PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ทุกคนต่างพยายามที่จะค้นหาว่าจริงๆ แล้วตัวเองเป็นใคร เวลาที่เรานิยามตัวเอง เราก็มักจะตอกย้ำสิ่งที่ไม่ดีหรือเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น ไม่มีใครนอกจากคุณที่จะนิยามสิ่งที่คุณเป็นได้ แต่บทความนี้มีเคล็ดลับเกี่ยวกับการวิเคราะห์วิธีที่คุณนิยามตัวเอง และการนิยามตัวเองในแง่บวกมากขึ้น

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ค้นหาอัตลักษณ์ของคุณ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การรู้จักตัวเองโดยเฉพาะอย่างยิ่งการรู้จักตัวเองแบบไม่ตัดสินนั้นเป็นทักษะสำคัญอย่างยิ่งต่อการนิยามตัวเอง คุณต้องเข้าใจว่าอะไรที่ทำให้คุณทำแบบนั้นและกระบวนการคิดของตัวเองเป็นอย่างไรก่อน คุณถึงจะสามารถนิยามตัวเองในฐานะคนๆ หนึ่งได้
    • การมีสติรู้ตัวคือการที่เราคอยสังเกตว่า เรากำลังคิดอะไรอยู่และจับตาดูรูปแบบความคิด เช่น คุณอาจจะตระหนักว่าคุณมีแนวโน้มที่จะรู้สึกว่าคนอื่นไม่สนใจว่าคุณคิดอะไร และความคิดเห็นของคุณไม่สำคัญ การตระหนักว่าคุณมีความคิดเหล่านี้และรู้เท่าทันความคิดก่อนที่มันจะทำให้คุณเริ่มวิตกกังวลสามารถช่วยให้คุณปะติดปะต่อส่วนสำคัญในอัตลักษณ์ของคุณได้
    • เมื่อคุณเริ่มสังเกตกระบวนการและรูปแบบความคิดของตัวเองแล้ว คุณต้องฝึกการไม่ตัดสินโดยตั้งใจด้วย ซึ่งก็คือการที่คุณรับรู้รูปแบบความคิดและยอมรับมันโดยไม่ตำหนิที่ตัวเองคิดแบบนี้ ทุกคนมีรูปแบบและกระบวนการคิดเชิงลบ ซึ่งคุณสามารถกำจัดออกไปจากใจได้ด้วยการสังเกต
  2. เมื่อคุณเริ่มสังเกตวิธีคิดเกี่ยวกับตัวเองและโลกใบนี้แล้ว มองให้เจาะลึกลงไปอีกว่าคุณนิยามตัวเองอย่างไร ดูว่ากลุ่มและชุมชนไหนที่คุณใช้เพื่อสร้างอัตลักษณ์ของตัวเอง ทั้งหมดนี้ทำให้คุณรู้ว่าคุณมองตัวเองอย่างไร และบอกว่าคุณอนุญาตให้อะไรมานิยามคุณได้บ้าง [1]
    • เช่น ลองดูสิ่งต่างๆ เช่น ศาสนา สัญชาติ อัตลักษณ์ทางเพศ และดูว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณใช้นิยามตัวเองหรือเปล่า
    • พิจารณาบทบาทที่คุณรับผิดชอบ เช่น งาน ตำแหน่งในครอบครัว (แม่ พ่อ พี่สาว/น้องสาว พี่ชาย/น้องชาย) สถานะทางความรัก (โสด คู่รัก และอื่นๆ)
  3. ในการที่จะเข้าใจกระบวนการคิดและคำนิยาม รวมไปถึงว่าสิ่งเหล่านั้นมีผลต่อการกระทำและตัวตนของคุณได้อย่างถ่องแท้นั้น ให้คุณเขียนสิ่งเหล่านี้ลงในสมุดขณะที่คุณนิยามมัน แล้วคุณจะเห็นว่าคุณมองตัวเองอย่างไร ทำให้คุณสามารถกำจัดการเชื่อมโยงเชิงลบออกไปได้ง่ายขึ้น
    • การพูดคุยและทำงานร่วมกับนักจิตวิทยาคลินิกสามารถช่วยเปิดเผยรูปแบบการคิดและการเป็นอยู่ของคุณได้อย่างมาก และยังช่วยให้คุณรับมือกับด้านลบของความคิดได้ด้วย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

สร้างคำนิยามตัวเอง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การบันทึกและการสังเกตคำนิยามจะช่วยให้คุณปล่อยวางมันได้ การย้ายความคิดออกมาข้างนอกสามารถช่วยให้มันหลุดออกจากใจและตัวตนของคุณไปได้บ้าง [2]
    • อย่าจำกัดตัวเองในเชิงลบอย่างเดียว เพราะคำนิยามตัวเองเป็นสิ่งที่กำหนดการกระทำ เช่น ถ้าคุณนิยามตัวเองว่าเป็นคนที่เจอแต่ความรักแย่ๆ คุณก็เสียโอกาสที่จะได้เจอความรักที่ดี มันเป็นเรื่องราวที่คุณเล่าให้ตัวเองฟัง และคุณก็จะทำให้เรื่องราวนั้นเป็นจริงขึ้นมาเพราะว่าคุณเชื่อ
  2. คุณไม่ควรนิยามตัวเองจากปัจจัยภายนอก เพราะปัจจัยภายนอกเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่การนิยามตัวเองจากค่านิยมหลักจะทำให้คุณมีโอกาสที่จะนำนิยามตัวเองได้เที่ยงตรงมากขึ้น
    • คุณจะไม่มีทางสูญเสียนิยามความเป็นตัวเองไปได้หากสิ่งนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของค่านิยมที่คุณยึดถือไว้เป็นหลัก เช่น ความเมตตา ความกล้าหาญ และคุณธรรม
    • เขียนค่านิยมเหล่านี้ออกมา จากนั้นก็พยายามตั้งใจนำค่านิยมเหล่านั้นมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้นถ้าความกล้าหาญเป็นหนึ่งในค่านิยมหลักของคุณ ให้ยืนหยัดปกป้องคนที่ถูกคุกคามตรงป้ายรถเมล์ หรือถ้าความซื่อสัตย์เป็นค่านิยมหลักของคุณ ยอมรับไปเลยว่าคุณทำนาฬิกาข้อมือเรือนโปรดของพ่อหาย ถ้าในรายการมีความเมตตาอยู่ด้วย ให้หาเวลาไปเป็นอาสาสมัครที่ศูนย์พักพิงคนไร้บ้าน
  3. ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้คุณยอมรับเหตุการณ์และการกระทำไม่ดีที่เกิดขึ้นในชีวิตของคุณ เพราะมันก็เป็นส่วนสำคัญไม่แพ้สิ่งดีๆ เพียงแต่ว่าเรื่องร้ายๆ ไม่ได้เป็นสิ่งที่นิยามตัวคุณ [3]
    • วิธีนี้ก็คือการไม่ให้สิ่งแวดล้อมภายนอกมากำหนดอัตลักษณ์ของคุณ เพราะสิ่งนั้นต้องมาจากข้างใน มาจากค่านิยมหลักที่คุณได้ระบุไว้แล้วว่ามีความสำคัญต่ออัตลักษณ์ของคุณ
    • เข้าใจว่าประสบการณ์ที่ไม่ดีในชีวิตก็มอบบทเรียนให้คุณเช่นกัน เช่น ถ้าคุณมีประสบการณ์ความรักที่ไม่ดี ให้เรียนรู้จากประสบการณ์เหล่านั้น มันได้สอนให้คุณรู้อะไรเกี่ยวกับคนที่คุณอยากเป็นบ้าง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าลืมเด็ดขาดว่าไม่มีใครนิยามตัวคุณได้นอกจากคุณ คุณเป็นคนเดียวเท่านั้นที่สามารถตัดสินใจได้ว่าคุณเป็นใครกันแน่
  • ซื่อสัตย์ต่อตนเอง แต่อย่าวิจารณ์มากเกินไป ซึ่งก็คือการที่คุณจะไม่พูดกับตัวเองว่า "ฉันน่าเกลียด" หรือ "ฉันโง่"
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าพยายามเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น คุณทำแบบนั้นไม่ได้ มันไม่ยุติธรรมกับเขาหรือตัวคุณเอง เพราะคุณมีภูมิหลัง ความรู้สึกไม่มั่นคง ความคาดหวังในชีวิตและต่อตนเองที่ไม่เหมือนกัน การเปรียบเทียบคนสองคนก็เหมือนการเอาปัจจัยเหล่านั้นออกแล้ววางเทียบกันเหมือนเป็นสินค้าเพื่อดูว่าอันไหนดีกว่ากัน
  • อย่ายัดตัวเองเข้าไปอยู่ในหมวดหมู่โดยคิดว่านั่นเป็นสิ่งที่ต้องยึดถือ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 17,380 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา