ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การป้องกันการไรท์ช่วยป้องกันไม่ให้ใครมายุ่งอะไรกับข้อมูลในแผ่นหรือ SD card ของคุณได้ แต่ก็กีดกันไม่ให้คุณคิดจะทำมิดีมิร้ายกับแผ่นของคนอื่นด้วยเหมือนกันนี่สิ รู้ไหม คุณสามารถปิดการป้องกันการไรท์ได้หลายวิธีด้วยกัน ตั้งแต่การขยับสวิตช์ที่ตัวอุปกรณ์ ไปจนถึงการเข้าไปปรับแต่งค่าขั้นสูงในคอมของคุณ แต่ถ้าไดรฟ์เกิดเสียขึ้นมา ก็มีทางเดียวคือได้แต่ฟอร์แมตจนไม่เหลืออะไรเท่านั้น

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 6:

แก้ไขเบื้องต้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เช็คไดรฟ์หรือการ์ดว่ามีสวิทช์ปลดล็อคตรงไหนไหม. USB กับ SD card หลายตัวจะมีสวิทช์ล็อคไว้อยู่ หรือก็คือเปิดการป้องกันการไรท์ไว้ ให้ลองเช็คดูแล้วปลดล็อคซะ
    • ถ้าตัวล็อคของคุณเกิดเสียขึ้นมา ให้ลอง google หาวิธีซ่อมล็อคที่เสียของ SD Card เพื่อแก้ไขต่อไป
  2. คุณอาจเจอข้อผิดพลาด ไรท์ไฟล์ไม่ได้ ถ้าไม่มีที่เหลือพอใน drive คุณเช็คความจำที่เหลือได้ง่ายๆ แค่เลือกที่ไดรฟ์นั้นในหน้าต่าง Computer หรือ This PC ถ้าไดรฟ์ยังมีพื้นที่เหลืออยู่ อาจเป็นไปได้ว่าไฟล์ที่คุณพยายามจะ copy ลงไปนั้นใหญ่เกินไป
  3. บางทีไฟล์ที่คุณพยายาม copy นั่นแหละถูกป้องกันการไรท์ไว้ ไม่ได้เป็นที่ USB ถ้าเป็นแบบนั้น ข้อผิดพลาดที่เกิดก็จะคล้ายๆ กัน แค่ต่างออกไปนิดหน่อย คุณเปลี่ยน attributes หรือคุณสมบัติของไฟล์ได้ด้วยขั้นตอนต่อไปนี้
    • Windows - คลิกขวาที่ไฟล์ แล้วเลือก "Properties" อย่าติ๊กช่อง "Read-only" แล้วคลิก "Apply"
    • Mac - Control-click ที่ไฟล์ แล้วเลือก "Get Info" ขยาย "Sharing & Permissions" ออกมา แล้วตั้งคอลัมน์ "Privilege" เป็น "Read & Write" เฉพาะ user name ของคุณ
  4. ทุกครั้งที่เสียบ USB เข้าคอม โดยเฉพาะอันที่เอาไปใช้กับคอมอื่นมาก่อนหน้า อย่าลืมสแกนหาไวรัสก่อนใช้ทุกครั้ง คุณตั้งค่าให้โปรแกรมสแกนไวรัสส่วนใหญ่สแกน USB ได้อัตโนมัติทันทีที่เสียบเข้าคอม หรือจะคลิกขวาที่ไดรฟ์ แล้วเลือก "Scan with Antivirus " เองก็ได้
  5. พอไดรฟ์ปลอดไวรัสแล้ว อย่าลืมสแกนคอมหาไวรัสหรือมัลแวร์อื่นๆ ด้วย. ถ้าทุกไดรฟ์ที่เชื่อมต่อกับคอมของคุณนั้นไรท์อะไรเข้าไปไม่ได้เลย ก็อาจเป็นได้ว่าคอมคุณติดไวรัสหรือมัลแวร์เข้าให้ซะแล้ว [1]
    • สแกนทั้งเครื่องให้หมดจดด้วยโปรแกรม antivirus
    • ดาวน์โหลดแล้วเปิด Malwarebytes Anti-Malware ดาวน์โหลดได้ฟรีที่ malwarebytes.org
    • Google เพิ่มเติมได้ ถ้าอยากรู้รายละเอียดการกำจัดมัลแวร์และไวรัสเพิ่มเติม
  6. เป็นโปรแกรมฟรีแบบ open-source ที่ออกแบบมาเพื่อดักจับทุกปัญหาที่เกิดกับ USB และไดรฟ์เวอร์ USB ของ Windows คุณสามารถดาวน์โหลด UsbFix ได้ฟรีที่ fosshub.com/UsbFix.html
    • พอเปิด UsbFix แล้ว ให้คลิก "Research"
    • พอสแกนเสร็จแล้ว ให้คลิก "Clean"
    • ลองใช้ USB ของคุณดูอีกครั้ง
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 6:

ใช้หน้าต่าง Command Prompt (Windows)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้า USB drive หรือ SD card ของคุณติดอยู่ใน Read Only mode คุณอาจยังพอแก้ไข attributes ได้ด้วยการใช้ Command Prompt
    • ให้กด Win + R แล้วพิมพ์ cmd เพื่อเปิดหน้าต่าง Command Prompt ขึ้นมา
    • หรือจะเปิด Command Prompt จากเมนู Start ก็ได้ (เฉพาะ Windows 7 และเวอร์ชั่นก่อนหน้า) ไม่ก็คลิกขวาที่ปุ่ม Windows (สำหรับ Windows 8 และใหม่กว่านั้น)
  2. diskpart แล้วกด Enter . จะเป็นการเปิด DiskPart utility ในหน้าต่าง Command Prompt ที่แยกออกมา ส่วนมาก Windows จะขึ้นมาให้คุณเลือกเปิดอยู่แล้ว
  3. list volume แล้วกด Enter . แล้วรายชื่อไดรฟ์ทั้งหมดที่ต่ออยู่กับคอมของคุณก็จะปรากฏขึ้นมา
  4. ทุก partition ที่เชื่อมต่ออยู่กับคอมของคุณจะปรากฏขึ้นมา รวมถึง internal hard drive ด้วย จะมีข้อมูลขึ้นมาหลายคอลัมน์ด้วยกันสำหรับระบุ USB drive
    • คอลัมน์ Ltr จะแสดงตัวอักษรของไดรฟ์ที่เกี่ยวข้องของแต่ละ partition ไม่ใช่ทุก partition ที่จะมีตัวอักษรกำหนด อย่าง recovery partition ก็ไม่มี
    • ถ้าคุณเคยตั้งชื่อให้ USB drive มาก่อน ชื่อนั้นก็จะแสดงอยู่ในคอลัมน์ Label
    • ให้มองหา Removable ในคอลัมน์ Type
    • คอลัมน์ Size ช่วยแยกระหว่าง 2 USB drive ที่เหมือนกันได้
  5. select volume X . แทนที่ X ด้วยหมายเลขจากคอลัมน์แรกในรายชื่อ USB drive หรือ SD card ที่คุณต้องการจะใช้คำสั่ง เช่น ถ้า USB drive ของคุณคือ Volume 5 ให้พิมพ์ select volume 5
  6. attributes disk clear readonly แล้วกด Enter . จะเป็นการเปลี่ยนคุณสมบัติของ USB จะได้ไม่ติดอยู่ในโหมด read-only
  7. exit แล้วกด Enter จากนั้นลองใช้ไดรฟ์นั้นดูใหม่ . DiskPart จะปิดไป ให้คุณลองจัดการไฟล์ใน USB ดูอีกครั้ง อาจจะต้องกด eject ก่อนแล้วค่อยเสียบเข้ามาใหม่ถึงจะทำงาน ถ้าใช้ Command Prompt แล้วไม่ได้ผล ให้ลองแก้ด้วยวิธีถัดไปดู [2]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 6:

แก้ Registry (Windows)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าใช้คำสั่งใน DiskPart แล้วก็เอา USB drive หรือไดรฟ์อื่นๆ ที่เสียบไว้ออกจากโหมด read-only ไม่ได้ อาจถึงเวลาต้องแก้ที่ registry ของ Windows ซะแล้ว registry นั้นเป็นตัวควบคุมการทำงานของ Windows เพราะงั้นไม่ต้องบอกก็คงรู้ว่าต้องแก้ไขอย่างระวังแค่ไหน ตามแต่ละขั้นตอนในบทความนี้
    • คุณเปิด Registry Editor ได้โดยกด Win + R แล้วพิมพ์ regedit ถ้าคุณไม่ได้เป็น admin เจ้าของเครื่อง ก็ต้องใส่ administrator password ซะก่อน
  2. ใช้ navigation tree ที่อยู่ทางซ้าย ระบุตำแหน่งที่ถูกต้อง. ขยายและย่อแต่ละ entry ทางซ้ายเพื่อไปยังตำแหน่งต่อไปนี้
    • HKEY_LOCAL_MACHINE\SYSTEM\CurrentControlSet\Control\StorageDevicePolicies
    • ถ้าคุณไม่มีโฟลเดอร์ StorageDevicePolicies ในโฟลเดอร์ Control ให้คลิกขวาในโฟลเดอร์ แล้วเลือก "New" → "Key" เปลี่ยนชื่อเป็น StorageDevicePolicies จากนั้นให้เปิดขึ้นมา
  3. WriteProtect . หน้าต่าง Edit ก็จะเปิดขึ้นมา
    • ถ้าคุณไม่มีเอ็นทรี WriteProtect เพราะเพิ่งสร้าง StorageDevicePolicies ขึ้นมา ให้คลิกขวาในโฟลเดอร์ แล้วเลือก "New" → "DWORD (32-bit) value" เปลี่ยนชื่อเป็น WriteProtect แล้วเซฟได้เลย จากนั้นดับเบิลคลิกเพื่อเปิดหน้าต่าง Edit
  4. 0 . จะเป็นการปิดการป้องกันการไรท์ของ USB drive ทั้งหมด
  5. ตอนนี้การ์ดหรือไดรฟ์ของคุณก็น่าจะไรท์ข้อมูลลงไปได้แล้ว
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 6:

ฟอร์แมตไดรฟ์ (Windows)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คงต้องยอมฟอร์แมตไดรฟ์แล้วล่ะ ถ้าไม่ได้ผลสักวิธี. ถ้าลองหมดทุกวิธีที่บอกมาด้านบนแล้ว แต่ก็ยังเอาการป้องกันการไรท์ออกไม่ได้ คงถึงเวลาต้องฟอร์แมตไดรฟ์แล้ว ข้อมูลทั้งหมดของคุณจะถูกลบหายไป แต่อย่างน้อยไดรฟ์นั้นก็อาจกลับมาใช้งานได้ตามปกตินะ
  2. คุณฟอร์แมตไดรฟ์ที่ป้องกันการไรท์ได้ไม่หมดจดหรอก ถ้าไม่ได้ทำใน Safe Mode [3]
    • รีสตาร์ทเครื่อง แล้วกด F8 ค้างไว้. เลือก "Safe Mode with Networking" จากในตัวเลือก startup
    • ถ้าคุณพบปัญหาให้ลอง google วิธีการ boot เครื่อง Windows เข้า Safe Mode เพิ่มเติมดู
  3. จะเห็นไดรฟ์ทั้งหมดที่เสียบอยู่กับคอมพิวเตอร์ของคุณ
    • คุณเปิดหน้าต่างนี้ได้จากเมนู Start หรือโดยการกด Win + E
  4. หน้าต่าง Format ของ USB drive นั้นจะปรากฏขึ้นมา
  5. จะทำให้ไดรฟ์ของคุณใช้งานได้กับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ส่วนใหญ่
    • เลือก "exFAT" ถ้าไดรฟ์นั้นใหญ่กว่า 32 GB
    • ให้เลือก "NTFS" ถ้าจะใช้ไดรฟ์นั้นเฉพาะกับ Windows
  6. Windows จะเริ่มฟอร์แมตไดรฟ์ของคุณ ขั้นตอนนี้ต้องรอสักหน่อย
  7. พอฟอร์แมตเสร็จแล้ว ลองดูซิ ว่าคุณเปิดดูและไรท์ข้อมูลลงไดรฟ์ได้ไหม ถ้ายังแก้ไม่ตก แปลว่าไดรฟ์นั้นคงเสียหายจนเกินเยียวยาแล้วล่ะ [4]
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 6:

ใช้การ Repairing Permissions (OS X)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางทีอาจเป็นเพราะ permissions ของไดรฟ์คุณนั้นเสียหาย แก้ได้โดยใช้ Disk Utility คุณหา Disk Utility ได้ที่โฟลเดอร์ Utilities นั่นแหละ
  2. เลือกอุปกรณ์ของคุณที่ถูกป้องกันการไรท์จากทางซ้ายมือ. หน้าต่าง Disk Utility จะแสดงทั้ง hard drive, CD drive และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต่ออยู่กับคอมของคุณ ให้เลือกอุปกรณ์เจ้าปัญหาที่มีการป้องกันการไรท์อยู่
  3. พอยืนยันแล้ว OS X จะเริ่มสแกนไดรฟ์นั้นเพื่อแก้ไขปัญหา อดใจรอหน่อยนะ
    • ถ้า OS X เป็นเวอร์ชั่นเก่ากว่า ให้คลิกแถบ "First Aid" จากนั้นคลิกปุ่ม "Repair Permissions"
    โฆษณา
ส่วน 6
ส่วน 6 ของ 6:

ฟอร์แมตไดรฟ์ (OS X)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ฟอร์แมตไดรฟ์คือหนทางสุดท้าย ถ้าแก้ยังไงก็ไม่ได้ผล. ถ้าไดรฟ์ใช้ฟอร์แมต NTFS แปลว่าคุณจะไรท์อะไรลงไปไม่ได้เลย ให้ฟอร์แมตซะก่อนถึงจะใช้ได้ แต่ก็จะลบข้อมูลทั้งหมดในไดรฟ์ไปด้วยนะ
  2. เปิดแอพ Disk Utility ในโฟลเดอร์ Utilities ขึ้นมา จะเห็น USB drive ของคุณอยู่ในรายการในกรอบด้านซ้ายมือ
  3. มีหลายตัวเลือกด้วยกัน แล้วแต่ว่าคุณจะใช้ไดรฟ์นั้นทำอะไร
    • ให้เลือก "OS X Extended (Journaled)" ถ้าคิดจะใช้ไดรฟ์นั้นเฉพาะกับเครื่อง Mac
    • แต่เลือก "FAT" ถ้าอยากใช้ไดรฟ์กับระบบปฏิบัติการและอุปกรณ์อื่นด้วย
    • และเลือก "exFAT" ถ้าไดรฟ์ของคุณใหญ่กว่า 32 GB แล้วอยากจะใช้กับ Windows ด้วย
  4. OS X จะเริ่มฟอร์แมตไดรฟ์ทันที อาจต้องใช้เวลาหน่อย สุดท้ายข้อมูลทั้งหมดในไดรฟ์ก็จะถูกล้างจนหมดจด
  5. ถ้ายังประสบปัญหาเดิมๆ แสดงว่าเจ๊งบ๊งแล้ว หาอันใหม่มาใช้แทนเถอะนะ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การที่ไรท์อะไรลงไดรฟ์ไม่ได้ บ่อยครั้งเป็นเพราะ USB drive ของคุณนั้นเสียซะแล้วล่ะ ถ้าเป็นแบบนั้นละก็ ตัดใจซื้ออันใหม่เลยจะดีกว่า
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 11,635 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา