ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ชีวิตล้วนมีอุปสรรค และการที่ต้องพยายามก้ามข้ามสิ่งเหล่านี้ก็ทำให้เราเหนื่อยท้อได้ง่ายๆ แม้คุณจะไม่สามารถควบคุมสิ่งที่ประดังประเดเข้ามาในชีวิตแต่ละวันได้ คุณก็ยังสามารถควบคุมได้ว่าตนเองจะตอบสนองสิ่งเหล่านั้นอย่างไร ทัศนคติที่ดีๆ อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม! ด้วยการมองสะท้อนชีวิตของตน และกำหนดกรอบความคิดเสียใหม่ คุณสามารถเรียนรู้ที่จะสนองตอบสิ่งต่างๆ ได้อย่างดี และพัฒนาทัศนคติที่มีต่อชีวิตของคุณได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เปลี่ยนวิธีที่คุณสื่อสารกับตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอาจบ่อนทำลายตนเองด้วยความคิดแย่ๆ โดยไม่รู้ตัว ให้คุณเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการรับรู้ถึงความคิดด้านลบ และรู้ว่ามันมีอาจจะผลต่อคุณอย่างไรได้บ้าง รูปแบบความคิดด้านลบที่พบทั่วไป ได้แก่:
    • การกรองหรือลดทอนความคิดดีๆ ลง ส่วนสิ่งไม่ดีๆ กลับไปขยายมันขึ้น
    • การมองโลกสุดโต่ง หรือการมองแต่ด้านดีหรือไม่ดีด้านใดด้านหนึ่ง โดยไม่มีคำนึงถึงส่วนที่อยู่ตรงกลาง
    • การมองว่าทุกสิ่งคือหายนะ หรือการจินตนาการถึงสถานการณ์ที่แย่ที่สุดที่อาจเกิดขึ้น [1]
  2. ด้วยการฝึกฝนเล็กๆ น้อยๆ คุณก็สามารถเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนความคิดของตนได้ เริ่มด้วยกฎง่ายๆ แค่ข้อเดียว: อย่านำคำพูดที่ปกติคุณจะไม่ใช้กับเพื่อนมาใช้กับตนเอง อย่าใจร้ายกับตัวเอง ให้กำลังใจตนเองแบบที่คุณให้กำลังใจเพื่อนของคุณ [2]
  3. มันเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องที่ว่า คนจะมองโลกในแง่ดีหรือมองโลกในแง่ร้าย ล้วนเป็นไปตามธรรมชาติแต่ละคน ในความเป็นจริง การมองโลกในแง่ดีเกิดได้เพราะการฝึกฝน จงพยายามเจาะจงเลือกมองสิ่งดีๆ แทนที่จะคิดว่า "ฉันไม่เคยทำสิ่งนี้มาก่อน" ให้บอกตัวเองว่า "นี่เป็นโอกาสดีที่จะได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ" [3]
  4. พยายามทำให้ “เสียงวิจารณ์ในตัวคุณ” เงียบเสีย. เราต่างมีเสียงในใจที่มักจะวิพากษ์วิจารณ์หรือตั้งคำถามกับตัวเราเอง เสียงนี้อาจพูดว่า เราไม่ดีพอ ไม่เก่งพอ หรือไม่ควรค่าแก่ความรักของใคร ความคิดเหล่านี้อาจเกิดขึ้นเพื่อปกป้องเราจากความผิดหวังหรือการอกหัก แต่ที่จริงแล้ว มันไม่ได้ให้อะไรนอกจากคอยฉุดรั้งคุณเอาไว้ [4] เมื่อไหร่ที่เสียงวิจารณ์ในใจดังขึ้น ให้คุณถามคำถามเหล่านี้กับตัวเอง
    • ความคิดพวกนี้มันเป็นเรื่องจริงจริงๆหรือ
    • เป็นไปได้หรือไม่ว่า ความคิดเหล่านี้มัน "ไม่จริง" แล้วฉันยอมรับได้หรือไม่ว่าสิ่งที่คิดอาจจะไม่จริงก็ได้
    • ฉันรับรู้ถึงความเป็นไปได้ที่ว่า จริงๆ แล้วฉันดีพอ เก่งพอ และมีค่าพอหรือไม่
  5. หากความรู้สึกผิด ความเจ็บปวด หรือความเสียใจกับเหตุการณ์ในอดีตต่างทำให้คุณรู้สึกแย่ คุณสามารถทำบางสิ่งที่จะช่วยปลดปล่อยความรู้สึกเหล่านั้นออกมาได้
    • ตั้งใจแน่วแน่ที่จะสละบางสิ่งบางอย่างทิ้ง เขียนมันออกมา และ/หรือพูดออกมาดังๆ
    • แสดงความรู้สึกเจ็บปวด และ/หรือออกมารับผิดชอบ หากว่ามีบางสิ่งที่คุณต้องการบอกกับใครสักคน จงพูดมันออกมา ถึงแม้สิ่งที่คุณต้องการจะพูดคือคำว่า “ฉันขอโทษ”
    • ให้อภัยตนเองและผู้อื่น ทุกคนล้วนทำพลาดได้ ให้คุณพยายามจำสิ่งนี้ไว้ ไม่มีใครหรอกที่สมบูรณ์แบบ และทุกคนต่างสมควรได้รับโอกาสอีกครั้ง (คุณเองก็ด้วย) [5]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ปรับมุมมองของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ชีวิตคนเราต้องมีการประนีประนอมบ้าง การที่เราปรารถนาความสมบูรณ์ หมายความว่า เราจะพบกับความพลาดหวังเสมอ การจะก้าวข้ามความเป็นอุดมคติเช่นนี้ ต้องเริ่มจากการปรับมาตรฐานของคุณเสีย คุณตั้งมาตรฐานให้กับตัวเองไว้สูงกว่าที่ตั้งไว้ให้ผู้อื่นหรือไม่ อะไรที่คุณคาดหวังจากผู้อื่นเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์หนึ่งๆ หากคุณรับได้กับวิธีที่ผู้อื่นรับมือกับปัญหานั้นๆ คุณก็ควรให้คุณค่าตนเองบ้างเช่นกัน [6]
  2. ทำสิ่งที่ช่วยให้คุณได้ออกจากจุดที่ตนเองสบายบ้าง. เลือกทำสิ่งที่คุณอาจไม่ถนัดนัก เช่น ปีนหน้าผา ตีปิงปอง หรือวาดภาพ ยอมให้ตัวเองทำผลงานออกมาได้ไม่ดีบ้าง พยายามหาความสุขจากกิจกรรมที่คุณไม่ได้เก่งโดดเด่นโดยธรรมชาติ สิ่งนี้จะช่วยเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ๆ ช่วยให้คุณปล่อยวางจากความสมบูรณ์แบบ และที่สุดแล้ว มันจะช่วยปรับทัศนคติในการมองโลกของคุณด้วย [7]
  3. ใช้เวลาสักครู่เพื่อหายใจ พยายามอย่าใช้ชีวิตรีบเร่งจนตนเองตามไม่ทัน สนใจความคิดคนอื่นให้น้อยลง และสนใจสิ่งที่อยู่ตรงหน้าคุณให้มาก ละเลียดรสชาติอาหาร มองออกนอกหน้าต่าง เวลาที่เราพยายามที่จะเก็บเกี่ยวทุกขณะของเรา เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านั้นจะกลายมาเป็นความทรงจำที่หอมหวานมากกว่าที่เคย [8]
  4. เป็นไปได้ว่า คุณแบกเอาสิ่งที่คุณคิดว่า “สมควร” และ “น่าจะ” ไว้กับตัว ข้อจำกัดเหล่านี้อาจสร้างความรู้สึกผิด กระวนกระวาย หรือทำให้คุณด่วนตัดสินอะไรต่ออะไร เมื่อคุณนำความคิดเหล่านี้มาใช้กับตัวคุณเอง คุณก็ได้ปิดกั้นตัวเองจากสิ่งที่อาจสร้างความสุขให้กับตนเอง เมื่อคุณใช้กฎเกณฑ์เหล่านี้กับคนอื่นๆ ก็อาจกลายเป็นว่า คุณไประรานคนอื่น หรือกลายเป็นคนบ้าบอไปได้ ให้คุณปล่อยวางกฏเกณฑ์ชีวิตทั้งหลายที่ไม่ช่วยให้ชีวิตดีขึ้นเสีย [9]
  5. เวลาที่คุณไม่จริงจังกับทุกสิ่งทุกอย่างจนเกินไป คุณจะรับมือกับสถานการณ์ทุกรูปแบบได้ดียิ่งขึ้น เรื่องขำขันสามารถสร้างช่วงเวลาดีๆ ให้สนุกสนานยิ่งขึ้นไปอีก หรือทำให้เราอดทนกับช่วงเวลาที่ชวนเศร้า ชวนเครียดได้มากขึ้นอีกหน่อย [10]
    • เล่นมุกตลก
    • วิ่งเล่น
    • มองหาสิ่งขบขันในชีวิตแต่ละวัน
  6. หลายครั้งที่เราใช้ชีวิตตามหาสิ่งที่อยู่ตรงหน้าเรา เราไล่ตามความฝันที่จะมีเงิน มีเกียรติ ทั้งที่สิ่งที่เราต้องการที่แท้จริง คือ ความสบายใจ และการยอมรับ แทนที่จะมัวแต่สนใจว่า สิ่งที่คุณคิดว่าตนเองต้องการคืออะไร ให้ใช้เวลาชั่วครู่ ยินดีกับสิ่งที่คุณมีอยู่แล้ว ให้ความสนใจกับสุขภาพที่ดีของคุณ ความสำเร็จที่เพิ่งเกิดขึ้น หรือแค่การได้ลืมตาตื่นขึ้นมาอีกครั้งเมื่อเช้านี้ [11]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

จัดการความสัมพันธ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้แน่ใจว่าผู้คนในชีวิตของคุณต่างเป็นคนคิดบวกและมีความสนับสนุนส่งเสริม ให้คุณแวดล้อมตัวเองด้วยคนที่พึ่งพาได้ [12] หากคนรอบตัวคุณชอบนินทา ช่างบ่น หรือสร้างปัญหา คุณอาจต้องเริ่มตีตัวออกห่างคนเหล่านี้ มองหาโอกาสเข้าสังคมที่มีคนคิดบวก เช่น ในคลาสเรียนโยคะ หรือกลุ่มผู้ชื่นชอบการปีนเขา
  2. เวลาที่คุณเชื่อว่าคุณรู้อยู่แล้วว่าอะไรจะเกิดขึ้น คุณจะหยุดสังเกตสิ่งที่มันกำลังเกิดขึ้นจริงๆ คุณจะแสดงท่าที่ตามสิ่งที่คุณคิดมากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้า เมื่อคุณเชื่อว่าคุณรู้ว่าอีกฝ่ายคิดอะไร คุณจะหยุดฟังเขาเหล่านั้น สิ่งนี้อาจก่อให้เกิดความเจ็บปวด และความบาดหมางรุนแรงกว่าที่ควรจะเป็น แทนที่จะตัดสินคนอื่นโดยไม่คิด ให้พยายามฟังและสังเกตสิ่งต่างๆ อย่างตั้งใจ [13]
  3. หลายครั้ง เราทำสิ่งที่กดความรู้สึกตัวเองก็เพื่อเลี่ยงความเศร้าเสียใจ แต่ความรู้สึกเช่นนี้ก็มีข้อดีของมันอยู่ มันทำให้เรารู้สึกว่าเรายังมีชีวิตอยู่ อันที่จริง ความเศร้าเสียใจสามารถช่วยฟื้นฟูพลังให้เราได้อย่างมาก ซึ่งผลดังกล่าวนี้จะช่วยเพิ่มความสามารถที่จะมีความสุขให้กับคนเราได้ด้วย [14] ยามที่ความรู้สึกไม่ดีๆ เกิดขึ้น จงใส่ใจความรู้สึกเหล่านั้น และจัดการกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นโดยการเขียนมันออกมา หรือคุยกับใครสักคน
  4. สุภาษิตโปแลนด์กล่าวไว้ว่า “ถ้าไม่ใช่เรื่องของฉัน ก็ไม่ใช่ปัญหาของฉัน” สุภาษิตนี้เตือนให้เราระลึกได้ว่า เราไม่จำเป็นต้องไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องวุ่นๆ ของคนอื่น เรื่องวุ่นวายและปัญหาเหล่านั้นอาจทำให้คุณยิ่งรู้สึกไม่ดีมากขึ้น
    • พยายามอย่าไปแทรกกลางระหว่างปัญหาของผู้อื่น
    • เลี่ยงการนินทา! อย่าพูดถึงคนอื่นลับหลัง [15]
    • อย่าให้ใครดึงคุณมาอยู่ในวงสนทนาเหล่านั้น หรือมากดดันให้คุณเลือกข้าง
  5. พยายามเคารพเพื่อนร่วมโลก และมีปฏิสัมพันธ์กับพวกเขาด้วยวิธีที่ดีและอ่อนโยน ไม่เพียงแต่มันจะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น แต่ยังช่วยดึงดูดบรรดาคนคิดบวกให้เข้าหาคุณด้วย นักวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์แล้วว่า เมื่อใดที่เราพยายามมีความคิดดีๆ (แม้ในยามที่เราไม่ได้รู้สึกมีความสุข) ความสุขจะกลับคืนสู่ตัวเราได้อย่างรวดเร็วมาก [16]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ออกกำลังให้รูปร่างเข้าที่. ร่างกายที่แข็งแรงช่วยให้คุณรับมือกับความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่างกายที่แข็งแรงจะนำไปสู่สุขภาพจิตที่ดี! [17]
  • มีส่วนร่วมกับชุมชน. ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ ชมรมโยคะ หรือกลุ่มเย็บปักถักร้อย มองหาโอกาสที่โรงเรียน หรือละแวกบ้าน และพยายามสร้างสัมพันธ์กับผู้คน
  • หากคุณคิดว่าคุณอาจมีอาการซึมเศร้า ให้คุยกับผู้ให้คำปรึกษาหรือแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม
โฆษณา

คำเตือน

  • การฆ่าตัวตายไม่เคยเป็นคำตอบของปัญหาใด
  • ระวังอย่าเลือกใช้การปะทะกับผู้ที่ปฏิบัติไม่ดีกับคุณ ให้เลี่ยงหรือจัดการกับคนเหล่านั้นอย่างใจเย็น และจัดการอย่างคนมีวุฒิภาวะ
  • หากคุณเป็นเหยื่อของการใช้กำลังในบ้าน หรือการคุณคามทางเพศ จงขอความช่วยเหลือ! ไม่มีใครมีสิทธิ์ที่จะทำร้ายคุณ มีแต่คุณเท่านั้นที่จะต้องกล้าที่จะพูดมันออกมา
  • หากความเครียดถาโถมมากจนคุณไม่ส่ามารถรับมือไหว ให้โทรขอความช่วยเหลือ มีหลายหน่วยงานที่พร้อมช่วยคุณ โดยผ่านทางวัด โบสถ์ และความช่วยเหลือจากชุมชน


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 13,564 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา