ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ว่านหางจระเข้ เป็นพันธุ์พืชอวบน้ำชนิดหนึ่งที่เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่แห้งและร้อน ว่านหางจระเข้เป็นพืชอวบน้ำที่ไม่มีลำต้นหรือลำต้นสั้นที่เติบโตได้สูงถึง 3 ฟุต ใบหนาและอ้วน มีสีเขียวหรือสีเทาเขียว บางสายพันธุ์มีจุดสีขาวบนบริเวณส่วนบนหรือส่วนล่างของลำต้น ว่านหางจระเข้ที่ปลูกไว้กลางแจ้งอาจออกดอกสีเหลือง แต่จะไม่ออกดอกหากปลูกภายในอาคาร [1] น้ำในเนื้อว่านหางจระเข้จากต้นสามารถใช้ในการรักษาบาดแผลและแผลไหม้ ผิวแห้ง หรือแม้แต่แผลพุพองได้ [2] ลองอ่านบทความนี้เพื่อเรียนรู้วิธีการปลูกและนำว่านหางจระเข้มาใช้ในทางการแพทย์

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ปลูกว่านหางจระเข้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ซื้อว่านหางจระเข้ต้นเล็กๆ จากร้านขายต้นไม้ และย้ายไปปลูกในกระถางที่ใหญ่ขึ้น หากคุณดูแลอย่างเหมาะสม ว่านหางจระเข้ก็จะเจริญเติบโตและมีเนื้อจำนวนมากสำหรับใช้เป็นยารักษา
    • เลือกกระถางที่กว้างสำหรับปลูกต้นว่านหางจระเข้ เนื่องจากว่าหางจระเข้มักมีกิ่งก้านหรือหน่ออ่อนออกมากมาย
  2. สิ่งที่ควรคำนึงถึงมากที่สุดในการเลือกดินสำหรับปลูกต้นว่านหางจระเข้คือ ดินควรมีความอุดมสมบูรณ์พอสมควรและระบายน้ำได้เร็ว เพราะต้นว่านหางจระเข้จะกักเก็บน้ำไว้ในปริมาณมาก จึงอาจเหี่ยวเฉาได้หากดินระบายน้ำได้ไม่ดี ใช้ดินผสมตามท้องตลาดที่มีคุณภาพดีหรือดินผสมที่เหมาะกับต้นกระบองเพชรและพืชอวบน้ำ เนื่องจากดินเหล่านี้จะระบายน้ำได้ดี [3]
  3. เมื่อต้องการปลูกว่านหางจระเข้ภายในอาคาร ให้วางไว้บริเวณหน้าต่างที่มีแสงแดดส่องถึง หากคุณอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศแบบอบอุ่น ให้วางว่านหางจระเข้ได้รับแสงแดดโดยตรงอย่างเพียงพอ แต่หากพื้นที่ที่คุณอยู่นั้นมีแสงแดดไม่เพียงพอ ก็สามารถใช้แสงไฟแทนได้ [4]
    • หากคุณอาศัยในพื้นที่ที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็งค้างหรือหิมะ ควรปลูกว่านหางจระเข้ไว้ในอาคารหรือในโรงเพาะชำที่อุ่น
  4. ใช้นิ้วจิ้มลงไปในดินเพื่อตรวจดูว่าว่านหางจระเข้ต้องได้รับน้ำแล้วหรือยัง โดยการรดน้ำในแต่ละครั้งควรให้ดินตั้งแต่พื้นผิวลงไป 1-2 นิ้วแห้งสนิท เนื่องจากต้นว่านหางจระเข้มีถิ่นกำเนิดในแถบที่มีอากาศแห้งและร้อน จึงสามารถทนความแห้งแล้งได้ดี อย่างไรก็ตาม ต้นว่านหางจระเข้จะเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้นหากได้รับน้ำทุกๆ 2-3 วัน [5]
    • รดน้ำต้นว่านหางจระเข้น้อยลงในช่วงฤดูหนาว เนื่องจากต้นว่านหางจระเข้จะระบายน้ำออกมาช้าลง การรดน้ำมากเกินไปจะทำให้รากเน่า ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้ต้นว่านหางจระเข้ตายได้
  5. หากต้นว่านหางจระเข้ที่ปลูกในกระถางมีหน่ออ่อนงอกออกมาจากลำต้นมากมาย ให้แบ่งออกมาและนำไปปลูกในกระถางใบใหม่ เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับเจริญเติบโตมากขึ้น และป้องกันความเสียหายที่เกิดจากศัตรูพืช
    • คุณจะต้องนำต้นว่านหางจระเข้ออกมาจากกระถางเพื่อมองหาหน่ออ่อน ใช้กรรไกรหรือมีดที่คมตัดหน่ออ่อนเหล่านี้ออกจากลำต้น
    • ย้ายต้นว่านหางจระเข้ไปปลูกในกระถางใหม่หลังตัดหน่ออ่อนออกมาเรียบร้อยแล้ว และนำหน่ออ่อนแต่ละต้นไปแยกปลูกไว้แต่ละในกระถาง [6]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ใช้วุ้นว่านหางจระเข้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในใบว่านหางจระเข้เต็มไปด้วยวุ้นที่สามารถนำมาใช้เป็นยาได้ อย่างไรก็ตาม ควรรอจนกระทั่งต้องการใช้จึงค่อยตัดออกมา เมื่อคุณต้องการใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ให้ตัดใบออกมาจากต้น และบีบหรือตักวุ้นใสออกมา
    • หากคุณตัดออกมาเป็นจำนวนมาก คุณอาจต้องตัดใบแบ่งครึ่งตามแนวยาวเพื่อนำวุ้นออกมาให้หมด
    • พยายามตัดใบออกมาให้มากพอเท่าที่ต้องการใช้เท่านั้น และหากมีวุ้นเหลือ คุณสามารถเก็บไว้ในภาชนะสุญญากาศและแช่ไว้ในตู้เย็นได้ประมาณ 1 สัปดาห์ [7]
  2. คุณสามารถทาวุ้นว่านหางจระเข้สดบนผิวหนังที่ถูกแดดเผา เพื่อช่วยให้ผิวเย็นลงและรักษาแผลไหม้ ทาวุ้นลงบนผิวหนังที่มีอาการไหม้แดด และทาซ้ำทุกๆ 2-3 ชั่วโมงหรือเมื่อต้องการเพื่อช่วยให้ผิวชุ่มชื้น
    • ลองแช่วุ้นว่านหางจระเข้ไว้ในตู้เย็นประมาณ 1-2 ชั่วโมงก่อนทาลงบนผิวหนังที่มีอาการไหม้แดด วุ้นที่แช่เย็นจะมีประสิทธิภาพทำให้ผิวเย็นลงได้เป็นอย่างดี
    • แม้ว่าเราจะใช้วุ้นว่านหางจระเข้ในการรักษาอาการไหม้แดดมาเป็นเวลานาน แต่ยังไม่มีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นข้อสรุปใดๆ ที่ยืนยันว่าว่านหางจระเข้มีประสิทธิภาพในการรักษาผิวหนังที่มีอาการไหม้แดด [8]
  3. ว่านหางจระเข้มีประสิทธิภาพในการใช้รักษาแผลไหม้เล็กน้อย หรือกระทั่งลดระยะเวลาในการฟื้นฟู ทาวุ้นปริมาณเล็กน้อยลงบนแผลไหม้ และไม่ควรใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทาลงบนผิวหนังบริเวณที่มีเลือดออก พุพอง หรือมีอาการบาดเจ็บรุนแรงอื่นๆ [9]
  4. นวดวุ้นว่านหางจระเข้ลงบนหนังศีรษะเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดรังแค. ว่านหางจระเข้ถูกพบว่ามีประสิทธิภาพในการรักษารังแคได้ เพียงแค่นำวุ้นปริมาณเล็กน้อยนวดลงบนหนังศีรษะ
    • หลังล้างผมเรียบร้อยแล้ว ให้นำวุ้นว่านหางจระเข้ปริมาณเล็กน้อยถูไปมาบนมือ (โดยใช้เท่ากับปริมาณแชมพูที่คุณใช้ในการสระผม)
    • จากนั้นใช้ปลายนิ้วนวดวุ้นว่านหางจระเข้ลงไปบนหนังศีรษะและปล่อยให้วุ้นซึมลงไปในเส้นผม ทำซ้ำทุกครั้งหลังการสระผม [10]
  5. ว่านหางจระเข้ถูกพบว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาไวรัสเฮอร์ปีส์ หรือที่เรียกกันว่าโรคเริม หากเริ่มมีแผลเริมเกิดขึ้น ให้ใช้ปลายนิ้วแตะวุ้นว่านหางจระเข้ปริมาณเล็กน้อยลงบนแผลเริม ทำซ้ำเมื่อต้องการเพื่อปกปิดแผลเริมไว้ด้วยวุ้นว่านหางจระเข้ [11]
  6. ว่านหางจระเข้ยังสามารถใช้เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นหรือรักษาผิวแห้ง ลองเปลี่ยนไปใช้วุ้นว่านหางจระเข้สดแทนโลชั่นที่ใช้อยู่ประจำ โดยทาลงบนผิวตามปกติเหมือนกับเมื่อคุณใช้โลชั่น ทาวุ้นว่านหางจระเข้บนผิวทั่วทั้งร่างกายและนวดจนกระทั่งซึมลงไป [12]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เช่นเดียวกับการใช้อาหารเสริมจากธรรมชาติชนิดอื่น คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพิ่มว่านหางจระเข้เข้าไปในการรับประทานอาหารเสริมของคุณ และแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับว่านหางจระเข้หรืออาหารเสริมอื่นๆ ที่คุณกำลังรับประทานเพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาระหว่างยา 2 ชนิดที่ไม่พึงประสงค์ [13]
โฆษณา

คำเตือน

  • แม้ว่างานวิจัยบางชิ้นจะแนะนำว่าการทานว่านหางจระเข้นั้นอาจมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่งานวิจัยเหล่านี้ก็ยังไม่ได้รับการยืนยันอย่างแน่ชัด แต่ในปัจจุบันนี้ไม่แนะนำให้ทานว่านหางจระเข้ เนื่องจากงานวิจัยบางชิ้นพบว่ายางดิบที่เป็นส่วนประกอบในว่านหางจระเข้อาจเป็นเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็ง ตับวาย และปัญหาสุขภาพที่รุนแรงอื่นๆ ได้ [14]
  • อย่าใช้ว่านหางจระเข้หากคุณมีอาการแพ้พืชในวงศ์ลิลลี่ หรือ Liliaceae (ลิลลี่) [15]
  • อย่าทานว่านหางจระเข้หากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมลูก เนื่องจากอาจส่งผลให้เกิดการหดตัวของมดลูกหรือแม้แต่การแท้งได้ และยังอาจมีผลต่อระบบทางเดินอาหารของเด็กทารกที่ได้รับนมแม่หลังจากที่แม่เด็กทานว่านหางจระเข้อีกด้วย [16]
  • อย่าใช้ว่านหางจระเข้กับบาดแผลลึกหรือแผลไหม้อย่างรุนแรง โดยงานวิจัยบางชิ้นพบว่าว่านหางจระเข้จะไปชะลอกระบวนการรักษาเมื่อใช้กับบาดแผลเหล่านี้ [17]
  • อย่าทานว่านหางจระเข้หากคุณกำลังทานสเตอรอยด์ ดิจ็อกซิน อินซูลิน ยารักษาเบาหวาน หรือยาขับปัสสาวะ [18]
  • ว่านหางจระเข้อาจส่งผลให้ระดับโพแทสเซียมลดลงในบางคนได้ [19]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,875 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา