ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าชีวิตของคุณไม่อยู่กับร่องกับรอย คุณอาจจะต้องจำกัดนิยามตัวเองเสียใหม่ก่อนจะเริ่มก้าวไปข้างหน้าในทิศทางที่ถูกต้องได้อีกครั้ง หาว่าตัวตนในปัจจุบันของคุณเป็นอย่างไรและคนๆ นี้แตกต่างจากคนที่คุณอยากจะเป็นอย่างไร จากนั้นให้พยายามเปลี่ยนแปลงตัวเอง คว้าคุณสมบัติส่วนบุคคลที่คุณปรารถนา และไปถึงเป้าหมายให้ได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

นิยามตัวตนในปัจจุบัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หาว่าอะไรคือสิ่งที่นิยามตัวตนของคุณในตอนนี้. ในการที่จะก้าวไปข้างหน้าและนิยามตัวเองเสียใหม่ คุณจะต้องเริ่มจากการเข้าใจตัวตน ณ จุดนี้ของคุณเสียก่อน พิจารณาชีวิตของตัวเองอย่างเป็นกลาง :
    • ถามตัวเองว่าค่านิยม เป้าหมาย และความฝันของคุณคืออะไร คุณอาจจะเริ่มจากการเขียนรายการหรือใช้แบบฝึกประเมินตัวเองเพื่อตีกรอบให้แคบลงมาก็ได้ [1]
    • พิจารณาว่าจริงๆ แล้วตอนนี้คุณให้ความสำคัญกับอะไรในชีวิต และดูว่ามันตรงกับคนที่คุณอยากจะเป็นหรือไม่
    • เลิกวิจารณ์ตัวเองและพูดเชิงลบกับตัวเอง เพราะนอกจากจะไม่ช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายแล้ว ยังทำให้คุณไม่มีความสุขอีกด้วย [2]
  2. ลองนึกดูว่าคุณใช้เวลาอย่างไรเวลาที่คุณอยู่คนเดียว สิ่งนี้มักทำให้คุณเข้าใจได้ว่าคุณให้คุณค่ากับอะไร และคุณอยากเป็นคนแบบไหน
    • เพื่อให้รู้ว่าตัวเองใช้เวลาอย่างไร ให้เขียนตารางเวลาว่าในสัปดาห์คุณใช้เวลาไปกับอะไรบ้างอย่างคร่าวๆ เขียนรายการกิจกรรมและภาระหน้าที่ออกมาให้หมด
    • เขียนรายการงานอดิเรก ความสนใจพิเศษ เป็นต้น
    • ทบทวนว่าในตารางมีอะไรที่ทำให้คุณแปลกใจหรือเปล่า เช่น คุณใช้เวลากับงานอดิเรกหรือความสนใจที่คุณรู้สึกว่ามันสำคัญมากๆ น้อยไปหรือเปล่า คุณใช้เวลาทำในสิ่งที่คุณไม่ชอบมากเกินไปไหม
  3. เวลาที่วิเคราะห์ตัวตนในปัจจุบัน การพูดถึงตัวเองกับตัวเองในฐานะบุคคลที่สามอาจเป็นประโยชน์กับคุณ เพราะคุณจะได้ปรับจิตใจให้คิดในแบบที่เป็นกลางมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้คุณรับรู้เกี่ยวกับตัวเองได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้นด้วย
    • นึกภาพตัวเองอยู่ที่งานปาร์ตี้ ในห้องเรียน หรือในสถานการณ์อื่นๆ และกำลังพูดคุยอยู่ คนอื่นๆ ที่อยู่ในวงสนทนาเป็นตัวแทนของส่วนต่างๆ ในตัวคุณหรือค่านิยมที่คุณยึดถือ [3] นึกภาพตามในหัว คุณคิดว่าการสนทนาจะเป็นอย่างไร มันแสดงความเมตตาและความรักที่คุณมีต่อตนเองอย่างไร
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

อยู่ห่างจากตัวตนเดิมๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รู้ว่าไม่มีวันสายเกินไปที่จะสร้างตัวตนขึ้นมาใหม่. ไม่มีใครแก่เกินหรือมั่นคงเกินกว่าจะสร้างตัวตนขึ้นมาใหม่ [4] การเปลี่ยนแปลงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและอาจเป็นสิ่งดีก็ได้หากคุณใช้มันอย่างถูกต้อง เตรียมพร้อมที่จะเติบโตและปรับตัวในทุกช่วงของชีวิต
  2. ถามตัวเองว่าชีวิตด้านไหนที่ได้รับอิทธิพลจากความเจ็บปวดในอดีต ความรู้สึกไม่มั่นคง และความเสียดาย เมื่อคุณระบุปัญหาเหล่านี้ได้แล้ว ให้ตั้งมั่นที่จะปล่อยมันไปเพื่อที่มันจะได้ไม่สามารถควบคุมตัวตนของคุณได้อีก [5]
    • เขียนสิ่งที่ทำให้คุณคับข้องใจ หรือสิ่งที่คุณคิดว่าฉุดรั้งคุณไว้ การแสดงความรู้สึกอาจช่วยให้คุณปล่อยวางอดีตที่ไม่น่าอภิรมย์ได้ รายการประเภทนี้ช่วยให้คุณได้เรียนรู้ทักษะที่คุณจำเป็นต้องพัฒนาเพื่อที่จะได้รู้สึกเติมเต็ม
    • ตระหนักว่าไม่ว่าสิ่งที่คุณเสียดายจะเป็นอะไร ในบางมุมคุณก็ยังโชคดีกว่าคนอื่น ให้ความสำคัญกับจุดแข็งและสิ่งดีๆ อื่นๆ ที่คุณได้รับจากอดีต
  3. ในการสร้างตัวตนขึ้นมาใหม่นั้น คุณต้องไม่จมจ่อมอยู่กับอดีตมากจนเกินไป แต่มันก็มักจะมีบทเรียนในอดีตที่คุณสามารถนำมาใช้ปรับปรุงตัวตนในปัจจุบันของคุณได้
    • วิเคราะห์ความสัมพันธ์ที่จบลงด้วยความปวดร้าวเพื่อดูว่ามีอะไรที่ผิดพลาดไป ลองนึกว่าคุณสามารถทำอะไรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสิ่งเดียวกันนี้ในความสัมพันธ์ครั้งต่อไปได้บ้าง
    • ทบทวนว่าการตัดสินใจอะไรที่ทำให้คุณหรือครอบครัวของคุณทำเรื่องผิดพลาดด้านการเงินในอดีต [6] จากเรื่องนี้ให้คุณพยายามสร้างแผนการเงินสำหรับอนาคตที่จะช่วยแก้ไขความผิดพลาดเหล่านี้
  4. เลือก นิสัยที่ไม่ดี มา 1 อย่าง. การเลิกนิสัยที่ไม่ดีเป็นส่วนสำคัญของการละทิ้งตัวตนเดิมๆ ของคุณไว้ข้างหลัง แต่มันก็อาจจะยากและอาจจะน่ากลัวเลยด้วยซ้ำ แทนที่จะพยายามเปลี่ยนตัวเองทั้งหมดในคราวเดียว ให้พยายามเลิกนิสัยที่ไม่ดีทีละอย่าง
    • เขียนรายการนิสัยที่กวนใจคุณจริงๆ จากนั้นให้เลือกนิสัยที่คุณไม่ชอบและอยากจะเลิกที่สุดมาสัก 2 – 3 อย่าง จากนั้นเริ่มลงมือเปลี่ยนนิสัยที่สำคัญที่สุดก่อน
    • สังเกตความรู้สึกดีๆ ที่คุณมีในช่วงแรกของการพยายามเลิกนิสัยที่ไม่ดี [7] วิธีนี้ช่วยให้คุณทำได้สำเร็จ
    • ลองแทนที่นิสัยที่ไม่ดีด้วยนิสัยที่ดี เช่น ถ้าคุณมีนิสัยชอบกินอาหารขยะเป็นของว่าง ให้แทนที่อาหารขยะด้วยของขบเคี้ยวที่ดีต่อสุขภาพแทน หรือใช้เวลาออกกำลังกายให้มากขึ้น
  5. ทันทีที่ความคิดเชิงลบที่มีต่อตนเองหรือต่อชีวิตโผล่ขึ้นมาในหัว ลองแทนที่ความคิดเชิงลบด้วยความคิดเชิงบวก การทำเช่นนี้เป็นการฝึกให้ใจมองหาความเป็นไปได้มากกว่าจะคิดถึงความยากลำบาก [8]
    • สร้างกรอบความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้คุณเครียด นึกดูว่าคุณตอบสนองมันอย่างไรในอดีต
    • จากนั้นให้พยายามแทนที่ความคิดเชิงลบเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียดด้วยความคิดเชิงบวก
    • เช่น เดตห่วยๆ อาจทำให้คุณคิดว่า “ฉันคงไม่มีวันเจอใครที่ใช่สำหรับฉัน คงมีอะไรในตัวฉันสักอย่างที่ผิดปกติ” ให้แก้คำพูดนี้กับตัวเองว่า “เดตครั้งนี้มันอาจจะไปได้ไม่ดีเท่าไหร่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีคนที่ใช่รอฉันอยู่ และฉันก็คงหาเขาไม่เจอถ้าฉันเลิกมองหาเขา”
  6. [9] ความคิดเห็นที่คุณมีต่อตนเองส่วนหนึ่งสร้างมาจากความคิดของคุณที่ว่า คนอื่นมองคุณอย่างไร แต่ถ้าคุณอยากจะจำกัดนิยามตัวเองเสียใหม่จริงๆ คุณต้องเป็นคนที่คุณอยากเป็น ไม่ใช่คนที่คนอื่นอยากให้คุณเป็น
    • นอกจากนี้คุณยังต้องระบุและเอาตัวออกจากความกดดันทางสังคมที่มาจากสังคมเองด้วย สังคมอาจตั้งความคาดหวังบางอย่างตามเชื้อชาติ เพศ ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือศาสนาของคุณ และความคาดหวังเหล่านี้ก็มีแต่จะตีกรอบให้คุณต้องเป็นในแบบที่สังคมอยากให้เป็น
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

เดินหน้าต่อ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. [10] ถามตัวเองว่าในแต่ละด้านของชีวิตนั้นมีด้านไหนที่ควรได้รับการเอาใจใส่มากที่สุด ไม่ว่าจริงๆ แล้วแง่มุมเหล่านั้นจะได้รับการเอาใจใส่เท่าที่ควรหรือไม่ก็ตาม
    • ตั้งมั่นจัดเรียงการจัดลำดับความสำคัญเสียใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับวิธีที่คุณจัดลำดับความสำคัญไว้ในใจ
    • ลองจัดประเภทลำดับความสำคัญตามแต่ละด้านของชีวิต เช่น เรื่องส่วนตัว การเงิน การศึกษา เป็นต้น จากนั้นเรียงลำดับด้านเหล่านี้เพื่อตัดสินใจว่า เป้าหมายอะไรคุณอยากไปให้ถึงมากที่สุด
  2. บุคลิกภาพของคุณพัฒนาอยู่เสมอแม้แต่ในวัยผู้ใหญ่ [11] ตัดสินใจว่าคุณอยากให้แก่นแท้ของตัวตนเป็นแบบไหน และระบุบุคลิกลักษณะที่ตัวตนใหม่ของคุณจะต้องมีให้มากเป็นพิเศษ บุคลิกลักษณะเหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่คุณมีอยู่แล้วหรือเป็นสิ่งที่คุณยังไม่เคยแสดงออกมาก็ได้ ตัวอย่างก็เช่น :
    • ความมั่นใจ
    • ทักษะการเป็นผู้นำ
    • การพึ่งพาตนเอง
    • ความเห็นอกเห็นใจ
    • การรู้จักตน
  3. กลับไปที่รายการที่คุณเขียนเกี่ยวกับความคับข้องใจและความท้าทายของคุณ พยายามเรียนรู้เพื่อที่จะเอาชนะความคับข้องใจเหล่านั้นด้วยการระบุทักษะที่คุณจำเป็นต้องมีเพื่อให้ทำสิ่งต่างๆ ออกมาได้ดีให้ได้ก่อน จากนั้นพยายามวางแผนขั้นตอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น ถ้าคุณอยากเป็นผู้บริหารธุรกิจ คุณต้องทำอย่างไรถึงจะไปถึงจุดนั้นได้ คุณต้องมีทักษะอะไร
    • แผนการของคุณอาจหน้าตาแบบนี้ :
      • 1. ซื้อเสื้อผ้าดีๆ ที่ดูเป็นนักธุรกิจมืออาชีพ รวมถึงวันที่แต่งตัวสบายๆ ด้วย
      • 2. พัฒนาทักษะการเป็นผู้นำด้วยการเรียนและ/หรืออ่านหนังสือ
      • 3. เรียน MBA และอาจจะเรียนปริญญาเอกเลยก็ได้
      • 4. พยายามพัฒนาทักษะการสื่อสาร ไม่ว่าจะผ่านการอ่านหนังสือหรือเข้าเรียน รวมถึงพัฒนาทักษะการจัดการและการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วย
      • 5. เรียนรู้ที่จะนิ่งในสถานการณ์ยากๆ
    • ใช้แผนการนี้เป็นจุดเริ่มต้น จากนั้นศึกษาว่าทำอย่างไรจึงจะพัฒนาทักษะเหล่านี้ได้ แล้วขยายแผนการของคุณด้วยการเพิ่มขั้นตอนลงไป
  4. ใช้เวลาสักเล็กน้อยในแต่ละวันไล่ตามเป้าหมายของตัวเอง. พอคุณตั้งเป้าหมายแล้ว คุณก็ต้องหาเวลาเพื่อทำตามแผนให้ได้จริงๆ เริ่มเดี๋ยวนี้และไล่ตามเป้าหมายทีละเล็กทีละน้อยไม่หยุดหย่อน ถ้าคุณบริหารเวลาดีๆ คุณก็มีโอกาสที่จะไปถึงจุดหมายมากขึ้น [12]
    • เช่น คุณอาจจะวางแผนพัฒนาสุขภาพผ่านการออกกำลังกาย แทนที่จะบอกตัวเองว่า “ฉันจะเริ่มพรุ่งนี้” หรือ “สัปดาห์หน้าค่อยเริ่ม” เริ่มวันนี้เลย ออกกำลังกายเล็กๆ น้อยๆ ทุกวัน (สัก 15 นาที) แม้ว่าคุณจะไม่อยากทำ วิธีนี้เป็นการทำให้การทำตามเป้าหมายกลายเป็นนิสัยที่ฝังรากลึก
    • เช่นเดียวกัน แทนที่จะหวังว่าตัวเองจะมีเวลาทำตามความสร้างสรรค์ของตัวเองให้มากกว่านี้ ให้กำหนดเวลาสำหรับทำงานสร้างสรรค์ขึ้นมา ตั้งเป้าจำนวนเวลาที่คุณอยากทุ่มเทให้กับงานอดิเรกที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในแต่ละเดือน หรือจะตั้งเป้าหมายว่า คุณจะทำงานศิลปะให้ได้เท่าไหร่ในแต่ละเดือนไม่ว่าคุณจะใช้เวลากับมันเท่าไหร่ก็ตาม
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

เขียนคำจำกัดความของตัวเองขึ้นมาใหม่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. [13] การมองหาประสบการณ์ใหม่ๆ คนใหม่ๆ และสถานที่ใหม่ๆ เป็นวิธีเปลี่ยนตัวเองที่ยอดเยี่ยม การคิดและทำในรูปแบบใหม่ๆ จะช่วยให้คุณมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นและได้ก้าวออกมาจากพื้นที่ปลอดภัย ตัวอย่างก็เช่น :
    • ลองกินอาหารที่คุณไม่เคยกินมาก่อน
    • ไปจังหวัดหรือประเทศที่ไม่เคยไป
    • อ่านหนังสือเกี่ยวกับเรื่องที่คุณไม่คุ้นเคย
    • ดูรายการที่คุณไม่เคยคิดจะดูมาก่อน
    • ทำงานอดิเรกหรือเสริมสร้างทักษะที่คุณฝันอยากจะทำมาตลอด
  2. ถามตัวเองว่ามีความฝันหรือความปรารถนาไหนที่คุณเลิกให้เวลากับมันไปแล้วบ้าง ถ้ามีให้กลับไปสนใจสิ่งนั้นอีกครั้ง แล้วคุณอาจจะค้นพบลักษณะหรือทักษะด้านบวกที่ควรค่าแก่การรักษาไว้ขณะที่คุณสร้างตัวตนขึ้นมาใหม่อีกครั้งก็ได้ เช่น :
    • ถ้าคุณเคยฝันอยากเป็นเชฟ ลองเรียนทำอาหารดูแม้ว่าตอนนี้คุณไม่ได้ตั้งใจจะเปลี่ยนอาชีพแล้วก็ตาม
    • ถ้าคุณเคยชอบเล่นบาสเก็ตบอลสมัยเรียนมัธยม หากลุ่มกีฬาผู้ใหญ่ที่คุณสามารถเข้าไปร่วมเล่นได้ คุณอาจจะได้เพื่อนและได้กลับไปเห็นคุณค่าของการทุ่มเท ความแข็งแรง และการทำงานเป็นทีมอีกครั้ง
  3. คนที่อยู่ในชีวิตของคุณตอนนี้คุ้นเคยกับตัวตนในปัจจุบันของคุณและอาจจะช่วยหรือไม่ได้ช่วยคุณมากนักขณะที่คุณกำลังนิยามตัวตนเป็นคนใหม่ เวลาที่คุณพบปะคนใหม่ๆ ให้บอกพวกเขาว่าคนแบบไหนที่คุณกำลังพยายามจะเป็น เพื่อที่พวกเขาจะได้ช่วยให้คุณยังคงพยายามไปให้ถึงตัวตนในอุดมคติของคุณได้ต่อไป
    • คนใหม่ๆ ในชีวิตของคุณต้องมีทัศนคติที่เป็นบวก เพราะการพยายามเป็นคนใหม่จะง่ายขึ้นมากหากคุณอยู่ท่ามกลางสิ่งที่เป็นบวกมากกว่าสิ่งที่เป็นลบ
    • ให้เกียรติครอบครัวหรือเพื่อนๆ ในปัจจุบันที่สนับสนุนให้คุณได้จำกัดนิยามตัวเองเสียใหม่
    • นอกจากนี้คุณยังติดต่อกับเพื่อนเก่าได้อีกครั้งผ่านทางโซเชียลมีเดีย งานสังคมเครือข่าย เป็นต้น [14] บางครั้งการกลับไปสัมผัสกับอดีตของตัวเองก็เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการที่จะเดินหน้าต่อไป
  4. ใช้เวลาในตอนเช้าเชื่อมโยงกับตัวเองอีกครั้ง. ทันทีที่คุณตื่นและมีสติมากพอที่จะคิดอะไรต่อมิอะไรได้ ให้ถามตัวเองเองว่า คุณในวันนี้ยังเป็นคนเดิมกับเมื่อวานหรือเปล่า ทบทวนว่าส่วนไหนในนิยามของคุณที่กำลังเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีกว่า และแง่มุมไหนที่ยังต้องพยายามต่ออีกเล็กน้อย การทำเช่นนี้ในตอนเช้าช่วยทำให้สุขภาพของคุณดีขึ้น และทำให้คุณมีสติมากขึ้นตลอดทั้งวัน [15]
  5. [16] เข้าใจว่าการนิยามตัวเองขึ้นมาใหม่นั้นไม่ได้เกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน พยายามอย่าเปลี่ยนทุกอย่างรวดเดียว เพราะการทำเช่นนั้นมันหนักเกินไปและอาจทำให้คุณอยากเลิก อย่าผัดวันประกันพรุ่ง แต่ก็อย่าเร่งตัวเองด้วยเช่นกัน
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,969 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา