ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ฉาก (Setting) เป็นหนึ่งในสามส่วนสำคัญของเนื้อเรื่องนอกเหนือจากตัวละครและโครงเรื่อง ฉากคือเวลาและสถานที่ในการดำเนินเรื่องราว ซึ่งจะช่วยให้ตัวละครและโครงเรื่องดูโดดเด่นมากยิ่งขึ้น และยังช่วยให้เห็นจุดสำคัญของเรื่องและแก่นเรื่องอีกด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การบรรยายฉาก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อจะเริ่มสร้างและบรรยายฉากนั้น ให้ถามตัวเองด้วยคำถาม 6 ข้อ โดยนำกระดาษมาแล้วเขียนคำตอบของคำถามแต่ละข้อ เพื่อช่วยพัฒนาการสร้างฉากให้อ่านแล้วคล้อยตามและมีประสิทธิภาพ
    • เรื่องเกิดขึ้นที่ใด
    • เรื่องเกิดขึ้นตอนไหน
    • สภาพอากาศหรือฤดูของฉากเป็นอย่างไร
    • มีเหตุการณ์ทางสังคมอะไรเกิดขึ้นบ้าง
    • ภูมิประเทศของฉากเป็นอย่างไร
    • มีรายละเอียดอะไรบ้างที่ช่วยให้เข้าใจภาพรวมของฉากได้อย่างชัดเจน [1]
  2. ตัดสินใจบรรยายฉากในมุมมองกว้างหรือมุมมองแคบ. คุณจะบรรยายฉากของคุณอย่างไร คุณใช้มุมกล้องแบบกว้างหรือซูมภาพเข้าไปให้แคบลง ตัดสินใจดูว่าเนื้อเรื่องของคุณต้องการอะไร คุณต้องบรรยายเมืองทั้งเมืองเลยหรือไม่ หรือคุณต้องการบรรยายแค่ตัวบ้าน พิจารณาดูว่าการบรรยายแบบไหนให้บรรยากาศตามที่เนื้อเรื่องต้องการ
    • ลองบรรยายตัวละครในฉากในมุมมองกว้างแล้วค่อยๆ ตีกรอบให้แคบลงเป็นสถานที่เฉพาะ เริ่มเขียนรูปแบบการบรรยายจากประเทศหรือภูมิภาค จากนั้นให้ตีกรอบลงมาเป็นเมือง แล้วตีกรอบให้แคบลงมาเป็นหมู่บ้านในเมือง
    • คุณอาจจะต้องการเริ่มจากฉากทางกายภาพ (Physical setting) แล้วค่อยขยายไปกล่าวถึงผู้คนในเมืองด้วยการบรรยายลักษณะของคนที่อาศัยภายในเมือง วิธีนี้เป็นวิธีทั่วไปในการเปลี่ยนมุมมองจากสิ่งไม่มีชีวิตไปเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ ซึ่งจะทำให้เรื่องราวมีความหมาย [2]
  3. ใช้สัมผัสทั้งห้า คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส นักเขียนจำนวนมากใช้เพียงแค่รูปในการบรรยาย ซึ่งเป็นวิธีที่ผิดเพราะจะทำให้เรื่องราวดูแบนราบ แน่นอนว่าคุณต้องบรรยายวิธีที่บางสิ่งบางอย่างใช้มอง แต่คุณก็ต้องกล่าวถึงรายละเอียดของฉากจากการใช้สัมผัสส่วนอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
    • คิดดูว่ากลิ่นของห้องเป็นอย่างไร ทรายที่อยู่ใต้เท้าของตัวละครจะให้ความรู้สึกแบบไหน ขอบของภูเขานั้นมีรูปร่างเหมือนกับมือของตัวละครหรือไม่ หรือบรรยายรสชาติของอาหารมื้อโปรดตัวละคร [3]
    • ยกตัวอย่างเช่น เธอเข้าไปที่ห้องรับแขก คุณนายแมคดูกอลนั่งประทับบนเก้าอี้นวมสีฟ้าเหมือนกับพระราชินิวิคตอเรีย และขยับเคลื่อนตัวเชื้อเชิญอลิซาเบธให้นั่งเก้าอี้ฝั่งตรงข้ามที่มีพนัก ผนังสีส้มเหมือนเนื้อปลาแซลมอนทำให้ผมสีขาวของคุณนายดูเป็นสีชมพู อลิซาเบธสะดุ้งเมื่อถ่านไม้ที่ลุกไหม้ในเตาผิงที่ขยับร่วงหล่น ล้อมรอบไปด้วยหินอ่อนที่ท่านลอร์ดแมคดูกอลคนก่อนได้นำมาจากอียิปต์ด้วยตนเอง [4]
  4. อย่าให้การบรรยายฉากเข้ามาแทรกในการดำเนินเนื้อเรื่อง. ฉากควรจะช่วยให้เรื่องราวดูดียิ่งขึ้น ไม่ทำให้เนื้อเรื่องติดขัด ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ถ้าคุณบรรยายฉากคั่นระหว่างการดำเนินเรื่องเพื่อบรรยายโลกรอบตัวละคร แทนที่จะแยกส่วนบรรยายฉากออกมาต่างหาก ให้บรรยายฉากผ่านการกระทำของตัวละคร ฉากควรจะรวมเข้ากับสิ่งที่ตัวละครทำอยู่ [5]
    • ยกตัวอย่างเช่น ถ้าตัวละครกำลังวิ่งหนีแวมไพร์ในป่า อย่าหยุดแล้วบรรยายถึงความน่ากลัวของป่า ให้ตัวละครสังเกตเห็นความมืดและความเงียบสงัดของป่า ให้ตัวละครวิ่งผ่านรากไม้ที่โผล่ขึ้นเหนือพื้นดินและถูกกิ่งไม้บาดแก้มจนเป็นแผล เขียนให้เห็นว่าตัวละครมองไม่เห็นอะไรเลย ได้ยินแต่เสียงฝีเท้าตามหลังเธอมา การเขียนแบบผสานฉากเข้ากับการกระทำจะช่วยให้เนื้อเรื่องดำเนินได้อย่างราบรื่น
  5. บรรยายมุ่งเน้นที่แสดงฉากให้ผู้อ่านเห็นมากกว่าเล่าฉากให้ผู้อ่านรู้ อย่าเขียนว่า “ทะเลทรายนั้นร้อน” ในทางกลับกัน แสดงให้เห็นถึงความร้อนของทะเลทรายด้วยการบรรยายว่าดวงอาทิตย์กำลังเผาผิวหนังของตัวละคร ความร้อนผุดออกมาจากทรายเป็นคลื่น และอากาศหนาแน่นจนหายใจไม่ออก
    • ในการเขียนแบบนี้ ให้ใช้ภาษาที่ชัดเจน เลือกใช้คำนามและคำคุณศัพท์ในการบรรยายฉาก และใช้กริยาที่เป็นรูปธรรม
    • การบอกให้รู้: เด็กผู้หญิงตื่นเต้นมาก
    • การแสดงให้เห็น: ลานแสดงเต็มไปด้วยเสียงกรีดร้องและเสียงหัวเราะ ลอนผมที่อ่อนนุ่มกลับลีบแบนด้วยเหงื่อและกิจกรรมในการเข้าร่วมงาน พวกเขาถือเน็คไทของกันและกัน ฉุดรั้งกันเอาไว้เพื่อไม่ให้ล้มลง แขนชูขึ้นโบกไปมา และเสียงสะท้อนไปมาด้วยน้ำเสียงอันหลากหลาย เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นที่นี่ [6]
  6. แน่นอนว่าฉากอาจจะมีสิ่งให้บรรยายมากเกินไป ดังนั้น หลีกเลี่ยงการบรรยายสิ่งที่ไม่สำคัญต่อเนื้อเรื่องและแก่นเรื่อง แล้วตัดสินใจให้แน่นอนว่าจะเลือกสิ่งใดมาบรรยาย การบรรยายฉากแต่ละฉากควรมีเหตุผลที่ว่าทำไมถึงต้องมีฉากนี้เกิดขึ้นในเรื่อง
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การเลือกฉากในการเขียน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ฉากนั้นประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเริ่มต้นคือสถานที่ คุณต้องเลือกสถานที่ใดที่หนึ่งในการดำเนินเรื่อง ตัวเลือกของสถานที่นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยในการสร้างอารมณ์ ความเชื่อมโยง และสิ่งที่ทุกคนเข้าใจร่วมกัน (Stereotypes) ที่คุณสามารถเลือกใช้เพื่อสนับสนุนเรื่องราวของคุณ หรือช่วยให้ตัวละครมีสิ่งที่ต้องต่อสู้ฟันฝ่า
    • เริ่มจากการเลือกประเทศ จังหวัด ภูมิภาค หรือเมือง คุณสามารถใช้สถานที่เฉพาะก็ได้ เช่น บรรยายละแวกบ้านหรือท้องถนน เป็นต้น ตัดสินใจดูว่าจะเลือกใช้สถานที่เป็นในเมืองใหญ่ ฟาร์ม เกาะ หรือภูเขา [7]
  2. ให้รายละเอียดทางกายภาพของบ้าน สวน หรือห้อง และใช้รายละเอียดเหล่านี้ในการบรรยายตัวละคร คุณยังสามารถใช้รายละเอียดทางกายภาพในการบอกถึงแก่นเรื่อง ค่านิยม และทัศนคติได้อีกด้วย [8]
    • การเขียนบรรยายฉากด้วยวิธีนี้จะช่วยให้เรื่องราวมีความหมาย
    • ยกตัวอย่าง เช่น กำแพงที่ทำมาจากหินสีเข้มกำลังส่องสีหม่นๆ ที่เกิดจากแสงของคบไฟ มีม้านั่งตั้งอยู่ข้างตัวเขา แต่ตรงหน้าของเขานั้น เป็นม้านั่งที่สูงที่สุด และเห็นรูปร่างเห็นเป็นเงาอยู่มากมาย เงาเหล่านั้นกำลังพูดด้วยเสียงต่ำๆ แต่เสียงประตูบานใหญ่ที่เหวี่ยงปิดอยู่ด้านหลังของแฮรี่ได้ทำลายความเงียบนั้นออกไป [9]
  3. การตั้งเวลาเป็นสิ่งที่สำคัญในการบรรยายเนื้อเรื่อง ซึ่งส่งผลต่อโครงเรื่องและพฤติกรรมของตัวละคร โดยเวลาดังต่อไปนี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่คุณควรตัดสินใจเลือกใช้:
    • เวลาของวัน: เรื่องเกิดขึ้นตอนเช้า กลางวัน หรือตอนหัวค่ำ ช่วงเวลาไหนที่เนื้อเรื่องดำเนินอยู่ จำไว้ว่าตัวละครจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละเวลา
    • เวลาของปี: เรื่องดำเนินในฤดูร้อน ฤดูหนาว หรือฤดูใบไม้ผลิ เนื้อเรื่องมีศูนย์กลางอยู่ที่ช่วงวันหยุด เช่น วันคริสตมาสต์หรือวันฮัลโลวีน หรือไม่ ช่วงเวลาของปียังรวมไปถึงวันครบรอบของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์หรือเหตุการณ์เฉพาะบุคคลด้วย
    • เวลาล่วงผ่าน: คิดถึงการเปลี่ยนแปลงของเวลาในเนื้อเรื่อง ซึ่งอาจจะเป็นชั่วโมงหรือเป็นเดือน คุณต้องบรรยายเวลาที่ล่วงผ่านในฉากด้วย ซึ่งจะช่วยให้เนื้อเรื่องเป็นไปตามเวลา หรือย้อนผู้อ่านกลับไปในช่วงอดีต [10]
  4. สภาพอากาศมีส่วนช่วยสร้างอารมณ์ให้กับตัวละคร และยังส่งผลต่อโครงเรื่องอีกด้วย ให้บรรยายอุณหภูมิว่าฝนตกหรือมีลมแรง หรือแม้แต่บรรยายความสว่างของดวงอาทิตย์
    • ถ้าเรื่องดำเนินในสภาพอากาศที่แปรปรวณ คุณต้องบรรยายให้ผู้อ่านได้รับรู้ด้วย บรรยายความยากลำบากของการมีชีวิตสภาพอากาศที่ร้อนหรือเย็นจัด หรืออธิบายความสบายของการใช้ชีวิตในบ้านริมชายหาด [11]
    • ยกตัวอย่างเช่น และหลังจากนั้นอากาศก็เป็นเหมือนอุดมคติ พวกเขาคงไม่เคยมีวันที่สมบูรณ์แบบในปาร์ตี้หลังสวน อากาศที่สงบ ไม่มีลบ เต็มไปด้วยความอบอุ่น และท้องฟ้าที่ไม่มีก้อนเมฆ มีเพียงแต่สีฟ้าที่ปกคลุมไปด้วยแสงสีทอง เหมือนกับช่วงเวลาบางช่วงในฤดูร้อน คนสวนตื่นขึ้นมาตั้งแต่เช้าตรู่เพื่อมาตัดและกวาดหญ้า จนหญ้าและราสีเข้มที่เกาะอยู่ที่ต้นเดซี่นั้นดูสว่างไสว [12]
  5. ภูมิประเทศในเนื้อเรื่องเป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้าฉากมีต้นไม้ ดอกไม้ หรือมีอาหารที่เติบโตในพื้นที่ ก็ให้บรรยายออกมา คิดดูว่าทำไมรายละเอียดเหล่านี้ถึงสำคัญต่อตัวละครและโครงเรื่องที่มีชีวิตอยู่ในภูมิประเทศดังกล่าว [13]
    • คิดถึงรูปแบบภูมิประเทศ เช่น ภูเขา แม่น้ำ ลำธาร หรือป่า ตัวละครควรจะมีปฏิสัมพันธ์ต่อสิ่งเหล่านี้ หรือควรเป็นส่วนสำคัญของเนื้อเรื่อง นอกจากนี้ ถามตัวเองด้วยว่าทำไมถึงต้องสร้างฉากดังกล่าวเป็นประการแรก
  6. เขียนถึงฉากทางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม. ถ้าคุณกำลังเขียนเรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์ คุณต้องบรรยายฉากในเชิงยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ซึ่งรวมไปถึงวิธีที่โลกมองเหตุการณ์ ณ ช่วงเวลานั้น และบรรยายรูปแบบของเทคโนโลยีในสมัยนั้นรวมไปถึงพฤติกรรมของผู้คน
    • คิดถึงฉากทางสังคมและการเมือง รายละเอียดนี้เป็นส่วนสำคัญของการเขียนเรื่องราวสมัยใหม่หรือสมัยประวัติศาสตร์ ซึ่งจะส่งผลต่อค่านิยมและพฤติกรรมของตัวละคร
    • ฉากทางวัฒนธรรมนั้นประกอบด้วย ศาสนา ประเพณี การมีปฎิสัมพันธ์กับสังคม ประชากรในสถานที่ของคุณควรมีบทบาทในฉากด้วย ซึ่งอาจจะเป็นสถานที่ที่มีประชากรหนาแน่น หรือเป็นพื้นที่ห่างไกล [14]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ใช้ตัวละครในการบรรยายฉาก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้ตัวละครในการบรรยายฉาก ในขณะที่ตัวละครกำลังเคลื่อนไหวภายในฉาก ให้เธอสังเกตฉากรอบตัวเธอ เธอสังเกตเห็นอะไรในทันที เธอสังเกตเห็นอะไรในภายหลัง ให้ตัวละครได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมแทนที่จะกล่าวว่ามีอะไรอยู่ในห้องบ้าง [15]
    • ให้ตัวละครตอบสนองต่อฉาก ซึ่งจะช่วยให้ความสำคัญกับตัวละครและพัฒนาโครงเรื่องไปในทางที่ดีขึ้น
  2. คนที่แตกต่างกันก็จะมองโลกต่างกัน ตัดสินใจเลือกวิธีที่ตัวละครใช้ในการบรรยายบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งจะส่งผลต่อวิธีที่คุณใช้บรรยายฉาก [16]
    • คนนิวยอร์กโดยกำเนิดอาจจะบรรยายรถไฟใต้ดินต่างจากคนที่มาจากฝั่งชนบททางใต้ค่อนข้างมาก ลองตัดสินใจดูว่าคุณต้องการจะใช้มุมมองของใครในการบรรยายฉากและทำไมการใช้มุมมองของตัวละครนั้นจึงสำคัญ
  3. อารมณ์และลักษณะนิสัยของตัวละครส่งผลต่อวิธีบรรยายฉาก ลองคิดถึงวิธีที่ตัวละครมองฉากและวิธีที่พวกเขารู้สึกต่อฉากนั้นๆ [17]
    • ลองคิดดูว่าเด็กที่เข้าโรงเรียนมัธยมปลายปีแรกกับปีสุดท้ายจะมองงานเต้นรำของโรงเรียนเป็นอย่างไร เด็กที่เข้าใหม่อาจจะตื่นเต้นเพราะเป็นการเต้นครั้งแรก แต่เด็กปีสุดท้ายอาจจะเบื่อและไม่พอใจกับการมาอยู่ที่งานนี้ เด็กที่ถูกล้อเลียนบ่อยๆ อาจจะกลัวการไปงานเต้นรำเพราะคนที่ล้อเลียนเขาอาจจะอยู่ที่งาน แต่ประธานนักเรียนผู้โด่งดังอาจจะตื่นเต้นที่จะได้เห็นเพื่อนๆ ของเธอที่งานเต้นรำ
    • โครงเรื่องยังส่งผลต่ออารมณ์ของตัวละคร ป่ารกทึบในตอนกลางวันอาจจะดูเป็นกิจกรรมผ่อนคลายสำหรับตัวละครตัวหนึ่ง แต่คนอื่นๆ อาจจะหลงป่าและหวาดกลัว
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าเลือกฉากในเรื่องเพียงเพราะคุณคิดว่ามันน่าจะดี ซึ่งไม่แน่ว่าการใช้ฉากที่เป็นเพียงบ้านหลังเล็กๆ แทนที่จะเป็นสถานที่ใหญ่โตโอ่โถงราวกับปราสาทอาจจะเหมาะสมกับเนื้อเรื่องของคุณมากกว่า
  • วางตำแหน่งการบรรยายฉากไว้ถัดจากบรรยายตัวละคร แม้ว่าฉากจะช่วยสร้างบรรยากาศให้กับเนื้อเรื่อง แต่ผู้อ่านมักจะสนใจโครงเรื่องและการเคลื่อนไหวของตัวละครมากกว่า ซึ่งฉากเป็นเพียงตัวช่วยให้ตัวละครและโครงเรื่องโดดเด่นขึ้นมา
  • ถ้าคุณกำลังเขียนเนื้อเรื่องจากมุมมองบุคคลที่ 1 ให้ลองบรรยายวิธีที่ฉากส่งผลต่อประสาทสัมผัสของตัวละครทั้งห้า
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 30,999 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา