ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ปวดฟันอยู่ใช่ไหม? เมื่อคุณกำลังเผชิญกับอาการปวดฟันตั้งแต่ระดับปานกลางไปถึงปวดรุนแรง แน่นอนว่าคุณจะต้องมองหาวิธีการบรรเทาอาการปวดที่ได้ผลและรวดเร็วที่สุด คุณอาจจะต้องปรึกษาทันตแพทย์ หากคุณยังปวดฟันไม่หายหรืออาการปวดแย่ลงกว่าเดิม แต่ในระหว่างนี้ คุณสามารถลดอาการปวดด้วยการปฐมพยาบาลและการรักษาง่ายๆ ด้วยตนเองได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ปฐมพยาบาล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นี่เป็นวิธีรักษาแรกๆ ที่คุณสามารถทำได้ ทำความสะอาดฟันก่อนจะใช้วิธีรักษาอื่นๆ ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดเศษอาหารที่ติดตามซอกฟันอย่างระมัดระวังในบริเวณที่มีอาการปวดฟัน [1]
    • ใช้ไหมขัดซอกฟันทั้งสองด้านอย่างระมัดระวังเพื่อเอาเศษอาหารออก [2]
    • หลังจากทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟันแล้วให้บ้วนปากจนสะอาด กลั้วปากด้วยน้ำอุ่นเพื่อให้เศษอาหารหลุดออก เสร็จแล้วจึงบ้วนน้ำทิ้ง
  2. จนกว่าจะระวังอาการปวดได้ คุณก็ควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ทำให้รู้สึกปวดมากขึ้น ควรเคี้ยวอาหารอีกด้านหนึ่งของช่องปากจนกว่าอาการปวดจะหาย
    • คุณอาจจะลองอุดโพรงหรือช่องในฟันที่ทำให้เกิดอาการปวด ถ้าฟันของคุณแตกหรือถูกทำลาย คุณอาจอุดด้วยหมากฝรั่งหรือขี้ผึ้งสำหรับฟันจนกว่าคุณจะพบทันตแพทย์ [3]
    • ร้านขายยาหลายแห่งมีชุดอุดฟันชั่วคราวขาย มันทำจากซิงค์ออกไซด์หรือส่วนประกอบที่คล้ายกัน มันจะช่วยลดแรงกดที่กระทบฟันและอยู่ได้นานถึงสองสัปดาห์ โดยมีราคาอยู่ที่ประมาณ 400 บาท
    • คุณสามารถใช้ขี้ผึ้งอุดป้องกันไว้ก่อนได้
    • เพื่อป้องกันอาการเสียวฟัน ใช้สำลีมากดที่ฟันในระหว่างทานอาหารได้
  3. รับประทานยาแก้ปวดที่สามารถหาซื้อได้ด้วยตนเองตามร้านขายยา เช่น อะเซตามิโนเฟน/พาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟ่น เพื่อลดอาการปวดจนกว่าคุณจะไปพบทันตแพทย์ได้ อ่านวิธีใช้ยาจากฉลากเพื่อรับประทานยาในปริมาณที่เหมาะสม [4]
    • โดยปกติ จะรับประทานยาแก้ปวด 1-2 เม็ดทุกๆ 4-6 ชั่วโมง ปริมาณยาที่แน่นอนนั้นขึ้นอยู่กับตัวยาและยี่ห้อ
    • ยาเหล่านี้มีขายตามร้านขายยาทั่วไป โดยแผงหนึ่งจะมีราคาไม่กี่สิบบาท
    • อย่าใช้ยาแอสไพรินแบบทาหรือยาแก้ปวดอื่นๆ กับเหงือก เพราะจะทำให้เหงือกเสียหายได้ [5]
  4. ทายาที่ใช้เฉพาะที่บนฟันหรือเหงือกที่ทำให้เกิดอาการปวด ตัวยาจะทำให้เกิดอาการชาและบรรเทาอาการปวดลงได้ ตัวยาสำคัญคือเบนโซเคน ให้อ่านฉลากเพื่อเรียนรู้ปริมาณยาที่ต้องใช้และวิธีใช้ยา [6]
    • ยาทาเฉพาะที่อย่าง Orajel มีขายตามร้านขายยาทั่วไป โดยมีราคาประมาณ 200 บาท
    • ใช้ยาแก้ปวดที่ใช้สำหรับช่องปากเท่านั้น ยาทาแก้ปวดประเภทอื่นอาจเป็นอันตรายได้เมื่อรับประทานเข้าไป
    • การใช้ยาเบนโซเคนอาจทำให้เกิดภาวะอันตรายที่หาได้ยากเรียกว่า Methemoglobinemia ได้ ซึ่งภาวะนี้จะทำให้ปริมาณออกซิเจนในเลือดลดลง เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ไม่ควรใช้ยาที่มีส่วนผสมของเบนโซเคน และไม่ควรใช้ยาเกินขนาดที่แนะนำบนฉลาก [7]
  5. อีกวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการปวดก็คือการทำให้ชาด้วยความเย็น อุณหภูมิที่ลดต่ำลงจะลดปริมาณเลือดที่ไหลออกมา เมื่อเลือดไหลน้อยลงก็จะปวดน้อยลงเช่นกัน [8]
    • นำก้อนน้ำแข็งห่อด้วยถุงพลาสติกหรือผ้าบางๆ มาประคบกรามบริเวณที่มีอาการปวดฟันประมาณ 10-15นาที
    • หยุดพักหลังประคบได้ 10-15 นาที จากนั้นประคบบริเวณที่ปวดต่อตามความจำเป็น
    • ตรวจดูว่าบริเวณที่ปวดกลับไปเป็น “ปกติ” หรือยัง ก่อนจะประคบอีกครั้ง ไม่เช่นนั้นอาจจะเป็นการทำให้บาดเจ็บเพิ่มได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ใช้ของในบ้านบรรเทาอาการปวดชั่วคราว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กานพลูเป็นสิ่งที่คนนำมาใช้บรรเทาอาการปวดฟันตั้งแต่ในอดีต เพราะมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการชาและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สามารถใช้กานพลูที่เป็นดอก ผง หรือน้ำมันเพื่อบรรเทาอาการปวด [9]
    • ถ้าใช้ผงกานพลู ให้ใช้มือสะอาดหยิบผงขึ้นมาหนึ่งหยิบมือมาทาบริเวณเหงือกที่ปวดและแก้ม เพราะกานพลูจะผสมกับน้ำลายและออกฤทธิ์ชา
    • ถ้าใช้กานพลูทั้งดอก ใช้มือสะอาดวางกานพลูสักสองหรือสามดอกในช่องปากใกล้บริเวณที่ปวด เมื่อน้ำลายทำให้กานพลูนิ่มแล้วให้เคี้ยวเบาๆ เพื่อให้น้ำมันกานพลูออกมากขึ้น
    • อีกทางเลือกหนึ่งคือ ผสมน้ำมันกานพลูสองถึงสามหยดกับน้ำมันมะกอกครึ่งช้อนชา (2.5 มิลลิลิตร) นำก้อนสำลีสะอาดจุ่มน้ำมันที่ผสม แล้วนำไปคลึงบริเวณฟันหรือเหงือกที่ปวด
  2. กำจัดแบคทีเรียและบรรเทาอาการปวดด้วยน้ำเกลือ เกลือไม่ได้ออกฤทธิ์ในการรักษา แต่จะช่วยกำจัดแบคทีเรียและทำให้เหงือกที่บวมรอบๆ ฟันซี่ที่ปวดชุ่มชื้นขึ้น ซึ่งช่วยลดอาการปวด [10]
    • ผสมเกลือ 1 ช้อนชา (5 มิลลิลิตร) กับน้ำอุ่น 250 มิลลิลิตร ละลายเกลือในน้ำให้หมดก่อนนำไปใช้
    • อมน้ำเกลือประมาณ 30 วินาทีแล้วบ้วนปาก สามารถทำซ้ำได้เมื่อต้องการ
    • คุณอาจจะอยากบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดหลังจากบ้วนด้วยน้ำเกลือแล้ว ให้อมน้ำก๊อกอีก 30 วินาที
  3. ผักทั้งสองอย่างเป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับบรรเทาอาการปวดฟัน และเชื่อว่ามีฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรียในช่องปาก มันอาจจะทำให้มีกลิ่นปากบ้าง แต่มันจะช่วยฆ่าเชื้อโรคและบรรเทาอาการปวดได้ชั่วคราว [11]
    • ยัดกานพลูหรือหัวหอมชิ้นเล็กๆ บริเวณระหว่างฟันหรือเหงือกกับกระพุงแก้มไว้จนกว่าอาการปวดจะหายไป
    • อีกทางเลือกคือ หั่นหัวหอมเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วแปะที่ฟันซี่ที่ปวด
  4. เปลือกรากหยางเมยเชื่อกันว่าเป็นยาปฏิชีวนะจากธรรมชาติและมีสารแทนนินกับฟลาโวนอยด์ ทำให้มันออกฤทธิ์เหมือนยาห้ามเลือด เมื่อนำหยางเหมยมาผสมกับน้ำส้มสายชูให้เป็นเนื้อครีมแล้วนำมาทา จะช่วยบรรเทาอาการปวดฟันและสร้างความแข็งแรงให้แก่เหงือก [12]
    • บดเปลือกหยางเหมยให้ได้ปริมาณที่หนาจากก้นภาชนะประมาณ 1 นิ้ว (2.5 เซนติเมตร) แล้วผสมกับน้ำส้มสายชู 1/4 ช้อนชา (1.25 มิลลิลิตร) เติมเปลือกหยางเหมยหรือน้ำส้มสายชูเท่าที่จำเป็น เพื่อให้เป็นเนื้อเหนียว
    • ทาบริเวณที่ปวดในช่องปากโดยตรงและทิ้งไว้จนกว่าอาการปวดจะลดลง แล้วบ้วนปากด้วยน้ำอุ่น
    • คุณยังสามารถใช้ยาสีฟันชนิดป้องกันอาการเสียวฟันตรงนี้ก็ได้ คุณควรทิ้งมันบนฟันนานเท่าที่จะทำได้
  5. ถ้าคุณมีอาการเสียวฟัน ผสมขิงบด พริกชี้ฟ้าและน้ำเข้าด้วยกัน ใช้เป็นยาทาฟันซี่ที่เสียว เพื่อลดอาการปวด [13] ส่วนผสมเหล่านี้จะออกฤทธิ์ได้ดีเมื่อนำมาใช้ด้วยกัน
    • ผสมขิงบดหนึ่งหยิบมือกับพริกชี้ฟ้าหนึ่งหยิบมือแล้วเติมน้ำจนกว่าจะผสมกันเป็นเนื้อเหนียวได้ [14]
    • จุ่มก้อนสำลีสะอาดลงในส่วนผสม แล้วทาบนฟันโดยตรงและค้างมือไว้จนกว่าอาการปวดจะหายหรือนานเท่าที่คุณทนได้ คุณอาจจะไม่ชอบรสและกลิ่นของส่วนผสมนัก
    • ทาแต่บริเวณฟันที่ปวดเท่านั้น ห้ามสัมผัสเหงือก เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคือง
  6. มดยอบเป็นยางไม้ที่ออกมาจากต้นไม้มีหนามบางชนิด และใช้เป็นส่วนผสมในการทำของบางอย่าง เช่น น้ำหอม กำยาน และยา มดยอบมีฤทธิ์สมานแผลซึ่งช่วยลดอาการบวมและยังสามารถฆ่าแบคทีเรียได้ จึงมีการใช้ทิงเจอร์มดยอบบรรเทาอาการปวดฟันมาเป็นเวลานานแล้ว [15]
    • ต้มผงมดยอบหนึ่งช้อนชา (5 มิลลิลิตร) กับน้ำ 2 ถ้วย (500 มิลลิลิตร) ในหม้อใบเล็กประมาณ 30 นาที กรองของเหลวแล้วปล่อยให้เย็น
    • ผสมน้ำที่ได้หนึ่งช้อนชา (5 มิลลิลิตร) กับน้ำครึ่งถ้วย (125 มิลลิลิตร) แล้วนำมาบ้วนปากวันละ 5-6 ครั้ง
  7. เช่นเดียวกับเปลือกรากหยางเหมย ชาดำมีสารแทนนินที่ช่วยลดอาการบวมได้ ชาสมุนไพรเปปเปอร์มินต์ก็มีฤทธิ์อ่อนๆ ที่ทำให้รู้สึกชาและบรรเทาอาการปวดได้เช่นกัน [16] ชาเหล่านี้มักจะใช้เป็นส่วนผสมในยาสามัญประจำบ้านสำหรับบรรเทาอาการปวดฟัน
    • นำถุงชาไปอุ่นในไมโครเวฟโดยใส่ในถ้วยที่มีน้ำประมาณ 30 วินาทีเพื่ออุ่นถุงชา บีบน้ำที่ชุ่มออก
    • วางถุงชาบนบริเวณที่มีอาการปวดฟันหรือเหงือกและกัดเบาๆ จนกว่าอาการปวดจะหายไป
  8. วิธีนี้ ไม่ใช่ การดื่มเพื่อบรรเทาอาการปวด เครื่องดื่มที่มีฤทธิ์แรงอย่าง วอดก้า บรั่นดี วิสกี้ และเหล้ายิน จะทำให้บริเวณที่ถูกสัมผัสชาและลดอาการปวดได้ [17]
    • จุ่มสำลีสะอาดในเครื่องดื่มอย่างบรั่นดีหรือวอดก้า แล้วนำไปประคบกับฟันบริเวณที่ปวด หรือจิบวิสกี้เล็กน้อยและอมเครื่องดื่มในแก้มข้างที่ปวด
    • วิธีนี้ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดชั่วคราว และห้ามใช้รับบิ้งแอลกอฮอล์แทน เพราะจะเป็นอันตรายได้หากเผลอกลืนลงไป
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

รักษาทางทันตกรรมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การปฐมพยาบาลไม่ใช่การรักษาอย่างถาวร แต่เป็นเพียงการบรรเทาอาการเท่านั้น ถ้าอาการปวดฟันไม่หายไป แสดงว่าอาจมีสาเหตุที่ต้องรับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ [18]
    • อาการปวดฟันของคุณอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาที่ร้ายแรงได้ เช่น เคลือบฟันแตก ฟันผุ หรือติดเชื้อ
    • พบทันตแพทย์หากการปฐมพยาบาลไม่ได้ผล มีอาการบวม เป็นหนอง มีไข้ เป็นอาการที่เกิดจากการบาดเจ็บ หรือมีอาการกลืนอาหารได้ยาก และควรได้รับการรักษาหากมีอาการปวดกรามร่วมกับเจ็บหน้าอก เพราะอาจจะเป็นสัญญาณของหัวใจล้มเหลวได้ [19]
  2. แพทย์อาจรักษาด้วยการอุดฟันหากอาการปวดฟันของคุณเกิดจากฟันผุซึ่งเกิดจากกรดของแบคทีเรียกินเคลือบฟันจนเห็นรากฟัน หรือเกิดจากวัสดุอุดฟันหลุด [20]
    • หลังจากฉีดยาจนฟันและเหงือกชาแล้ว แพทย์จะขูดฟันส่วนที่ผุออกและอุดด้วยวัสดุโลหะอมัลกัมหรือวัสดุสีเหมือนฟัน
    • คุณสามารถเลือกวัสดุอุดฟันได้ วัสดุสีเหมือนฟันมักจะทำด้วยเรซินจากพลาสติก แก้ว หรือวัสดุเดียวกับที่ใช้ทำถ้วยชาม มันจะมีสีที่ใกล้เคียงกับฟันมาก ส่วนอมัลกัมจะทำจากเงินซึ่งแข็งแรงกว่า แต่สีจะไม่กลืนไปกับฟัน [21]
    • เมื่อเวลาผ่านไปวัสดุอุดฟันอาจแตกหรือหลุด แพทย์จะนำวัสดุอุดฟันออก ขูดส่วนที่เกิดการผุใหม่ออก และอุดฟันใหม่
  3. การครอบฟันจะใช้กับฟันที่เสียหายแต่ยังไม่หลุด ฟันครอบที่สร้างขึ้นจะคืนรูปร่างเดิมให้กับฟันเสียและทำให้ใช้งานได้ดังเดิม นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นอีกได้ด้วย แพทย์อาจต้องใช้วิธีครอบฟันหากเกิดฟันผุที่รุนแรง เนื้อเยื่อฟันอักเสบ ฟันสึกจากการเสียดสี ฟันร้าว หรือการติดเชื้อที่รุนแรง [22]
    • ถ้าเกิดฟันผุรุนแรงหรือเสียหายไปถึงรากฟัน การรักษาด้วยการอุดฟันอาจไม่เพียงพอ จึงอาจใช้วิธีครอบฟันแทน
    • ปกติแล้วแพทย์จะให้ยาชากับคุณ แล้วจะนำเอาฟันส่วนที่ผุออก และแทนที่ด้วยฟันครอบที่พิมพ์มาจากฟันของคุณ ตัวครอบทำมาจากวัสดุเดียวกับที่ใช้ในการอุดฟัน
  4. อาการปวดอาจไม่ได้เกิดจากฟัน แต่เกิดจากเหงือกของคุณแทน ถ้าอาการปวดเกิดจากเหงือกร่น เคลือบฟันและเส้นประสาทก็จะเผยออกมาและทำให้รู้สึกเสียวฟัน [23]
    • ถ้าอาการปวดเกิดจากเหงือกร่น แพทย์จะแนะนำการดูแลรักษาเหงือกให้ บางครั้งเหงือกร่นเกิดจากการดูแลฟันไม่ถูกสุขลักษณะหรือดูแลไม่เพียงพอ แพทย์อาจจะแนะนำให้คุณขัดฟัน ใช้ขนแปรงนุ่ม หรือใช้ยาสีฟันอย่างเซ็นโซดายน์
    • ในกรณีรุนแรง แพทย์อาจส่งคุณไปรับการรักษาจากศัลยแพทย์ช่องปากหรือปริทันตทันตแพทย์ เพื่อปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ โดยการนำเนื้อเยื่อจากเพดานปากไปปลูกถ่ายตรงเหงือกที่เสียหาย เนื้อเยื่อจะช่วยปกป้องฟัน [24]
    • กระบวนการนี้จะป้องกันคุณจากปัญหารากฟันในอนาคต และก็ยังเป็นกระบวนการเสริมความมั่นใจให้คุณเวลายิ้มอีกด้วย
  5. หากอาการปวดฟันไม่ได้เกิดจากฟันผุหรืออาการบาดเจ็บ ก็อาจจะเกิดจากอาการเสียวฟันจากการที่เคลือบฟันหลุด การรักษาบางอย่างจะช่วยให้เกิดอาการเสียวฟันน้อยลงได้ [25]
    • ยาระงับอาการเสียวฟันเป็นยาใช้เฉพาะที่ที่สั่งโดยแพทย์หรือเภสัชกร ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยลดอาการเสียวที่เกิดจากเส้นประสาทในฟัน เมื่ออาการเสียวจากเส้นประสาทลดลง อาการปวดก็จะลดลงเช่นกัน
  6. อาการปวดอาจจะมาจากการติดเชื้อในเนื้อฟันหรือรากฟัน คุณจะต้องรักษาก่อนที่การติดเชื้อจะทำให้ฟันเสียหรือลามไปจุดอื่น [26]
    • ใช้ยาปฏิชีวนะที่สั่งโดยแพทย์หรือเภสัชกรก็ต่อเมื่อมีการติดเชื้อในช่องปาก
    • การติดเชื้อมักมีสาเหตุจากการอักเสบเนื่องจากมีการผุหรือการบาดเจ็บ
  7. ถ้าอาการปวดเกิดจากฟันติดเชื้อหรือถูกทำลายอย่างรุนแรงหรือฟันคุด แพทย์อาจต้องถอนฟันซี่นั้นๆ นี่เป็นทางเลือกสุดท้าย เมื่อถอนฟันไปแล้ว คุณก็จะเสียฟันซี่นั้นตลอดกาล
    • ฟันคุดมักจะถูกถอนออกเพราะทำให้ฟันในช่องปากเบียดกัน และเมื่อฟันเบียดกันก็จะเกิดแรงดันขึ้นซึ่งทำให้อาการปวดยิ่งรุนแรงหรือติดเชื้อได้
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

การป้องกันไม่ให้อาการปวดฟันกลับมา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพื่อป้องกันปัญหาช่องปาก คุณควรฝึกแปรงฟันหรือทำความสะอาดอย่างถูกสุขลักษณะ แล้วฟันของคุณจะสุขภาพดี แข็งแรง และไร้อาการปวด [27]
    • แปรงฟันวันละสองครั้งและขัดฟันวันละครั้ง พบทันตแพทย์เป็นประจำทุกปีหรือทุกๆ 6 เดือนเพื่อตรวจสภาพฟัน แพทย์จะสามารถแนะนำการดูแลที่เหมาะสมเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกินขึ้นได้ [28]
    • แม้ว่าการแปรงฟันหรือขัดไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขปัญหาฟันผุได้ แต่สามารถช่วยป้องกันปัญหาฟันผุที่อาจเกิดในอนาคต และช่วยรักษาการสูญเสียแร่ธาตุในชั้นเคลือบฟัน ซึ่งนำไปสู่การเกิดฟันผุ
    • พกแปรงสีฟันติดกระเป๋า เพื่อจะได้แปรงฟันได้ทุกที่ หากคุณไม่สามารถแปรงได้ อย่างน้อยก็ควรบ้วนปาก
  2. สุขภาพฟันขึ้นอยู่กับว่าคุณกินอะไรเข้าไป เมื่อคุณกินน้ำตาล มันก็จะทำปฏิกิริยากับแบคทีเรียและสร้างกรดทำลายเคลือบฟัน ดังนั้นเพื่อฟันที่แข็งแรง คุณควรลดปริมาณน้ำตาลเสีย [29]
    • ดื่มน้ำอัดลม น้ำผลไม้ผสมน้ำตาล ชาหวาน หรือกาแฟใส่น้ำตาลให้น้อยลง ดื่มน้ำเปล่าเพิ่มขึ้นแทน
    • กินอาหารขยะให้น้อยลง รวมถึงลูกกวาดกับขนมอบ
    • หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่เป็นกรดและน้ำผลไม้ เช่น น้ำส้ม โคล่า และไวน์ เลือกกินอาหารที่เป็น “ด่าง” หรืออาหารที่ไม่เป็นกรดแทน เช่น โยเกิร์ต ชีส หรือนม
  3. ถ้าสาเหตุของอาการปวดฟันเกิดจากการเสียวฟัน ให้เปลี่ยนมาใช้แปรงสีฟันและยาสีฟันสำหรับผู้ที่มีอาการเสียวฟัน คุณสามารถหาซื้อไปตามร้านขายยาทั่วไป
    • การเสียวฟันมักเกิดจากเหงือกร่น เวลาเหงือกร่นจะทำให้เนื้อฟันที่อยู่ใต้เคลือบฟันถูกเปิดออก ยาสีฟันสำหรับผู้มีอาการเสียวฟันจะทำความสะอาดฟันชั้นใน ด้วยส่วนผสมที่มีความอ่อนโยนกว่า
    • เปลี่ยนไปใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงนุ่ม หากอาการเสียวฟันเกิดจากเหงือกร่น แปรงสีฟันที่มีขนแปรงนุ่มจะช่วยถนอมเหงือก
    • แปรงสีฟันที่แข็งปานกลางถึงมากมักจะช่วยกำจัดฟันผุได้ดี แต่แปรงสีฟันที่นุ่มจะเหมาะกับผู้ที่ปวดฟันเนื่องจากเหงือกมีปัญหาหรือปัญหาอื่นในทำนองเดียวกัน
    โฆษณา

สิ่งที่ต้องใช้

  • ไหมขัดฟัน
  • น้ำ
  • ยาแก้ปวด (ประเภททาเฉพาะที่และสำหรับช่องปาก)
  • ที่ประคบเย็น
  • สำลี
  • กานพลู
  • เกลือ
  • กระเทียม
  • หัวหอม
  • น้ำต้นอ่อนข้าวสาลี
  • น้ำส้มสายชู
  • หยางเหมย
  • ขิงผง
  • พริกชี้ฟ้า
  • มดยอบผง
  • ถุงชาดำหรือชาเปปเปอร์มินต์
  • บรั่นดี วอดก้า หรือวิสกี้
  • แปรงสีฟัน
  • เครื่องป้องกันฟัน


  1. http://www.arizonafamilydental.com/blog/toothache-home-remedies-really-work/
  2. https://www.humana.com/learning-center/health-and-wellbeing/healthy-living/toothaches
  3. http://www.rapidhomeremedies.com/remedies-for-toothache-relief.html
  4. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-961-ginger.aspx?activeingredientid=961&activeingredientname=ginger
  5. http://www.rd.com/health/conditions/home-remedies-for-toothache/
  6. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-570-myrrh.aspx?activeingredientid=570&activeingredientname=myrrh
  7. http://www.arizonafamilydental.com/blog/toothache-home-remedies-really-work/
  8. http://www.arizonafamilydental.com/blog/toothache-home-remedies-really-work/
  9. http://www.nhs.uk/conditions/Toothache/Pages/Introduction.aspx
  10. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-toothache/basics/art-20056628
  11. http://www.cosmeticdentistryguide.co.uk/toothache.html
  12. http://www.webmd.com/oral-health/guide/dental-health-fillings
  13. http://www.cda-adc.ca/en/oral_health/procedures/crowns/
  14. http://www.webmd.com/oral-health/guide/receding_gums_causes-treatments
  15. http://www.webmd.com/oral-health/guide/gum-tissue-graft-surgery
  16. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3010026/
  17. http://www.webmd.boots.com/oral-health/guide/toothaches
  18. http://www.colgate.com/en/us/oc/oral-health/life-stages/adult-oral-care/article/what-is-good-oral-hygiene
  19. http://www.bbc.com/future/story/20140926-how-often-must-we-see-a-dentist
  20. https://www.dentalhealth.org/tell-me-about/topic/sundry/diet

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 497,357 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา