ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

มีการประเมินกันว่า เด็กอายุไม่เกิน 3 ปีราว 70% มีอาการหูอักเสบอย่างน้อย 1 ครั้ง [1] และผู้ใหญ่จำนวนไม่น้อยก็เคยมีอาการหูอักเสบและปวดหูเช่นกัน อาการปวดหูขั้นรุนแรงนั้นจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ เพราะถ้าหากปล่อยไว้อาจทำให้สูญเสียการได้ยินถาวร แต่ถ้ามีอาการแค่เล็กน้อยก็สามารถดูแลตัวเองที่บ้านได้ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำทางการแพทย์หรือวิธีการรักษาด้วยตนเองที่ใช้กันมาหลายศตวรรษ แต่ก็อย่าใช้วิธีการรักษาด้วยตนเองที่บ้านแทนคำแนะนำทางการแพทย์ และปรึกษาแพทย์หากคุณไม่แน่ใจเกี่ยวกับคำแนะนำหรือวิธีการใดๆ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ปฏิบัติตามคำแนะนำทางการแพทย์ที่ได้รับการรับรอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความร้อนช่วยบรรเทาอาการปวดได้อย่างรวดเร็ว
    • วาง อุปกรณ์ประคบ อุ่นลงบนหูข้างที่ปวด [2] คุณสามารถประคบอุ่นได้ด้วยการนำผ้าเช็ดตัวผืนเล็กจุ่มในน้ำร้อนแล้วบิด หรือจะใช้ขวดน้ำร้อนหรือถุงน้ำร้อนที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาก็ได้ อย่าให้อุปกรณ์ประคบร้อนจนถึงขั้นลวกผิวหนัง และคุณจะประคบลงบนหูนานแค่ไหนก็ได้ นอกจากนี้คุณก็อาจจะใช้น้ำแข็งประคบก่อนโดยวางถุงน้ำแข็งลงบนบริเวณที่ปวด 15 นาที จากนั้นก็ประคบอุ่นต่ออีก 15 นาที ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง
    • ถือไดร์เป่าผมห่างจากใบหู 1 ช่วงแขน ตั้งค่าไว้ที่ "อุ่น" หรือ "ต่ำ" และเป่าเข้าที่ใบหู อย่าตั้งค่าไว้ที่ร้อนหรือสูง
  2. วิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่งก็คือการรับประทานไอบรูโพรเฟนหรืออะเซตามีโนเฟน โดยรับประทานตามวิธีใช้ที่ระบุบนบรรจุภัณฑ์
    • หมายเหตุว่าตามปกติแล้วปริมาณยาสำหรับเด็กจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัว อย่าให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีรับประทานแอสไพริน เพราะการใช้แอสไพรินในเด็กสัมพันธ์กับกลุ่มอาการรายที่แม้จะพบได้ไม่บ่อยแต่ก็เป็นอันตรายถึงชีวิต เพราะมันจะไปทำลายสมองและตับ [3]
  3. ผู้ใหญ่ที่มีอาการมากว่า 5 วัน เด็กที่มีอาการมากว่า 2 วัน เด็กอายุต่ำกว่า 8 สัปดาห์ที่มีอาการปวดหู คอแข็ง หรือมีไข้ ให้ไปพบแพทย์ทันที เพราะแม้ว่าอาการปวดหูจะเป็นเรื่องที่พบได้บ่อย แต่ถ้าหากไม่รักษาก็อาจจะลุกลามเป็นการติดเชื้อขั้นรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ได้
    • ถ้าอาการปวดหูเกิดจากแบคทีเรีย แพทย์ก็จะสั่งยาปฏิชีวนะเพื่อยับยั้งการติดเชื้อและยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวด
    • อาการหูอักเสบที่ไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้สูญเสียการได้ยินถาวร เพราะฉะนั้นถ้าอาการแย่ลงหรือยังไม่หายสักที คุณต้องไปพบแพทย์
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

รักษาด้วยตนเองด้วยวิธีที่ยังไม่มีการรับรอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาการปวดหูมักเกิดจากของเหลวที่สะสมอยู่ในท่อยูสเตเชียน ซึ่งเป็นท่อเล็กๆ ที่เชื่อมต่อกับหู จมูก และคอ การทำให้จมูกโล่งจะช่วยลดแรงดันในแก้วหู [4]
    • ค่อยๆ ฉีดน้ำเกลือเล็กน้อยเข้าไปในรูจมูกของเด็ก จากนั้นก็ดูดน้ำมูกออกมา [5]
    • คุณอาจจะใช้ที่ดูดน้ำมูกเด็กหรือ Nose Frida เพื่อให้น้ำมูกไหลออกมาได้สะดวก
  2. อาการปวดหูอาจทำให้เกิดแรงดันในท่อยูสเตเชียน ซึ่งสามารถบรรเทาได้ด้วยการทำให้เกิดเสียงเป๊าะในหูเบาๆ (เหมือนแรงกดอากาศบนเครื่องบิน) วิธีนี้จะทำให้ของเหลวที่ติดอยู่ในท่อระบายออกมา [6]
    • ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้จับหูชั้นนอกตรงบริเวณที่ใกล้กับศีรษะ แล้วค่อยๆ ดึงและบิดหูไปมาให้ได้มากที่สุดแต่ไม่ถึงกับเจ็บ หรือคุณจะแกล้งหาวก็ได้ ซึ่งจะทำให้เกิดเสียงเป๊าะที่ท่อยูสเตเชียนได้เช่นกัน
  3. ไอน้ำร้อนช่วยระบายของเหลวที่อยู่ในท่อยูสเตเชียน (ซึ่งก็คือทำให้น้ำมูกไหลออกมา) ซึ่งจะลดแรงดันที่อยู่ในหูชั้นใน นอกจากนี้การใส่ยาหรือกลิ่นบางชนิดลงไปในไอน้ำยังทำหน้าที่เป็นยาชาอ่อนๆ ที่ระงับอาการปวดหูได้ด้วย
    • เตรียมสูดไอน้ำด้วยการหยดน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสลงไปหลายๆ หยด หรือใส่วิคส์หรือครีมเย็นสำหรับสูดดมอื่นๆ 1 ช้อนชาลงในชามน้ำที่เกือบเดือด
    • พันผ้าขนหนูรอบศีรษะและสูดไอน้ำผ่านจมูกวันละ 3 ครั้งจนกว่าอาการปวดดีขึ้น วิธีนี้ช่วยเปิดท่อยูสเตเชียน ทำให้แรงดันลดลงและช่วยระบายของเหลวออกจากหู [7]
    • อย่าใช้ผ้าขนหนูพันรอบศีรษะเด็กแล้วให้เด็กสูดไอน้ำเหนือชามที่ร้อนมากๆ เพราะเด็กอาจจะโดนน้ำลวกหรือหน้าจมลงไปในน้ำได้ แต่ให้ทาวิคส์สำหรับเด็ก (สูตรที่ออกแบบมาเพื่อทารกน้อยและเด็กโดยเฉพาะ) ลงบนหน้าอกหรือหลัง จากนั้นคุณก็อาจจะอุ้มเด็กไว้แล้วไปยืนในห้องน้ำโดยเปิดน้ำร้อนทิ้งไว้ หรือปล่อยให้เด็กเล่นในห้องน้ำระหว่างที่เปิดน้ำร้อนอยู่ ไอน้ำจากฝักบัวจะผสมกับไอที่ระเหยออกมาจากตัวยาและช่วยบรรเทาอาการปวดหูได้
  4. หยดน้ำมันมะกอกอุ่นๆ 2-3 หยดลงไปในหูเพื่อบรรเทาอาการปวด [8] โดยน้ำมันจะช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองที่หูชั้นใน
    • คุณสามารถนำขวดหยดไปแช่น้ำอุ่นแก้วเล็กสัก 2-3 นาทีเพื่อให้น้ำมันอุ่น หยดน้ำมันลงในหูโดยตรง จากนั้นก็ใช้สำลีก้อนอุดหูไว้หลวมๆ
    • ถ้าคุณใช้วิธีนี้กับเด็กทารก ให้หยดน้ำมันขณะที่เด็กนอนกลางวันเพื่อที่คุณจะได้สามารถประคองเด็กไว้ด้านข้างเพื่อไม่ให้น้ำมันไหลย้อนออกมาได้ คุณไม่ควรใช้สำลีก้อนอุดหูเด็กทารก
    • หมายเหตุว่ายังไม่มีหลักฐานที่ผ่านการทบทวนจากผู้รู้ว่า วิธีการนี้สามารถรักษาได้จริง ไม่ได้เป็นเพียงผลจากยาหลอก
  5. กระเทียมได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีคุณสมบัติเป็นยาปฏิชีวนะ และยังเชื่อว่าเป็นยาชาธรรมชาติด้วย
    • คุณสามารถสั่งซื้อน้ำมันดอกมัลเลนได้จาก Amazon หรือร้านขายอาหารสุขภาพใกล้บ้าน
    • อุ่นน้ำมัน (และเช็กให้ดีว่าน้ำมันไม่ร้อนโดยการหยดลงบนข้อมือเล็กน้อยก่อน) จากนั้นใช้ที่หยดยาหยดน้ำมันลงในหู 2-3 หยดวันละ 2 ครั้ง
    • วิธีนี้ก็ไม่มีหลักฐานที่ผ่านการทบทวนจากผู้รู้ด้วยเช่นกัน
  6. แม้ว่าคุณจะไม่ได้หยอดน้ำมันดอกลาเวนเดอร์ลงในหูโดยตรง แต่เชื่อกันว่าการนวดน้ำมันตรงบริเวณด้านนอกของหูสามารถเพิ่มการไหลเวียนและช่วยให้ระบายของเหลวจากหูชั้นในได้ดีขึ้น แถมกลิ่นก็ยังช่วยให้คุณผ่อนคลายด้วย [9]
    • ผสมน้ำมันดอกลาเวนเดอร์ 2-3 หยดกับน้ำมันตัวพา (เช่น น้ำมันมะพร้าวที่ผ่านการแยกส่วนหรือน้ำมันมะกอก) 2-3 หยด แล้วนวดลงบนใบหูด้านนอกเบาๆ ได้ตลอดทั้งวัน
    • น้ำมันหอมระเหยอื่นๆ ที่เชื่อกันว่าสามารถบรรเทาอาการปวดและเพิ่มการไหลเวียนได้แก่ ยูคาลิปตัส โรสแมรี ออริกาโน คาโมมายล์ ทีทรี และไธม์ [10]
    • วิธีนี้ได้รับการรับรองจากหลักฐานที่เป็นเรื่องเล่าต่อๆ กันมาเท่านั้น แต่ไม่มีงานวิจัยที่มาสนับสนุนประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยที่มีต่อสุขภาพ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ป้องกันไม่ให้ปวดหู

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หนึ่งในสาเหตุของอาการปวดหูที่พบได้มากที่สุดก็คือไข้หวัด และแม้ว่าเราจะไม่สามารถรักษาไวรัสที่ทำให้เป็นไข้หวัดได้ แต่เราสามารถป้องกันตัวเองเพื่อไม่ให้ติดเชื้อไวรัสตั้งแต่แรกได้ [11]
    • ล้างมือเป็นประจำโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่คุณไปที่สาธารณะและก่อนรับประทานอาหาร ถ้าคุณหาอ่างล้างมือไม่ได้ ให้ใช้เจลทำความสะอาดมือสูตรแอลกอฮอล์ เป็นที่รู้กันดีว่าเชื้อไวรัสที่ทำให้เป็นไข้หวัดนั้นทนทานและสามารถอยู่บนพื้นผิวได้หลายชั่วโมง เพราะฉะนั้นแม้ว่าคุณจะไม่เห็นใครที่มีอาการป่วย แต่คุณก็สามารถติดเชื้อไข้หวัดได้จากการไปห้องสมุดหรือไปซูเปอร์มาร์เก็ต [12]
    • ออกกำลังกายเป็นประจำ คนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอจะมีการตอบสนองจากภูมิคุ้มกันที่ดีกว่า ร่างกายจึงสามารถต่อสู้กับการติดเชื้อและต้านทานไวรัสที่ทำให้เป็นไข้หวัดได้ดีดว่า [13]
    • รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินและ สมดุล รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารและไม่ผ่านกระบวนการ เน้นโปรตีนไม่ติดมัน ผัก และผลไม้ สารเคมีจากพืช เช่น พริกไทย ส้ม และผักใบเขียวเข้มสามารถช่วยให้ร่างกายดูดซับวิตามินได้ เพราะฉะนั้นคุณควรรับประทานแต่อาหารที่มาจากธรรมชาติเพื่อให้ได้วิตามินที่เสริมภูมิคุ้มกัน [14]
  2. อาการแพ้ทำให้เกิดอาการคันในหูและปวดหู ซึ่งอาการแพ้ที่ว่านี้มีตั้งแต่อาการแพ้ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมไปจนถึงอาหาร
    • ติดต่อแพทย์เพื่อนัดทดสอบอาการแพ้ ซึ่งอาจจะใช้การตรวจเลือดหรือการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังด้วยวิธีสะกิด การทดสอบจะทำให้คุณรู้ว่า สารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ที่เป็นสาเหตุของการระคายเคืองที่หูอาจจะเป็นอะไรได้บ้าง เช่น หญ้าตระกูลแอมโบรเซีย สัตว์เลี้ยง หรือผลิตภัณฑ์นม
  3. อาการหูอักเสบในเด็กทารกเป็นสิ่งที่พบได้บ่อย แต่สามารถลดโอกาสหรือป้องกันได้ด้วยเทคนิคการให้นม
    • พาลูกไปฉีดวัคซีน เพราะหนึ่งในสารที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในหูที่พบได้บ่อยอยู่ในชุดวัคซีนที่เด็กต้องฉีดเป็นปกติอยู่แล้ว
    • พยายามให้นมลูกอย่างน้อย 12 เดือนแรก นมแม่มีสารภูมิต้านทานที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถลดการอักเสบที่หูได้ เพราะฉะนั้นเด็กทารกที่ดื่มนมแม่จึงมักจะมีอาการปวดหูน้อยกว่าเด็กที่ดื่มนมผง [15]
    • ถ้าคุณให้ลูกดื่มนมจากขวด คุณต้องอุ้มลูกเป็นมุม 45 องศา และอย่าให้นมลูกขณะที่ลูกนอนหงายหรือนอนอยู่ในคอกเด็ก เพราะการทำเช่นนี้อาจทำให้ของเหลวไหลเข้าหูชั้นในและทำให้ปวดหูได้ และเมื่อลูกอายุ 9-12 เดือน พยายามให้ลูกเลิกดื่มนมจากขวดแล้วไปใช้ถ้วยหัดดื่มแทนเพื่อลดอัตราการอักเสบของหูที่เกิดจากขวดนม [16]
    โฆษณา

คำเตือน

  • การใส่อะไรเข้าไปในหูอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรง เช่น ทำให้อาการหูอักเสบแย่ลงหรือสูญเสียการได้ยิน (ชั่วคราวหรือถึงขั้นถาวร)
  • ใช้สำลีอุดช่องหูขณะอาบน้ำฝักบัวหรือแช่น้ำในอ่าง
  • ขณะสูดไอน้ำ ให้วางชามไว้ในอ่างสำหรับล้างเพื่อป้องกันไม่ให้คุณบังเอิญทำชามคว่ำและลวกตัวเอง
  • อย่าหยดของเหลวเข้าไปในหูหากคุณรู้หรือสงสัยว่าแก้วหูทะลุ
  • อย่าสอดสำลีพันก้านเข้าไปในหูชั้นในเพราะอาจทำให้แก้วหูทะลุได้
  • คุณอาจจะหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้มากที่สุด เช่น ข้าวสาลี ผลิตภัณฑ์นม ข้าวโพด ส้ม ถั่วลิสง และคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวทั้งหมด ซึ่งได้แก่ น้ำตาล ผลไม้ และน้ำผลไม้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 128,718 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา