ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการบาดเจ็บต้นขาด้านในมีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บของขาหนีบซึ่งมีตั้งแต่บาดเจ็บเล็กน้อยไปถึงรุนแรงและสามารถเกิดได้กับทุกช่วงวัย การบาดเจ็บนั้นเกิดจากการฉีกขาดหรือขาดไปเลยของกล้ามเนื้อตัวใดตัวหนึ่งจากกล้ามเนื้อ 5 มัดที่เกาะผ่านต้นขาด้านใน โดยเกาะยึดกับกระดูกเชิงกรานตรงส่วนปลายด้านบนและเหนือต่อข้อเข่าอีกจุดหนึ่ง การรักษานั้นจะต้องใช้ความอดทน, พัก, ยาบรรเทาอาการปวด และค่อยๆ กลับไปใช้ทำกิจกรรมตามปกติ การบาดเจ็บที่รุนแรงนั้นการซ่อมแซมและกลับไปใช้ตามปกติจะเกิดได้ช้า

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

บรรเทาอาการในทันที

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ประคบเย็นในบริเวณที่บาดเจ็บให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อป้องกันการบวม, ยับยั้งการเลือดออกใต้ผิวหนัง และหลีกเลี่ยงการฟกช้ำ [1]
    • ประคบเย็นทุก 2-3 ชั่วโมง แต่ละครั้งนาน 15 นาที ภายใน 24-72 ชั่วโมงแรกหลังการบาดเจ็บ
    • หลีกเลี่ยงการประคบน้ำแข็งที่ผิวหนังโดยตรง ให้ใช้ถุงประคบ, น้ำแข็งบดใส่ถุง, หรือถุงผักแช่แข็งจำพวกถั่วมาห่อด้วยผ้าหรือผ้าขนหนูก่อน
    • ประคบเย็นต่อเนื่องไปสัก 2-3 วันหลังจากบาดเจ็บ, และประคบ 3-4 ครั้งต่อวันเมื่อกลับไปทำกิจกรรมตามปกติ และประคบโดยตรงแม้ทำกิจกรรมเบาๆ [2]
  2. ความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ขาหนีบนั้นจะมากแค่ไหนขึ้นอยู่กับการหลีกเลี่ยงกิจกรรมต่างๆ ระหว่างวัน [3]
    • การฉีกขาดในระดับน้อยถึงปานกลางต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ในการพัก หากรุนแรงกว่านั้นต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6-8 สัปดาห์หรือนานกว่านั้นเพื่อให้ฟิ้นฟูกลับมาได้ดีพอ
    • ใช้เวลาอย่างน้อย 5-7 วันในการงดเว้นกิจกรรมทางกายระหว่างวันเพื่อให้เริ่มฟื้นฟูอาการบาดเจ็บ ประเมินการบาดเจ็บก่อนที่จะตัดสินใจค่อยๆ กลับไปเล่นกีฬา
  3. การรัดจะช่วยให้ลดการบวมที่จะเกิดขึ้นและช่วยกระชับกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บได้ [4]
    • การใช้เฝือกพิเศษที่ออกแบบมาสำหรับบริเวณขาหนีบจะได้ผลเป็นอย่างดี อุปกรณ์นี้สร้างมากระชับพอดีกับพื้นที่บริเวณขาหนีบโดยไม่แน่นเกินไป ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้การไหลเวียนเลือกบริเวณนั้นไม่ดีได้ เฝือกนี้หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป
    • พันผ้ายืดหรือเทปพยุงก็สามารถใช้ได้ แต่ใช้โดยต้องระวังไม่ให้รัดบริเวณนั้นแน่นเกินไป
  4. วิธีนี้ช่วยป้องกันการบวมและกระตุ้นการไหลเวียนเลือด [5]
    • ใช้ม้วนผ้าเช็ดตัว, ผ้าห่ม, หรือหมอนมารองขาข้างที่บาดเจ็บให้ยกสูงให้บ่อยเท่าที่จะทำได้ โดยให้ยกบริเวณที่บาดเจ็บให้อยู่เหนือต่อแนวข้อสะโพก [6]
  5. หลังจากผ่าน 2-3 วันแรกของการบาดเจ็บไป หากมีเวลาให้ประคบร้อนร่วมไปกับการประคบเย็น [7]
    • ความร้อนสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดและความไม่สบายจากการบาดเจ็บได้ [8]
  6. รับประทานยาบรรเทาอาการปวดที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ. ยาจะช่วยลดการอักเสบและอาการปวดได้ ได้แก่ ibuprofen, naproxen, และ aspirin [9]
    • พาราเซตามอลเป็นยาบรรเทาอาการปวดที่พบได้ทั่วไปที่มีฤทธิ์ช่วยเรื่องอาการปวดแต่ไม่ได้ช่วยเรื่องการอักเสบ
    • ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากหรือคำแนะนำของแพทย์
  7. การฉีกขาดของขาหนีบหรือการบาดเจ็บสามารถมีอาการที่เหมือนกันได้กับสาเหตุอื่น เช่น ไส้เลื่อนจากการเล่นกีฬา . [10] โดยต้องแน่ใจว่าอาการที่เป็นอยู่เกิดจากกล้ามเนื้อขาหนีบฉีกขาดจริงๆ ไม่ใช่สาเหตุอื่น
    • อาการที่มักพบจากการกล้ามเนื้อขาหนีบฉีกขาดหรือบาดเจ็บ ได้แก่ รู้สึกตึงหรือเป็นตะคริว, เจ็บแบบกะทันหันหรือเจ็บแปล๊บ, และเจ็บเมื่อกล้ามเนื้อหดตัวหรือถูกยืด [11]
    • การบาดเจ็บที่รุนแรงสามารถทำให้ปวดมากได้แม้เดินเฉยๆ [12]
    • อาการไส้เลื่อนในนักกีฬาจะวินิจฉัยได้โดยจะมีอาการปวดที่หน้าท้องส่วนล่างและขาหนีบ ปวดขณะไอหรือจามและปวดขาหนีบเพิ่มขึ้นเมื่อขยับตัว. [13]
    • กระดูกหักจากการเล่นกีฬาหนักๆ ที่กระดูกต้นขาหรือกระดูกหัวเหน่าอาจทำให้ปวดที่ขาหนีบและร้าวไปถึงก้นได้ [14] โดยจะรู้สึกปวดในช่วงเย็นของวัน, มีจุดกดเจ็บและบวม, และอาการจะไม่ดีขึ้นแม้พัก, ประคบเย็น, รัด, และยกขาสูง [15]
    • หากมีอาการปวดบริเวณอัณฑะ, ชา, รู้สึกยิบๆ, บวมเพิ่มขึ้น, มีปัญหาด้านการปัสสาวะ, และมีไข้ ควรไปพบแพทย์ทันทีเพื่อหาสาเหตุอื่นที่แท้จริง
  8. หากมีอาการเพียงเล็กน้อยและไม่แน่ใจว่าบาดเจ็บอะไรกันแน่ การลองทำท่าอาจจะช่วยให้ทราบได้ว่าบาดเจ็บที่ขาหนีบหรือไม่ [16]
    • ออกกำลังกายท่าหุบขาที่จะช่วยให้แยกได้ว่าการบาดเจ็บที่ขาหนีบนั้นให้ใส่น้ำหนักเล็กน้อยที่ขาเช่น medicine ball ไว้ระหว่างขาสองข้าง ให้ออกแรงหนีบขาสองข้างเข้าหากันเบาๆ หากทำแล้วเจ็บมักเกิดจากกล้ามเนื้อขาหนีบฉีกขาด [17]
  9. อาการปวดตื้อๆ และปวดหน่วงที่จะแย่ลงเมื่อขยับตัวหรือออกกำลังกายอาจบ่งบอกได้ว่าเป็นไส้เลื่อนมากกว่าเจ็บที่ขาหนีบ [18]
    • อาการอื่นของไส้เลื่อนคือบริเวณท้องส่วนล่างหรือเหนือต่อขาหนีบป่องออก ไส้เลื่อนเกิดได้ในจุดที่บอบบางของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อแนวผนังหน้าท้องทำให้ลำไส้ถูกดันผ่านออกมาได้ [19]
    • ไส้เลื่อนเป็นภาวะที่ต้องไปพบแพทย์ [20]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ไปพบแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีกล้ามเนื้อ 5 มัดที่ช่วยในการเคลื่อนไหวขา ซึ่งเรียกว่ากลุ่มกล้ามเนื้อหุบขา [21]
    • การหุบขาหมายถึงการหมุนขาเข้าหาแนวกึ่งกลางของลำตัว ผู้คนที่มักมีประสบการณ์บาดเจ็บกล้ามเนื้อหุบขานี้คือนักกีฬาที่วิ่ง, เตะ, วิ่งเร็ว, เปลี่ยนทิศทางกะทันหัน, หรือออกแรงมากๆ ขณะเคลื่อนไหวแบบไขว้ขา เช่น การเตะในกีฬาฟุตบอล [22]
    • กล้ามเนื้อหุบขา 5 มัดมีชื่อเรียกว่า pectineus, adductor brevis, adductor longus, gracilis และ adductor magnus [23]
  2. การบาดเจ็บที่ขาหนีบมีระดับขั้นความรุนแรงอยู่ [24]
    • การบาดเจ็บระดับ 1 คือบาดเจ็บเล็กน้อยจากการยืดมากเกินไปของกล้ามเนื้อ 1 มัดหรือมากกว่านั้นจากทั้งหมด 5 มัด โดยมีการฉีกขาดเล็กๆ ของเส้นใยกล้ามเนื้อ [25]
    • การบาดเจ็บระดับ 2 คือระดับที่พบมากที่สุดและมีการฉีกขาดบางส่วนของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ [26]
    • การบาดเจ็บระดับ 3 คือระดับรุนแรงที่สุด ทำให้ปวดมากและเป็นสาเหตุมาจากการฉีกขาดแบบทั้งหมดหรือฉีกขาดสมบูรณ์ของกล้ามเนื้อ 1 มัดหรือมากกว่านั้นจากทั้งหมด 5 มัด [27]
  3. ระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการฟื้นตัวขึ้นกับระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บ [28] ในผู้ป่วยหลายคนใช้เวลานานถึง 6-8 สัปดาห์หรือนานกว่านั้นเพราะต้องให้เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อซ่อมแซมได้สมบูรณ์
    • เป็นเรื่องสำคัญที่คุณจะต้องรอตามระยะเวลาในการฟื้นตัวที่แพทย์แนะนำเพื่อป้องกันการกลับไปบาดเจ็บอีกครั้ง
  4. หากคุณรู้สึกว่าอาการแย่ลงหรือไม่มีสัญญาณของความก้าวหน้าของอาการตามระยะเวลาที่เหมาะสม อาจเป็นเพราะสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดอาการปวด [29]
    • ไปพบแพทย์ตามคำแนะนำเพื่อประเมินอาการผิดปกติที่ยังมีอยู่และตรวจหาสาเหตุอื่นที่อาจเป็นไปได้ [30]
    • ติดตามอาการปวด. หากอาการดีขึ้นเพียงเล็กน้อยหรือไม่ดีขึ้น หรืออาการปวดมากขึ้นหลังจากวันแรกๆ ของการบาดเจ็บ ให้ไปพบแพทย์ [31]
  5. มีบริเวณที่เป็นตุ่มปมขึ้นมา, มีก้อน, หรือบวมในบริเวณอัณฑะหรือบริเวณใกล้เคียง ให้รีบไปพบแพทย์ [32]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ป้องกันการบาดเจ็บที่จะเกิดตามมา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้ความรุนแรงของอาการเป็นแนวทางกลับไปทำกิจกรรม โดยการกลับไปเล่นกีฬาขณะที่ยังมีอาการเจ็บสามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บตามมาได้
    • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวด อย่าเดินเร็ว, วิ่งเหยาะ, หรือวิ่ง หากยังมีอาการปวดอยู่
    • เมื่อไม่มีอาการปวดแล้ว ให้ค่อยๆ เริ่มกลับไปทำกิจกรรมเพื่อป้องกันไม่ให้บาดเจ็บเพิ่ม
  2. เมื่อเริ่มทำกิจกรรมให้ตั้งใจสังเกตอาการของร่างกายและยอมรับข้อจำกัดของร่างกาย สังเกตอาการปวดที่เกิดขึ้นมาผิดปกติจากการออกกำลังกายนั้นเป็นสัญญาณบอกว่าต้องหยุดสิ่งที่กำลังทำอยู่ [34] คุณอาจจะต้องการท้าทายร่างกายว่าจะออกกำลังกายได้แค่ไหน แต่ต้องไม่ฝืนตัวเองจนต้องกลับไปเจ็บอีกครั้ง
    • หากคุณรู้สึกปวดขณะทำกิจกรรม ให้ลดความเข้มข้นหรือระยะเวลาลงแล้วกลับไปค่อยๆ เพิ่มขึ้นมาช้าๆ [35] มันอาจจะดูน่าหงุดหงิดแต่มันจะหงุดหงิดยิ่งกว่าหากต้องกลับไปนั่งเฉยๆ จากการต้องทำให้ตัวเองกลับมาเจ็บอีกครั้ง
    • อาการปวดที่ยังมีอยู่อาจเป็นตัวบ่งบอกว่ามีโอกาสสูงที่จะกลับไปบาดเจ็บอีกหรือเป็นสัญญาณเตือนอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้กลับไปออกกำลังกายในความเข้มข้นหรือระยะเวลาที่จะเริ่มมีอาการเพิ่มขึ้น ไปพบแพทย์หากอาการปวดยังมีอยู่ [36]
  3. ทำท่าที่จะต้องใช้ในการเล่นกีฬาที่เล่นอยู่อย่างช้าๆ เพื่อเตรียมพร้อมในการกลับไปเล่นกีฬา
    • เคลื่อนไหวช้าๆ แต่ตั้งใจ หลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักหรือมีแรงต้าน แล้วประเมินดูว่าไม่มีอาการปวดก่อนจะลองทำท่านั้นจริงๆ
  4. ครูฝึกที่มีความเชี่ยวชาญในกีฬาที่คุณเล่นไม่เพียงแต่ช่วยให้หายบาดเจ็บแบบเต็มร้อย แต่ยังช่วยสอนในเรื่องของการอบอุ่นร่างกายและยืดเหยียดเพื่อป้องกันการบาดเจ็บในอนาคตได้อีกด้วย
  5. สาเหตุหลักที่ทำให้บาดเจ็บที่ขาหนีบคือขาดการอบอุ่นร่างกายและยืดเหยียดก่อนการออกกำลังกาย [37]
    • ยืดเหยียดคลายกล้ามเนื้อหุบขาและเตรียมพร้อมสำหรับกิจกรรม ขณะที่มีการอบอุ่นร่างกายอย่างเพียงพอก่อนออกกำลังกายจะทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อและพร้อมสำหรับการทำงานที่หนักขึ้น [38]
    • การนวดบริเวณดังกล่าวสามารถช่วยให้เลือดไหลเวียนและทำให้ข้อต่อพร้อมทำงาน
    • ทำการยืดเหยียดแบบง่ายๆ โดยตรงไปที่ขาหนีบทั้งก่อนและหลังออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา โดยนั่งบนพื้นหลังพิงกำแพง วางส้นเท้าทั้งสองข้างให้ชิดกันแล้วดึงเท้าสองข้างเข้ามาหาขาหนีบ ค่อยๆ กดเข่าสองข้างลงหาพื้นอย่างช้าๆ ยืดค้างท่านี้ไว้ 20 วินาทีและทำซ้ำอีกครั้ง [39]
  6. หลังจากกลับมาออกกำลังกายได้แล้วเมื่อผ่านไปหลายสัปดาห์ก็ให้ประคบเย็นหลังออกกำลังกาย ร่วมกับรัดและพักให้เพียงพอ [40]
    • การประคบร้อนหลังออกกำลังกายจะช่วยลดอาการปวดต่างๆ ได้ [41]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น การวิ่งบนพื้นไม่สม่ำเสมออย่างเช่น ชายหาด ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการบาดเจ็บที่ขาหนีบ
  • แม้จะไม่ใช่นักกีฬาแต่ทุกช่วงวัยก็สามารถเกิดการบาดเจ็บที่ขาดหนีบได้ โดยในคนที่อายุมากจะเป็นเรื่องความเสื่อมของข้อสะโพกซึ่งก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บและปวด ลองปรึกษาแพทย์ แม้ในช่วงอายุใดก็ตามหากคุณมีประสบการณ์การปวดกล้ามเนื้อในแนวด้านในของต้นขา
  • ลองออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำในช่วงที่ยังไม่หายดีหากยังมีอาการปวดอยู่ น้ำหนักตัวจะถูกรองรับด้วยน้ำ ดังนั้นคุณจะสามารถขยับขาได้อย่างนุ่มนวลเพื่อเริ่มในการฟื้นฟูการทำงานกล้ามเนื้อให้กลับมา
โฆษณา
  1. http://www.physioadvisor.com.au/9464750/groin-strain-adductor-strain-physioadvisor.htm
  2. http://www.physioadvisor.com.au/9464750/groin-strain-adductor-strain-physioadvisor.htm
  3. http://www.physioadvisor.com.au/9464750/groin-strain-adductor-strain-physioadvisor.htm
  4. http://www.totalperformancept.com/2013/02/15/groin-strain-or-sports-hernia/
  5. http://www.sports-health.com/sports-injuries/groin-injuries/common-types-groin-injury
  6. http://www.sports-health.com/sports-injuries/groin-injuries/common-types-groin-injury
  7. http://www.physioadvisor.com.au/9464750/groin-strain-adductor-strain-physioadvisor.htm
  8. http://www.physioadvisor.com.au/9464750/groin-strain-adductor-strain-physioadvisor.htm
  9. http://www.physioadvisor.com.au/9464750/groin-strain-adductor-strain-physioadvisor.htm
  10. http://www.physioadvisor.com.au/9464750/groin-strain-adductor-strain-physioadvisor.htm
  11. http://www.physioadvisor.com.au/9464750/groin-strain-adductor-strain-physioadvisor.htm
  12. http://www.sportsinjuryclinic.net/sport-injuries/hip-groin-pain/groin-strain
  13. http://www.sportsinjuryclinic.net/sport-injuries/hip-groin-pain/groin-strain
  14. http://www.sportsinjuryclinic.net/sport-injuries/hip-groin-pain/groin-strain
  15. http://www.mountsinai.org/patient-care/health-library/diseases-and-conditions/groin-strain
  16. http://www.mountsinai.org/patient-care/health-library/diseases-and-conditions/groin-strain
  17. http://www.mountsinai.org/patient-care/health-library/diseases-and-conditions/groin-strain
  18. http://www.mountsinai.org/patient-care/health-library/diseases-and-conditions/groin-strain
  19. http://www.mountsinai.org/patient-care/health-library/diseases-and-conditions/groin-strain
  20. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003111.htm
  21. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003111.htm
  22. http://www.mayoclinic.org/symptoms/groin-pain/basics/causes/sym-20050652
  23. http://www.mayoclinic.org/symptoms/groin-pain/basics/causes/sym-20050652
  24. http://www.mayoclinic.org/symptoms/groin-pain/basics/causes/sym-20050652
  25. http://www.physioadvisor.com.au/9464750/groin-strain-adductor-strain-physioadvisor.htm
  26. http://www.physioadvisor.com.au/9464750/groin-strain-adductor-strain-physioadvisor.htm
  27. http://www.physioadvisor.com.au/9464750/groin-strain-adductor-strain-physioadvisor.htm
  28. http://www.sportsinjuryclinic.net/sport-injuries/hip-groin-pain/groin-strain/stretching-for-a-groin-strain
  29. http://www.sportsinjuryclinic.net/sport-injuries/hip-groin-pain/groin-strain/stretching-for-a-groin-strain
  30. http://www.sportsinjuryclinic.net/sport-injuries/hip-groin-pain/groin-strain/stretching-for-a-groin-strain
  31. http://www.physioadvisor.com.au/9464750/groin-strain-adductor-strain-physioadvisor.htm
  32. http://www.mountsinai.org/patient-care/health-library/diseases-and-conditions/groin-strain

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 18,069 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา