ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีมาแต่โบราณกาล โดยมีเจ้าชายสิทธัตถะ โคตมะเป็นผู้ก่อตั้งศาสนาและสั่งสอนแนวคิดเช่นอริยสัจ 4 กรรม และวัฏฏะสงสาร [1] ศาสนาพุทธยังคงเป็นศาสนาที่มีผู้นับถืออยู่มากในปัจจุบัน มีคนหลายล้านคนทั่วโลกที่นับถือศาสนาพุทธ ขั้นแรกของการนับถือพุทธก็คือ การเข้าใจหลักความเชื่อพื้นฐานของศาสนาพุทธเสียก่อน เพราะจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ใช่สำหรับคุณหรือไม่ จากนั้นค่อยปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนาพุทธและเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาที่มีอายุเป็นพันๆ ปี

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เข้าใจแนวคิดพื้นฐานของศาสนาพุทธ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เรียนรู้ศัพท์เฉพาะทางพื้นฐานที่ใช้ในศาสนาพุทธ. วิธีนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจทุกสิ่งที่คุณอ่านได้ง่ายขึ้น เพราะศัพท์เฉพาะในศาสนาพุทธหลายคำเป็นคำที่ไม่คุ้นหู แม้ว่าเราจะผ่านตามาบ้างแล้วก็ตาม ศัพท์เฉพาะพื้นฐานที่ใช้ในศาสนาพุทธที่ควรรู้ไว้ก็เช่น :
    • อรหันต์ : ผู้ที่บรรลุนิพพาน
    • พระโพธิสัตว์ : ผู้ที่มุ่งหน้าสู่การรู้แจ้ง
    • พระพุทธเจ้า : ผู้ตื่นที่บรรลุการรู้แจ้งเห็นจริง [2]
    • ธรรมะ : คำที่มีความหมายซับซ้อนที่มักจะหมายถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า
    • นิพพาน : ดินแดนแห่งวิญญาณที่ดับขันธ์ นิพพานคือเป้าหมายสูงสุดของศาสนาพุทธ
    • สงฆ์ : ผู้ที่บวชในศาสนาพุทธ
    • สูตร : หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าอันศักดิ์สิทธิ์
    • หลวงพ่อ : ตำแหน่งที่ใช้เรียกพระสงฆ์ที่บวชในศาสนาพุทธ ใส่จีวรเป็นสีตามนิกาย
  2. ปัจจุบันนิกายในศาสนาพุทธที่เป็นที่นิยมมากที่สุด 2 นิกายก็คือ เถรวาทและมหายาน [3] แม้ว่าสองนิกายนี้จะมีความเชื่อพื้นฐานเหมือนกัน แต่หลักคำสอนที่เน้นนั้นไม่เหมือนกัน มหายานจะเน้นหนักในเรื่องของการไปเกิดเป็นพระโพธิสัตว์ ในขณะที่เถรวาทจะเน้นไปที่การปฏิบัติตามหลักธรรมะ และอื่นๆ [4]
    • ศาสนาพุทธแตกแขนงเป็นนิกายอื่นๆ อีกมากมาย เช่น พุทธนิกายเซน สุขาวดี และคุยหยาน
    • ไม่ว่าคุณจะสนใจนิกายไหน หลักคำสอนพื้นฐานของศาสนาพุทธก็เหมือนกัน
    • เนื่องจากศาสนาพุทธเป็นศาสนาเก่าแก่ จึงมีความแตกต่างระหว่างนิกายที่ซับซ้อนและไม่สามารถรวบรวมรายละเอียดไว้ในบทความนี้ได้หมด ใช้เวลาศึกษาศาสนาพุทธเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม
  3. มีหนังสือหลายเล่มที่พูดถึงผู้ก่อตั้งศาสนาพุทธ และการค้นคว้าในอินเทอร์เน็ตธรรมดาๆ ก็สามารถหาบทความเกี่ยวกับพระองค์ได้เช่นเดียวกัน เจ้าชายสิทธัตถะ โคตมะเป็นเจ้าชายที่หนีออกจากพระราชวังและวิถีชีวิตที่หรูหราเพื่อตามหาการรู้แจ้ง แม้ว่าเจ้าชายสิทธัตถะ โคตรมะจะไม่ใช่พระพุทธเจ้าในศาสนาพุทธเพียงพระองค์เดียว แต่ในทางประวัติศาสตร์ก็ถือว่าเป็นผู้ก่อตั้งศาสนาพุทธ
  4. หนึ่งในแนวคิดพื้นฐานที่สุดของศาสนาพุทธนั้นรวมอยู่ในคำสอนที่ชื่อว่าอริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ (ความจริงแห่งทุกข์) สมุทัย (ความจริงของเหตุแห่งทุกข์) นิโรธ (ความจริงแห่งการดับทุกข์) และมรรค (ความจริงของหนทางแห่งการดับทุกข์) [5] หรือจะให้พูดอีกอย่างก็คือ ทุกข์มีอยู่ มีเหตุและมีการดับทุกข์ และมีหนทางที่จะนำไปสู่การดับทุกข์
    • อริยสัจ 4 ไม่ได้เป็นหลักคำสอนในแง่ร้าย แต่จริงๆ แล้วเป็นคำสอนที่ช่วยแบ่งเบาความทุกข์ผ่านการทบทวนถึงหลักการนี้
    • อริยสัจ 4 เน้นว่าการตามหาความพอใจไม่ใช่สิ่งสำคัญ
    • ถ้าคุณสับสนในหลักคำสอนเรื่องอริยสัจ 4 คุณไม่ได้สับสนอยู่คนเดียว หลายคนใช้เวลาหลายปีกว่าจะเข้าใจแก่นคำสอนนี้ได้อย่างถ่องแท้
  5. ชาวพุทธเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตมีหลายชีวิต เมื่อสิ่งมีชีวิตตายไป ก็จะไปเกิดใหม่ และวัฏฏะการเกิดและตายนี้จะหยุดลงได้เมื่อเข้าสู่นิพพาน [6] สิ่งมีชีวิตจะไปเกิดใหม่เป็นมนุษย์ ไปเกิดบนสวรรค์ เป็นสัตว์ ไปเกิดในนรก เป็นอสูร หรือไปเกิดในภพภูมิเปรต [7]
  6. กรรมสัมพันธ์กับการเกิดใหม่และนิพพานอย่างเหนียวแน่น เพราะกรรมเป็นสิ่งที่กำหนดว่าเราจะเกิดใหม่ที่ไหนและเมื่อไหร่ กรรมประกอบด้วยการทำดีหรือการทำชั่วในชาติก่อนๆ และในชีวิตนี้ กรรมดีหรือกรรมชั่วอาจส่งผลกับสิ่งมีชีวิตทันที หลายพันปีต่อจากนี้ หรือในอีก 5 ชาติ แล้วแต่ว่าผลกรรมนั้นสมควรจะเกิดขึ้นตอนไหน
    • กรรมชั่วเป็นผลมาจากการกระทำหรือความคิดชั่ว เช่น การฆ่า การขโมย หรือการโกหก
    • กรรมดีเป็นผลมาจากการกระทำหรือความคิดดี เช่น การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เมตตา และการเผยแผ่คำสอนของพระพุทธศาสนา
    • กรรมกลางๆ เป็นผลมาจากการกระทำที่ไม่ได้ส่งผลอะไรจริงๆ เช่น การหายใจหรือการนอนหลับ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ปฏิบัติธรรม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในประเทศไทยมีวัดต่างๆ มากมายแต่จะเป็นวัดนิกายเถรวาท ถ้าคุณต้องการศึกษาศาสนาพุทธนิกายอื่นๆ คุณอาจจะต้องหาพระอาจารย์หรือสถานที่ปฏิบัติธรรมที่มีการสอนหลักธรรมตามความเชื่อของนิกายอื่นๆ เช่น หมู่บ้านพลัมแห่งประเทศไทยหรือคำสอนของพระอาจารย์ปราโมทย์ที่มีการสอนวิถีเซ็นอยู่ด้วย วิธีที่ดีที่สุดที่จะรู้ได้ว่าแต่ละวัดใกล้บ้านของคุณนั้นเป็นอย่างไรก็คือ การไปที่วัดและพูดคุยกับหลวงพ่อหรือลูกศิษย์
    • ถามว่าที่วัดมีการปฏิบัติและกิจกรรมอะไรบ้าง
    • สำรวจโบสถ์และพระอุโบสถต่างๆ
    • เข้าร่วมพิธีต่างๆ สัก 2 – 3 พิธีเพื่อดูว่าคุณชอบบรรยากาศไหม
  2. เช่นเดียวกับศาสนาส่วนใหญ่ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่เน้นการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนอย่างเหนียวแน่น ลูกศิษย์และพระให้การต้อนรับและให้ความรู้คุณได้เป็นอย่างดี เริ่มจากการเข้าฟังเทศน์และทำความรู้จักกับคนอื่นๆ ในวัด
    • ชุมชนชาวพุทธหลายชุมชนจะเดินทางไปวัดต่างๆ ทั่วโลก การได้ร่วมเดินทางก็ถือเป็นการเข้าร่วมที่สนุกสนาน
    • ถ้าคุณรู้สึกเขินหรือประหม่าในช่วงแรกๆ ถือเป็นเรื่องปกติมากๆ
    • นอกจากประเทศไทยแล้วศาสนาพุทธยังเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น พม่า เนปาล เกาหลี ศรีลังกา จีน เป็นต้น
  3. สอบถามเรื่องการรับสรณคมน์อันมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง. พระรัตนตรัยประกอบด้วยพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ [8] เวลาที่คุณเข้ารับสรณคมน์ คุณน่าจะได้เข้าร่วมพิธีรับศีลที่คุณปฏิญาณว่าจะประพฤติตามหลักศีล 5 อันได้แก่การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดปด และไม่ดื่มสุราและของมึนเมา
    • ด้านต่างๆ ของพิธีกรรมจะแตกต่างกันไปในแต่ละวัด
    • อย่ารู้สึกว่าตัวเองจะต้องเข้าร่วมพิธีรับสรณคมน์ เพราะการยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธนั้นถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของศาสนาพุทธ
    • ถ้าคุณไม่สามารถเข้าร่วมพิธีรับสรณคมน์ได้ด้วยเหตุผลใดก็ตาม คุณก็ยังยึดมั่นในหลักศีล 5 ได้
    • เมื่อคุณได้ปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธแล้ว คุณก็ถือเป็นชาวพุทธโดยสมบูรณ์
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ปฏิบัติตามหลักศาสนาพุทธในชีวิตประจำวัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การไปฟังเทศน์ที่วัดที่คุณรับสรณคมน์ถือเป็นวิธีที่ดีที่จะได้มีส่วนร่วมอยู่ในชุมชนชาวพุทธเสมอ แต่จำไว้ว่าเวลาที่คุณไปวัด อย่านั่งหันฝ่าเท้าไปที่แท่นบูชา พระพุทธรูป หรือพระสงฆ์ ผู้หญิงห้ามโดนตัวพระสงฆ์เด็ดขาด ผู้ชายก็ไม่โดนตัวแม่ชีด้วยเช่นกัน แค่ไหว้เฉยๆ ก็พอ วัดบางวัดอาจจะมีการสอนโยคะ การนั่งสมาธิ หรือพระสูตรต่างๆ ใช้เวลากับเพื่อนๆ และคนในครอบครัวที่นับถือพุทธด้วย
  2. มีพระสูตรฉบับออนไลน์มากมาย และวัดที่คุณไปก็อาจจะมีห้องสมุดหรือคุณจะซื้อตำราพระสูตรมาอ่านเองก็ได้ นอกจากนี้ยังมีหลวงพ่อต่างๆ และสาวกที่เขียนคำอธิบายพระสูตรเอาไว้ด้วย พระสูตรที่นิยมศึกษากันมากที่สุดได้แก่ วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร และพระสูตรที่ว่าด้วยความสมบูรณ์อันยิ่งใหญ่ของปัญญา
    • สอนสิ่งที่คุณได้เรียนรู้จากศาสนาพุทธให้คนอื่นฟังเมื่อคุณคิดว่าคุณเข้าใจแนวคิดแล้ว
    • มีแนวคิดและหลักคำสอนในศาสนาพุทธเป็นร้อยๆ ที่คุณต้องศึกษา แต่ก็พยายามอย่ารู้สึกว่ามันหนักหนาเกินไปหรือกดดันว่าฉันจะ “เข้าใจ” ในทันที
    • ฟังหลวงพ่อเทศน์หรือฟังคำสอนจากลูกศิษย์ที่วัด
  3. ตอนที่คุณรับสรณคมน์อันมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง คุณได้ปฏิญาณว่าจะถือศีล 5 แต่บางครั้งมันก็ยากที่จะทำให้ได้ตลอด พยายามอย่าฆ่าสิ่งมีชีวิต ซื่อสัตย์ ไม่ดื่มของมึนเมา ไม่ขโมย และไม่ประพฤติผิดในกามให้ได้มากที่สุด ถ้าคุณผิดศีล ก็แค่สำนึกผิดและพยายามกลับไปถือศีลให้ดีที่สุด
  4. [9] แนวคิดนี้เป็นส่วนสำคัญของศาสนาพุทธที่ให้ชาวพุทธดำเนินชีวิตที่สมดุล ไม่หย่อนเกินไปและไม่ตึงเกินไป ทางสายกลางนี้รู้จักกันในชื่อ “อริยมรรค” ที่สอนให้ชาวพุทธปฏิบัติตามองค์ 8 หาเวลาศึกษาทั้ง 8 องค์นี้ :
    • เห็นชอบ
    • ดำริชอบ
    • เจรจาชอบ
    • ประพฤติชอบ
    • เลี้ยงชีพชอบ
    • เพียรชอบ
    • สติชอบ
    • ตั้งมั่นชอบ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การช่วยเหลือผู้อื่นเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ในศาสนาพุทธ
  • ใช้เวลาศึกษาศาสนาพุทธให้มากๆ ก่อนรับสรณคมน์อันมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
  • ศาสนาพุทธมีตำราปรัชญาที่ซับซ้อนมากมาย อย่าหงุดหงิดถ้ารู้สึกสับสน
  • ฟังพระเทศน์ใน YouTube
  • ถ้าคุณชินกับการรับประทานเนื้อสัตว์ ค่อยๆ รับประทานเนื้อสัตว์ให้น้อยลง และถ้าคุณรู้สึกว่ามันใช่ ให้เลิกรับประทานเนื้อสัตว์ไปเลย
  • ถ้าคุณสนใจศาสนาพุทธธิเบตนิกายเกลุกปะ ให้อ่านหนังสือเช่น พลังแห่งความเมตตา ที่เขียนโดยดาไล ลามะ แม้ว่าคุณจะไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ คุณก็สามารถหาประโยชน์จากสิ่งที่ท่านเขียนหรือกล่าวไว้ได้เสมอ
  • อย่าเป็นพุทธในทันที ค่อยๆ ใช้เวลาสร้างความคุ้นเคยกับวัฒนธรรมแบบชาวพุทธก่อน เพราะคุณอาจจะรู้สึกว่ามันหนักเกินไป
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,069 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา