ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

นกคอกคาทีล (cockatiel) หรือที่คนไทยเรียกกันว่า "นกค๊อกคาเทล" นั้นเป็นนกที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศออสเตรเลีย เป็นสายพันธุ์ใกล้เคียงกับนกกระตั้วสีกุหลาบ (Galah) กับนกกระตั้วดำ (black cockatoo) คุณแยกนกคอกคาทีลโตเต็มวัย "สีเทาตามปกติ" กับนกคอกคาทีลตัวเทาหัวเหลืองได้ง่าย เพราะดูจากสีขนที่แตกต่างชัดเจน แต่ถ้าเป็นนกคอกคาทีลสีอื่น ก็จะยากขึ้นไปอีก ต้องอาศัยการสังเกตพฤติกรรมกับลักษณะเฉพาะอื่นๆ เล็กๆ น้อยๆ แทน ให้อาศัยหลายๆ ข้อมูลรวมกัน อย่าตัดสินจากอะไรเพียงอย่างเดียว เพราะนกคอกคาทีลแต่ละตัวก็มีรูปร่างลักษณะและพฤติกรรมที่ต่างกันออกไป

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

บอกเพศนกคอกคาทีลจากรูปร่างลักษณะ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตอนยังเล็ก นกคอกคาทีลตัวผู้และตัวเมียจะหน้าตาเหมือนกัน แต่พอผ่านไป 6 - 9 เดือน นกจะผลัดขนครั้งแรก พอขนใหม่งอกก็จะสีสันสดใส และแยกเพศได้ง่าย
    • ถ้าขนด้านหรือสีซีดจาง แสดงว่านกขาดสารอาหาร แต่บางทีก็ต้องรอนกผลัดขน 1 - 2 ครั้งกว่าจะได้ขนจริงที่สีสันสดใส
    • อย่าเพิ่งเตรียมบ้านนก (nest-box) ให้นกวัยรุ่น เพราะจะไปกระตุ้นให้วางไข่หรือผสมพันธุ์เร็วผิดปกติ อันตรายต่อนกตัวเมีย
  2. ถ้าเป็นนกคอกคาทีลสีเทาที่ไม่ได้กลายพันธุ์ จะตัวสีเทา หัวสีเหลือง และมีวงกลมสีส้มที่แก้ม สังเกตได้ตามขั้นตอนต่อๆ ไป ถ้าลักษณะของนกคอกคาทีลไม่ตรงตามที่อธิบาย เป็นไปได้ว่ามาจากสายพันธุ์ที่ผสมให้ได้ลักษณะขนพิเศษแตกต่างออกไป แบบนั้นก็จะดูยากไปอีกขั้น แต่จะมีลักษณะเฉพาะให้สังเกต ซึ่งจะอธิบายต่อไป และมักต้องพิจารณาจากพฤติกรรมร่วมด้วย
  3. ถ้าเป็นนกคอกคาทีลสีเทาธรรมดา นกตัวเมียที่โตเต็มวัย (และวัยรุ่น) จะมีสัญลักษณ์ที่ใต้ขนหาง มักเป็นลายขวางสีเทา/เทาเข้ม, สีขาว/เทา ไม่ก็สีเหลือง/เทา แต่บางทีนกตัวเมียก็มีจุดหรือลายแปลกๆ บนพื้นเทาเช่นกัน ถ้าไม่เห็นอะไรอย่างที่บอกเลย ลองยกตัวขึ้นมาให้หางโดนแสงชัดๆ แล้วสังเกตดูดีๆ ถ้ายังไม่เห็นอีก แสดงว่าน่าจะเป็นนกตัวผู้
    • นกพันธุ์ Lutino หรือนกสีเหลืองอ่อนกับขาวอ่อนที่ยังมีวงกลมที่แก้ม จะรู้ได้ว่าเป็นตัวเมียก็ต่อเมื่อมีจุดเหลืองใต้ปีก และแต้มเหลืองใต้หาง แต่ต้องส่องไฟหรือแสงสว่างๆ ถึงจะเห็น [1]
  4. ถ้าเป็นนกคอกคาทีลสีเทาทั่วไป ใบหน้าของนกตัวผู้จะสะดุดตากว่า โดยหน้าเป็นสีเหลืองและมีวงกลมสีส้มที่แก้มเด่นเป็นสง่า ส่วนตัวเมีย วงสีส้มจะจางกว่า อยู่บนใบหน้าสีเหลืองซีดๆ หรือเทา [2]
    • บางพันธุ์ จะเฉพาะนกตัวผู้เท่านั้นที่หน้ากลายเป็นสีเหลืองหลังผลัดขน ส่วนตัวเมียจะคงสีเทาตั้งแต่เป็นวัยรุ่น หรือออกน้ำตาล [3]
    • ถ้าเป็นนกกลายพันธุ์หน้าขาว แต่ตัวไม่ขาว ตัวผู้ บางตัว จะไม่มีวงที่แก้มเลย ส่วนตัวเมียจะมีวงสีจางๆ เข้ากับสีขนที่ลำตัว [4]
  5. นกคอกคาทีลสีเทา ถ้าเป็นตัวผู้จะออกเทาเข้ม ส่วนตัวเมียจะเป็นเทาอ่อน จริงๆ แล้วเป็นวิธีสังเกตที่ผิดพลาดสูง แต่อย่างน้อยก็ช่วยยืนยันได้ถ้าสังเกตตามข้อบนๆ แล้วยังสงสัย ถ้าเป็นนกพันธุ์ที่ตัวไม่ได้เป็นสีเทา ไม่ควรใช้วิธีนี้
    • ในบางพันธุ์ นกตัวเมียจะมีจุดสีเหลืองจางๆ ที่ใต้ปีกด้วย [5]
    • ถ้าเป็นนกพันธุ์ pearl ที่มีจุดขาวบนตัวสีอื่น พอตัวผู้ผลัดขนครั้งแรกแล้ว "pearl" หรือจุดขาวเหมือนไข่มุกนี้จะหายไป ส่วนจุดของตัวเมียจะยังอยู่ [6]
  6. ขั้นตอนสุดท้ายจะบอกได้ต้องตรวจร่างกายโดยคุณหมอ เท่านั้น ถ้าใครไม่เชี่ยวชาญแล้วไปทำ อาจทำนกบาดเจ็บร้ายแรง แถมบอกไม่ได้อยู่ดีว่าเป็นเพศไหน สรุปแล้วสัตวแพทย์นี่แหละที่จะบอกเพศนกได้ชัดเจนที่สุด คุณหมอจะเช็ครูปร่างของกระดูกเชิงกรานให้ด้วย ถ้าเป็นตัวเมียก็จะกว้างกว่าตัวผู้ สุดท้ายแล้วก็เป็นวิธีที่ใช้ฟันธงไม่ได้เป๊ะๆ เพราะนกแต่ละตัวก็แตกต่างกันออกไป
    • ต้องเป็นนกโต ถึงจะใช้วิธีนี้ได้ผล โดยเฉพาะนกโตเต็มวัยที่เคยถูกใช้ผสมพันธุ์และเคยวางไข่มาก่อน [7]
    • สุดท้ายวิธีที่ชัวร์ 100% ก็คือต้องตรวจ DNA
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

บอกเพศนกคอกคาทีลจากพฤติกรรม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จริงๆ ก็ไม่เสมอไป แต่ส่วนใหญ่นกคอกคาทีลที่หัดพูดจนเป็นมักเป็นตัวผู้ [8] แต่ถึงไม่ได้พูดอะไรชัดเจนเป็นคำๆ แต่นกที่เจื้อยแจ้วกว่า ชอบร้อง ชอบผิวปาก ก็มักเป็นนกตัวผู้อยู่ดี ถ้าเป็นนกตัวเมียจะเงียบๆ ออกแนวขู่หรือร้องเสียงแหลมมากกว่า
  2. นกคอกคาทีลตัวผู้จะใช้เวลาหน้ากระจกนานเป็นพิเศษ ทั้งส่อง เก๊กท่า ส่งเสียงร้อง และสำรวจ แต่ถ้านกส่องกระจกสั้นๆ แป๊บเดียวก็เลิกสนใจ เป็นไปได้มากว่าเป็นนกตัวเมีย
  3. นกตัวผู้จะเที่ยวไปจีบตัวอื่นเขา แต่จริงๆ แล้วบางทีอยู่ตัวเดียวก็แสดงพฤติกรรมต่อไปนี้ออกมาได้เหมือนกัน: [9]
    • เอาปากเคาะอะไรสักอย่างให้ดังๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจจากตัวเมีย
    • เดินเฉิดฉายไปมาพลางผิวปากหรือเคาะจะงอยปาก ผสมกับกระโดดโลดเต้น และ/หรือผงกหัวรัวๆ
    • ยกปลายปีกห่างจากตัว จนมองด้านหลังแล้วเหมือนรูปหัวใจ
  4. นกตัวเมียจะไม่ค่อยไปหาคู่หรือจีบใคร และจะไม่แสดงพฤติกรรมต่อไปนี้ เว้นแต่มีนกตัวผู้อยู่ใกล้ๆ [10]
    • เกาะอยู่ที่คอนล่าง แอบมองเงียบๆ แต่หางชี้ฟ้า
    • พยายามป้อนอาหารนกตัวผู้ที่จับคู่หรือพยายามจับคู่ด้วย
  5. ถ้าใครเลี้ยงนกมานานหรือศึกษาเรื่องนกละเอียด จะรู้ว่าบางครั้งนกจะถูก้นกับคอน หรือวัตถุอื่นๆ กระทั่งมือของเจ้าของ บางตัวก็ทำทุกวันหรือวันละหลายครั้ง พฤติกรรมแบบนี้แหละคือนกกำลัง "ช่วยตัวเอง" มักพบในนกตัวผู้มากกว่า แต่ก็ไม่เสมอไป
    • ถ้านกตัวผู้ช่วยตัวเองมักขย่มอะไรบางอย่าง หรือยืนคร่อมแล้วถูไถก้น
    • ส่วนเวลานกตัวเมียช่วยตัวเองก็คล้ายๆ กัน แต่จะถอยหลังไปไถก้นกับอะไรสักอย่าง โดยที่หางชี้ฟ้า และตัวโก้งโค้งมาข้างหน้า
  6. แน่นอนว่าถ้าวางไข่ได้ก็ต้องเป็นนกตัวเมีย แต่จะยุ่งถ้าในกรงมีนกหลายตัว ถ้าอยากให้ชัวร์ว่าตัวไหนเพศอะไร ก็ต้องแยกกรงและบ้านนก หรือใช้กล้องวีดีโออัดพฤติกรรมของนกตอนอยู่ในบ้านนกซะเลย
    • ถ้านกตัวเมียอายุต่ำกว่า 18 เดือนไม่ควรให้อยู่ในบ้านนก เพราะถ้านกที่ยังเด็กวางไข่บ่อยๆ จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
    • ถ้าไปเอาไข่ออก ก็ยิ่งกระตุ้นให้วางไข่เพิ่ม
    • บางทีไข่ก็ได้รับการผสม แบบนั้นก็ชัดเลยว่ามีการจับคู่ผสมพันธุ์เกิดขึ้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าคุณซื้อนกคอกคาทีลมาจากร้านขายนกหรือผู้เพาะพันธุ์ เขาก็จะ 'ระบุเพศ' ไว้อยู่แล้วตอนที่จะขาย ถึงจะไม่ชัวร์ 100% มีแต่ต้องตรวจ DNA เท่านั้นถึงจะรู้แน่ แต่อย่างน้อยผู้เพาะพันธุ์เขาก็มีประสบการณ์ น่าเชื่อถือระดับหนึ่ง
  • นกตัวเมียชอบกัดหรือจิกมากกว่า แต่จริงๆ แล้วก็ขึ้นอยู่กับอารมณ์และนิสัยเฉพาะตัวด้วย
  • ถ้านกคอกคาทีลวางไข่มากกว่า 8 ฟอง มากกว่า 2 ครั้งต่อปี แสดงว่าเป็น chronic egg layer หรือภาวะออกไข่มากกว่าปกติ จะทำให้ขาดวิตามินเอและแคลเซียมได้ แบบนี้ต้องพาไปให้หมอฉีดยา ถ้าใช้วิธีอื่นๆ เช่น วางไข่ปลอมในบ้านนก แล้วไม่ได้ผล
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าเอานกตัวเมียอายุต่ำกว่า 18 เดือนไปผสมพันธุ์ จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะนกคอกคาทีลที่ยังไม่โตเต็มวัยจะยังดูแลลูกนกไม่เป็น [11] ถ้ามีนกคอกคาทีลที่ยังไม่โตเต็มวัยแล้วรู้ว่าคนละเพศกัน หรือยังระบุเพศไม่ได้ ควรแยกกรงไว้จนกว่าจะโตเต็มที่ หรือเริ่มแสดงพฤติกรรมหาคู่
  • นกคอกคาทีลจับคู่แล้วบางทีก็ทะเลาะกัน ซึ่งก็ไม่ถึงขั้นบาดเจ็บหรืออันตรายแต่อย่างใด [12]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 98,231 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา