PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

นักเคมี นักชีววิทยา นักสิ่งแวดล้อม และนักเทคนิคห้องปฏิบัติการรวมทั้งผู้ที่ทำอาชีพคล้ายกันนี้ต่างใช้เครื่องวัดค่าพีเอชเพื่อวัดความเป็นกรดและความเป็นด่างของสารละลาย เครื่องวัดค่าพีเอชมีประโยชน์มากและเป็นเครื่องมือที่แม่นยำมากที่สุด มีไว้เพื่อทดสอบระดับพีเอช การใช้เครื่องวัดค่าพีเอชมีขั้นตอนง่ายๆ หลายขั้นตอนตั้งแต่เตรียมเครื่องให้พร้อมใช้งานไปจนถึงปรับเทียบและทดสอบอย่างมีระบบเพื่อให้การอ่านระดับพีเอชแม่นยำมากที่สุดเท่าจะเป็นไปได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เตรียมอุปกรณ์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนที่เราจะเริ่มปรับเทียบและใช้เครื่องวัดค่าพีเอช เราจะต้องเปิดเครื่องและให้ระยะเวลาในการอุ่นเครื่องอย่างเพียงพอ โดยทั่วไปน่าจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที แต่ให้ตรวจดูในคู่มือการใช้งานเครื่องวัดค่าพีเอชด้วย จะได้รู้ระยะเวลาที่แน่นอน
  2. รินน้ำกลั่นใส่บีกเกอร์เปล่าที่ไม่ได้ใช้งาน นำอิเล็กโทรดออกจากสารละลายที่ใช้เก็บรักษาและล้างด้วยน้ำกลั่นในบีกเกอร์นั้น พอล้างเสร็จแล้ว ซับให้แห้งด้วยกระดาษเช็ดทำความสะอาดแบบไม่ทิ้งขุย เราสามารถหาซื้อกระดาษแบบนี้ได้ทางอินเทอร์เน็ต [1]
    • เราต้องรินน้ำกลั่นใส่ในบีกเกอร์ที่ไม่ได้ใช้งานและล้างอิเล็กโทรดในนั้น เราต้องใช้บีกเกอร์คนละใบกับที่ใช้ปรับเทียบเครื่องวัดค่าพีเอช [2]
    • อย่าเช็ดถูอิเล็กโทรดเพราะเยื่อหุ้มที่อยู่รอบๆ อิเล็กโทรดอาจได้รับความเสียหาย
    • ถ้าหากเห็นว่าอิเล็กโทรดสกปรกมาก ให้อ่านคู่มือการใช้งานเครื่องวัดค่าพีเอชเพื่อจะได้รู้ว่าควรใช้น้ำยาทำความสะอาดตัวใด ถึงจะเหมาะสม
  3. โดยทั่วไปเราจะต้องใช้สารละลายบัพเฟอร์มากกว่าหนึ่งชนิดเพื่อปรับเทียบเครื่องวัดค่าพีเอช สารละลายบัพเฟอร์ชนิดแรกจะเป็นสารละลายบัพเฟอร์ที่เป็น “กลาง” มีค่าพีเอชเท่ากับ 7 สารละลายบัพเฟอร์ชนิดที่สองควรมีค่าพีเอชใกล้เคียงกับค่าพีเอชของสารตัวอย่าง โดยมีค่าพีเอช 4 หรือ 9.21 สารละลายบัพเฟอร์ที่มีค่าพีเอชสูง (9.21) เหมาะสำหรับวัดสารตัวอย่างที่เป็นด่าง ในทางกลับกันสารละลายบัพเฟอร์ที่มีค่าพีเอชต่ำ (4) เหมาะสำหรับวัดสารตัวอย่างที่เป็นกรด พอเลือกสารละลายบัพเฟอร์ได้แล้ว เราต้องให้สารละลายบัพเฟอร์มีอุณหภูมิเท่ากับเครื่องวัดค่าพีเอช เพราะผลการอ่านค่าพีเอชขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ เทสารละลายบัพเฟอร์แต่ละชนิดลงในบีกเกอร์สำหรับปรับเทียบสารละหนึ่งใบ [3]
    • ติดต่อผู้ผลิตเครื่องวัดค่าพีเอช สถานศึกษา หรือองค์กรที่เราสังกัดอยู่เพื่อรับสารละลายบัพเฟอร์
    • อย่าเก็บสารละลายบัพเฟอร์ไว้ในบีกเกอร์นานเกินสองชั่วโมง
    • นำสารละลายบัพเฟอร์ไปทิ้ง เมื่อใช้เสร็จแล้ว ไม่ต้องนำกลับไปเทใส่ไว้ในภาชนะเดิมของมัน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ปรับเทียบเครื่องวัดค่าพีเอช

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. นำอิเล็กโทรดจุ่มสารละลายบัพเฟอร์ที่มีค่าพีเอชเป็น 7 และเริ่มวัดค่า. พอเรานำอิเล็กโทรดจุ่มสารละลายบัพเฟอร์ กดปุ่ม “วัดค่า (measure)” หรือปุ่มปรับเทียบเพื่อเริ่มการวัดค่าพีเอช
    • ให้ค่าที่วัดได้คงที่ก่อนปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1-2 นาที
  2. พอค่าที่วัดได้คงที่ กดปุ่มวัดค่าอีกครั้งเพื่อตั้งค่าเครื่องวัดค่าพีเอชให้เป็นค่าพีเอชของสารละลายบัพเฟอร์ การตั้งค่าเครื่องวัดค่าพีเอชเมื่อค่าที่วัดได้คงที่จะทำให้การวัดค่าแม่นยำและเที่ยงตรงมากขึ้น [4]
    • เราไม่จำเป็นต้องคนสารละลายบัพเฟอร์ก่อนวัดค่า แต่ถ้าคนสารละลายบัพเฟอร์ก่อนวัดค่าไปแล้ว เราก็ต้องคนสารละลายบัพเฟอร์อีกตัวที่ใช้รวมทั้งสารตัวอย่างด้วย
  3. ล้างอิเล็กโทรดด้วยน้ำกลั่นและใช้กระดาษเช็ดทำความสะอาดแบบไม่ทิ้งขุยซับให้แห้งก่อนนำไปจุ่มสารละลายบัพเฟอร์อีกตัวหนึ่ง
  4. นำอิเล็กโทรดไปจุ่มในสารละลายบัพเฟอร์ที่มีค่าพีเอชใกล้เคียงกับค่าพีเอชของสารตัวอย่างและเริ่มวัดค่า. พอเรานำอิเล็กโทรดจุ่มสารละลายบัพเฟอร์แล้ว กดปุ่มวัดค่าเพื่อเริ่มวัดค่าพีเอช
  5. พอค่าที่วัดได้คงที่ กดปุ่มวัดค่าเพื่อตั้งค่าเครื่องวัดค่าพีเอชให้เป็นค่าพีเอชของสารละลายบัพเฟอร์ [5]
  6. ล้างอิเล็กโทรดด้วยน้ำกลั่น ใช้กระดาษเช็ดทำความสะอาดแบบไม่ทิ้งขุยซับให้แห้งก่อนนำไปจุ่มสารตัวอย่าง
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ใช้เครื่องวัดค่าพีเอช

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. นำอิเล็กโทรดไปจุ่มในสารตัวอย่างและเริ่มวัดค่า. พอเรานำอิเล็กโทรดจุ่มสารตัวอย่างแล้ว กดปุ่มวัดค่าและปล่อยอิเล็กโทรดทิ้งไว้ในสารตัวอย่างประมาณ 1-2 นาที
  2. พอค่าที่วัดได้คงที่ กดปุ่มวัดค่า ค่าที่ออกมาหลังจากกดปุ่มวัดค่าคือระดับพีเอชของสารตัวอย่าง [6]
  3. ล้างอิเล็กโทรดด้วยน้ำกลั่นและใช้กระดาษเช็ดทำความสะอาดแบบไม่ทิ้งขุยซับให้แห้ง พออิเล็กโทรดสะอาดและแห้งแล้ว เก็บเครื่องวัดค่าพีเอชเข้าที่
    • อ่านคู่มือการใช้งานเพื่อจะได้รู้วิธีการเก็บรักษาเครื่องวัดค่าพีเอชที่เหมาะสมกับแต่ละเครื่อง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าสงสัยหรือไม่แน่ใจในขั้นตอนใด ให้ถามผู้รู้หรือค้นคว้าข้อมูลก่อนเสมอ ฉะนั้นหากมีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจ ถามผู้ควบคุมดูแลห้องแล็บหรืออ่านคู่มือการใช้งานเครื่องวัดค่าพีเอช
  • เครื่องวัดค่าพีเอชแต่ละเครื่องจะมีวิธีการใช้งานที่แตกต่างกันเล็กน้อย ฉะนั้นอ่านคู่มือการใช้งานที่เป็นของเครื่องวัดค่าพีเอชนั้นก่อนเริ่มปรับเทียบและใช้งาน
โฆษณา

คำเตือน

  • เมื่อต้องวัดค่าพีเอชสารตัวอย่างที่เป็นอันตราย ให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบรักษาความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • เครื่องวัดค่าพีเอช
  • น้ำกลั่น
  • กระดาษเช็ดทำความสะอาดแบบไม่ทิ้งขุย
  • สารละลายบัพเฟอร์ที่มีค่าพีเอช 9.21
  • สารละลายบัพเฟอร์ที่มีค่าพีเอช 7
  • สารละลายบัพเฟอร์ที่มีค่าพีเอช 4

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,428 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา