ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการบวมน้ำ (Edema) ก็คืออาการบวมที่เกิดเพราะมีน้ำหรือของเหลวส่วนเกินถูกกักเก็บไว้ในเนื้อเยื่อของร่างกาย จุดที่มักบวมน้ำก็เช่น ข้อเท้า เท้า ขา แขน และมือ บางทีก็บวมน้ำเพราะเป็นอาการชั่วคราวของโรคบางอย่าง เช่น ช่วงตั้งครรภ์ หรือหลังอาการบาดเจ็บ หรือบวมน้ำเพราะโรคหัวใจ ตับ และไต อีกทีคือเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยา อาการบวมน้ำเกิดได้ทั้งตามส่วนรยางค์ (นอกลำตัว) คือข้อเท้า เท้า ขา แขน หรือมือ และบริเวณกลางลำตัว เช่น รอบอวัยวะภายใน อย่างปอด [1]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

รู้จักอาการบวมส่วนปลาย (Peripheral Edema)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาการบวมน้ำส่วนปลาย สังเกตได้โดยจะบวมตามข้อเท้า เท้า แขน และมือ พอบวมแล้วผิวหนังบริเวณนั้นจะดูตึงๆ หรือมันวาว
    • ถ้าลองเอานิ้วจิ้มๆ กดๆ แล้วบริเวณที่บวมนั้นบุ๋มลงไป กว่าจะคืนตัวก็สักพัก แสดงว่าคุณมีอาการบวมกดบุ๋ม (pitting edema) มักเกิดจากการนั่งนานๆ ไม่ลุกเดินไปไหน
  2. ถ้าเป็นอาการบวมส่วนปลายแบบปานกลางหรือไม่รุนแรง มักเกิดได้เพราะหลายสาเหตุ เช่น [2]
    • นั่งๆ นอนๆ นานเกินไป ไม่ค่อยขยับตัวหรือออกกำลังกาย
    • กินอาหารเค็มๆ โซเดียมสูงมากเกินไป
    • ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง (เช่น บวมน้ำก่อนเป็นเมนส์ หรือฮอร์โมนเอสโตรเจนเปลี่ยนแปลง)
    • ตั้งครรภ์
    • หลังผ่าตัดเกิดอาการบาดเจ็บที่ระบบน้ำเหลืองและต่อมน้ำเหลือง (มักพบหลังผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านม)
    • กินยาบางอย่าง เช่น สเตียรอยด์ ยาความดัน ยาเบาหวาน และ NSAIDs (non-steroidal anti-inflammatory drugs)
  3. นอกจากปัจจัยเสี่ยงที่กล่าวไปแล้ว อาการบวมน้ำยังเกิดได้เพราะโรคที่มีผลต่อระบบร่างกาย เพราะงั้นแนะนำให้หาหมอตรวจร่างกายว่าเป็นโรคต่อไปนี้หรือเปล่า [3]
    • ภาวะหัวใจล้มเหลว
    • โรคตับ
    • โรคไตหรือกลุ่มอาการโปรตีนรั่วในปัสสาวะ หรือ nephrotic syndrome คือโรคไตที่เกิดเพราะอัลบูมินในเลือดต่ำ โดยอัลบูมินคือโปรตีนสำคัญในเลือด)
    • หลอดเลือดดำบกพร่องเรื้อรัง (Chronic venous insufficiency) เช่น หลอดเลือดขอด (varicose veins) เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก
    • ระบบน้ำเหลืองบกพร่องหรือเสียหาย (Lymphatic insufficiency) เกิดได้เพราะการทำคีโม ผ่าตัด หรือบาดเจ็บอื่นๆ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ปรับเปลี่ยนอาหารและวิถีชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เกลือส่วนเกินในร่างกายจะทำให้เนื้อเยื่ออุ้มน้ำ เพราะงั้นถ้ากินเกลือน้อยลง จะช่วยลดอาการบวมน้ำได้ [4] อาจจะปรึกษาคุณหมอหรือนักโภชนาการ เรื่องการจัดอาหารรสอ่อน ไม่เค็ม แต่จริงๆ แล้วเราก็มีเคล็ดลับลดเกลือในมื้ออาหารมาฝากกัน [5]
    • อย่าเติมเกลือในอาหาร อาจต้องใช้เวลากว่าจะชินกับอาหารรสอ่อนลง แต่สักพักจะรู้สึกถึงรสชาติอาหารที่แท้จริง ถ้าไม่ใช้เกลือ ให้ลองปรุงรสด้วยสมุนไพรและเครื่องเทศต่างๆ แทน เช่น ผักชีลาว, ผงกะหรี่, พริกไทย, ยี่หร่าแขก หรือไทม์ จะได้ไม่จืดเกินไป
    • ลดอาหารแปรรูป เช่น อาหารกล่อง อาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง (รวมถึงซุปสำเร็จรูป) ที่ซื้อตามซูเปอร์หรือร้านสะดวกซื้อ
    • ทำอาหารกินเองจากวัตถุดิบธรรมชาติ ถ้าทำอาหารกินเอง ก็จะควบคุมปริมาณเกลือที่ใส่ได้ พูดง่ายๆ คือให้เข็นรถอยู่รอบนอก บริเวณผัก ผลไม้ ของสด อย่าไปชั้นกลางๆ พวกอาหารสำเร็จรูปทั้งหลาย ของที่ควรหยิบติดมือไปจากซูเปอร์ก็คือผักผลไม้ เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์นม และวัตถุดิบอื่นๆ เช่น ถั่วฝัก ถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืชโฮลเกรน และถั่วเปลือกแข็ง
    • เลือกซื้ออาหารออร์แกนิกในซูเปอร์ เดี๋ยวนี้ตามซูเปอร์ในห้างก็มีอาหารเพื่อสุขภาพขายแยกเป็นแผนกเลย แต่ถ้าเป็นอาหารที่บรรจุห่อมาแล้ว ให้สำรวจปริมาณโซเดียมให้ดี
  2. วิธีที่จะทำให้ร่างกายได้รับคุณค่าทางสารอาหารครบถ้วนในแต่ละมื้อ ก็คือต้องเพิ่มผักผลไม้ต่างๆ เพราะไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องเกลือ แถมเต็มไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์
    • กินผักผลไม้ให้หลากหลาย เช่น แอสพารากัส พาร์สลีย์ หัวบีท องุ่น ถั่วแขก ผักใบเขียว ฟักทอง สับปะรด หัวหอม กระเทียมต้น และกระเทียม
    • ผักที่สีเข้ม จะมีคุณค่าทางอาหารมากกว่าแบบสีอ่อน
    • จะช่วยเรื่องบวมน้ำได้มาก ถ้ากินอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น บลูเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ เชอร์รี่ มะเขือเทศ ฟักสปาเก็ตตี้ (สควอช) และพริกหยวก
  3. พยายามกินเนื้อสัตว์ให้น้อยลง เพราะเนื้อสัตว์บางชนิด (เช่น เนื้อหมักเกลือ เนื้อตัดเย็น (cold cuts) และเนื้อแดง) มีโซเดียมสูง [6] นอกจากนี้ถ้ากินอาหารที่มีไขมันมากเกินไป จะรบกวนการทำงานของตับ ถุงน้ำดี และการย่อยอาหาร ทำให้บวมน้ำหนักกว่าเดิม
  4. หลายคนพอเกิดอาการบวมน้ำ อาจจะกลัวจนไม่กล้าดื่มน้ำเยอะๆ แต่จริงๆ แล้วเป็นวิธีที่ช่วยขับน้ำออกจากร่างกายได้ดี พยายามดื่มน้ำให้ได้ 6 - 8 แก้วต่อวัน (แก้วละ 8 ออนซ์)
    • ถ้าคุณหมอสั่งยาขับปัสสาวะให้ ก็ต้องปรึกษาคุณหมอก่อน ว่าในแต่ละวันควรดื่มน้ำมากแค่ไหน
  5. พวกนี้จะทำให้ยิ่งบวมน้ำหนักตามแขนขา และส่งผลต่อสุขภาพร่างกายโดยรวมด้วย แอลกอฮอล์กับคาเฟอีนจะทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ [7] เพราะงั้นถ้าอดใจไม่ไหว ดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ไป ก็ต้องดื่มน้ำตามเยอะๆ เพื่อต้านฤทธิ์กัน
  6. อย่างที่บอกไปตอนต้น ว่าคุณบวมน้ำได้เหมือนกัน ถ้านั่งๆ นอนๆ ทั้งวัน ไม่ขยับตัวหรือออกกำลังกาย แต่จริงๆ แล้วถ้าออกกำลังกายแบบหักโหม ก็ทำให้บวมน้ำได้เช่นกัน เพราะงั้นควรปรึกษาคุณหมอว่าสภาพร่างกายของคุณเหมาะจะออกกำลังกายมากน้อยแค่ไหน (และลักษณะไหน)
    • ถ้าปกติไม่ได้ออกกำลังกายหนักๆ ก็ต้องค่อยเป็นค่อยไป หรือถ้าอยู่ในระยะฟื้นตัวจากการผ่าตัดหรือโรคภัยไข้เจ็บ ก็ต้องระวัง ค่อยๆ กลับมาออกกำลังกายตามคำแนะนำของคุณหมอหรือนักกายภาพบำบัด [8]
  7. การนั่งทั้งวัน ไม่ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว นี่แหละสาเหตุหลักของการบวมน้ำ เวลาเดินไปมา กล้ามเนื้อขาจะมีการยืดและหด ช่วย “นวด” หรือกระตุ้นหลอดเลือด ให้เลือดสูบฉีดกลับไปที่หัวใจและปอดได้ดี แต่ถ้านั่งนานๆ จะทำให้เลือดคั่งอยู่ตามแขนขา [9]
  8. ถ้าหลีกเลี่ยงการนั่งเฉยๆ นานๆ ไม่ได้ ก็อย่าห้อยขานานๆ ให้ยกหนุนขาสูงหน่อย อาจจะพาดบนโต๊ะหรือม้านั่งเตี้ยๆ กระทั่งหาหมอนอิงหรือเบาะมาหนุนพักเท้าให้สบาย
  9. ถ้าจำเป็นต้องนั่งๆ นอนๆ ต่อเนื่องนานๆ ต้องพยายามลุกเดินอย่างน้อย 5 นาทีทุกชั่วโมง จะช่วยเรื่องบวมน้ำได้ [10] อาจจะเดินไปมารอบๆ ห้อง เดินไปกินน้ำ เติมน้ำใส่ขวด หรือดีกว่านั้นคือเดินเล่นนอกบ้านหรือนอกออฟฟิศ นอกจากทำให้ผ่อนคลาย เปลี่ยนอารมณ์แล้ว ยังช่วยเรื่องบวมน้ำด้วย
    • หลายคนบ่นว่าบวมน้ำเป็นพิเศษช่วงกลางคืน เพราะงั้นถึงจะนั่งแช่ให้สบายหลังทำงานมาทั้งวัน ก็ต้องพยายามลุกเดินไปมา 1 - 2 ครั้งทุกชั่วโมง
  10. ถ้ามักมีอาการบวมน้ำที่มือและข้อมือ ให้พยายามยกแขนชูมือเหนือหัวทุก 30 - 60 นาที แรงโน้มถ่วงจะได้ช่วยไล่ของเหลวลงมาจากปลายแขนปลายมือ
    • อีกวิธีที่ช่วยได้คือสะบัดมือเบาๆ หรือนวดมือตอนชูมือเหนือหัว
  11. compression (หรือ support) stockings คือถุงน่องอีลาสติกที่ช่วยรัดพยุงบริเวณน่องและข้อเท้า ป้องกันไม่ให้ของเหลวไปคั่งบริเวณนั้น [11] หาซื้อได้ตามร้านขายยาตรงอุปกรณ์การแพทย์
    • หลายคนบ่นว่าถุงน่องชนิดนี้ใส่ยากเพราะคับเหลือเกิน ง่ายสุดคือต้องม้วนถุงน่องลงไปให้หมด แล้วใส่จากข้อเท้าขึ้นมา โดยสอดปลายเท้าเข้าไปแล้วค่อยๆ รูดถุงน่องขึ้นมาตามข้อเท้าและน่อง
    • คุณหมอและนักกายภาพบำบัดส่วนใหญ่จะแนะนำให้สวมถุงน่องรัดกล้ามเนื้อตอนออกกำลังกาย [12] แต่ให้ปรึกษาคุณหมอประจำตัวก่อนจะดีที่สุด
    • เสื้อผ้าหรือถุงน่องที่รัดพยุงต้องกระชับรับกับรูปร่างของคุณ เช่น หลังผ่าตัดหน้าอก ผู้หญิงบางคนจะใส่ผ้ารัดพยุงแขนที่สั่งตัดให้พอดีกับสัดส่วนของตัวเองโดยเฉพาะ
    • บางสภาพอาการก็ต้องใช้ผ้ารัดพยุงแบบอัดอากาศ คือจะมีการรัดกระชับเป็นระยะ [13]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ลองใช้สมุนไพรเป็นวิธีทางเลือก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การรักษาด้วยสมุนไพรปกติก็ปลอดภัยดี แต่ควรปรึกษาคุณหมอก่อนเสมอเพื่อความปลอดภัยและจะได้รักษาตรงสภาพอาการที่สุด
  2. ชาพวกนี้มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ จะทำให้ฉี่เยอะขึ้น ช่วยขับน้ำส่วนเกินออกไปจากร่างกาย แต่ก็ต้องเช็คให้ดีก่อนว่าคุณไม่ได้แพ้สมุนไพรชนิดไหน และควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อน ว่าชาจะไปทำปฏิกิริยาอะไรกับยาที่ใช้อยู่หรือเปล่า แนะนำให้ดื่มชาสมุนไพร 3 - 4 ถ้วยต่อวัน จะแต่งรสหวานด้วยน้ำผึ้ง หญ้าหวาน หรือมะนาวด้วยก็ได้ [14]
    • ชาใบแดนดิไลออน (Dandelion) : ย้ำว่าต้องเป็นชาจากใบแดนดิไลออน (dandelion leaf) ไม่ใช่ชารากแดนดิไลออน (dandelion root) เพราะอย่างหลังไม่ได้ช่วยเรื่องบวมน้ำ
    • ชากระวาน (Cardamom) : ถ้าจะชงเองให้ใช้ลูกหรือผงกระวาน 1 ช้อนชา ต่อน้ำร้อน 1 ถ้วยตวง
    • ชาคาโมไมล์ (Chamomile) : เป็นชาที่ช่วยให้คลายเครียด หลับง่าย
    • ชาชิโครี (Chicory) : ดื่มชาชนิดนี้แทนกาแฟได้เลย
    • ชา Fennel : fennel คือผักชีล้อม บางทีก็เรียกยี่หร่าหวาน หรือเทียนข้าวเปลือก เวลาชงชาให้ใช้เมล็ดหรือใบ fennel 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 ถ้วยตวง นอกจากเรื่องบวมน้ำแล้ว fennel ยังช่วยเรื่องการย่อยอาหาร แถมทำให้ลมหายใจสดชื่น
    • ชาผักชีฝรั่ง (Parsley) : เป็นชาขับปัสสาวะ และช่วยเรื่องการย่อยอาหารด้วย
    • ชา Stinging nettle : เป็นพืชตระกูลตำแย ชงชาแล้วมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ แถมได้วิตามินและแร่ธาตุด้วย
  3. สารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยเรื่องบวมน้ำได้ทางอ้อม เพราะไปทำให้หลอดเลือดแข็งแรง นอกจากกินอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระแล้ว ให้ลองกินอาหารเสริม เช่น สารสกัดจากเมล็ดองุ่น (360 มก. 2 ครั้งต่อวัน) หรือบิลเบอร์รี่ (80 มก. 3 ครั้งต่อวัน) ร่วมด้วย [15]
  4. การฝังเข็ม (acupuncture) เป็นการรักษาแบบแพทย์แผนจีนที่คนไทยคุ้นเคยกันดี วิธีการคือฝังเข็มตามจุดต่างๆ ของร่างกาย แพทย์แผนจีนจะเน้นปรับสมดุลของร่างกาย และมองว่าอาการบวมน้ำเป็นสัญญาณที่บอกว่าร่างกายไม่สมดุล การฝังเข็มจะช่วยปรับสมดุลให้ร่างกาย น้ำหรือของเหลวในร่างกายก็จะกลับมาไหลเวียนได้สะดวก [16]
  5. การนวดบำบัดช่วยกระตุ้นให้เลือดและของเหลวในตัวไหลเวียนสะดวกขึ้น ช่วยขับน้ำส่วนเกินออกจากเนื้อเยื่อ ให้กลับเข้ากระแสเลือดและระบบน้ำเหลือง Lymphedema massage หรือ Lymphatic Drainage (MLD) หรือ Lymph Drainage Therapy (LDT) เป็นเทคนิคการนวดที่ช่วยเรื่องระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกันโดยเฉพาะ [17]
    • คุณหมอประจำตัวน่าจะช่วยโอนเคสไปให้คุณหมอเฉพาะทางที่ผ่านการอบรมและมีประสบการณ์ด้าน MLD/LDT ให้คุณได้
    • ถ้าอยากหาหมอนวดที่เชี่ยวชาญและมีใบอนุญาต ลองปรึกษา สมาคมแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย ดู โดยย้ำว่าสนใจเรื่อง “นวดระบายน้ำเหลือง (lymphatic drainage)”
  6. ทางธรรมชาติบำบัด (Naturopaths) มักแนะนำให้รักษาด้วย “water massage” หรือการนวดด้วยน้ำ เพื่อกระตุ้นให้น้ำเหลืองไหลเวียนสะดวก ลดอาการบวมน้ำได้เพราะทำให้หลอดน้ำเหลือง (lymphatic vessels) และลิ้น (valves) หดและขยาย ขับของเหลวไปทางหัวใจ ไม่คั่งอยู่ตามแขนขา คุณทำได้เองที่บ้านด้วยสายฉีดฝักบัวธรรมดานี่แหละ
    • เริ่มจากล้างเท้าด้วยน้ำเย็น ราดน้ำให้เท้าข้างหนึ่งชุ่ม แล้วตามด้วยอีกข้าง จากนั้นค่อยๆ เลื่อนกระแสน้ำจากฝักบัวขึ้นมาตามขา จนไปถึงหัวใจ โดยนวดแบบนี้ทีละข้าง
    • จากนั้นฉีดน้ำเย็นใส่มือทั้ง 2 ข้าง พอเปียกชุ่มแล้ว ให้ค่อยๆ ฉีดน้ำเย็นจากมือข้างหนึ่งไล่ขึ้นมาตามแขนจนถึงหัวใจ แล้วย้ายไปฉีดมืออีกข้าง ทำซ้ำตามเดิม
    • เปลี่ยนไปใช้น้ำร้อน (ให้ร้อนเท่าที่ทนได้ อย่าถึงกับร้อนลวก)
    • ทำซ้ำตามขั้นตอน โดยฉีดน้ำใส่เท้าให้ชุ่ม ไล่ฉีดขึ้นมาตามขา แล้วสลับไปฉีดน้ำใส่มือทั้ง 2 ข้าง ไล่ขึ้นมาตามแขน แค่เปลี่ยนเป็นน้ำร้อนแทน
    • ต่อมาให้สลับกลับมาใช้น้ำเย็น โดยฉีดน้ำตามขั้นตอนเดิมอีกรอบ เท่ากับจบกระบวนการ
  7. Lymphatic brushing (หรือ “dry skin brushing” เป็นอีกวิธีของแพทย์แผนจีน คุณทำได้ด้วยตัวเอง ที่ต้องใช้มีแค่แปรงขนนุ่มแบบด้ามยาว หรือจะใช้ผ้าคอตตอนนุ่มๆ แทนก็ได้ [18]
    • ย้ำว่าทั้งผิวของคุณและแปรง (หรือผ้า) ต้องแห้งสนิทก่อนเริ่มขั้นตอน
    • เวลาแปรง ให้ลากยาวๆ ไปในทิศทางของหัวใจ ห้ามขัดถูแรงๆ
    • แปรงจากมือขึ้นมาที่แขน แล้วขึ้นไปที่ไหล่
    • แปรงขึ้นมาที่หลัง จากก้นกบขึ้นมาถึงไหล่
    • แปรงลงมาตามคอ จากตีนผมจนถึงไหล่
    • แปรงขึ้นไปตามหน้าอก ถึงลำคอ
    • แปรงจากสะดือไปถึงกลางอก
    • แปรงขึ้นและรอบหน้าอก ไปถึงใต้รักแร้
    • แปรงจากเท้าขึ้นไปตามขา แล้วแปรงจากข้อเท้าขึ้นไปที่เข่า ทั้งหน้าและหลัง และทั้งซ้ายขวา จากนั้นแปรงจากเข่าขึ้นมาที่ขาหนีบ ทั้งหน้าและหลัง ซ้ายและขวา
    • แปรงจากขาหนีบขึ้นไปจนถึงสะดือ
    • ขั้นตอนการแปรงระบายน้ำเหลืองปกติจะใช้เวลาประมาณ 5 นาที เสร็จแล้วให้แช่น้ำอุ่นหรืออาบน้ำเย็นจากฝักบัวแทน แนะนำให้แปรงระบายน้ำเหลืองแบบนี้วันละ 1 - 2 ครั้ง
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

รับมือกับอาการบวม (ภายใน) ส่วนกลาง (Central (Internal) Edema)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาการบวมน้ำภายในสังเกตได้ว่าท้องจะป่อง (ท้องมาน (ascites)) ถ้าปอดบวมน้ำ (Pulmonary edema) ก็อาจทำให้หายใจติดขัด หายใจไม่ค่อยออก หรือเจ็บแน่นหน้าอกได้ [19]
  2. อาการบวมส่วนกลางหรือภายในนั้นถือเป็นอาการที่อันตรายมาก อย่าพยายามรักษาบรรเทาอาการด้วยตัวเอง ต้องรีบไปหาหมอเพื่อตรวจรักษา และต้องทำตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด [20]
  3. ถ้าเป็นอาการบวมน้ำประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะต้องกินยา เช่น ยาขับปัสสาวะ, ยาความดันกลุ่ม ACE inhibitors, ยากลุ่ม beta blockers หรือสเตียรอยด์ (corticosteroids) ไม่ว่าจะเป็นการรักษาแบบไหนก็ต้องปรึกษาและอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมอเท่านั้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ตอนเกิดอาการบวมน้ำ ต้องดูแลผิวให้ดี อาจจะต้องทาโลชั่นหรือครีมมากกว่าปกติ เพื่อแก้ผิวตึงจนแตกเพราะบวมน้ำ
  • ถ้าบวมแค่เล็กน้อยประคบเย็นช่วยก็ยุบลงได้ ให้เอาเจลแพ็คหรือถุงน้ำแข็งห่อผ้า แล้วเอามาประคบบริเวณที่บวมประมาณ 10 นาทีด้วยกัน จากนั้นทำซ้ำทุก 2 - 4 ชั่วโมง
โฆษณา

คำเตือน

  • ห้ามนวดด้วยน้ำควบคู่ไปกับการแปรงระบายน้ำเหลือง เพราะจะไปกระตุ้นการไหลเวียนของน้ำเหลืองมากเกินไป
  • ถ้าอาการบวมน้ำไม่ดีขึ้นใน 4 - 5 วันหลังรักษาบรรเทาอาการเอง หรืออาการหนักกว่าเดิม ต้องรีบหาหมอทันที
  • ต้องปรึกษาคุณหมอเสมอ ก่อนลองรักษาด้วยสมุนไพรหรือวิธีการอื่นๆ ด้วยตัวเอง
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 10,736 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา