ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไม่ใช่เพียงเป็นระบบการนับตัวเลข 1-10 ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น แต่มันยังเป็นเรื่องสนุกในการนับเลขและฟังดูคล้ายกับบทกลอนที่คล้องจองกันอีกด้วย ถือว่าง่ายที่จะจำ และคุณยังสามารถไปบอกคนอื่นได้ว่าคุณพูดภาษาญี่ปุ่นได้บ้างด้วยนะ!

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

เลข 1-10

ดาวน์โหลดบทความ

ฝึกตามตัวเลขต่อไปนี้:

  1. (一)
    • เสียง "อิ" เสียงคล้าย "ea" ในคำว่า "each (อีช)" และเสียง "ชี" ออกคล้าย "cheek (ชีค)"
    • เมื่อพูดพร้อมกันเร็วๆ ส่วนที่เป็นเสียง "อี" จะไม่ค่อยออกชัดเท่าใดนัก และเมื่อออกเสียงทั้งคำจะฟังดูเสียงคล้ายคำว่า "อีช"
  2. (二)
    • เสียงคล้ายกับคำว่า "knee (นี)"
  3. (三)
    • เสียงคล้ายกับคำว่า "sahn (ซัน)"
  4. (四)
    • เสียงคล้ายกับคำว่า "she (ชี)"
    • สามารถอ่านว่า "ยน" ได้เช่นกัน (เสียงคล้ายคำว่า "yohn (ยน)" ไม่ใช่ "yawn (ยอน)")
  5. (五)
    • ผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักมักออกเสียงคำว่า “go (โกะ)" ตามการสะกดของมัน โดยออกเป็นเสียง "gohw (โกว)" เมื่อคุณจะออกเสียง "โกะ" ในภาษาญี่ปุ่น คุณต้องคงให้ริมฝีปากห่อไว้แม้พูดจบแล้ว เพื่อกันไม่ให้เสียงยาวของ “w (ว)” ออกมา
  6. (六)
    • เสียง R (ร) ในที่นี้จะก้ำกึ่งอยู่ระหว่างเสียง R (ร) และ L (ล) ฉะนั้นตอนที่พูดคำนี้ออกมามันอาจดูคล้ายคำว่า "โละ-ขุ" ก็ย่อมได้ แต่เสียง R ในภาษาอังกฤษนั้นออกมาจากส่วนกลางของลิ้น ส่วนเสียง L ของอังกฤษจะออกมาจากปลายลิ้นเข้าไปประมาณหนึ่งส่วนสี่นิ้ว ส่วนเสียง R ของภาษาญี่ปุ่นจะออกเสียงมาจากปลายสุดของลิ้นเท่านั้น
  7. (七)
    • เสียงคล้ายคำว่า "she-chee (ชี-จี)" ที่มีเสียง tch (ทชึ) ซ่อนอยู่ตรงคำว่า "chee (จี)"
    • สามารถอ่านว่า "นานะ" ได้เช่นกัน (ออกเสียงคล้ายคำว่า "ah (อ๊ะ)").
  8. (八)
    • เสียงคล้ายคำว่า "ha! (ฮะ!)" แล้วก็ "tchee (ทชจี โดยออกเสียง ทชจ พร้อมกัน) "
  9. (九)
    • เสียงคล้ายตัวอักษร "q" ในภาษาอังกฤษ และคล้ายคำว่า "โกะ" ผู้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักมักจะออกเสียงเป็น "kyoow (คยิว)" ให้ห่อปากเอาไว้เพื่อที่เสียง "อู" ออกมาอย่างถูกต้องไม่มีเสียง "ว" แทรก
  10. (十)
    • ออกเสียงว่า "joo (จู)" โดยให้มีเสียง zh (ซซ) เล็กน้อยตรงตัว j (จ)
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

การนับสิ่งต่างๆ

ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคุณต้องการพูดหรือเรียนภาษาญี่ปุ่นแล้วล่ะก็ ถือว่าเป็นประโยชน์ในการที่จะรู้ระบบการนับของ อย่างที่จะกล่าวดังต่อไปนี้ข้างล่าง ของที่ต่างกันก็จะมีคำลงท้ายในการนับเลขที่ต่างกัน อย่างกรณีของที่ดูเรียวยาวบางคล้ายดินสอ ก็จะเรียกว่า ซันบง (3本) กรณีของแมวก็จะเป็น ซันบิคิ (3匹) อย่างไรก็ตาม ของบางชนิดก็ไม่มีเสียงลงท้าย หรือคุณอาจไม่รู้มาก่อนก็ได้ สำหรับกรณีนี้ ให้ลองลงไปดูข้างล่างได้เลย

  1. (一つ)
    • ออกเสียงคล้ายคำว่า "he (ฮี)" (ที่หมายถึงเขา) "toe (โท)" "tsu (ทสึ)" (เหมือนว่าคำนี้จะดูยากที่สุดในการออกเสียงที่ไม่มีเสียงในภาษาอังกฤษ ให้นึกถึงคำว่า ‘sue (ซู)’ ที่ลิ้นของคุณจะเริ่มออกเสียงระหว่างฟัน)
    • สังเกตว่าคันจินั้นประกอบขึ้นง่ายๆ จาก อิจิ (一) และฮิรางานะคำว่า ทสึ (つ) และจะใช้รูปแบบนี้ไปตลอดการนับเลขในระบบนี้
  2. (二つ)
    • ออกเสียงคล้ายคำว่า "foo (ฟู)" (เสียง f จะออกเบากว่า และไม่ออกชัดเหมือนในภาษาอังกฤษ) "ทะ" (เหมือนคำว่า talk (ทอล์ค)) "ทสึ" (เสียง ทสึ เหมือนเดิม)
  3. (三つ)
    • เสียงคล้ายคำว่า "me (มี)" [หยุดไว้จังหวะหนึ่ง] "ทสึ"
    • ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่อาศัยการจับจังหวะ ตัวอักษรแต่ละตัว หรือการหยุดชั่วคราวจะใช้หนึ่งจังหวะ ฉะนั้นถ้าหากคุณพูดตามเสียงของเครื่องมือให้จังหวะ จังหวะที่เงียบและการหยุดชั่วคราวจะเป็นสิ่งสำคัญพอๆ กับเสียงที่เปล่งออกมาเลยล่ะ ถ้าหากว่าคุณดูที่สัทอักษรของคำๆ นี้ "みっつ" มันไม่ได้มีการเปล่งเสียงเพียงสองครั้ง แต่มีถึงสาม ตัวทสึตัวเล็กๆ ที่อยู่ตรงกลางนั้นมีไว้เพื่อบ่งบอกถึงการหยุดจังหวะหนึ่งในการพูดนั่นเอง เมื่อนำภาษาญี่ปุ่นมาเขียนเป็นตัวอักษรละติน (เรียกว่า โรมาจิ ローマ字 "rōmaji" ) คุณจะเห็นว่ามีการหยุดจังหวะระหว่างพยัญชนะทั้งสองอยู่ ในกรณีนี้คือ ตัว t สองตัวนั่นเอง (mi tt su) มันอาจทำให้สับสนไปบ้าง แต่ถ้าหากว่าคุณได้ลองฟังดูก็จะเข้าใจ
  4. (四つ)
    • ออกเสียงเป็น "โยะ" [หยุดชั่วคราว] "ทสึ"
  5. (五つ)
    • เสียงคล้ายคำว่า "ee (อี)" (ที่อยู่ในคำว่า eek (อีค)) "ทสึ" "ทสึ" (ทสึสองตัว)
  6. (六つ)
    • เสียงคล้ายคำว่า "moo (มู)" (ที่ออกเสียง "oo (อู)" ให้สั้นลง อย่าลากยาว) [หยุดชั่วคราว] "ทสึ".
  7. (七つ)
    • "นานะ" "ทสึ"
  8. (八つ)
    • ออกเสียงคล้ายคำว่า "yah (ยะ)" "tsu (ทสึ)"
  9. (九つ)
    • ออกเสียงเป็น "โคโค" "โนะ" "ทสึ"
  10. (十)
    • เสียงคล้ายคำว่า "toe (โท)" แต่เหมือนเดิม อย่าให้ "oe (โอ)" ลากยาวจนเกิดเสียง "w (ว)"
    • เป็นตัวเลขเดียวในระบบที่ไม่มี つ (ทสึ) ต่อท้าย
    • มันอาจฟังดูยุ่งยาก แต่ถ้าหากว่าคุณจำพวกนี้ทั้งหมดได้ล่ะก็ คุณก็จะสามารถฝึกการนับสิ่งต่างๆ และคนญี่ปุ่นก็จะเข้าใจที่คุณพูดด้วย มันยังง่ายกว่าการเรียนรู้ในการนับอย่างอื่นที่ต่างออกไปมากอยู่นะ
    • ทำไมภาษาญี่ปุ่นจึงมีการนับเลขสองแบบ? นั่นก็เพราะว่า การออกเสียงระบบแรกนั้นมีพื้นฐานมาจากภาษาจีน (เรียกว่า องโยมิ 音読み on'yomi "การอ่านแบบจีน") เพราะภาษาญี่ปุ่นมีการยืม ตัวอักษรคันจิ (แนวคิดด้านการสร้างภาพคันจิ หรือแนวคิดที่แสดงออกมา ลักษณะของตัวอักษร) มาจากภาษาจีนนั่นมานานหลายศตวรรษแล้วนั่นเอง ระบบที่สองนั้นได้มาจากภาษาญี่ปุ่นโดยแท้ (เรียกว่า คุงโยมิ 訓読み kun'yomi "การอ่านแบบญี่ปุ่น") สำหรับตัวเลขต่างๆ ในญี่ปุ่นสมัยใหม่ คันจิ ส่วนใหญ่จะมีทั้งเสียง องโยมิ และ คุงโยมิ และมักจะมีมากกว่าหนึ่งเสียงด้วย และการอ่านทั้งสองแบบจะขึ้นอยู่กับบริบท (ไวยากรณ์) ของประโยคนั้นๆ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การใช้ระบบนับแบบ ฮิโทะทสึ-ฟุทะทสึ คุณสามารถใส่目 me (เมะ) (ออกเสียงเหมือน "meh (เมะฮ์)") เพื่อบ่งชี้ลำดับได้ ฉะนั้น ฮิโทะทสึเมะ คืออันดับแรก, ฟุทะทสึเมะ คืออันดับสอง, มิททสึเมะ คืออันดับสาม และนับเรียงแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ อย่าง "Nanatsume no inu (นานะทสึเมะ โนะ อินุ)" ก็จะเป็น "สุนัขตัวที่เจ็ด" นั่นเอง อย่างในประโยค "นั่นมันสุนัขตัวที่เจ็ดที่ฉันเห็นในสวนของฉันวันนี้นี่" อย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่าคุณอยากจะบอกว่า "มีสุนัขอยู่เจ็ดตัว" คุณก็ต้องพูดว่า นานะฮิคิ
  • ตัวเลขตั้งแต่ 11 ถึง 99 นั้นก็แค่รวมมาจากตัวเลข 1-10 เท่านั้น ตัวอย่างเช่น 11 คือ จูอิจิ (10 + 1), 19 คือ จูคิว (10 + 9) สำหรับเลข 20 นั้นจะต่างออกจากตัวอื่นไป (อ่านว่า ฮาตาจิ) ส่วน 25 ก็จะกลับมาใช้ระบบเดิม นับเป็น นิจูโกะ (2*10 + 5)
  • เลขสี่และเจ็ดต่างมีเสียง "shi (ชิ)" ด้วยกันทั้งคู่ ซึ่งสามารถแปลความหมายเป็นความตายได้ ฉะนั้นจึงมีการเปลี่ยนการออกเสียงที่จะใช้ได้ในหลายกรณีหลายครั้งด้วยกัน เมื่อนับหนึ่งถึงสิบ ก็จะใช้แค่คำว่า “shi” ตามชื่อของมัน แต่เลขอื่นๆ สามารถเปลี่ยนการออกเสียงเป็นอีกแบบได้ ตัวอย่างเช่น 40 คือ ยนจู, 41 คือ ยนจูอิจิ เพียงแค่ต้องฝึกความจำเพื่อแยกให้ออกว่าเสียงแบบไหนใช้ตอนไหนก็เท่านั้น
  • ภาษาญี่ปุ่นยังมีระบบที่ซับซ้อนสำหรับการนับสิ่งที่ต่างกันออกไปอีก และจะต้องจำให้ดีเลยล่ะ เพราะมันก็ไม่ค่อยตามกฎไปเสียทีเดียวเท่าไร ตัวอย่างเช่น คำว่า "-ปิคิ" ที่เอาไว้นับจำนวนของสัตว์ แทนที่จะอ่านว่า "อิจิ อินุ" เพื่อแปลว่า "สุนัขหนึ่งตัว" กลับเป็นคำว่า "อิ-ปิคิ" (ee-peekee (อี-ปีคี)) และดินสอสามแท่งก็อ่านว่า "ซัน-บง" (ซัน+บน)
  • แนะนำให้หาบทเรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์และเรียนรู้การออกเสียงคำเหล่านี้แต่ละคำ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,408 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา