ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เหตุการณ์เลวร้ายในอดีต อาจทำให้คุณไม่อยากที่จะอยู่ในปัจจุบัน ความทรงจำอันเลวร้ายบางอย่าง ยังอาจตามมาหลอกหลอนคุณอยู่ทุกคืนวัน แม้เราจะต่างรู้ว่า จำเป็นต้องปล่อยวางอดีตเพื่อที่จะได้ก้าวต่อไปข้างหน้า แต่กระนั้นเราก็ปล่อยให้มันมากำหนดความคิด ความเชื่อ และมุมมองของเรา ที่มีต่อเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งการที่จะเป็นอิสระจากมันได้นั้น อาจดูเหมือนต้องใช้เวลาชั่วนิรันดร์ แต่หากคุณพยายาม เปิดใจยอมรับมันก่อน คุณก็จะค่อยๆ สลัดนิสัยแย่ๆ ซึ่งผูกติดคุณไว้กับฝันร้ายและความผิดหวังในอดีตได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ยอมรับผลกระทบที่เกิดจากอดีตอันเลวร้าย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ประสบการณ์อันเลวร้ายในอดีตอาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย และจิตใจของคุณเป็นเวลายาวนาน ดังนั้น คุณควรพยายามตั้งสติแล้วไตร่ตรองดูว่า มันส่งผลต่อมุมมองและนิสัยของคุณในปัจจุบันอย่างไร
    • ก่อนอื่นคุณต้องเลิกเสแสร้งทำเป็นว่าอดีตเหล่านั้น มันไม่ได้มีผลอะไรต่อคุณ เพราะคุณต้องยอมรับมันก่อน จึงจะสามารถสลัดมันทิ้งได้ โดยหากมีเหตุการณ์อะไรที่มากระทบคุณในปัจจุบัน อันทำให้คุณหวนนึกไปถึงความทรงจำอันเลวร้ายเหล่านั้น คุณก็ควรตั้งสติและเผชิญหน้ากับมัน ซึ่งเราจะแนะนำวิธีการให้ในลำดับต่อไป
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังพบปะสังสรรค์กับผู้คนทั่วไป จู่ๆ เกิดมีอะไรหรือใครที่ทำให้คุณหวนไปนึกถึงความหลังขึ้นมา หากมันเป็นเรื่องเศร้าเสียน้ำตา ก็ขอให้ปลีกตัวออกจากวงสนทนาสักพัก และใช้เวลาสักครู่ในการทบทวนว่า เหตุใดคุณจึงยังรู้สึกบางอย่างเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น ก่อนที่จะกลับเข้าไปในวงสนทนาตามเดิม
    • ผลกระทบจากอดีต จะยิ่งเลวร้ายลงอีก หากคุณขาดกลุ่มคนหรือคู่คิด ที่จะคอยให้กำลังใจและรับฟัง [1]
    • บ่อยครั้งที่คนเรามักปล่อยให้เหตุการณ์เลวร้ายในอดีต มาส่งผลกระทบทำให้ความสัมพันธ์ในปัจจุบันกับคนรอบข้าง ต้องพลอยแย่ตามไปด้วย [2] เช่น มันอาจจะเหนี่ยวรั้งคุณไว้ ไม่ให้เปิดใจใกล้ชิดกับใครอีก นอกจากนี้ มันยังมักทำให้คุณรู้สึกยึดติดกับความผิดหวังในอดีต จนเกิดอาการท้อแท้สิ้นหวังที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาในปัจจุบันด้วย [3]
  2. ตระหนักว่า เหตุการณ์เลวร้ายส่งผลต่อสมองอย่างไร. แน่นอนว่า มันสามารถทำให้สารเคมีในสมองของเปลี่ยนไป และในบางกรณี ยังอาจส่งผลต่อโครงสร้างระบบประสาทของเราด้วย
    • อย่าคิดแค่ว่าคุณจะ "ก้าวข้ามอดีต" ตอนไหนก็ย่อมทำได้ เพราะมันไม่ง่ายแบบนั้น เนื่องจากมันส่งผลต่อการทำงานบางอย่างในสมองของเราด้วย ดังนั้น ต้องใช้เวลาเป็นเครื่องช่วยไม่มากก็น้อย
    • ผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ด้านระบบประสาท ชี้ให้เห็นว่าสมองของคนเรา มีการทำงานคล้ายคลึงกับ “หุ่นยนต์” ในบางแง่มุม กล่าวคือ มันจะถูกครอบงำและชี้นำให้ทำในสิ่งที่เหนือความคาดหมายได้ หากถูกกระตุ้นด้วยเหตุการณ์หรือเงื่อนไขบางอย่าง [4] พูดอีกอย่างก็คือ สมองของคุณสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เพราะนอกจากพันธุกรรมแล้ว สิ่งหนึ่งที่กำหนดพฤติกรรมของมันก็คือ ประสบการณ์ในชีวิต
    • ผลกระทบทางกายและใจ อาจทำให้ยากที่คุณจะปรับตัวในปัจจุบันได้ แต่ขอให้เข้าใจด้วยว่า ร่างกายและสมองของคนเรา สามารถปรับตัวได้ตลอดเวลา โดยอาศัยเหตุการณ์และประสบการณ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน [5] ร่างกายและสมองของคุณมันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานั่นล่ะ ซึ่งคุณสามารถช่วยปรับทิศให้มันเปลี่ยนไปในเชิงบวกได้
  3. พยายามยอมรับว่า คุณไม่มีทางย้อนเวลากลับไปเปลี่ยนแปลงอดีตได้แน่นอน. แต่สิ่งที่คุณพอจะทำได้แน่ๆ การปรับเปลี่ยนมุมมองที่คุณมีและวิธีการจัดการกับมัน [6] หากคุณไม่ปรับ ความเจ็บปวดทางอารมณ์จะยิ่งดึงดูดเหตุการณ์เลวร้ายแบบเดิมๆ เข้ามาในชีวิตคุณ
    • จากนี้ต่อไป สิ่งเดียวที่คุณควรพยายามทำก็คือ ยอมรับเหตุการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้น และให้อภัยแก่บรรดาคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด โดยพยายามปล่อยให้อารมณ์ทางลบต่างๆ เกิดขึ้นอย่างเต็มที่ เพื่อรู้สึกถึงมันและปล่อยวางลงเสีย [7]
    • เมื่อความรู้สึกโกรธแค้นและเจ็บปวดเกิดขึ้น คุณต้องเตือนตัวเองว่า ความโกรธจะทำร้ายตัวคุณเองเป็นอันดับแรก และไม่ว่าจะความโกรธจะรุนแรงแค่ไหน มันก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอดีตได้ พยายามใช้พลังแห่งความเมตตา ในการฝึกให้อภัยและเสริมสร้างกำลังใจเพื่อปล่อยวาง [8]
    • ขั้นตอนต่างๆ ที่กล่าวมา อาจจะใช้เวลามากบ้างน้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่วิธีการต่างๆ ในบทความนี้ ก็พอที่จะเร่งให้คุณปล่อยวางได้เร็วขึ้นบ้าง
    • การจมจ่อมอยู่กับอดีต มักก่อให้เกิดปัญหาโดยที่คุณไม่รู้ตัวและไม่ได้ตั้งใจ
  4. ปัจจุบันมีหลากหลายวิธีฝึก ในลักษณะที่เป็นการรวมศูนย์อยู่ที่กาย ซึ่งจะช่วยให้จิตใจคุณสงบลงได้ อย่างเช่นการทำสมาธิและโยคะ อันจะทำให้คุณตระหนักว่าอารมณ์ทางลบ ส่งผลต่อส่วนต่างๆ ของร่างกายคุณอย่างไรในปัจจุบัน [9]
    • การฝึกโยคะจะได้ผลดีที่สุด หากมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ คุณควรลองหาตามเว็บไซท์ต่างๆ ที่มีอาจารย์ฝึกสอนให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หรืออาจไปสมัครเรียนในคอร์สที่ไม่แพงเกินไปนัก
    • การทำสมาธิ มีข้อดีตรงที่คุณสามารถทำอยู่กับบ้านได้ โดยหามุมสงบๆ นั่งหลังตรง เอาขาไขว้กัน วางมือไว้บนตักหรือในท่าทางที่ผ่อนคลาย จากนั้น หลับตาและคอยสังเกตจังหวะการหายใจของตัวเองไปเรื่อยๆ ในช่วงเริ่มแรก คุณอาจเปิดซีดีฟังเพื่อนำคุณเข้าสมาธิด้วยก็ได้ [10]
    • การฝึกปฏิบัติในรูปแบบต่างๆ ที่กล่าวมา จะช่วยให้จิตใจคุณสงบนิ่ง กระทั่งมองเห็นอย่างชัดเจน ถึงอารมณ์ทางลบต่างๆ จากเหตุการณ์ในอดีต และจะค่อยๆ หาทางปรับตัว หรือรับมือกับมันได้เอง [11]
  5. การจดเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการก้าวข้ามอดีตของตัวเอง [12]
    • คุณอาจเริ่มคืนนี้เลยก็ได้ โดยเอาง่ายๆแค่เริ่มจากเขียนเรื่องอะไรก็ได้ ที่เกิดขึ้นกับคุณในระหว่างวัน พยายามอย่าคิดมาก เขียนไปตามความรู้สึก ในเวลาไม่นานคุณจะค่อยๆ เคยชินกับการเขียนไปเอง
    • เมื่อคุณเริ่มรู้สึกเขียนคล่องขึ้นแล้ว ทีนี้ลองหวนถึงเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีต และเขียนบันทึกความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นลงไป
    • ไม่ต้องเขียนให้ถูกไวยากรณ์หรือใช้คำสละสลวยนัก พยายามเน้นไปที่การปลดปล่อยความคิดและความรู้สึก [13]
    • การเขียนบันทึกในลักษณะดังกล่าว จะช่วยให้คุณตระหนักถึงผลกระทบของอารมณ์ทางลบต่างๆ ซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ในอดีต อันอาจก่อให้เกิดปัญหาในชีวิตประจำวันของคุณในช่วงที่ผ่านมา แถมยังช่วยให้สมองคุณโล่งและนอนหลับสบายขึ้นด้วย [14]
    • กระบวนการเขียนบันทึกดังกล่าว จะไม่เห็นผลลัพธ์ในทันที แต่คุณจะค่อยๆ รู้สึกถึงประโยชน์อันมหาศาลของมันมากขึ้นเรื่อยๆ
  6. เหตุการณ์แย่ๆในอดีต อาจทำให้คุณหมดความเชื่อใจในตัวผู้อื่น และไม่อยากสนิทกับใครอีก ซึ่งจะส่งผลให้คุณพลาดโอกาสสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น โดยเฉพาะกลุ่มคนที่พร้อมเป็นแรงใจให้คุณอีกมากมาย [15]
    • แน่นอนว่า แรกๆ คุณอาจจะรู้สึกระแวงผู้คนสักนิด แต่คุณสามารถค่อยเป็นค่อยไปได้ โดยอาจเริ่มจากนัดเพื่อนใหม่ไปทานข้าว หรือคุยกันที่ร้านกาแฟ
    • การไปร่วมกลุ่มจิตอาสาต่างๆ ก็เป็นอีกวิธี ที่จะช่วยให้คุณกล้ากับเข้าไปในสังคม และสร้างความสัมพันธ์ใหม่ๆ อีกครั้ง และคุณอาจจะมีความกรุณาต่อผู้อื่นมากขึ้น เมื่อคุณเห็นว่าพวกเขาต่างก็มีอดีตที่เจ็บปวดเหมือนกัน
  7. หากอารมณ์ของคุณท่วมท้นจนรู้สึกสิ้นหวัง โดยขั้นตอนต่างๆ ที่กล่าวมา ไม่สามารถช่วยบรรเทาอาการคุณได้ ให้รีบติดต่อเพื่อขอเข้ารับการปรึกษาหรือบำบัดกับผู้เชี่ยวชาญ [16]
    • บ่อยครั้งที่อดีตส่งผลทางลบกับคุณมากเสียจนเกินรับไหว ดังนั้น ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา รวมถึงนักบำบัดซึ่งมีประสบการณ์ในการรับมือกับคนเช่นคุณมาก่อน มาช่วยแก้ไขสถานการณ์
    • หากคุณไม่แน่ใจว่าควรเข้ารับการบำบัดที่ไหนดี ลองสอบถามจากศูนย์ให้บริการข้อมูลด้านสุขภาพจิตต่างๆ รวมถึงจากแพทย์ผู้ให้คำปรึกษาในเบื้องต้น
    • หากไม่มั่นใจว่าประกันสุขภาพของคุณ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายด้านนี้ให้หรือเปล่า ควรสอบถามกับทางบริษัทโดยตรง
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เปลี่ยนนิสัยเสียใหม่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากใครชอบพูดเรื่องอดีตหรือทำให้คุณรู้สึกแย่ ก็พยายามถอยห่างออกมา เพราะคนที่คุณคบหา จะบ่งบอกความเป็นตัวคุณ [17] แถมยังส่งผลต่อท่าทีของคุณ ที่มีต่อเรื่องร้ายๆ ในอดีตด้วย
    • หาเวลาเพื่อตรึกตรอง (หรือเขียนลงในบันทึก) เกี่ยวกับผู้คนรอบข้างแต่ละคนว่า ใครมักทำให้คุณรู้สึกเช่นไรบ้าง หากพบว่าคนไหนมักทำให้คุณรู้สึกแย่ หรือยุยงให้คุณมีนิสัยเสีย พยายามใช้เวลากับเขาหรือเธอน้อยลงกว่าเดิม
    • ตัวอย่างเช่น คนที่ทำให้คุณรู้สึกต่ำต้อย คุณก็ไม่ควรเก็บไว้คบหาอีกต่อไป หรือเพื่อนคนไหนที่ไม่ช่วยให้คุณรับมือกับอดีตได้ ก็พยายามอย่าไปสุงสิงมากนัก คุณควรลองหาเพื่อนใหม่ๆ หรือเปลี่ยนวงสังคมดูบ้าง.
    • แน่นอนว่านี่ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การทำอะไรยากๆ ดูบ้าง จะช่วยให้คุณเติบโตอย่างแข็งแกร่ง
    • พยายามหากิจกรรมอดิเรกไปพร้อมๆ กับกลุ่มเพื่อนใหม่ ไม่ว่าจะเป็นด้านศิลปะหรือการกีฬาก็ตาม มันจะช่วยให้คุณค้นพบเส้นทางและเป้าหมายใหม่ๆ ในชีวิตได้เร็วขึ้น
  2. จงสำนึกในความดีงามของคนที่คอยให้กำลังใจคุณ. อย่ามัวแต่ไปใส่ใจกับพวกที่คอยซ้ำเติม หรือขาดความเห็นใจคุณ แต่พยายามเก็บรักษาคนดีๆ เอาไว้ และบอกพวกเขาด้วยว่าคุณซาบซึ้งเพียงใด [18]
    • พยายามบอกตัวเองเอาไว้ว่า ถึงแม้อดีตจะยังตามหลอกหลอนอยู่ แต่คนที่คู่ควรกับการใส่ใจของคุณ ก็คือเหล่าคนที่คอยให้กำลังใจคุณนี่ล่ะ
    • พยายามอยู่ใกล้เพื่อนดีๆ เอาไว้ ตลอดช่วงเวลานี้ พวกเขาจะคอยให้ความเชื่อมั่น และทำให้คุณเกิดกำลังใจในการเอาชนะอดีต รวมถึงจัดการกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
    • หากคุณกำลังกลัวว่าตนเองอาจพลาดพลั้งทำอะไรลงไป พยายามอยู่ใกล้กับคนที่คุณให้ความไว้วางใจ ในการช่วยเหลือคุณ [19]
    • หากคุณกลัวว่าตนเองอาจหมกมุ่นกับอดีตและเริ่มทำตัวสิ้นหวังอีก พยายามนัดเจอกับเพื่อนคนที่ทำให้คุณสบายใจบ่อยๆ
  3. เทคนิคดังกล่าวคือกระบวนการที่สามารถช่วยให้คุณค่อยๆ ปรับตัว และหาทางรับมือกับความเครียดที่เกิดขึ้น ด้วยการรู้จักผ่อนคลายอย่างเป็นระบบ [20]
    • มันเป็นหลักการที่จะช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายได้ แม้ในสถานการณ์ที่น่าวิตกกังวล
    • คุณอาจเริ่มจากเทคนิคง่ายๆ เช่น การฝึกหายใจอย่างเป็นระบบ หรือการทำสมาธิสักพัก จากนั้น ลองทดสอบตัวเองด้วยการเข้าไปอยู่ในสถานการณ์บางอย่าง ที่เคยทำให้คุณรู้สึกอึดอัด ลองดูว่าคุณจะสงบสติอารมณ์ได้หรือไม่
    • ค่อยๆ เริ่มจากสถานการณ์เล็กๆ ก่อน กุญแจสำคัญคือ การแข่งกับตัวเอง และดึงตัวเองกลับมาให้เข้ารูปเข้ารอย ก่อนที่จะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติต่อไป
    • สมมุติว่า คุณเพิ่งถูกสุนัขดุร้ายรุมกัดมา คุณอาจจะกลัวที่จะเข้าใกล้สุนัขไปหมดทุกตัว ดังนั้น คุณควรเริ่มจากการไปหาเพื่อน หรือใครก็ตามที่เลี้ยงสุนัขเอาไว้ และค่อยๆ ใช้เวลากับมันบ่อยขึ้น จะช่วยให้คุณค่อยๆ ลืมความเจ็บปวดที่เกิดจากการถูกสุนัขรุมกัดได้
  4. นิสัยบางอย่างที่เกิดขึ้นหลังประสบเหตุการณ์ร้ายๆ มันรังแต่จะทำให้คุณคอยหลบเลี่ยงการเผชิญหน้ากับปัญหาในปัจจุบัน ซึ่งการที่จะปรับตัวได้นั้น [21] คุณต้องเริ่มจากการดัดนิสัยตัวเอง เพื่อเผชิญหน้ากับความเจ็บปวดให้ได้ก่อน
    • ลองมาดูตัวอย่างกรณีถูกสุนัขรุมกัดอีกครั้ง หากคุณยังหวาดผวากับเหตุการณ์ถูกสุนัขรุมกัด คุณก็มักจะเดินหลีกห่างๆ เวลาที่เห็นสุนัขริมถนน หรือบางครั้งคุณอาจจะยอมเดินข้ามไปอีกฝั่งเลยด้วยซ้ำ ซึ่งดูผิวเผินแล้ว มันอาจเป็นวิธีรับมือที่ดี แต่ในระยะยาว มันจะทำให้คุณยิ่งฝังใจไปอีกนาน เมื่อนั้นชีวิตคุณก็จะไม่สะดวกสบายอย่างที่ควรจะเป็น ดังนั้น คุณควรค่อยๆ ฝืนใจเอาไว้ อย่าเดินหนีสุนัขอีกในครั้งต่อไป (แต่ไม่ต้องถึงกับเดินปรี่เข้าไปหามันล่ะ) จากนั้น จึงอาจค่อยๆ พัฒนาความกล้า ไปเป็นลูบหัวมันเล่นในโอกาสต่อๆ ไป จนกระทั่งความทรงจำอันเลวร้ายคลี่คลายลง
    • การทำใจกล้าแข็งอย่างเป็นระบบ สามารถช่วยให้คุณเลิกนิสัยที่ก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
    • บ่อยครั้งที่เราอาจไม่รู้ตัว หรือมองไม่เห็นพฤติกรรมแย่ๆ ของตนเอง ดังนั้น คุณอาจขอให้คนรอบข้างช่วยสังเกต และบอกคุณว่า มีอะไรบ้างที่พวกเขารู้สึกผิดสังเกตในพฤติกรรมของคุณ [22]
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณเพิ่งถูกแฟนทิ้งมา คุณอาจลองถามเพื่อนสนิทว่า “ระยะหลังๆ มานี้ เธอว่า ฉันมีพฤติกรรมอะไรแปลกๆ ไหม”
  5. พยายามนึกถึงสิ่งที่คุณมักหลีกเลี่ยง หรือจดบันทึกสถานการณ์ที่คุณรู้สึกอึดอัด ซึ่งคุณอาจไม่ตระหนักถึงพฤติกรรมและความรู้สึกดังกล่าวในช่วงที่ผ่านมา เมื่อผ่านไปสักพัก คุณอาจจะเริ่มเผชิญหน้ากับมันได้ดีขึ้น
    • หากคุณมีเพื่อนสนิทหรือคนใกล้ชิด ก็ลองถามพวกเขาเกี่ยวกับพฤติกรรมของคุณดูอีกทาง
    • เมื่อเริ่มเห็นภาพรวมแล้ว ลองนึกถึงวิธีการรับมือสถานการณ์เหล่านั้น ในแบบที่ต่างจากเดิม
    • สมมติว่า ช่วงนี้คุณไม่ค่อยกล้าออกไปพบปะผู้คน ลองเริ่มด้วยการชวนเพื่อนสนิทของคุณมาที่บ้านก่อน หลังจากนั้นสักสองสามครั้ง คุณก็อาจบอกให้พวกเขาพาคนที่คุณไม่รู้จักมาด้วย เพื่อค่อยๆ ปรับตัว
    • อย่ากดดันหรือเร่งรัดตัวเอง ปรึกษาผู้อื่นเมื่อจำเป็น การเห็นพัฒนาการของตัวเองวันละนิด จะช่วยให้คุณเอาชนะเรื่องเลวร้ายในอดีตได้ในที่สุด
    • เมื่อค่อยๆ ปรับตัวรับมือกับปัญหาได้แล้ว นิสัยแย่ๆ จะค่อยๆ จางหายไปเอง และจากนั้น คุณก็จะเริ่มเข้าสู่กระบวนการเริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้ง
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ฟันฝ่าช่วงเวลาวิกฤติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในช่วงแรก คุณอาจเก็บสิ่งของเหล่านั้นไว้ให้มิดชิด โดยหาถุงหรือถังใบใหญ่ๆ โยนมันลงไปเก็บไว้ชั่วคราวก่อน ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ หรือของขวัญบางอย่าง
    • เมื่อผ่านไปสักพัก คุณค่อยมานั่งคิดอีกทีว่า จะทำยังไงกับสิ่งของเหล่านั้น เช่น ขาย ทิ้ง เก็บไว้ หรือบริจาคก็ได้ เพราะในที่สุดแล้ว พวกมันจะไม่มีความหมายต่อคุณอีกต่อไป
  2. ก่อนอื่นคุณควรตั้งชื่อความรู้สึก และเหตุการณ์เลวร้ายเหล่านั้น เพื่อให้มันเหมือนสิ่งๆ หนึ่ง ที่คุณจัดการได้อยู่หมัด
    • คุณควรเขียนแสดงความรู้สึกและความในใจ ส่งผ่านปลายปากกาหรือปลายคีย์บอร์ด ไปถึงคนที่ทำให้คุณต้องพบเจาเรื่องเลวร้าย ซึ่งวิธีการนี้ จะช่วยให้คุณรู้สึกเหมือนได้เผชิญหน้ากับเขาหรือเธอจริงๆ เลยล่ะ [23]
    • คุณอาจแต่งเป็นบทกลอนหรือบทกวี รวมถึงแต่งเป็นเนื้อเพลงก็ยังได้ ไม่จำเป็นต้องระวังเรื่องการใช้คำให้สวยมากมาย ขอเพียงมันออกมาจากใจ เพื่อช่วยคุณระบายความรู้สึกก็เยี่ยมแล้ว
  3. พยายามใช้ชีวิตแต่ละวันอย่างรอบคอบ ระมัดระวังสถานการณ์ที่คุณอาจตอบสนองด้วยความวู่วาม หรือเป็นผลเสียกับคุณอีก โดยเฉพาะเมื่อคุณดูละครที่มีฉากให้นึกถึงเรื่องในอดีต หรือเกิดบังเอิญไปเจอคนที่เคยทำร้ายคุณเข้าแบบกะทันหัน
    • หากเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น พยายามนึกถึงเทคนิคต่างๆ ที่คุณเพิ่งได้อ่านมา อย่าปล่อยตามสัญชาตญาณเดิมอีก แต่จงทำในสิ่งที่ต่างออกไป
    • นอกจากนี้ คุณต้องหลีกเลี่ยงการทำในสิ่งที่อาจเสียใจภายหลัง เช่น การส่งข้อความไปด่าคนที่บอกเลิกคุณ หรือการตัดขาดกับคนในสายเลือดตระกูลเดียวกัน และหากเป็นกรณีที่คิดจะลาจากสิ่งใดสักอย่าง เช่น ลาออกจากงาน ก็ขอให้คิดดีๆ ก่อน นอกจากจะเป็นการฝึกควบคุมสติแล้ว ยังช่วยให้คุณเลือกทำในสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวเองด้วย
    • อย่าลืมว่า นักบำบัดและให้คำปรึกษา ก็ยังเป็นตัวช่วยที่จะสามารถให้คำแนะนำคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • หากรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง ขอให้จำไว้ว่า คุณยังมีพรุ่งนี้ที่ดีกว่ารออยู่ ขอแค่ค่อยๆ ตัดนิสัยทางลบและเพิ่มนิสัยทางบวก เพื่อปูทางและรับผิดชอบต่ออนาคตของตัวเอง
  4. อย่าคาดหวังว่าจะฟื้นใจได้ในเร็ววัน เรื่องแบบนี้ต้องใช้เวลาในการปรับตัว และเตรียมตัวเพื่อหาวิธีเริ่มต้นหนทางชีวิตใหม่
    • คนเรามีระยะเวลาในการฟื้นฟูจิตใจต่างกัน หากคุณเกิดความคิดในทำนองว่า “ป่านนี้ฉันยังจมปลักอยู่อีกเหรอ” ลองเปลี่ยนวิธีคิดใหม่เป็น “ฉันกำลังรู้สึกดีขึ้นเรื่อยๆ และกำลังก้าวต่อไปข้างหน้า”
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ความสูญเสียบางอย่าง อาจยังพอมีวันหวนคืน เช่น เรื่องสนุกๆ ในวัยเด็กที่คุณเคยชอบทำไงล่ะ ขอแนะนำให้คุณนำกลับมาปัดฝุ่นใหม่อีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการอ่านและสะสมการ์ตูน ตุ๊กตา หรือจะสิ่งไหนก็ตามที่รู้สึกว่า ยังไม่หนำใจเลยในวัยเด็ก เพราะมันจะเป็นการพิสูจน์ว่า คุณกำลังเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งและเรียนรู้ที่จะอยู่อย่างมีความสุขแล้ว ต่อให้ชีวิตวัยเด็กของคุณอาจมีแต่เรื่องแย่ๆ ก็ตาม
  • เชื่อมั่นในตนเอง อย่าฟังหรือใส่ใจกับคำพูดบั่นทอนจิตใจของใครๆ
  • พยายามคิดบวกและโฟกัสไปที่พัฒนาการทางอารมณ์ของตัวเอง แทนที่จะมองแต่อุปสรรค
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าเอาอดีตอันเลวร้าย มาเป็นข้ออ้างในการเพิกเฉยต่อสถานการณ์ปัจจุบัน พยายามแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ดีกว่ามัวแต่หวนคิดว่าอดีตของคุณเคยดีแค่ไหน คุณคือมนุษย์ผู้มีอิสระทางความคิดและสร้างสรรค์ พร้อมด้วยทักษะในการปรับตัวเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่าปล่อยให้อดีตมาเหนี่ยวรั้งคุณไว้
  • ปัญหาในวัยเด็ก ไม่ได้เกิดขึ้นกับคุณคนเดียว หากใช้มันเป็นข้ออ้างในการไม่คิดทำอะไรเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิต ก็รังแต่จะยิ่งทำให้ชีวิตข้างหน้าเลวร้ายลงไปใหญ่ ดังนั้น หากคุณปล่อยให้มันมาทำลายความสุขของชีวิตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ก็เท่ากับว่าปีศาจร้ายมันเอาชนะคุณได้แล้ว
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เริ่มความสัมพันธ์แบบ Friends with Benefits
ทำให้แฟนเก่ากลับมารักคุณอีกครั้ง
รู้ว่าเมื่อไหร่ที่อีกฝ่ายไม่อยากคุยกับคุณแล้ว
รู้ว่าแฟนสาวของคุณแอบไปนอนกับคนอื่นหรือเปล่า
ทำให้ใครบางคนรู้สึกผิด
ทำให้แฟนเก่าคิดถึงคุณ
พิชิตหัวใจแฟนเก่ากลับมา หลังจากการเลิกรา
หาเสี่ยเลี้ยง
ปลอบโยนแฟนสาวของคุณเมื่อเธอรู้สึกแย่
ดูว่าเพื่อนอิจฉาคุณหรือไม่
เรียกความเชื่อใจจากเขาหรือเธอกลับมา
ดูว่าผู้ชายกำลังหลอกใช้คุณเพื่อเซ็กส์หรือไม่
จบความสัมพันธ์
ฟื้นฟูความสัมพันธ์ให้กลับมาดีเหมือนเดิม
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Mock, S. E., & Arai, S. M. (2011). Childhood trauma and chronic illness in adulthood: mental health and socioeconomic status as explanatory factors and buffers. Developmental Psychology, 1, 246. http://doi.org/10.3389/fpsyg.2010.00246
  2. Van der Kolk, B. (2014). The Body Keeps the Score: Brain, Mind, and Body in the Healing of Trauma (1 edition). New York: Viking.
  3. Sparrow, T. (2011). Ecological Necessity. Thinking Nature, 1. Retrieved from http://issuu.com/naughtthought/docs/ecological_necessitybytomsparrow
  4. Changeux, J.-P. (2012). Synaptic Epigenesis and the Evolution of Higher Brain Functions. In P. S. Corsi & Y. Christen (Eds.), Epigenetics, Brain and Behavior (pp. 11–22). Springer Berlin Heidelberg. Retrieved from http://link.springer.com/chapter/10.1007/978-3-642-27913-3_2
  5. Malabou, C. (2012). The New Wounded: From Neurosis to Brain Damage. (S. Miller, Trans.) (1 edition). New York: Fordham University Press.
  6. http://www.restorativejustice.org/articlesdb/articles/1273
  7. http://sayw.com/articles/how-to-accept-your-past-and-move-on
  8. https://www.psychologytoday.com/blog/happiness-in-world/201002/how-forgive-others
  9. NurrieStearns, M., & NurrieStearns, R. (2013). Yoga for Emotional Trauma: Meditations and Practices for Healing Pain and Suffering (1 edition). Oakland, CA: New Harbinger Publications.
  1. http://theconsciouslife.com/how-to-meditate-a-guide-for-beginners.htm
  2. Siegel, D. J. (2010). Mindsight: The New Science of Personal Transformation (Reprint edition). New York: Bantam.
  3. D’Mello, S., & Mills, C. (2014). Emotions while writing about emotional and non-emotional topics. Motivation & Emotion, 38(1), 140–156. http://doi.org/10.1007/s11031-013-9358-1
  4. https://www.psychologytoday.com/blog/brain-babble/201208/turning-trauma-story-the-benefits-journaling
  5. https://www.psychologytoday.com/blog/brain-babble/201208/turning-trauma-story-the-benefits-journaling
  6. http://trauma-recovery.ca/recovery/building-a-support-system/
  7. http://www.rcpsych.ac.uk/healthadvice/problemsdisorders/copingafteratraumaticevent.aspx
  8. Casey, E. S. (2009). Getting Back into Place, Second Edition: Toward a Renewed Understanding of the Place-World (Second Edition edition). Bloomington: Indiana University Press.
  9. http://www.huffingtonpost.com/gloria-horsley/8-things-you-can-do-to-ta_b_5673735.html
  10. http://www.traumasurvivorsnetwork.org/traumapedias/772
  11. http://www.simplypsychology.org/Systematic-Desensitisation.html
  12. Duhigg, C. (2014). The Power of Habit: Why We Do What We Do in Life and Business (Reprint edition). New York: Random House Trade Paperbacks.
  13. Merleau-Ponty, M., & Edie, J. M. (1964). The Primacy of Perception: And Other Essays on Phenomenological Psychology, the Philosophy of Art, History and Politics. Northwestern University Press.
  14. Johnson, W. R., & L, W. (1997). Gestalt empty-chair dialogue versus systematic desensitization in the treatment of a phobia. Gestalt Review, 1(2), 150–162.

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 12,734 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา