ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การมีใจจดจ่อกับสิ่งต่าง ๆ นั้นต้องใช้ทั้งความพยายามและเวลา แม้ว่าคุณจะฝึกฝนสมาธิมาทั้งสัปดาห์หรือทั้งเดือน ผลลัพธ์ก็อาจจะยังไม่เป็นที่น่าพอใจถ้าสมองยังทำงานได้ไม่ดีพอ อย่างไรก็ดี มีวิธีง่าย ๆ หลายวิธีที่จะช่วยให้คุณมีใจจดจ่อกับงานที่ทำได้อย่างรวดเร็วและเห็นผล ถ้าคุณประสบปัญหาในการจดจ่อกับอะไรแล้วล่ะก็ บทความนี้อาจช่วยคุณได้นะ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

วิธีแก้ไขอย่างเร่งด่วน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำเครื่องหมายย้ำเตือนตัวเองลงบนกระดาษแข็งขนาด 3x5 นิ้วทุกครั้งที่ใจคุณไม่อยู่กับเนื้อกับตัว. แบ่งพื้นที่บนกระดาษออกเป็นสามส่วน: เช้า กลางวัน และเย็น ทุกครั้งที่รู้ตัวว่าใจลอย คุณต้องเขียนเครื่องหมายถูกเล็ก ๆ ลงไปในกล่องบนกระดาษซะ [1] เพียงไม่ช้าไม่นาน คุณจะรู้สึกว่าแค่ทำเครื่องหมายย้ำเตือนใจซักหน่อย ใจคุณก็ลอยน้อยลงแล้ว!
    • การรับรู้ปัญหาคือขั้นตอนแรกของวิธีนี้ และวิธีนี้จะช่วยให้คุณรู้ตัวทุกครั้งที่คุณไม่มีใจจดจ่อกับสิ่งที่ทำ ซึ่งการรู้ตัวว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่นี่เองที่จะช่วยปรับปรุงความจดจ่อของคุณในที่สุดโดยที่คุณไม่ต้องพยายามอะไรเพิ่มเติมเลยล่ะ
    • วิธีการนี้จะช่วยให้คุณระบุได้ว่าช่วงเวลาที่คุณไม่มีสมาธิที่สุดนั้นอยู่ตอนไหน เช่น คุณอาจจะพบว่าคุณมักทำเครื่องหมายย้ำเตือนใจในช่วงเช้าซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คุณยังคงรู้สึกเหนื่อยและใจไม่ค่อยจะอยู่กับเนื้อกับตัว และนั่นเป็นสัญญาณบอกว่าคุณควรจะปรับปรุงความจดจ่อของตัวเองด้วยการนอนให้มากขึ้นหรือรับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  2. กำหนดช่วงเวลาเฉพาะในหนึ่งวันเพื่อปล่อยให้ใจคุณล่องลอยหรือไม่ต้องจดจ่อกับอะไร ถ้าคุณกำหนดเวลาไว้แล้ว เช่น กำหนดว่าช่วงเวลาปล่อยใจเรื่อยเปื่อยของคุณคือตอน 5.30 น. ของทุกวันซึ่งเป็นช่วงที่คุณเพิ่งกลับจากเรียนหรือทำงาน คุณอาจจะหายใจลอยในช่วงเวลาอื่น ๆ เช่นตอน 11 โมงหรือบ่ายสามโมงก็ได้ แต่ถ้าคุณจับได้ว่าตัวเองใจลอยนอกช่วงเวลาที่กำหนดไว้ คุณก็ต้องย้ำเตือนตัวเองว่าคุณแบ่งเวลาไว้ผ่อนคลายจิตใจแล้วและสั่งให้สมองจดจ่ออยู่กับอะไรก็ตามที่คุณกำลังทำอยู่ซะ
  3. เลือดคือสื่อกลางสำคัญที่นำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงร่างกาย แต่เลือดมักรวมตัวกันอยู่ที่ส่วนล่างของร่างกายเราเนื่องจากแรงโน้มถ่วงและไม่สามารถผลักดันออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้มากพอที่จะทำให้เรามีสมาธิจดจ่อกับการทำสิ่งต่าง ๆ ดังนั้น ลุกขึ้นและออกไปเดินบ่อย ๆ เพื่อที่ร่างกายจะได้สูบฉีดเลือดไปช่วยในการทำงานของสมองนะ
    • ถ้าคุณติดแหงกอยู่กับงานและไม่สามารถเจียดเวลาไปออกกำลังกายได้เลย ลองออกกำลังกายในที่ทำงานซะเลยสิ การออกกำลังกายในที่ทำงานทำได้หลายวิธีเลยนะ เช่น การออกกำลังกายแบบยืดกล้ามเนื้อและแอโรบิคไงล่ะ
  4. พยายามให้สมองได้พักซักครู่ทุก ๆ ชั่วโมงหรือทุก ๆ สามสิบนาที. ถ้าสมองต่อจดจ่อกับอะไรต่อเนื่องกันหลาย ๆ ชั่วโมงในคราเดียว พลังงานสำหรับการประมวลผลจะลดลงและความสามารถในการจดจ่อของคุณก็จะน้อยลงด้วย [2] การแบ่งงานที่ต้องทำออกเป็นส่วน ๆ นั้นน่าจะดีกว่า คุณจะได้พักผ่อนหรืองีบหลับเพิ่มพลังเป็นช่วง ๆ เพื่อที่จะได้เพิ่มพลังความจดจ่อและรักษาระดับไว้ให้ใกล้เคียง 100% ที่สุดไงล่ะ
  5. [3] ถ้าคุณกระโดดไปทำงานนั้นทีงานนี้ทีและเริ่มทำงานใหม่ทั้ง ๆ ที่ยังทำงานเก่าไม่เสร็จ คุณกำลังบอกสมองตัวเองว่าการหันเหความสนใจจากเรื่องนึงไปยังอีกเรื่องนึงนั้นเป็นเรื่องปกติ ถ้าคุณอยากปรับปรุงความจดจ่อของตัวเองจริง ๆ คุณต้องบอกให้สมองทำงานนึงให้เสร็จก่อนแล้วค่อยขยับไปทำงานอื่นต่อนะ
    • พยายามยึดหลักการนี้กับการทำสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตให้มากที่สุด คุณอาจจะคิดว่าการอ่านหนังสือเล่มนึงให้จบแล้วค่อยเริ่มอ่านอีกเล่มไม่เห็นจะเกี่ยวกับการทำงานนึงให้เสร็จแล้วค่อยทำอีกงานตรงไหนเลย แต่จริง ๆ แล้วสองอย่างนี้ใกล้เคียงกันมากนะหากลองคิดให้ดี แม้แต่เรื่องเล็กน้อยก็มีผลกระทบไปสู่เรื่องอื่น ๆ ของชีวิตได้นะ
  6. [4] จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อคุณถือส้อมเสียงที่กำลังสั่นอยู่ข้าง ๆ ใยแมงมุมที่มีแมงมุมอาศัยอยู่? เจ้าแมงมุมก็จะพยายามหาต้นตอของเสียงเพราะมันสนใจใคร่รู้ไงล่ะ แต่จะเกิดอะไรขึ้นหากคุณถือส้อมเสียงค้างไว้ใกล้ ๆ ใยแมงมุมอยู่อย่างนั้น? เจ้าแมงมุมก็จะไม่หยุดสนใจส้อมเสียงนั้นอีกต่อไป เพราะมันรู้แล้วว่าเกิดอะไรขึ้น มันก็เลยไม่ใส่ใจสิ่งนั้นอีกต่อไปแล้ว
    • การทำตามวิถีของแมงมุมที่เราจะพูดถึงก็คือการทำตามพฤติกรรมของแมงมุมนั่นแหละ คุณต้องเตรียมพร้อมรับกับสิ่งเร้าต่าง ๆ ที่จะเข้ามาเพื่อทำให้คุณไม่มีใจจดจ่อ เช่น เสียงปิดประตู เสียงนกร้อง หรือจู่ ๆ อาจจะมีแฟลชม็อบรวมตัวกันแบบไม่ให้สุ้มให้เสียง ไม่ว่าสิ่งเร้านั้นคืออะไร คุณต้องมุ่งมั่นตั้งใจทำงานตรงหน้าต่อไป จงทำตัวประหนึ่งแมงมุมที่ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้กับสิ่งเร้าที่จะเข้ามาทำให้ความจดจ่อกับงานของคุณไขว้เขวซะ
  7. เตียงน่ะมีไว้นอน ส่วนโต๊ะน่ะเอาไว้นั่งทำงานอย่างมีใจจดจ่อ จิตใต้สำนึกคุณก็คิดอย่างนี้เหมือนกันแหละ ดังนั้น เมื่อคุณพยายามทำงานบนเตียง คุณจะส่งสัญญาณว่า “ถึงเวลานอนแล้ว” ​ไปยังจิตใต้สำนึก ซึ่งทำให้งานการไม่ขยับไปไหนเพราะคุณกำลังสั่งการให้สมองทำสองอย่างพร้อมกัน (คือจดจ่อในการทำงานและพยายามนอน) ดังนั้น คุณควรจะสั่งให้สมองเลือกทำเพียงสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ว่าจะเป็นการตั้งใจทำงานหรือนอนหลับด้วยการเลือกสถานที่ทำงานให้เหมาะสมนะ
  8. กฎ “อีกห้าเท่า”​ นั้นไม่มีอะไรซับซ้อน เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณรู้สึกอยากเลิกทำงานหรือไม่มีใจจดจ่อกับงานตรงหน้า บอกตัวเองให้ทำอะไรที่ทำอยู่ต่อไปอีกซักห้าเท่า เช่น ถ้าคุณกำลังแก้ปัญหาคณิตศาสตร์อยู่ บอกตัวเองให้ทำต่อไปอีกซักห้าข้อ ถ้ากำลังอ่านหนังสือก็อ่านต่อไปอีกซักห้าหน้า ถ้าคุณกำลังตั้งใจทำอะไรซักอย่างก็ฝืนต่อไปอีกซักห้านาที พยายามรวบรวมแรงใจเพื่อทำอะไรที่คุณกำลังทำอยู่ต่อไปอีกซักห้าเท่าเถอะนะ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

เอาชนะด้วยวิธีการจดจำคำสำคัญ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1
    ลองใช้วิธี “จดจำคำสำคัญ”​ ดูสิ. วิธีนี้ไม่มีอะไรซับซ้อน สิ่งเดียวที่คุณต้องทำก็คือหาคำสำคัญที่สื่อถึงสิ่งที่คุณกำลังเรียนหรือทำให้ได้ และเมื่อไหร่ก็ตามที่คุณไม่มีใจจดจ่อ มีอะไรกวนใจหรือใจลอยไปหาสิ่งอื่น คุณก็ต้องเริ่มนึกถึงคำสำคัญนี้ซ้ำ ๆ ในใจจนกระทั่งคุณกลับมาสนใจสิ่งที่กำลังทำอยู่ได้อีกครั้ง คำสำคัญที่ว่านี้ไม่ใช่คำใดคำหนึ่งเฉพาะเจาะจงแต่เป็นคำที่จะเปลี่ยนไปตามสิ่งที่คุณเรียนหรืองานที่คุณทำ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวว่าต้องเลือกคำใดโดยเฉพาะ ขอแค่คุณรู้สึกว่าคำ ๆ นั้นจะดึงความสนใจของคุณให้กลับมาจดจ่อได้อีกครั้งก็นับว่าใช้ได้แล้วล่ะ
    • ตัวอย่างเช่น: เมื่อคุณกำลังอ่านบทความเกี่ยวกับกีตาร์ คำสำคัญในที่นี้อาจจะเป็นคำว่า “กีตาร์” ก็ได้ ค่อย ๆ อ่านแต่ละประโยคช้า ๆ และหากมีอะไรกวนใจ ทำให้ไม่เข้าใจ หรือมีอะไรรบกวนสมาธิก็นึกถึงคำว่า กีตาร์ กีตาร์ กีตาร์ กีตาร์ ซ้ำ ๆ จนใจคุณกลับมาจดจ่อกับบทความที่อ่านแล้วค่อยอ่านต่อ
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

วิธีแก้ไขในระยะยาว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีงานวิจัยที่ยืนยันว่าปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความจดจ่อคือการพักผ่อน คุณจะมีใจจดจ่อได้ก็ต่อเมื่อจิตใจของคุณสงบ แต่ใจของคุณจะลอยล่องไปเรื่อยหากคุณพักผ่อนไม่เพียงพอ ดังนั้น คุณต้องดูแลให้ตัวเองนอนหลับเพียงพอในเวลาที่เหมาะสมและต้องนอนหลับให้เป็นเวลาเพราะว่านั่นเป็นขั้นตอนสำคัญไปสู่การมีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำเลยล่ะ
    • การนอนมากเกินไปก็ใช่ว่าจะดีนะ การนอนมากเกินไปจะไปรบกวนกลไกการทำงานตามธรรมชาติของร่างกายและทำให้คุณกลายเป็นคนขี้เกียจ คุณต้องหลีกเลี่ยงการนอนเกินเวลาด้วยการตั้งนาฬิกาปลุกไว้ซะ #รู้จักวางแผน. คุณต้องวางแผนเสมอไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม เมื่อคุณนั่งลงทำงานโดยปราศจากแผน คุณจะติดแหงกอยู่กับการเช็คอีเมล์ ส่งข้อความคุยกันหรือนั่งท่องเว็บไซต์ไปเรื่อย ๆ หากคุณทำอะไรแบบไร้เป้าหมาย คุณก็จะเสียเวลาไปเปล่า ๆ และคุณจะรู้สึกว่ามีเรื่องนั้นเรื่องนี้เข้ามารบกวนจิตใจเยอะแยะไปหมดแทนที่จะได้ทุ่มเทความสนใจให้กับงานสำคัญเพียงอย่างเดียว
    • เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์นี้ คุณต้องวางแผนที่ตอบสนองกับความต้องการของตัวเองให้ชัดเจนล่วงหน้า หยุดพักซักห้าถึงสิบนาทีระหว่างงานแต่ละอย่างที่ทำและใช้เวลานี้เพื่อเช็คอีเมล์ จากนั้นกดปิดกล่องรับอีเมล์และขยับไปทำงานที่สำคัญที่สุดก่อน ในขณะที่วางแผนก็อย่างลืมแบ่งเวลาที่เพียงพอสำหรับความบันเทิง การเรียน และการนอนหลับพักผ่อนด้วยล่ะ
  2. การทำสมาธิจะช่วยปรับปรุงความจดจ่อขอคุณได้อย่างแน่นอน จริง ๆ แล้วเมื่อเราพยายามทำสมาธิ สิ่งแรกที่เราต้องทำให้สำเร็จก็คือการมีใจจดจ่อ การแบ่งเวลาฝึกสมาธิในแต่ละวันจะทำให้เรามีโอกาสได้ลองทำตามวิธีการเพื่อนำไปสู่การมีใจจดจ่อต่าง ๆ โดยเฉพาะเลยล่ะ
  3. แน่นอนว่าบางสถานที่นั้นดีกว่าที่อื่น ๆ เช่น ห้องสมุดในโรงเรียน มุมทบทวนบทเรียน และห้องพักส่วนตัวนั้นเป็นสถานที่ที่เหมาะสมที่สุด โดยที่ที่คุณเลือกควรจะไม่มีอะไรมารบกวนคุณได้ พยายามอยู่ห่างจากคนอื่น ๆ หากคุณต้องการจดจ่อกับงานของตัวเอง
  4. ถ้าคุณอยากพัฒนาความสามารถในการจดจ่อของตัวเอง คุณต้องควบคุมและรับประทานอาหารแต่พอดี. การรับประทานอาหารมากเกินควรจะทำให้ร่างกายต้องย่อยอาหารในปริมาณมากและทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัวและง่วงนอน การรับประทานอาหารเบา ๆ ที่ดีต่อสุขภาพจะช่วยทำให้คุณมีความสามารถในการจดจ่อสูงสุด ดังเช่นที่โทมัส เจฟเฟอร์สันว่าไว้ว่า “คนเราแทบไม่เคยรู้สึกเสียดายที่รับประทานอาหารน้อยเกินไป” คุณอาจจะพบว่าจริง ๆ แล้วคุณสามารถมีความสุขได้จากอาหารในปริมาณน้อยกว่าที่คาดไว้ก็ได้นะ
  5. ความสามารถในการจดจ่อกับสิ่งที่ทำนั้นขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายเป็นสำคัญเลยล่ะ ถ้าเรารู้สึกเหนื่อย สุขภาพไม่ดี หรือป่วยออด ๆ แอด ๆ เราก็คงจะจดจ่อกับอะไรยากอยู่ซักหน่อย แน่นอนว่าคุณยังสามารถจดจ่อกับอะไรได้ แต่จะยากกว่าปกติซักหน่อย อย่างไรก็ดี เราทุกคนควรพยายามทำชีวิตให้ง่ายเข้าไว้ด้วยการให้ความสำคัญกับสุขภาพร่างกายเป็นอันดับหนึ่งนะ
    • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
    • ดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
    • รักษาน้ำหนักให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ
    • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  6. การทำงานต่อเนื่องในสถานที่เดิม ๆ อาจทำให้คนกลายเป็นบ้าได้ การหยุดพักอย่างสม่ำเสมอจะช่วยแก้ปัญหานี่ได้และจะช่วยให้คุณรู้สึกกระปรี้กระเปร่าและสนใจในงานที่ทำมากขึ้นด้วยนะ
  7. 7
    จำไว้ว่าการฝึกฝนนั้นทำให้ผลลัพธ์สมบูรณ์. การมีใจจดจ่อก็ไม่ต่างกับสิ่งอื่น ๆ หรอก ยิ่งเราฝึกมากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งมีใจจดจ่อมากขึ้นเท่านั้น เช่นเดียวกับการที่เราไม่อาจกลายเป็นนักวิ่งที่เก่งกาจได้โดยปราศจากการฝึกฝน การมีใจจดจ่อก็เหมือนการสร้างกล้ามเนื้อนั่นแหละ ยิ่งเราฝึกมากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งแข่งแกร่งมากเท่านั้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คุณต้องรู้จักวางแผนตารางการเรียนของตัวเอง
  • ตั้งอกตั้งใจจดจ่อกับสิ่งที่ทำตามเวลาที่กำหนดไว้ อย่างปล่อยให้ปัญหาหรือความกังวลใด ๆ มากวนใจ ตั้งรางวัลให้ตัวเองไว้เลย สัญญากับตัวเองว่าถ้าจดจ่อทำงานจนสำเร็จแล้วจะได้อะไรเป็นรางวัล
  • ถ้าคุณไม่ตั้งใจจจริง คุณก็จะเสียเวลาไปเปล่า ๆ
  • แบ่งเวลาเพื่อที่จะได้ทบทวนบทเรียนของแต่ละหัวข้อได้ทัน
  • เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกไม่มั่นใจ ลองนึกถึงความสำเร็จในอดีตของตัวเองดูสิ
  • สร้างบรรยากาศที่ดึงดูดใจและให้ความสงบเพื่อช่วยให้ตัวเองมีสมาธิจดจ่อมากขึ้น
  • อย่าฝืนตัวเองเกินไป ใจลอยบ้างก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายอะไรหรอก มันเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์อย่างเรา ๆ *เมื่อคุณรู้สึกว่าจิตใจล่องลอยไปจากสิ่งที่ควรจดจ่อก็ดึงใจกลับมาซะ อย่าปล่อยให้ใจลอยไปไกลล่ะ
  • ในขณะที่เรียนหนังสือ ตั้งใจกับแต่ละวิชาให้มากที่สุดและพักผ่อนในห้านาทีสุดท้ายของแต่ละคาบเรียน
  • ถ้าคุณง่วงเกินกว่าจะจดจ่อกับอะไรก็ชักไม่แน่ใจแล้วล่ะว่าคุณจะอ่านย่อหน้าของหนังสือที่คุณอ่านอยู่จบไหม
โฆษณา

คำเตือน

  • จำไว้ว่าแม้แต่คนที่เก่งที่สุดก็อาจจะทำอะไรไม่สำเร็จซักอย่างหากไม่มีใจจดจ่อกับสิ่งที่ทำ
  • อย่าทำงานในสถานที่ที่มีผู้คนจอแจเพราะคุณจะไม่สามารถตั้งใจทำงานได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,496 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา