที่ใครพูดหรือประสบกันมา
- คุณมีทักษะดีในเรื่องการวาดภาพ ศิลปะ ทำอาหาร ก่อสร้าง หรือกิจกรรมใดๆ ที่ต้องอาศัยทักษะจัดวางวัตถุต่างๆ ให้ลงตัว
- คุณมีแนวโน้มชอบผจญภัย และถูกรบกวนสมาธิง่ายมาก ทำให้ยากที่จะใส่ใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งนานๆ
- คุณไม่ชอบถูกจำกัดอิสรภาพ แต่ชอบที่จะอยู่ในบริเวณที่คุณสามารถยืน เดิน หรือพักเบรคได้เสมอ
- คุณไม่ชอบนั่งเรียนในห้อง หากมีกิจกรรมบางอย่างที่สามารถลงมือปฏิบัติและทำให้คุณเรียนรู้ได้มากกว่า
-
หาพื้นที่ของตัวเอง. คุณต้องการพื้นที่ๆ สามารถเคลื่อนไหวได้ ดังนั้น พยายามอย่านั่งติวและปิดประตูขลุกอยู่ในห้องนอน การนั่งติวที่โต๊ะอาหารในครัวอาจจะเหมาะกับโหมดการเรียนรู้แบบคุณมากกว่า
-
ใช้ความคิดสร้างสรรค์. ใส่ท่าทางหรือแกล้งทำราวกับคุณเป็นสิ่งของนั้นๆ พยายามเลียนแบบทุกรายละเอียดของมัน หากคุณพยายามที่จะจดจำเนื้อหาในรัฐธรรมนูญให้ได้ ก็ลองหยิบกระดาษใบนึง หรือถ้าจะให้ดีกว่านั้น หากระดาษเหลืองๆ เก่าๆ ขนาดเท่ารัฐธรรมนูญฉบับจริงหรือใกล้เคียงที่สุด ยิ่งมีกลิ่นแบบเก่าๆ ด้วยยิ่งดี อย่าใช้กระดาษปริ๊นท์ใหม่ๆ จากนั้น ถือกระดาษแผนนั้นไว้ ราวกับว่ามันเป็นฉบับร่างรัฐธรรมนูญและชี้ไปที่แต่ละข้อความในนั้น และอ่านมันตั้งแต่คำว่า “รัฐธรรมนูญ” หลังจากที่คุณได้ดื่มด่ำกับภาพ กลิ่น สัมผัส หรือแม้กระทั่งเสียงของมันแล้ว คุณก็จะมีแนวโน้มในการจดจำมันได้ง่ายขึ้น
-
การจดจำสิ่งที่เป็นนามธรรม. หากคุณต้องการจดจำนามธรรมทั้งหลาย เช่น ค่าของจำนวนพาย (pi) ก็เริ่มจากเขียนเลขแต่ละตัวหรือลำดับ ลงในแฟลชการ์ดแต่ละใบ จากนั้น วาดรูปหรือติดสติ๊กเกอร์ลงบนแต่ละใบ เพื่อให้มันมีความหมายเฉพาะ หลังจากนั้น สลับหรือล้างการ์ด และพยายามนำกลับมาเรียงตามลำดับให้ได้เหมือนคำตอบที่ถูกต้อง แต่ต้องให้แน่ใจก่อนว่า คุณได้จดลำดับที่ถูกต้องไว้เฉลยด้วย ไม่งั้นก็อาจจะไม่มีทางจำได้ว่าที่ถูกต้องๆ เรียงแบบไหน
- อีกแบบหนึ่ง คุณสามารถนำไพ่มาสองสำรับ ค้นหาตัวเลขที่เป็นจำนวนหลังทศนิยมทั้งหมด และเล่นกับตัวเลขเหล่านั้น โดยนำไพ่มาเรียงกันเป็นดังนี้: A, 4, A, 5, 9, 2, 6, 5 ฯลฯ จนกว่าจะถึงทศนิยมที่ต้องการจำ จากนั้น ก็คว่ำลงทุกใบก่อนที่จะเปิดหงายดู เริ่มคว่ำและหงายดูอีกรอบ เรียงจากซ้ายไปขวา โดยขานตัวเลขออกมาดังๆ ทำซ้ำอีกรอบ และในรอบต่อไปให้ทายหรือขานตัวเลขแต่ละใบออกมาก่อน จึงค่อยเปิดเฉลยดู
-
คำแนะนำสำหรับผู้ถนัดการเรียนรู้ผ่านการได้ยินและผู้ถนัดการเรียนรู้ผ่านการได้เห็น สามารถนำมาใช้กับคุณได้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในส่วนของการจดจำด้วยการเชื่อมโยง และการกล่าวข้อมูลซ้ำๆ ในขณะที่เดินไปรอบห้อง คุณสามารถประยุกต์เทคนิคได้ตามต้องการ เพื่อให้มีปฏิสัมพันธ์กับข้อมูลที่คุณต้องการจำโฆษณา
-
หากคุณเป็นคนชอบอ่าน คุณก็อาจจดจำได้ดีที่สุดจากการอ่าน. บางทีอาจเป็นเพราะคุณนำการเรียนรู้ผ่านทางการมองข้อมูลต่างๆ มาปรับใช้ในการนี้ หรืออาจเป็นเพราะประสบการณ์ในวัยเด็กของคุณ ใกรเรียนรู้โดยเน้นการอ่านมากเป็นพิเศษ คุณจึงรู้สึกว่าถนัดและเป็นสิ่งที่คุณคุ้นเคยมากกว่า
-
อ่านสิ่งที่ต้องจำและอ่านมันซ้ำอีกหลายๆ รอบ.
-
กล่าวซ้ำให้ตัวเองฟัง จากนั้น เขียนมันลงในกระดาษจด และลองเขียนคำถามเกี่ยวกับรายละเอียดเหล่านั้น ลงในอีกด้านหนึ่งของกระดาษ
- ปกติแล้ว สมองคนเราชอบที่จะเห็นภาพและสี ดังนั้น เมื่อคุณเขียนโน้ต พยายามใช้สีสันให้หลากหลาย หรือวาดออกมาป็นภาพเลยก็ได้
-
ทดสอบตัวเอง. อ่านคำถามในด้านที่เขียนไว้ และลองดูว่าคำตอบตรงกับที่คุณเขียนไว้อีกด้านไหม
-
กล่าวซ้ำให้คนอื่นฟัง. ขอร้องให้เพื่อนที่ยินดีช่วย และสอนหรืออธิบายให้พวกเขาฟังว่าคุณกำลังจดจำเรื่องอะไร จากนั้น ก็ให้พวกเขาทดสอบคุณ
- เวลาที่คุณสอนคนอื่น ไม่เพียงแต่จะเป็นการถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่นเท่านั้น แต่ยังเป็นการช่วยให้สมองจดจำสิ่งที่คุณสอนได้ดีขึ้นบ้างด้วย
-
ท่องไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจำได้ขึ้นใจ.โฆษณา
เคล็ดลับ
- อ่านและเขียน หลังจากที่อ่านและจดจำบางเรื่อง พยายามเขียนมันออกมาด้วยอย่างน้อยหนึ่งรอบ หากคุณพอมีเวลา เพราะว่าการเขียนเพียงครั้งหนึ่ง เทียบได้ถึงการอ่านสามหนเลยทีเดียว
- พักเบรคสั้นๆ บ่อยๆ ซึ่งจะให้ดีที่สุด ต้องทำกิจกรรมที่แอคทีฟหน่อย ไม่ใช่ไปนั่งดูทีวีเฉยๆ จนหมดไป 10 นาที ซึ่งอาจทำให้คุณติดทีวีและอยากจะอู้การท่องหนังสือ การทำกิจกรรมที่เคลื่อนไหวจะช่วยกระตุ้นสมองของคุณ และจะจำได้ดีขึ้นเมื่อกลับมาท่องใหม่ แต่พยายามอย่าหักโหมมากไป
- พยายามเขียนอะไรก็ตามที่คุณต้องการจำลงบนกระดาษ จากนั้น ก็อ่านดังๆ สองสามรอบ วิธีนี้จะยิ่งได้ผลเวลาที่คุณต้องการจำย่อหน้าของบทความที่เป็นภาษาอื่นๆ
- จงตระหนักด้วยว่า คนส่วนใหญ่มักพบว่าตนเองมีโหมดการเรียนรู้ทั้งสามแบบข้างต้น รวมกันอยู่ทั้งหมดในตัวเอง และคุณเองก็อาจจะมีทั้งสามโหมด โดยอาจจะใช้แต่ละโหมดในบริบทแตกต่างกันไป จงพยายามตระหนักในวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับตนเอง และอย่ายึดติดกับวิธีการใดเป็นการเฉพาะ เพียงเพราะมีใครมากำหนดว่าคุณเป็นผู้ถนัดการเรียนรู้ผ่านการได้ยินหรือผู้ถนัดการเรียนรู้ผ่านการได้เห็น หากวิธีการในโหมดอื่นๆ ได้ผลกับคุณ ก็ใช้มันด้วยเลย
- แต่งเนื้อหาที่จะจำ ให้เป็นบทเพลงและใส่จังหวะทำนองให้มันด้วยก็ได้ เพราะคนส่วนใหญ่จะจำรายละเอียดได้เวลาที่ได้ยินมันในแบบเฉพาะ เหมือนกับการที่เราฟังเพลงนั่นเอง
- อย่าลืมใช้หลักการตัวย่อในการจำรายชื่อคำที่มีนัยยะสำคัญ
- หาสถานที่ๆ ไม่มีอุปกรณ์ใดรบกวนหรือดึงความสนใจคุณ
- แทนที่จะจำผ่านแฟลชการ์ด คุณอาจหาเพลงที่คุณชอบ และนำเอาเนื้อหาที่ต้องการจำ ใส่ลงไปแทนเนื้อเพลงนั้น
- พักเบรกสั้นๆ หลังจากท่องครึ่งชั่วโมง แต่อย่าเตลิดเปิดเปิงไป ไม่งั้นคุณอาจจะลืมเนื้อหาที่ต้องการจำ
- จดจำแต่ละย่อหน้าเรียงไป โดยใช้บัตรคิวช่วย
โฆษณา
ข้อมูลอ้างอิง
- http://www2.yk.psu.edu/learncenter/ Penn State University – research source
โฆษณา