ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การปฏิเสธใครสักคนยากพอๆ กับการถูกปฏิเสธ โดยเฉพาะเมื่อคนคนนั้นเป็นเพื่อนคุณ แม้ว่าการปฏิเสธจะเป็นเรื่องยากเสมอ แต่มันก็เรื่องธรรมชาติที่สุดเรื่องหนึ่งในชีวิต การรู้วิธีปฏิเสธโดยรักษาน้ำใจจะทำให้กระบวนการทั้งหมดง่ายขึ้น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ปฏิเสธคนที่คุณรู้จัก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณรู้สึกพร้อมที่จะปฏิเสธคนที่ออกเดตกันไปครั้งสองครั้งหรือมีปฏิสัมพันธ์ในโลกออนไลน์ไม่กี่ครั้ง นั่นอาจหมายถึงคุณได้คาดการณ์ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นตามมาไว้แล้ว ต้องแน่ใจว่าเขาหรือเธอไม่ใช่คนที่ใช่ และต้องยอมรับว่ามิตรภาพจะไม่มีวันเหมือนเดิม (บางทีความสัมพันธ์แบบเพื่อนอาจไม่รอดด้วยซ้ำ) คุณต้องเตรียมใจรับการที่อีกฝ่ายอาจไม่ยอมรับการปฏิเสธด้วย
    • คิดคำพูดไปล่วงหน้าว่าควรพูดอะไรบ้าง อย่าโพล่งออกไปตรงๆ ว่า “ไม่” พยายามใช้วิธีอธิบายที่ไม่ห้วนหรือตัดบทจนเกินไป
    • เลือกคำพูดด้วยความใส่ใจ ลองซ้อมพูดหน้ากระจก ซ้อมต่อหน้าพี่น้องหรือเพื่อนที่เข้าใจสถานการณ์ก็ได้ สื่อสารออกไปอย่างชัดเจนให้อีกฝ่ายเข้าใจประเด็น แต่ก็ต้องแสดงออกว่าคุณเข้าใจหัวอกอีกฝ่ายด้วย
    • เตรียมพร้อมที่จะปรับตัวไปตามปฏิกิริยาของอีกฝ่าย คุณคงไม่อยากดูเหมือนกำลังท่องบท ลองซ้อมโดยจำลองว่าอยู่ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป
  2. มันเป็นเรื่องปกติที่คนเรามักจะหลีกเลี่ยงสิ่งที่ยากหรือทำให้ไม่สบายใจ แต่การเลื่อนการปฏิเสธออกไปเท่ากับว่าคุณกำลังทำให้ทุกอย่างเลวร้ายไปอีกทั้งที่รู้ดีแก่ใจว่าคุณอยากจบเรื่องนี้ ยิ่งคุณลากมันออกไปนานเท่าไหร่ อีกฝ่ายก็อาจจะคิดว่าทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดี และนั่นยิ่งทำให้การปฏิเสธดูเหมือนเกิดขึ้นปุบปับและทำร้ายอีกฝ่ายมากขึ้นด้วย [1] [2]
    • เลือกเวลาที่จะปฏิเสธให้เหมาะสม อย่าเลือกทำในวันเกิดของอีกฝ่าย วันที่มีการสอบครั้งใหญ่ หรือวันที่อีกฝ่ายต้องไปสัมภาษณ์งาน แต่อย่ารอ “เวลาที่เหมาะสม” นานเกินไป เพราะ “เวลาที่เหมาะสม” ก็คือจบมันให้เร็วที่สุด
    • ถ้าคุณคบกับใครสักคนมานาน เคล็ดลับต่างๆ ที่เรากล่าวถึงในที่นี้คงจะช่วยได้บ้าง แต่ยังไงคุณก็ต้องเจอสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด ลองเข้าไปดูที่ วิธีการ บอกเลิก หรือ วิธีการ เลิกกับคนที่คุณรัก เพื่อหาวิธีรับมือ
  3. ถึงแม้ว่าการส่งข้อความ ส่งอีเมล หรือโทรไปปฏิเสธจะดูง่ายกว่า แต่การแจ้งข่าวร้ายควรทำเมื่อเจอกันซึ่งหน้าถึงแม้เราจะอยู่ในยุคดิจิทัลแล้วก็ตาม โดยเฉพาะเมื่อคุณยังอยากเป็นเพื่อนกับอีกฝ่าย คุณต้องแสดงถึงวุฒิภาวะและให้ความเคารพอีกฝ่ายด้วย
    • การปฏิเสธซึ่งหน้าทำให้คุณได้เห็นว่าอีกฝ่ายมีปฏิกิริยายังไง พวกเขาอาจจะแสดงอาการตกใจ โกรธ หรืออาจจะโล่งใจ จากนั้นคุณก็ปฏิบัติตัวไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น [3]
    • หาสถานที่สงบและส่วนตัวมาก ๆ (หรือค่อนข้างเป็นส่วนตัว) ในการบอกปฏิเสธ ไม่มีใครอยากถูกปฏิเสธท่ามกลางผู้คนมากมายที่รายล้อม รวมถึงไม่อยากให้ได้ยินบทสนทนาที่เกิดขึ้นด้วย ถ้าคุณไม่อยากอยู่ในที่ที่เป็นส่วนตัวขนาดนั้นก็ลองหาร้านอาหาร ห้าง หรือคลับที่พอจะมีมุมลับสายตาคน
  4. เกริ่นให้อีกฝ่ายรู้ว่าคุณกำลังจะพูดเรื่องอะไร. เมื่อหาจังหวะที่เหมาะสมได้ อย่าเปลี่ยนเรื่องแบบฉับพลันทันที อย่างเช่นกำลังถามว่าพาสต้าอร่อยไหมแล้วต่อด้วย “ฉันว่าเราควรเป็นเพื่อนกันมากกว่า”
    • ผ่อนคลายบรรยากาศด้วยบทสนทนาที่รื่นหู แต่อย่าพยายามมากเกินไป คุณควรนำเข้าประเด็นที่จริงจังได้อย่างราบรื่นโดยไม่ทำให้มันดูเป็นเรื่องเล่นๆ หรือดูไม่มีมารยาท
    • เริ่มต้นการปฏิเสธด้วยประโยคนำเข้าที่ฟังเข้าท่า เช่น “การที่ได้รู้จักคุณมันดีมากเลย แต่...” “ฉันคิดเรื่องนี้มาหลายรอบและ...” หรือ “ฉันดีใจที่อย่างน้อยเราก็ได้ลองคบกัน แต่...”
  5. จริงใจต่อความรู้สึกแต่ก็อ่อนโยนกับอีกฝ่ายด้วย. ใช่ คุณต้องบอกความจริงให้อีกฝ่ายได้รับรู้ อย่ากุเรื่องทำนองว่าเจอคนใหม่ กลับไปคบแฟนเก่า หรือตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมกลุ่มอาสาสมัครหน่วยสันติภาพ ถ้าอีกฝ่ายจับได้ระหว่างที่คุณเล่าเรื่องโกหกหรือมารู้ความจริงทีหลัง ทุกอย่างจะยากขึ้นแน่นอน [4]
    • บอกสาเหตุที่แท้จริงว่าทำไมคุณถึงปฏิเสธ แต่อย่าโทษว่าเป็นความผิดของพวกเขา พยายามใช้ประโยคที่เริ่มต้นด้วย “ฉัน” เพื่อที่คุณจะได้โฟกัสที่ความต้องการ ความรู้สึก และมุมมองของคุณที่มีต่อสถานการณ์ ใช่ ประโยคที่ว่า “ไม่ได้เป็นเพราะคุณหรอก แต่เป็นที่ฉันเอง” อาจจะได้ยินกันจนเกร่อ แต่โดยหลักการแล้วมันก็ถือเป็นประโยคที่หวังผลได้ [5]
    • แทนที่จะพูดออกไปว่า “ฉันทนอยู่กับคนไร้ระเบียบชีวิตไม่เป็นแก่นสารไม่ได้” ลองพูดว่า “ฉันเป็นคนประเภทที่ต้องการความเป็นระเบียบและความมั่นคงในชีวิต
    • เล่าให้อีกฝ่ายฟังว่าคุณลองคิดแล้วว่า (ความแปลกต่างๆ นานาที่คุณคิดได้) จะเข้ากับ (ความแปลก) ของอีกฝ่ายได้ยังไง บอกไปว่าคุณลองคิดแล้วและมันไม่น่าจะรอด
  6. อย่าแค่บอกเหตุผล เอ่ยปากบอกลา และปล่อยให้อีกฝ่ายรู้สึกค้างเติ่ง ให้เวลาอีกฝ่ายได้เข้าใจสถานการณ์และตอบสนองต่อสิ่งที่ได้รับรู้
    • ถ้าคุณไม่ให้อีกฝ่ายเข้ามามีส่วนในการบอกปฏิเสธ เขาหรือเธออาจรู้สึกว่าความสัมพันธ์ยังไม่สิ้นสุดหรือยังพอมีโอกาสเหลืออยู่บ้าง
    • เห็นอกเห็นใจและให้อีกฝ่ายได้แสดงความเศร้า ร้องไห้ หรือระบายความขุ่นเคือง แต่คุณไม่จำเป็นต้องทนกับความโกรธที่เกินพอดีหรือคำพูดด่าทอ
  7. สิ่งที่เลวร้ายที่สุดคือการที่คุณกลับคำปฏิเสธเพราะรู้สึกสงสารหรือไม่อยากทำให้อีกฝ่ายเจ็บปวด คุณไม่คงเริ่มขั้นตอนการปฏิเสธหรอกถ้าไม่ได้มั่นใจแล้วว่าอยากจบความสัมพันธ์จริงๆ
    • ขอโทษด้วยท่าทีที่เหมาะสม วางมือลงบนไหล่ของอีกฝ่าย อย่าโลเล จดจ่ออยู่กับ “ประเด็นในการบอกเลิก” ลองพูดทำนองว่า “ฉันเสียใจที่เรื่องนี้มันทำให้เธอเจ็บปวด มันไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับฉันเหมือนกัน แต่ฉันมั่นใจว่ามันเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเรา”
    • อย่าไขว้เขวถ้าอีกฝ่ายชี้ให้เห็นความไม่สมเหตุสมผลในเหตุผลที่คุณบอกปฏิเสธ หรือบอกว่าจะปรับปรุงตัวแล้วขอให้คุณไปคิดเรื่องนี้อีกครั้ง หรือพยายามอธิบายว่าคุณเข้าใจผิด อย่าลืมว่าคุณไม่ได้อยู่ในศาลเสียหน่อย
    • อย่าให้ความหวังลมๆ แล้งๆ พยายามอย่าพูดคำว่าคุณ “ยัง” ไม่พร้อม หรือยังอยากเป็น “เพื่อน” กันอยู่ (ถึงแม้ว่าสุดท้ายแล้วคุณจะอยากเป็นเพื่อนกับเขาหรือเธอจริงๆ แต่ค่อยบอกทีหลังก็ได้) เพราะอีกฝ่ายอาจรู้สึกว่ายังพอมีลุ้น [6]
  8. พยายามให้กำลังใจและใจดีกับอีกฝ่าย บอกให้อีกฝ่ายรู้ว่าเขาหรือเธอเป็นคนดีแต่ไม่ใช่คนที่ใช่สำหรับคุณ บอกไปด้วยว่าเขาหรือเธอคงจะได้เจอคนดีๆ แน่นอน ขอบคุณสำหรับโอกาสที่ทำให้ได้รู้จักกันและขอให้อีกฝ่ายโชคดี
  9. ต้องใส่ใจเป็นพิเศษเวลาปฏิเสธเพื่อนที่ต้องการเป็นมากกว่าเพื่อน. ถ้าคุณยังอยากเป็นเพื่อนกับเขาหรือเธออยู่จริงๆ ลองพูดว่าคุณให้ความสำคัญกับมิตรภาพที่เกิดขึ้นมากแค่ไหน แต่อย่าใช้ประเด็นนี้เป็นข้ออ้าง เพราะมันไม่เพียงพอสำหรับคนที่อยากขยับความสัมพันธ์จนเอามิตรภาพมาเสี่ยงหรอก
    • บอกเหตุผลว่าทำไมสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นตอนเป็นเพื่อนจะไม่มีวันราบรื่นถ้าพัฒนามาเป็นความสัมพันธ์แบบคู่รัก ยกตัวอย่างเช่น “ฉันชอบที่คุณเป็นคนง่ายๆ ไม่คิดอะไรเยอะแล้วก็ตลก ฉันชอบตัวเองเวลาอยู่กับคุณเพราะเหมือนได้หลีกหนีสิ่งแย่ๆ แต่ฉันเป็นคนประเภทที่ยึดโยงกับความเป็นระเบียบและความสม่ำเสมอ นั่นคือสิ่งที่ฉันมองหาถ้าจะคบใครสักคน”
    • เตรียมใจรับสถานการณ์กระอักกระอ่วน บทสนทนาที่เกิดขึ้นจะน่าอึดอัด โดยเฉพาะเมื่อคุณบอกว่า “ไม่” อย่าทำให้อีกฝ่ายรู้สึกแย่ที่ทำให้เกิดสถานการณ์กระอักกระอ่วนแบบนี้ (เอ่อ...มันน่าอึดอัดใช่ไหม) แต่ก็อย่าลืมขอบคุณเพื่อนของคุณด้วยที่จริงใจกับความรู้สึก
    • เตรียมใจไว้ว่ามิตรภาพอาจจบลง อีกฝ่ายอาจตัดสินใจว่าไม่อยากให้ทุกอย่างเป็นแบบนี้ ไม่ว่าคุณจะคิดยังไงแต่มิตรภาพอาจจบลงแค่นั้น ลองพูดว่า “ฉันยังอยากเป็นเพื่อนกับคุณอยู่ คุณอาจต้องการเวลา ถ้าคุณพร้อมเมื่อไหร่ฉันก็ยินดีคุยด้วยเสมอ”
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ปฏิเสธคนที่เพิ่งรู้จัก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าอีกฝ่ายเป็นคนที่คุณเพิ่งได้เจอกันที่บาร์ ฟิตเนส หรือเจอระหว่างต่อคิว การใช้ข้ออ้างเพื่อไม่ต้องออกเดตก็เป็นทางเลือกที่ดี เพราะสุดท้ายแล้วคุณคงไม่ได้เจอกันอีกในเร็วๆ นี้หรอก แล้วถ้ายังไงก็จะไม่ได้เจอกันแล้ว ทำไมไม่พูดแบบเปิดอกไปเลยล่ะ มันอาจจะกระอักกระอ่วนหน่อยแต่สุดท้ายแล้วมันจะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายรู้สึกดีขึ้น
    • ประโยคง่ายๆ อย่าง “ดีจังที่ได้คุยกับคุณ แต่ฉันว่าพอแค่นี้ดีกว่า ขอบคุณมาก” อาจช่วยคุณได้
  2. คุณอาจจะไม่มีเวลาเตรียมตัวมากนักในการปฏิเสธเพื่อนคนใหม่ เพราะฉะนั้นอย่าอธิบายยาวยืด แค่พูดให้ชัดเจน กระชับ และจริงใจต่อความรู้สึกว่าทำไมคุณถึงไม่สานสัมพันธ์ต่อ
    • พยายามใช้ประโยคที่เริ่มต้นด้วย “ฉัน” เพื่อเน้นย้ำว่าทำไมคุณถึงไม่เหมาะกับอีกฝ่าย อาจจะพูดทำนองว่า “ขอโทษนะ แต่ฉันไม่ได้สนใจเรื่อง (กีฬาสุดโหด/เที่ยวรอบโลก/เล่นไพ่โป๊กเกอร์ออนไลน์) เหมือนคุณ เพราะฉะนั้นเราคงไม่เหมาะกันหรอก”
  3. ลืมเรื่องให้เบอร์ปลอมหรือกุเรื่องว่ามีแฟนแล้วไปได้เลย. ทำตัวให้เป็นผู้ใหญ่สิ การให้เบอร์ปลอมอาจช่วยลดความกระอักกระอ่วนที่เกิดขึ้นตรงหน้าได้ แต่สุดท้ายคุณก็จะทำให้อีกฝ่ายเสียใจอยู่ดี บางทีอาจจะเสียใจมากกว่าได้รับคำปฏิเสธตรงๆ เลยด้วยซ้ำ ถ้าการนึกถึงจิตใจคนอื่นเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคุณ คุณก็ควรนึกถึงเรื่องนี้ด้วยแม้ว่าจะไม่ได้เจออีกฝ่ายต่อหน้าก็เถอะ [7]
    • ถ้าคุณจำเป็นต้องใช้ข้ออ้างเรื่องมีแฟนแล้ว อย่างน้อยก็อย่าเปิดบทสนทนาด้วยเรื่องนี้ ลองปฏิเสธอย่างตรงไปตรงมาด้วยการบอกว่าความสนใจไม่ตรงกัน วิธีนี้อาจจะช่วยได้
  4. คุณอาจจะอยากให้สถานการณ์ดูสบายๆ ผ่อนคลาย แต่ถ้าทำมากเกินไป อย่างเช่นทำเสียงหรือทำหน้าตลกๆ หรือยกประโยคเด็ดจากหนังมาพูด อีกฝ่ายอาจคิดว่าคุณล้อเลียน อย่าทำตัวเป็นคนงี่เง่าทั้งที่ความจริงแล้วคุณพยายามเป็นคนดีต่างหาก [8]
    • ระวังเวลาเล่นมุกตลกเสียดสี ถึงแม้คุณจะพูดออกไปโดยใช้คำพูดชัดเจนว่าเป็นมุกตลกก็ตาม อย่างเช่น “ทำอย่างกับคนอย่างฉันจะเดตกับคุณอย่างนั้นแหละ” พร้อมดัดเสียงและยิ้มมุมปาก คนรอบตัวอาจเข้าใจมุกตลกเสียดสีของคุณ แต่อย่าลืมว่าอีกฝ่ายที่ถูกปฏิเสธอาจประมวลผลไม่ทันว่ามันคือคำพูดตลกเชิงประชด
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ปฏิเสธคนที่ไม่ยอมรับคำปฏิเสธ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลืมสิ่งที่คุณเรียนรู้มาไปได้เลยถ้าจำเป็นจริงๆ นะ. ถ้าคุณจะปฏิเสธใครสักคนที่ไม่เอะใจเรื่องนี้ รับไม่ได้กับการถูกปฏิเสธ หรือคนที่จะตามราวีคุณไปตลอด คุณอาจจะไม่ต้องใจดีกับเขาหรือเธอมากนัก แค่จบเรื่องให้เร็วและปลอดภัยที่สุดก็พอ
    • “ขอโทษนะ แต่ฉันไม่ได้อยากสานสัมพันธ์ต่อ แค่นี้แหละ ขอให้โชคดี ลาก่อน”
  2. การ “ตีหน้าตาย” จะช่วยได้มาก แต่ถ้ารู้ตัวว่าโกหกไม่เก่งก็ไม่ต้องทำ
    • โกหกให้น้อยที่สุด เพราะคำโกหกเล็กๆ น้อยๆ น่าเชื่อถือกว่าการปั้นเรื่องใหญ่โต
    • ให้เบอร์ปลอมหรือโกหกว่ามีแฟนแล้วถ้าจำเป็นจริงๆ หรือลองใช้ประโยค (ที่ขึ้นต้นด้วย “ฉัน”) อย่างเช่น “ฉันเพิ่งเลิกกับแฟนที่คบกันมานาน” “ฉันไม่เดตกับคนต่างศาสนา/วัฒนธรรม” หรือ “ฉันว่าคุณดูเหมือนน้องชาย/น้องสาวฉันมาก” [9]
  3. ในกรณีนี้การส่งข้อความหรืออีเมลก็เพียงพอแล้ว โดยเฉพาะถ้าคุณกังวลว่าอีกฝ่ายอาจระเบิดความโกรธเมื่อโดนปฏิเสธ ควรเว้นระยะห่างระหว่างคุณและอีกฝ่ายก่อนจะจบเรื่องนี้ [10]
  4. อย่าเมินใส่อีกฝ่ายหรือคาดหวังว่าเขาหรือเธอจะยอมแพ้และจากไป. บางคนก็ต้องใช้คำปฏิเสธแบบชัดเจนเพื่อเข้าใจเรื่องทั้งหมด อย่าสองจิตสองใจ อย่าทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าคุณไม่มั่นใจ คุณต้องปฏิเสธอย่างสุภาพแต่ก็ต้องชัดเจนและรวบรัดที่สุด
    • อย่าเพิ่งเพิกเฉยเวลาที่อีกฝ่ายส่งความข้อความ อีเมล หรือโทรมาหาจนกว่าคุณจะแสดงออกชัดเจนว่าต้องการจบความสัมพันธ์ หลังจากที่คุณปฏิเสธชัดเจนแล้วคุณค่อยเมินใส่คำร้อง คำบ่น หรือคำคร่ำครวญต่างๆ นานา
    • ถ้าคุณรู้สึกไม่ปลอดภัยหรือกลัวอีกฝ่าย ขอความช่วยเหลือและ/หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ บางคนก็ไม่สามารถรับมือกับการถูกปฏิเสธได้
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,792 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา