ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การบริหารการเงินส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่หลายโรงเรียนไม่ได้สอน แต่ก็เป็นเรื่องที่แทบทุกคนต้องมาหาวิธีรับมือด้วยตัวเองในภายหลัง จากสถิติในประเทศไทยพบว่า คนไทยเกือบ 80% เสี่ยงไม่มีเงินพอใช้หลังวัยเกษียณ [1] แม้ว่าโดยทั่วไปเมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายบวกเงินเฟ้อในวัยเกษียณแล้ว เราควรมีเงินไว้ใช้ยามเกษียณไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท แต่โดยเฉลี่ยแล้วคนไทยมีเงินเก็บเพียง 11,944 บาทต่อปีเท่านั้น [2] และยังมีหนี้ต่อหัวเฉลี่ยสูงถึงคนละ 150,000 บาท [3] ถ้าข้อเท็จจริงเหล่านี้ทำให้คุณถึงกับต้องผงะ และคุณก็ไม่อยากตามกระแสแบบผิดๆ ให้อ่านบทความนี้ เพราะบทความนี้จะมาบอกวิธีบริหารการเงินที่เฉพาะเจาะจงและตรงจุด เพื่อให้คุณมีอนาคตที่สดใสกว่าเดิม

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ตั้งงบรายจ่าย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณไม่จำเป็นต้องจำกัดตัวเอง แค่ดูว่าในช่วงเวลา 1 เดือนคุณใช้เงินไปกับอะไรบ้าง เก็บใบเสร็จรับเงินทุกใบ จดไว้ว่าคุณต้องมีเงินสดติดตัวเท่าไหร่เมื่อหักลบกับค่าใช้จ่ายที่คุณต้องจ่ายผ่านบัตรเครดิต และคำนวณว่าเมื่อหมดเดือนคุณจะมีเงินเหลือเท่าไหร่
  2. หลังจากผ่านไป 1 เดือน ให้กลับมาดูยอดใช้จ่ายในเดือนนั้น. อย่าเขียนลงไปว่าคุณ เสียดายว่า คุณน่าจะใช้เงินไปกับอะไร แต่ให้เขียนสิ่งที่คุณเสียเงินไปกับมัน จริงๆ แบ่งหมวดหมู่ค่าใช้จ่ายแบบที่คุณดูแล้วเข้าใจ รายการค่าใช้จ่ายง่ายๆ ในแต่ละเดือนน่าจะหน้าตาประมาณนี้ :
    • รายได้ต่อเดือน: 90,000 บาท
    • รายจ่าย:
      • ค่าเช่าบ้าน/ค่าผ่อนบ้าน: 24,000 บาท
      • ค่าใช้จ่ายในบ้าน (ค่าสาธารณูปโภค/ค่าไฟ/ค่าเคเบิลทีวี): 3,750 บาท
      • ซื้อของเข้าบ้าน: 9,000 บาท
      • กินข้าวนอกบ้าน: 9,000 บาท
      • ค่าน้ำมัน: 3,000 บาท
      • ค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉิน: 6,000 บาท
      • ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย: 12,000 บาท
      • เงินออม: 27,000 บาท
  3. จากค่าใช้จ่ายที่แท้จริงในเดือนที่แล้วและจากที่คุณดูประวัติการใช้จ่ายที่ผ่านมา ให้ตั้งงบรายจ่ายว่า คุณอยากจะเอาเงินที่ได้ไปจัดสรรไว้ในรายจ่ายแต่ละหมวดเท่าไหร่บ้าง โดยคุณจะใช้แพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Mint.com ในการช่วยบริหารงบประมาณก็ได้
    • ในงบรายจ่าย ให้แบ่งคอลัมน์ออกเป็น งบ คาดการณ์ กับงบ ใช้จริง งบคาดการณ์คือจำนวนเงินที่คุณตั้งใจจะใช้ในแต่ละหมวด ซึ่งควรจะเป็นจำนวนเท่ากันทุกเดือนและคำนวณตั้งแต่ตอนต้นเดือน ส่วนงบใช้จริงคือจำนวนเงินที่คุณใช้ไปจริงๆ ซึ่งจะต่างกันไปในแต่ละเดือน และจะคำนวณตอนสิ้นเดือน
    • หลายคนจะเผื่อพื้นที่ใหญ่ๆ ไว้ในงบประมาณสำหรับเป็นเงินออม ซึ่งคุณไม่จำเป็นต้องตั้งงบประมาณที่มีเงินออมรวมอยู่ด้วยก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะนักวางแผนการเงินมืออาชีพจะแนะนำให้ลูกค้าแบ่งเงินอย่างน้อย 10 - 15% ของรายได้ทั้งหมดไว้เป็นเงินออม [4] [5]
  4. มันเป็นเงินของคุณ เพราะฉะนั้นมันไม่มีประโยชน์ที่จะโกหกตัวเองว่าคุณจะใช้เงินเท่าไหร่เวลาที่ตั้งงบรายจ่ายขึ้นมา เพราะถ้าทำแบบนี้คนเดียวที่จะเจ็บปวดก็คือคุณ ในทางตรงกันข้ามถ้าคุณไม่รู้ว่าคุณใช้จ่ายเท่าไหร่ งบประมาณของคุณก็อาจจะต้องใช้เวลา 2-3 เดือนกว่าจะเข้าที่ ในระหว่างนี้ก็ไม่ต้องกำหนดตัวเลขตายตัวจนกว่าคุณจะรู้จริงๆ ว่าคุณใช้จ่ายเท่าไหร่
    • เช่น ถ้าคุณแบ่งเงินไว้ออมเดือนละ 15,000 บาท แต่รู้ว่าคุณจะต้องคอยปรับเปลี่ยนงบรายจ่ายไปตลอดเพื่อเก็บเงินตามเป้าให้ได้ ก็ไม่ต้องใส่ตัวเลขนั้นลงไป แต่ให้ใส่ตัวเลขที่เก็บได้จริงแทน จากนั้นกลับไปที่งบรายจ่ายเพื่อดูว่ามีตรงไหนลดทอนเงินลงได้บ้าง แล้วเอาเงินที่เหลือจากตรงนั้นไปเป็นเงินเก็บแทน
  5. ส่วนที่ยากที่สุดของงบรายจ่ายก็คือ รายจ่ายของคุณในแต่ละเดือนอาจจะไม่เหมือนกัน แต่ส่วนที่ดีที่สุดของงบรายจ่ายก็คือ คุณได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงในแต่ละเดือน ทำให้คุณรู้แน่ชัดว่าคุณจ่ายเงินไปกับอะไรในช่วงปีนั้น
    • ถ้าก่อนหน้านี้คุณไม่เคยรู้มาก่อน การตั้งงบรายจ่ายจะทำให้คุณรู้ว่าคุณเสียเงินไปกับอะไร หลายคนพอได้ตั้งงบรายจ่ายแล้วพบว่าตัวเองจ่ายเงินไปกับเรื่องไร้สาระเยอะมาก การได้รู้แบบนี้ก็จะช่วยให้เขาสามารถปรับนิสัยการใช้จ่ายและใช้เงินกับเรื่องที่เป็นประโยชน์มากกว่า
    • วางแผนค่าใช้จ่ายกะทันหัน การตั้งงบรายจ่ายยังสอนคุณด้วยว่า คุณไม่มีวันรู้ว่าเมื่อไหร่คุณจะต้องเสียเงินไปกับเรื่องที่ไม่คาดคิด แต่ความไม่นอนคือความแน่นอน แน่นอนว่าคุณคงไม่ได้ วางแผน ว่ารถจะเสียหรือลูกจะต้องเข้าโรงพยาบาล แต่คุณก็ควรเผื่อไว้ว่าอาจจะมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น และมีเงินสำรองไว้เมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านั้น
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณซื้อแผ่นดีวีดีมาเก็บจนฝุ่นเขรอะหลายปีโดยที่ไม่ได้ดูมากี่ครั้งแล้ว หนังสือ นิตยสาร ดีวีดี เครื่องมือ อุปกรณ์จัดงานปาร์ตี้ และอุปกรณ์กีฬาเป็นของที่คุณสามารถหาเช่าได้ในราคาถูกกว่า นอกจากนี้การเช่ายังทำให้คุณไม่ต้องวุ่นวายเรื่องการเก็บรักษา หาที่เก็บ และโดยทั่วไปแล้วมันก็จะทำให้คุณรักษาของมากขึ้นด้วย
    • แต่ก็อย่าลับหูลับตาเช่าเอาอย่างเดียว ถ้าคุณใช้ของชิ้นนั้นนานพอ ซื้อก็อาจจะคุ้มกว่า ลองคำนวณวิเคราะห์ต้นทุนแบบง่ายๆ เพื่อดูว่าเช่าหรือซื้ออย่างไหนคุ้มกว่ากัน
  2. ถ้าคุณมีเงิน เก็บเงินดาวน์ไว้จ่ายค่าบ้านเยอะๆ. สำหรับหลายคน การซื้อบ้านเป็นสิ่งที่ราคาสูงที่สุดและเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่สุดที่พวกเขาจะต้องจ่ายในชีวิต ด้วยเหตุนี้การรู้ว่าทำอย่างไรจึงจะผ่อนบ้านได้อย่างคุ้มค่าจึงเป็นประโยชน์กับคุณมากๆ เป้าหมายในการผ่อนบ้านของคุณควรจะเป็นการลดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมให้ได้มากที่สุด โดยที่งบรายจ่ายส่วนอื่นๆ ยังคงสมดุลอยู่ด้วย
    • จ่ายล่วงหน้าก่อนเลย โดยทั่วไปช่วง 3 ปีแรกของการผ่อนบ้านจะเป็นช่วงที่คุณจ่ายดอกเบี้ยน้อยที่สุดเพราะมักจะได้โปรโมชั่นดอกเบี้ยต่ำๆ [6] เพราะฉะนั้นถ้ามีเงินให้โปะในช่วงนี้ให้เร็วที่สุด และถ้าคุณสามารถขอคืนเงินภาษีจากการผ่อนบ้านได้ ให้นำเงินที่ได้คืนไปจ่ายค่าบ้านเพิ่ม การจ่ายค่างวดล่วงหน้าจะช่วยให้คุณผ่อนบ้านหมดเร็วขึ้นด้วยการไปลดดอกเบี้ยที่คุณต้องจ่าย
    • ดูว่าคุณสามารถจ่ายค่างวดรายสองสัปดาห์แทนที่จะเป็นรายเดือนได้หรือไม่ แทนที่จะจ่ายปีละ 12 งวด ดูว่าคุณสามารถเปลี่ยนมาจ่ายปีละ 26 งวดแทนได้หรือเปล่า วิธีนี้จะช่วยให้คุณประหยัดเงินไปได้หลายหมื่นบาท แต่มีข้อแม้ว่าต้องไม่มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม ซึ่งคุณจะต้องสอบถามกับทางธนาคาร หรือคุณอาจจะใช้วิธีจ่ายค่างวดเพิ่มเป็น 2 เท่าก็ได้ วิธีนี้จะช่วยให้คุณประหยัดเงินได้เป็นหลักแสนเช่นเดียวกัน
    • ขอรีไฟแนนซ์กับทางธนาคาร เช่น ถ้าคุณสามารถรีไฟแนนซ์จากดอกเบี้ย 6.7% ให้เหลือ 5.7% ได้โดยที่คุณเองก็ยังจ่ายค่างวดเท่าเดิม วิธีนี้ก็น่าสนใจเหมือนกัน [7] เพราะคุณจะสามารถลดระยะเวลาการผ่อนชำระได้ หลายปี ทีเดียว
  3. เข้าใจว่าการมีบัตรเครดิตอาจสำคัญต่อการสร้างเครดิตอย่างมาก. คะแนนเครดิตตั้งแต่ 750 คะแนนขึ้นไปอาจช่วยปลดล็อกอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงได้อย่างน่าตกใจและยังเปิดโอกาสให้คุณกู้เงินก้อนใหม่ได้ด้วย ซึ่งถือเป็นเรื่องดีทีเดียว ถึงคุณจะแทบไม่ค่อยได้ใช้บัตรเครดิต แต่คุณก็ต้องมีไว้สักใบ ถ้าคุณไม่ไว้ใจตัวเอง จะล็อกเก็บไว้ในลิ้นชักก็ได้
    • คิดว่าบัตรเครดิตก็คือเงินสด เพราะมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ บางคนมองว่าบัตรเครดิตเป็นเครื่องมือใช้จ่ายที่ไม่จำกัด แล้วยอดใช้จ่ายก็ทับถมไปเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่รู้ว่าจ่ายไม่ไหวและก็มาจ่ายขั้นต่ำในแต่ละเดือนเอา ถ้าคุณจะทำแบบนี้ ก็เตรียมเงินก้อนนึงไว้จ่ายค่าดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมได้เลย
    • พยายามรักษาอัตราส่วนเครดิตที่ใช้ไปให้ต่ำๆ อัตราส่วนเครดิตที่ใช้ไปก็คือ การที่หนี้ที่อยู่ในบัตรเครดิตของคุณมีอัตราส่วนที่ต่ำเมื่อเทียบกับวงเงินทั้งหมด พูดง่ายๆ คือหมายความว่า ถ้าคุณมียอดหนี้บัตรเครดิตเฉลี่ยในแต่ละเดือนอยู่ที่ 6,000 บาทโดยที่วงเงินของคุณอยู่ที่ 60,000 บาท อัตราส่วนหนี้เมื่อเทียบกับวงเงินแล้วจะต่ำมากๆ คืออยู่ที่ 1:10 เท่านั้นเอง แต่ถ้ายอดหนี้บัตรเครดิตเฉลี่ยในแต่ละเดือนของคุณอยู่ที่ 6,000 บาท แต่วงเงินของคุณอยู่ที่ 12,000 บาท อัตราส่วนเครดิตที่จะพุ่งทะลุไปที่อัตรา 1:2
  4. ใช้จ่ายเท่าที่หาได้ ไม่ใช่ใช้จ่ายเท่าที่อยากจะหาได้. คุณอาจจะคิดว่าตัวเองหาเงินได้เยอะ แต่ถ้าจำนวนเงินที่หาได้จริงมันสวนทางกับคำพูด ก็เท่ากับว่าคุณกำลังเดือดร้อนเพราะการหลอกตัวเอง กฎของการใช้จ่าย ข้อแรก ที่ สำคัญที่สุด ก็คือ ถ้าไม่ใช่เรื่องฉุกเฉินจริงๆ ให้ใช้จ่ายเท่าที่หาได้ ไม่ใช่ใช้จ่ายเท่าที่อยากจะหาได้ วิธีนี้จะช่วยให้คุณปลอดหนี้และสามารถวางแผนเพื่ออนาคตได้อย่างรัดกุม
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ลงทุนอย่างชาญฉลาด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พอเราโตขึ้น เราก็รู้ว่าโลกการเงินข้างนอกมันซับซ้อนกว่าที่เรารู้ตอนเด็กๆ มาก เราสามารถซื้อขายสิ่งที่ อยู่ในจินตนาการ ได้จริงๆ มีทั้งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เราสามารถเก็งกำไรจากสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นได้ มีหุ้นเจ๋งๆ เป็นกระตั๊ก ยิ่งคุณมีความรู้เรื่องเครื่องมือทางการเงินและโอกาสต่างๆ มากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งได้เปรียบในการลงทุนมากเท่านั้น แม้ว่าคุณจะรู้แค่ว่าเมื่อไหร่ที่ต้องถอยก็ตาม
  2. หลายบริษัทมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้พนักงานได้เก็บเงิน ซึ่งจะหักเงินส่วนหนึ่งของเงินเดือนไปที่แผนการออมอัตโนมัติ วิธีนี้เป็นวิธีเก็บเงินที่ดี เพราะเงินจะถูกหักออกไปจากเงินเดือนเลย คนส่วนใหญ่จึงแทบจะไม่สังเกตเลยว่าเงินถูกหักไป
    • สอบถามตัวแทนฝ่ายบุคคลเรื่องเงินสมทบของบริษัท กฎหมายกำหนดให้บริษัทสมทบเงินในอัตราที่ไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้าง ซึ่งหมายความว่าคุณจะได้ออมเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่า เพราะฉะนั้นถ้าคุณเลือกออมเดือนละ 3,000 บาท บริษัทก็จะสมทบให้อีก 3,000 บาท เท่ากับว่าคุณได้ออมเดือนละ 6,000 บาท
  3. หลายคนซื้อขายหุ้นแบบจบภายในวันเดียว พนันกำไรขาดทุนของหุ้นแต่ละตัวเล็กๆ น้อยๆ ทุกวัน แม้ว่าวิธีนี้จะเป็นวิธีหาเงินที่ได้ผลสำหรับคนที่เชี่ยวชาญ แต่มันก็เสี่ยงมากและเหมือนเป็นการพนันมากกว่าการลงทุน ถ้าคุณอยากลงทุนในตลาดหุ้นอย่างปลอดภัย ให้ลงทุนในระยะยาว [8] ซึ่งก็คือการที่คุณนำเงินไปลงทุนเป็นเวลา 10 20 30 ปี หรือนานกว่านั้น
    • เวลาดูว่าจะเลือกลงทุนในหุ้นตัวไหน ให้ดูองค์ประกอบพื้นฐานขององค์กร (มีกระแสเงินสดในมือเท่าไหร่ ประวัติสินค้าคืออะไร เขาให้คุณค่ากับพนักงานอย่างไร และข้อตกลงระหว่างองค์กรคืออะไร) เพราะโดยหลักการแล้วคือคุณกำลังพนันว่า ราคาหุ้นในปัจจุบันต่ำกว่ามูลค่าจริง และจะสูงขึ้นในอนาคต [9]
    • ถ้าจะให้ปลอดภัยขึ้น เวลาซื้อหุ้นก็ให้ซื้อแบบกองทุนรวม กองทุนรวมคือกองทุนที่นำหุ้นมารวมกันเพื่อลดความเสี่ยง ลองคิดว่า ถ้าคุณเอาเงินทั้งหมดไปลงทุนในหุ้นตัวเดียว พอราคาหุ้นตก คุณก็เจ๊ง แต่ถ้าคุณลงทุนเงินทั้งหมดในหุ้น 100 ตัวเท่าๆ กัน ต่อให้หุ้นหลายตัวจะตกก็ยังไม่กระทบเงินลงทุน กองทุนรวมจึงช่วยลดความเสี่ยงได้
  4. มีคำกล่าวว่า คนฉลาดจะคาดคิดในสิ่งที่ไม่ได้คาดคิด และจะวางแผนไว้ว่าจะทำอย่างไรหากเกิดเหตุการณ์นั้น คุณไม่มีทางรู้ว่าเมื่อไหร่คุณต้องใช้เงินก้อนใหญ่ยามฉุกเฉิน และการมีประกันที่ครอบคลุมก็สามารถช่วยให้คุณผ่านพ้นช่วงวิกฤตไปได้ ปรึกษาครอบครัวว่ามีประกันประเภทไหนที่คุณจะซื้อได้บ้างเพื่อช่วยคุณในยามฉุกเฉิน :
    • ประกันชีวิต (เผื่อคุณหรือสามี/ภรรยาเสียชีวิตกะทันหัน)
    • ประกันสุขภาพ (เผื่อคุณต้องจ่ายค่าโรงพยาบาลและ/หรือค่ารักษาพยาบาลกะทันหัน)
    • การประกันสรรพภัยเจ้าบ้าน (เผื่อมีเหตุการณ์ที่เป็นอันตรายหรือก่อความเสียหายแก่ตัวบ้าน)
    • ประกันวินาศภัย (เผื่อเกิดพายุไต้ฝุ่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ไฟไหม้ เป็นต้น)
  5. นอกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งเป็นแผนเกษียณสำหรับพนักงานที่มักจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัทแล้ว หรือแทนที่จะเก็บเงินกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้คุณพูดคุยกับที่ปรึกษาการเงินเรื่องกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นกองทุนรวมประเภทที่ส่งเสริมให้เกิดการออมเงินระยะยาวไว้สำหรับใช้จ่ายยามเกษียณอายุ ได้รับการสนับสนุนจากทางการเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษี และสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้เมื่ออายุ 55 ปี
    • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพบางครั้งจะลงทุนในหลักทรัพย์ หุ้นและพันธบัตร กองทุนรวม และกรมธรรม์บำนาญ เมื่อผ่านไปหลายปีจึงมีโอกาสที่จะเติบโตอย่างมาก ถ้าคุณลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตั้งแต่เนิ่นๆ เมื่อเวลาผ่านไปดอกเบี้ยทบต้นที่คุณได้ (ดอกเบี้ยที่ทบเพิ่มไปเรื่อยๆ) เงินลงทุนของคุณก็จะเติบโตอย่างมาก
    • ลองปรึกษากับที่ปรึกษาประกันเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่การันตีเงินคืนบำนาญ เพราะการวางแผนประเภทนี้จะทำให้คุณได้รับเงินในจำนวนที่แน่นอนทุกปีในช่วงที่คุณเกษียณไปเรื่อยๆ ตราบใดที่คุณยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เงินขาดมือในช่วงเกษียณ และบางครั้งหลังจากที่คุณเสียชีวิตแล้วเงินนี้ก็ยังคงส่งต่อให้คู่สมรสด้วย
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

สร้างเงินออม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เริ่มจากการแบ่งเงินเหลือใช้ (เงินส่วนเกิน) ออกมาให้ได้มากที่สุด. ทำให้การออมเป็นสิ่งสำคัญในชีวิต แม้ว่างบรายจ่ายของคุณจะน้อย แต่ให้พยายามปรับเปลี่ยนแผนการเงินเพื่อให้สามารถออมเงินได้มากกว่า 10% ของรายได้ทั้งหมด
    • ลองคิดแบบนี้ สมมุติว่าคุณเก็บเงินได้ปีละ 300,000 บาท ซึ่งไม่ถึงเดือนละ 30,000 บาทด้วยซ้ำ ผ่านไป 15 ปีคุณจะมีเงินเก็บ 4,500,000 บาทยังไม่รวมดอกเบี้ย ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่มากพอที่จะส่งลูกไปเรียนต่อต่างประเทศได้ในวันนี้ แต่ไม่พอสำหรับอนาคตถ้าลูกเพิ่งเกิด เพราะฉะนั้นให้เริ่มเก็บเงิน แล้วคุณอาจจะมีเงินจ่ายค่าเทอมปริญญาโทงวดแรกให้ลูกหรือมีเงินดาวน์บ้านสวยๆ สักหลัง
    • เริ่มเก็บเงินตั้งแต่อายุยังน้อย ถึงคุณจะยังเรียนอยู่ การออมก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ คนที่เก็บเงินเก่งจะมองว่าเงินออมเป็นเรื่องของศีลธรรมมากกว่าความจำเป็น ถ้าคุณเริ่มเก็บเงินเร็วและนำเงินออมไปลงทุนอย่างชาญฉลาด เงินก้อนเล็กก็จะสะสม (ทบต้น) เป็นเงินก้อนใหญ่ การมองการณ์ไกลให้ผลตอบแทนที่ดีแก่เราเสมอ
  2. การออมก็คือการดึงรายได้ส่วนเกินออกมา ซึ่งการมีรายได้ส่วนเกินก็คือการไม่เป็นหนี้ และการไม่เป็นหนี้ก็คือการเตรียมพร้อมสำหรับเหตุฉุกเฉิน เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นเรื่องของการออมเงินแล้ว เงินสำรองฉุกเฉินสามารถช่วยคุณได้จริงๆ
    • ลองคิดแบบนี้ สมมุติว่ารถของคุณเสียและจู่ๆ คุณก็มีรายจ่ายเพิ่มขึ้นมา 60,000 บาท คุณไม่ได้วางแผนเผื่อไว้ คุณก็เลยต้องไปกู้เงิน และเครดิตคุณเองก็เหลือไม่มาก ดอกเบี้ยเงินกู้ก็อาจจะค่อนข้างสูง ในไม่ช้าคุณก็ต้องจ่ายเงินกู้ที่ดอกเบี้ยร้อยละ 6-7 ซึ่งจะทำให้คุณไม่สามารถเก็บเงินได้ไปอีกครึ่งปี
      • แต่ถ้าคุณมีเงินสำรองฉุกเฉิน คุณก็ไม่ต้องเป็นหนี้และไม่ต้องเสียดอกเบี้ยที่ติดมากับหนี้ตั้งแต่แรก เพราะฉะนั้นการเตรียมพร้อมมันช่วยได้จริงๆ
  3. เมื่อคุณเริ่มเก็บเงินเกษียณและเก็บเงินสำรองฉุกเฉิน ให้เก็บเงินไว้เท่ากับค่าใช้จ่าย 3-6 เดือน. [10] สุดท้ายแล้วการออมก็เป็นเรื่องของการเตรียมพร้อมสำหรับความไม่แน่นอน ถ้าคุณตกงานกะทันหัน หรือบริษัทลดค่าคอมมิชชัน คุณก็คงไม่อยากเป็นหนี้เพื่อประทังชีวิต การกันเงินเท่ากับค่าใช้จ่าย 3 6 หรือ 9 เดือนจะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่า ถ้ามีเรื่องร้ายๆ เกิดขึ้นคุณจะรับมือกับมันได้อย่างแน่นอน
  4. ไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิตหรือหนี้บ้าน การมีหนี้ลดทอนความสามารถในการออมได้อย่างมหาศาล เริ่มจากหนี้ที่ดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน (ถ้าของคุณคือหนี้บ้าน ให้ลองโปะเงินก้อน แต่ให้เน้นไปที่หนี้ที่ไม่ใช่หนี้บ้านก่อน) จากนั้นก็ไปใช้หนี้ที่ดอกเบี้ยสูงรองลงมา และเริ่มจ่ายหนี้ก้อนนั้นให้หมด ค่อยๆ เรียงแบบนี้ตามดอกเบี้ยที่หลดหลั่นกันมาจนกว่าคุณจะจ่ายหนี้ทั้งหมดหมด
  5. เริ่มสะสมเงินสำหรับเกษียณเพิ่มอย่างจริงจัง. ถ้าคุณเข้าสู่วัยนั้นแล้ว (อายุ 45 หรือ 50 ปี) และคุณก็ยังไม่ได้เริ่มเก็บเงินเกษียณเลย คุณต้องเก็บเงินเพิ่มเดี๋ยวนี้ เก็บเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ตามที่บริษัทกำหนด) และกองทุนออมเพื่อการเลี้ยงชีพ (15% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท) ทุกปี ถ้าคุณอายุเกิน 50 ปี คุณก็สามารถออมเงินย้อนหลังได้ถ้าคุณอยากจะเพิ่มเงินออมสำหรับเกษียณ
    • ให้ความสำคัญกับการออมเพื่อการเกษียณมากๆ มากกว่าการออมเงินให้ลูกไว้เรียนมหาวิทยาลัย เพราะคุณกู้เงินมาช่วยค่าเทอมลูกได้เสมอ แต่คุณกู้เงินมาใช้ตอนเกษียณไม่ได้
    • ถ้าคุณไม่รู้เลยจริงๆ ว่าคุณควรออมเงินเท่าไหร่ ให้ใช้เครื่องคำนวณเงินออมหลังเกษียณออนไลน์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [1] เพื่อคำนวณว่าคุณต้องมีเงินสำหรับเกษียณเท่าไหร่
    • ปรึกษานักวางแผนหรือที่ปรึกษาการเงิน ถ้าคุณอยากเก็บเงินออมเพื่อการเกษียณให้ได้มากที่สุดเพราะคุณไม่รู้เลยว่าจะต้องเริ่มอย่างไร ให้ปรึกษานักวางแผนการเงินมืออาชีพที่มีใบอนุญาต เพราะนักวางแผนจะได้รับการอบรมให้ลงทุนเงินของคุณอย่างชาญฉลาด และมักจะมีประวัติอัตราส่วนผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) อยู่แล้ว ในแง่หนึ่งคุณก็ต้องจ่ายค่าบริการให้เขา แต่ในอีกแง่หนึ่งคุณก็จ่ายเงินให้เขาไปทำเงินให้คุณอีกที จึงไม่ใช่ข้อตกลงที่แย่เลย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ช่วงที่มีการบังคับเอาทรัพย์จำนองหลุดสูงขึ้นไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะจะซื้อบ้านมากที่สุด เพราะกฎอุปสงค์อุปทานจะทำให้ราคาตกลงมากขึ้นเนื่องจากธนาคารมีแรงจูงใจ
    • เพราะฉะนั้นเมื่อธนาคารขายทรัพย์จำนองหลุดไปหมดแล้ว กฎอุปสงค์อุปทานจะทำให้ราคากลับมาสูงขึ้น
    • ตราบใดที่ยังไม่มีการเอาทรัพย์จำนองหลุดมากนัก ให้เก็บอสังหาริมทรัพย์ของคุณไว้ก่อน เพราะราคาจะสูงขึ้น
  • เพิ่มพูนคุณสมบัติ หาเวลาเพิ่มพูนความรู้และทักษะเพื่อที่คุณจะได้อยู่แนวหน้า ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการหาเงินในอนาคต
  • บัตรเดบิตคือสิ่งที่มาทดแทนบัตรเครดิตที่ไม่ค่อยดีนัก เพราะมันทำให้คนอื่นสามารถเข้าถึงบัญชีธนาคารของคุณได้โดยตรงโดยไม่ต้องมีผู้ออกบัตรเครดิตเป็นคนกลาง นอกจากนี้การพักเงินชั่วคราวของร้านค้ายังทำให้คุณไม่สามารถเข้าถึงเงินของคุณได้ด้วย แม้ว่าสุดท้ายแล้วคุณจะไม่ได้ซื้ออะไรเลยก็ตาม (เช่น เวลาซื้อของในอินเทอร์เน็ต ร้านค้าจะตัดเงินไว้ก่อนไม่ว่าเงินจะผ่านหรือไม่ผ่าน ถ้าไม่ผ่านก็ต้องทำเรื่องกับธนาคารเพื่อขอเงินคืน ซึ่งไม่เป็นปัญหาสำหรับบัตรเครดิต แต่อาจจะมีปัญหากับเงินฝากกระแสรายวัน)
  • ใช้หลักการออมเงิน 6 กระปุก แบ่งเงินออกเป็น 6 กระปุก โดยแต่ละกระปุกมีไว้เพื่อรายจ่ายจำเป็น บันเทิง การกุศล เงินออม ลงทุน และการศึกษา แล้วแบ่งรายได้แต่ละเดือนเป็นเปอร์เซ็นต์ไว้ในกระปุกแต่ละใบ เช่น รายจ่ายจำเป็น 60% เงินออม 10% บันเทิง 10% ลงทุน 10% และการกุศลกับการศึกษาอีกอย่างละ 5% จัดสรรรายจ่ายประจำวันตามกระปุกแต่ละใบ และบันทึกค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน (กระปุกจะเป็นกระปุกจริงๆ หรือเป็นบัญชีออมเงินออนไลน์ก็ได้)
  • กฎ 7% เป็นกฎที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ถ้าคุณเอาเงินออมสำหรับเกษียณคูณด้วย 7% ก็จะได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนเงินที่คุณสามารถเอาไว้ใช้จ่ายในแต่ละปีได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะเงินออมสำหรับเกษียณจะไม่พอ เพราะฉะนั้นเงิน 9,000,000 บาท x .07 (7%) = 630,000 บาทที่คุณสามารถเอาไว้ใช้จ่ายต่อปี ลบด้วยภาษีที่มาจากรายได้นั้น บวกด้วยรายได้ทางอื่นเช่น เงินบำนาญประกันสังคม ถ้างบรายจ่ายของคุณสูงกว่านี้ ค่าใช้จ่ายไม่คงที่ หรือดอกเบี้ยที่ได้ลดลง เงิน 9,000,000 ก็ไม่พอสำหรับใช้จ่ายไปตลอดชีวิต
โฆษณา

คำเตือน

  • เวลาที่มีโทรศัพท์จากธนาคารบอกว่าคุณมีเงินหลายล้านและชวนให้คุณสมัครบัตรเครดิต อย่าตอบรับคำชวนเพิ่มหนี้ไม่ว่ามันจะน่าตื่นเต้นแค่ไหน เพราะไม่มีอะไรน่ารำคาญไปกว่าการที่ธนาคารจะคอยทวงจิกที่คุณชำระเงินล่าช้า และคุณเองก็ไม่มีปัญญาจ่ายด้วยซ้ำ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,630 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา