ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ปัจจุบันเราใช้มือถือหรือกล้องดิจิตอลในการถ่ายภาพ บางครั้งขนาดภาพก็เหมาะกับการใช้งาน แต่บางครั้งก็ไม่ โดยเฉพาะภาพจากกล้องดิจิตอลที่มีความละเอียดสูง ซึ่งทำให้ภาพที่ได้มีขนาดใหญ่เกินไป ไม่เหมาะกับการส่งอีเมลหรืออัปโหลดลงเว็บไซต์ ดังนั้นเราจึงต้องปรับขนาดหรือรีไซส์ (resize) โดยการลดขนาดภาพลงก่อน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการปรับขนาดก็มีมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่เสียค่าใช้จ่ายด้วย ถ้าอยากรู้ว่าการปรับขนาดภาพดิจิตอลนั้นมีวิธีการอย่างไร ก็ลองอ่านและทำตามขั้นตอนด้านล่างนี้ได้เลย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 9:

ใช้เว็บแอป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เว็บแอปที่ใช้ปรับขนาดภาพมีหลายเว็บ และส่วนใหญ่ก็ให้ใช้งานฟรี คุณแค่อัปโหลดรูปภาพลงเว็บและเลือกขนาดภาพที่ต้องการโดยใช้ฟีเจอร์ต่างๆ ที่มีให้ เว็บส่วนใหญ่มีฟีเจอร์พื้นฐานที่คล้ายๆ กัน แต่บางเว็บก็มีฟีเจอร์พิเศษที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งคุณสามารถเลือกใช้ได้ตามต้องการ โดยเว็บแอปที่เป็นที่นิยมได้แก่
    • picresize
    • Resize Your Image
    • Shrink Pictures
    • Web Resizer
    • Resize Pic
  2. คุณต้องเลือกรูปภาพที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ แล้วอัปโหลดลงเว็บ เมื่ออัปโหลดเสร็จ รูปภาพดังกล่าวจะปรากฏขึ้นมาพร้อมฟีเจอร์สำหรับการแก้ไขต่างๆ
    • เว็บแอปส่วนใหญ่จะกำหนดขนาดภาพสูงสุดที่สามารถอัปโหลดได้ไว้ ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 5 MB
  3. วิธีการปรับขนาดภาพจะแตกต่างกันไปตามแต่ละเว็บ ซึ่งบางเว็บก็อาจทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเลือกขนาดภาพเป็นเปอร์เซ็นต์โดยเทียบกับภาพต้นฉบับ กล่าวคือให้ภาพใหม่มีขนาดคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของภาพต้นฉบับ หรือปรับลดตามตัวเลือกที่มีให้ ทั้งนี้เกือบทุกเว็บไซต์จะมีฟีเจอร์ที่ให้ปรับขนาดโดยการปรับพิกเซล (pixel) ของรูปภาพ
  4. เว็บที่ให้บริการส่วนใหญ่สามารถกำหนดได้ว่าจะให้ภาพที่ออกมาถูกบีบอัดมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการบีบอัดนี้จะส่งผลต่อคุณภาพของภาพ โดยภาพที่มีการบีบอัดมากกว่า จะมีคุณภาพต่ำกว่า และมีขนาดเล็กกว่า
  5. นอกจากปรับขนาดรูปภาพแล้ว คุณยังสามารถหมุนหรือกลับภาพ แก้สีภาพ ใส่ฟิลเตอร์ (filter) ฯลฯ ได้ด้วย ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้ตามต้องการ (เอฟเฟคที่มีให้เลือกจะแตกต่างกันไปตามแต่ละเว็บ)
  6. เมื่อคุณตั้งค่าต่างๆ รวมถึงใส่เอฟเฟคเสร็จเรียบร้อย ให้คลิกที่ปุ่ม “Download” หรือปุ่ม “Resize” หรือไม่ก็ปุ่มคล้ายๆ กันนี้ จากนั้นรูปภาพที่ถูกแก้ไขก็จะถูกดาวน์โหลดลงคอมพิวเตอร์ของคุณ ซึ่งคุณสามารถนำไปใช้งานได้ตามต้องการ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 9:

ใช้โปรแกรม “Paint”

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แล้วคลิกที่ “File” เลือก “Open” จากนั้นเลือกรูปภาพที่คุณต้องการปรับขนาด ทั้งนี้ถ้าคุณต้องการปรับขนาดรูปภาพที่อยู่ในเฟซบุ๊กหรือในเว็บไซต์อื่นๆ คุณต้องดาวน์โหลดมันมาไว้ในคอมพิวเตอร์ก่อน
  2. สำหรับโปรแกรม “Paint” เวอร์ชันใหม่ ปุ่ม “Resize” จะอยู่ในแท็บ “Home” ส่วนเวอร์ชันเก่า ให้คลิกที่ “Image” บนแถบเมนู แล้วเลือก “Resize/Skew”
  3. คุณสามารถเลือกปรับขนาดโดยการปรับเป็นเปอร์เซ็นต์หรือพิกเซลก็ได้ ทั้งนี้ถ้าคุณติ๊กถูกตรง “Maintain aspect ratio” เมื่อคุณปรับขนาดด้านใดด้านหนึ่งของภาพ อีกด้านหนึ่งก็จะปรับให้อัตโนมัติ ซึ่งทำให้รูปภาพมีสัดส่วนเท่าเดิม
  4. จากนั้นรูปภาพก็จะถูกปรับขนาดตามที่คุณกำหนดไว้ แต่ถ้าไม่ชอบ คุณสามารถยกเลิกการแก้ไขได้โดยกดปุ่ม Ctrl+Z เพื่อกลับไปยังภาพต้นฉบับอีกครั้ง
  5. ถ้าคุณพอใจกับขนาดภาพใหม่แล้ว ให้คลิกที่ “File” แล้วเลือก “Save As” จากนั้นตั้งชื่อไฟล์ใหม่ เพื่อไม่ให้เซฟทับไฟล์ภาพต้นฉบับ
  6. ประเภทของไฟล์ที่เลือกจะส่งผลต่อคุณภาพของรูปภาพ ทั้งนี้ไฟล์ภาพที่คนนิยมใช้ในการอัปโหลดลงเว็บหรือแนบไปกับอีเมลมากที่สุดคือไฟล์ PNG กับ JPG
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 9:

ใช้โปรแกรม “Picasa”

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้ารูปภาพที่คุณต้องการปรับขนาดไม่ได้อยู่ใน library คุณสามารถเพิ่มรูปภาพดังกล่าวเข้าไปได้ โดยคลิกที่ “File” แล้วเลือก “Add File to Picasa” เมื่อไฟล์ถูกเพิ่มเข้ามาใน library เรียบร้อยแล้ว ให้คุณคลิกเพื่อเลือกไฟล์นั้น
  2. คลิก “File” แล้วเลือก “Export Picture to Folder” จากนั้นหน้าต่าง “Export to Folder” ก็จะเปิดขึ้นมา ซึ่งคุณสามารถเลือกตำแหน่งที่ต้องการเซฟรูปได้จากหน้าต่างนี้
  3. ในหัวข้อ “Image size” คุณสามารถเลือกได้ว่าจะปรับขนาดตามตัวเลือกที่กำหนดให้ หรือระบุขนาดพิกเซลที่แน่นอนไปเลย โดยการปรับโดยระบุขนาดพิกเซล จะเป็นการปรับที่ด้านยาวของรูปภาพ ส่วนอีกด้านหนึ่งนั้นมันจะปรับให้อัตโนมัติ
  4. คลิกที่ตัวเลือกตรง “Image quality” ถ้าคุณเลือก “Automatic” มันจะปรับให้มีคุณภาพใกล้เคียงกับภาพต้นฉบับเท่าที่เป็นไปได้ ถ้าเลือก “Maximum” มันจะคงรายละเอียดภาพไว้ให้มากที่สุด แต่ก็ทำให้ไฟล์ภาพมีขนาดใหญ่ด้วย ถ้าเลือก “Minimum” มันก็จะปรับให้ภาพมีคุณภาพต่ำและมีขนาดเล็ก
  5. คลิกที่ปุ่ม “Export” เมื่อตั้งค่าต่างๆ เสร็จเรียบร้อย. จากนั้นรูปภาพที่ผ่านการปรับขนาดก็จะถูกเซฟอยู่ในตำแหน่งที่คุณกำหนดไว้
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 9:

ใช้โปรแกรม “Adobe Photoshop”

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยคลิกที่ “File” แล้วเลือก “Open” จากนั้นเลือกรูปภาพที่คุณต้องการปรับขนาด
  2. โดยคลิกที่ “Image” บนแถบเมนู แล้วเลือก “Image Size...” จากนั้นหน้าต่าง “Image Size” ก็จะเปิดขึ้นมา
  3. คุณสามารถเลือกได้ว่าจะปรับขนาดโดยการปรับเป็นพิกเซล นิ้ว หรือเปอร์เซ็นต์ เมื่อเลือกได้แล้วก็ใส่ขนาดที่ต้องการลงไป โดยเมื่อปรับขนาดของด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งก็จะปรับให้อัตโนมัติ ซึ่งทำให้รูปภาพมีสัดส่วนเท่าเดิม อย่างไรก็ตาม คุณสามารถปรับขนาดเฉพาะด้านได้โดยคลิกที่ไอคอนรูปโซ่ที่อยู่ระหว่างความกว้างกับความยาว การทำเช่นนี้จะทำให้การปรับขนาดของด้านหนึ่ง ไม่ส่งผลต่อขนาดของอีกด้านหนึ่ง
  4. เลือกรูปแบบของการรีแซมปลิง (resampling) หรือการเปลี่ยนแปลงขนาดของพิกเซล. โดยคลิกเลือกที่ “Resample Image” ซึ่งอยู่ด้านล่างของหน้าต่าง การรีแซมปลิงในแต่ละรูปแบบจะส่งผลต่อคุณภาพของภาพหลังปรับขนาดแตกต่างกันไป คุณสามารถกดเลือกเพื่อให้ภาพออกมาตามต้องการได้
  5. เมื่อคลิกแล้วรูปภาพที่ถูกปรับขนาดก็จะปรากฏขึ้นมาในหน้าต่างหลัก ถ้าคุณพึงพอใจกับภาพดังกล่าว ให้คลิกที่ “File” แล้วเลือก “Save As” จากนั้นตั้งชื่อไฟล์ใหม่ เพื่อไม่ให้เซฟทับไฟล์ภาพต้นฉบับ
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 9:

ใช้โปรแกรม “GIMP”

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยคลิกที่ “File” แล้วเลือก “Open” จากนั้นเลือกรูปภาพที่คุณต้องการปรับขนาด (“GIMP” คือโปรแกรมตกแต่งรูปภาพคล้ายกับ “Adobe Photoshop” เป็นโปรแกรมโอเพนซอร์ซ (open source) ที่อนุญาตให้นำไปใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย)
  2. โดยคลิกที่ “Image” บนแถบเมนู แล้วเลือก “Scale Image” จากนั้นหน้าต่าง “Scale Image” ก็จะเปิดขึ้นมา
  3. คุณสามารถเลือกได้ว่าจะปรับขนาดเป็นพิกเซล เป็นนิ้ว หรือเป็นเปอร์เซ็นต์ โดยคลิกเลือกตรงเมนูที่อยู่ด้านหลังส่วนของ “Image Size” จากใส่ขนาดที่คุณต้องการลงไป โดยเมื่อปรับขนาดของด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งก็จะปรับให้อัตโนมัติ ซึ่งจะทำให้ภาพมีสัดส่วนเท่าเดิม แต่ถ้าคุณต้องการปรับด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ ให้คลิกที่ไอคอนรูปโซ่ซึ่งอยู่ด้านหลังความกว้างกับความยาว
  4. โดยคลิกเลือกรูปแบบการรีแซมปลิงที่ต้องการตรง “Interpolation” ในส่วนของ “Quality” การรีแซมปลิงแต่ละแบบจะส่งผลต่อคุณภาพของรูปภาพแตกต่างกันไป ให้คุณลองเลือกดูเพื่อให้รูปภาพที่ออกมาดูดีที่สุด
  5. เมื่อคลิกแล้ว รูปภาพที่ถูกปรับขนาดก็จะปรากฏขึ้นมา แต่ถ้าคุณไม่พอใจรูปภาพดังกล่าว ก็สามารถคลิกที่ “Edit” บนแถบเมนู แล้วเลือก “Undo” เพื่อยกเลิกการแก้ไขได้
  6. เมื่อคุณพอใจกับรูปภาพที่ถูกปรับขนาดแล้ว ให้คลิกที่ “File” แล้วเลือก “Save as” จากนั้นตั้งชื่อไฟล์ใหม่ เพื่อจะได้ไม่เซฟทับไฟล์ภาพต้นฉบับ
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 9:

ใช้โปรแกรม “Icecream Image Resizer”

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ดาวน์โหลดโปรแกรม “Icecream Image Resizer” จากเว็บของผู้สร้างโดยตรง. จากนั้นทำการติดตั้งและรันโปรแกรม
  2. โดยคลิกที่ “Add image to resize” เพื่อเปิด “Windows Explorer” แล้วเลือกไฟล์ภาพจากในคอมพิวเตอร์ หรือไม่ก็ลากรูปภาพที่ต้องการไปวางยังหน้าต่างของโปรแกรมนี้ได้เลย
  3. เมื่อคุณเพิ่มไฟล์ภาพเข้ามาในโปรแกรมแล้ว รูปภาพดังกล่าวจะปรากฏในด้านซ้าย ส่วนด้านขวาจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ตั้งค่าต่างๆ ซึ่งคุณสามารถกำหนดได้ตามต้องการ เมื่อเสร็จแล้ว ให้กดที่ปุ่ม “RESIZE”
  4. เมื่อรูปภาพถูกปรับขนาดเรียบร้อย จะมีหน้าต่างซึ่งมีปุ่ม “OPEN FOLDER” เด้งขึ้นมา. คลิกที่ปุ่มนั้นเพื่อเปิดโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ภาพที่ผ่านการปรับขนาดไว้
    โฆษณา
วิธีการ 7
วิธีการ 7 ของ 9:

ใช้โปรแกรม “Light Image Resizer”

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ดาวน์โหลดโปรแกรม “Light Image Resizer” (เดิมชื่อ “VSO Image Resizer”) จากเว็บของผู้สร้างโดยตรง. จากนั้นทำการติดตั้งและเปิดโปรแกรมขึ้นมา ทั้งนี้ก่อนที่จะดาวน์โหลด คุณต้องเอาเครื่องหมายถูกตรง “Include sponsored software offers” ออกก่อน
  2. จากนั้นเลือกไฟล์ภาพที่คุณต้องการปรับขนาด หรือไม่ก็ลากไฟล์ดังกล่าวไปวางยังหน้าต่างของโปรแกรม
  3. เมื่อภาพถูกเพิ่มเข้ามาในโปรแกรมแล้ว ภาพนั้นก็จะปรากฏขึ้นในหน้าต่าง ให้คุณคลิกที่ “Next”
  4. ตั้งค่าต่างๆ ตามที่คุณต้องการ เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม “Process” เพื่อปรับขนาดภาพ
  5. เมื่อภาพถูกปรับขนาดเรียบร้อย ก็จะมีหน้าต่างเด้งขึ้นมา ให้คุณคลิกที่ปุ่มที่มีรูปสามเหลี่ยมซึ่งอยู่ถัดจากปุ่ม “Close”. จากนั้นคลิกที่ “Open destination folder” เพื่อเปิดโฟลเดอร์ที่เก็บรูปภาพที่ผ่านการปรับขนาดไว้
    โฆษณา
วิธีการ 8
วิธีการ 8 ของ 9:

ใช้โปรแกรม “Mihov Image Resizer”

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ดาวน์โหลดโปรแกรม “Mihov Image Resizer” จากเว็บของผู้สร้างโดยตรง. จากนั้นทำการติดตั้งแล้วเปิดใช้งานโปรแกรม
  2. เปิดโฟลเดอร์ที่มีภาพที่ต้องการปรับขนาดทางด้านซ้ายของหน้าต่าง. (โปรแกรมจะเรียกโฟลเดอร์ต่างๆ ขึ้นมาให้คุณเลือกโดยอัตโนมัติ เมื่อเปิดใช้งาน)
  3. แล้วเลือกประเภทไฟล์ที่ต้องการ จากนั้นแท็บของประเภทไฟล์ดังกล่าวก็จะเปิดขึ้นมา
  4. เมื่อแท็บของประเภทไฟล์ที่เลือกเปิดขึ้นมา ให้คุณตั้งค่าคุณภาพและปรับขนาดของภาพ (ปรับเป็นพิกเซล). หลังจากตั้งค่าต่างๆ เสร็จแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม “Resize” เพื่อทำการปรับขนาด
  5. เมื่อภาพถูกปรับขนาดเรียบร้อย ภาพนั้นก็จะถูกเซฟลงในโฟลเดอร์เดียวกันกับภาพต้นฉบับ
    โฆษณา
วิธีการ 9
วิธีการ 9 ของ 9:

ปรับขนาดรูปภาพสำหรับอัปลงอินสตาแกรม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ดาวน์โหลดแอปที่ใช้ปรับขนาดภาพลงในมือถือหรือแท็บเล็ตของคุณ. เนื่องจากอินสตาแกรมเปิดให้อัปโหลดรูปภาพผ่านมือถือหรือแท็บเล็ตเท่านั้น ดังนั้นถ้าคุณต้องการตกแต่งหรือปรับขนาดรูปภาพ คุณก็ต้องดาวน์โหลดแอปที่ใช้ตกแต่งภาพมาไว้ในเครื่องก่อน คุณสามารถใช้แอปเหล่านี้ในการปรับขนาดภาพให้เหมาะกับอินสตาแกรมได้ ซึ่งส่งผลให้ภาพไม่ถูกครอปเมื่ออัปลงอินสตาแกรม (อินสตาแกรมเวอร์ชันเก่าจะครอปภาพให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่เวอร์ชันปัจจุบันสามารถอัปภาพลักษณะใดก็ได้)
    • ถ้าคุณต้องการอัปภาพในคอมพิวเตอร์ลงอินสตาแกรมเวอร์ชันเก่าที่ต้องเป็นภาพสี่เหลี่ยมจัตุรัสเท่านั้น คุณต้องปรับขนาดภาพให้มีขนาด 612 × 612 พิกเซล ส่วนอินสตาแกรมเวอร์ชันปัจจุบัน สามารถอัปภาพลักษณะใดก็ได้ตามต้องการ
  2. ฟีเจอร์ต่างๆ ที่อยู่ในแอปจะแตกต่างกันไปตามแต่ละแอป แต่ส่วนใหญ่จะมีฟีเจอร์ที่ใช้สำหรับปรับขนาดภาพ หรือสำหรับครอปภาพให้พอดีกับการอัปลงอินสตาแกรมมาให้
  3. เปิดแอปอินสตาแกรม แล้วเลือกภาพที่ผ่านการปรับขนาดแล้ว จากนั้นอัปโหลดรูปภาพ แล้วคุณก็จะพบว่าภาพดังกล่าวไม่ถูกครอป หรือมีส่วนใดขาดหายไป
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ในการสร้างไฟล์ภาพที่มีขนาดเล็ก คุณต้องเลือกประเภทไฟล์ให้ถูก โดยประเภทของไฟล์ภาพโดยทั่วไปก็ได้แก่ JPG GIF และ PNG
    • ไฟล์ JPG เป็นประเภทไฟล์ที่ถูกตั้งไว้เป็นค่าตั้งต้นในกล้องถ่ายภาพส่วนใหญ่ เหมาะสำหรับภาพแบบฟูลคัลเลอร์ (full-color) ไฟล์ประเภทนี้ให้สมดุลระหว่างขนาดกับคุณภาพของภาพได้เหมาะสมมากที่สุด
    • ไฟล์ GIF ไฟล์ GIF เป็นประเภทไฟล์ที่มีขนาดเล็กกว่า JPG แต่ก็จะให้ภาพเป็นแบบ 256 สี ซึ่งอาจแสดงสีผิดเพี้ยนไปจากปกติ ไฟล์ประเภทนี้ไม่เป็นที่นิยมแล้ว จึงไม่แนะนำให้ใช้
    • ไฟล์ PNG ไฟล์ PNG เป็นประเภทไฟล์ที่ให้ภาพแบบทรูคัลเลอร์ (true color) สามารถกำหนดให้พื้นภาพเป็นพื้นโปร่งแสงได้ (transparency) และสามารถเซฟภาพได้โดยไม่มีการสูญเสียข้อมูลใดๆ เป็นประเภทไฟล์ที่มีขนาดใหญ่กว่าไฟล์สองประเภทข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาพแต่ละภาพด้วย

ประเภทไฟล์ที่เหมาะสำหรับภาพที่ถูกปรับขนาดคือ ไฟล์ JPG

โฆษณา

คำเตือน

  • ภาพที่ถูกปรับขนาดนั้นมีความละเอียดไม่สูงเท่าภาพต้นฉบับ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของภาพเมื่อปริ๊นออกมา ดังนั้นถ้าคุณต้องการปริ๊นภาพแบบฟูลไซส์ (full-sized) หรือภาพขนาดจริง ให้เซฟไฟล์ภาพที่ถูกปรับขนาดแยกไว้ต่างหาก แล้วสั่งปริ๊นภาพที่เป็นต้นฉบับ
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,341 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา