ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการปวดข้อมือในระหว่างการฝึกดันพื้นเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไป หากคุณกำลังประสบกับอาการปวดดังกล่าว อันดับแรกให้คุณลองเช็คท่าทางการฝึกของคุณดูว่ามีข้อผิดพลาดที่อาจส่งผลให้เกิดแรงกดลงไปที่ข้อมือมากเกินไปหรือไม่ หรือหากท่าทางการฝึกของคุณไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ หรือคุณยังคงมีอาการปวดข้อมือหลังจากที่แก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวแล้ว คุณสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการฝึกดันพื้นของคุณเพื่อป้องกันการเกิดอาการปวดข้อมือขึ้นอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม คุณอาจจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าอาการปวดที่เกิดขึ้นไม่ได้มีสาเหตุจากการได้รับบาดเจ็บที่ข้อมือ [1]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เรียนรู้ท่าทางการฝึกที่ถูกต้อง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อบอุ่นกล้ามเนื้อบริเวณมือและข้อมือทั้งสองข้าง. โดยปกติคุณอาจอบอุ่นร่างกายก่อนเริ่มต้นออกกำลังกายเป็นประจำอยู่แล้ว แต่เมื่อคุณต้องการฝึกดันพื้น คุณควรอบอุ่นกล้ามเนื้อบริเวณมือและข้อมือทั้งสองข้างด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมักมีอาการปวดที่ข้อมือในระหว่างการฝึกดันพื้น [2]
    • ในการอบอุ่นกล้ามเนื้อบริเวณมือและข้อมือรวมทั้งพัฒนาความยืดหยุ่นให้กับข้อมือของคุณ เริ่มจากยื่นมือข้างหนึ่งออกมาและกางนิ้วมือทั้งห้าออก
    • หมุนนิ้วมือเป็นวงกลมในทิศทางตามเข็มนาฬิกาหลายๆ ครั้งก่อนทำซ้ำลักษณะเดิมในทิศทางตรงกันข้าม ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ทีละนิ้วโดยเริ่มตั้งแต่นิ้วโป้งไล่ไปยังนิ้วก้อย ลองสมมติว่าคุณกำลังวาดวงกลมด้วยนิ้วมือนั้นๆ และคอยระวังอย่าให้นิ้วอื่นๆ ขยับตามไปด้วย
    • หากคุณไม่สามารถหมุนนิ้วมือหนึ่งเป็นวงกลมโดยที่นิ้วข้างๆ ไม่ขยับตามไปด้วยได้ แสดงว่ากล้ามเนื้อบริเวณมือและข้อมือของคุณยังไม่แข็งแรงมากพอซึ่งต้องใช้เวลาสักพักกว่าที่คุณจะเริ่มชำนาญมากขึ้น พยายามให้นิ้วมือที่กำลังหมุนวงกลมขยับเพียงนิ้วเดียวเท่านั้นและทำไปเรื่อยๆ จนครบทุกนิ้วก่อนสลับทำกับมืออีกข้างหนึ่ง
    • หลังจากอบอุ่นกล้ามเนื้อบริเวณข้อมือและมือแบบง่ายๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว คุณจะรู้สึกว่ามือและข้อมือของคุณเริ่มอุ่น อ่อนตัว และมีกำลังมากขึ้นกว่าเดิม
  2. การวางมือกว้างจนเกินไปหรือห่างออกไปทางด้านหน้ามากสามารถทำให้เกิดแรงกดลงไปที่ข้อมือเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การหันมือเข้ามาทางด้านในหรือออกไปทางด้านนอกยังทำให้ข้อมือของคุณอยู่ในมุมที่ผิดธรรมชาติจนอาจส่งผลให้เกิดการตึงจนเกินไปได้ [3]
    • ในระหว่างที่คุณฝึกดันพื้นด้วยท่าทางตามปกติ ลองหยุดและสังเกตดูที่มือทั้งสองข้าง มือของคุณควรชี้ตรงไปทางด้านหน้าโดยที่ทุกส่วนของมือและนิ้วมือวางแนบสนิทกับพื้น
    • การปล่อยให้ฝ่ามืองุ้มงอหรือนิ้วมือกระดกขึ้นจากพื้นจะทำให้แรงกดทั้งหมดทิ้งลงไปที่ส้นมือจนก่อให้เกิดอาการปวดข้อมือได้
    • เมื่อคุณเหยียดแขนตรง พยายามให้ข้อมือทั้งสองข้างอยู่ตรงกับหัวไหล่พอดีและไม่ไปทางด้านหน้าหรือด้านหลังมากจนเกินไป คุณอาจขอให้เพื่อนคอยดูท่าทางการฝึกของคุณว่ามือของคุณอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมหรือไม่และช่วยคุณในการจัดท่าทางให้ถูกต้อง
  3. ผู้ที่เพิ่งเริ่มฝึกใหม่ๆ อาจเผลอกางข้อศอกออกทางด้านข้างมากเกินไปแทนการเก็บข้อศอกให้แนบชิดกับลำตัวในระหว่างการฝึกดันพื้น [4]
    • แม้ว่าการกางข้อศอกออกไปทางด้านข้างในขณะฝึกจะช่วยให้คุณสามารถฝึกดันพื้นได้ง่ายยิ่งขึ้นในช่วงเริ่มแรก แต่การฝึกในลักษณะเช่นนี้ติดต่อกันอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลให้เกิดการตึงที่ข้อมือมากเกินไป นอกจากนี้การกางข้อศอกออกมากเกินไปยังอาจทำให้คุณได้รับบาดเจ็บที่ข้อศอกหรือหัวไหล่ได้หากคุณยังคงไม่แก้ไขท่าทางให้ถูกต้อง
    • ในระหว่างที่คุณฝึกดันพื้น พยายามให้ข้อศอกทั้งสองข้างของคุณงอไปทางด้านหลังและเฉียงออกจากลำตัวประมาณ 45 องศา
    • หากคุณไม่แน่ใจว่าข้อศอกของคุณอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมหรือไม่ ให้คุณลองฝึกดันพื้นสัก 2-3 ครั้งและขอให้เพื่อนคอยดูตำแหน่งของข้อศอกในระหว่างการฝึกของคุณ จำไว้ว่าการขอให้ใครสักคนช่วยสังเกตท่าทางของคุณจะช่วยให้คุณสามารถมองเห็นข้อผิดพลาดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
    • ลองฝึกฝนตัวเองให้อยู่ในท่าทางที่ถูกต้องด้วยการฝึกดันพื้นกับกำแพงในท่ายืน วิธีนี้จะช่วยให้คุณสามารถทำความคุ้นเคยกับตำแหน่งของข้อศอกที่ถูกต้องได้ง่ายยิ่งขึ้น
  4. การฝึกดันพื้นไม่ใช่ท่าทางการฝึกที่เน้นการบริหารลำตัวช่วงบนเพียงอย่างเดียว ดังนั้นหากคุณฝึกดันพื้นโดยออกแรงเฉพาะจากลำตัวช่วงบนและไม่เกร็งแกนกลางลำตัวไปด้วย คุณอาจกำลังทิ้งแรงกดลงไปที่ข้อมือมากขึ้นจนส่งผลให้เกิดอาการปวดข้อมือได้ [5]
    • หากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไม่ยอมขยับเคลื่อนไหวตามร่างกายส่วนอื่นๆ แสดงว่าคุณไม่ได้เกร็งแกนกลางลำตัวอย่างถูกต้องในระหว่างการฝึก ยกตัวอย่างเช่น เมื่อสะโพกของคุณหย่อนลงหรือเมื่อลำตัวช่วงล่างยกขึ้นตามหลังลำตัวช่วงบน
    • หากคุณสังเกตเห็นว่าหลังโคลงเคลงไปมาหรือหลังส่วนล่างโก่งโค้งขึ้น คุณอาจจำเป็นต้องออกกำลังกายแบบอื่นๆ ที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับแกนกลางลำตัวของคุณเพิ่มเติมก่อนเริ่มต้นฝึกดันพื้นใหม่อีกครั้งเพื่อให้คุณสามารถฝึกได้ด้วยท่าทางที่ถูกต้องโดยไม่เกิดแรงกดลงไปที่ข้อมือมากจนเกินไป
    • ลองออกกำลังกายด้วยการทำท่าแพลงก์แทนการฝึกดันพื้นเพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับแกนกลางลำตัวของคุณ โดยคุณอาจเริ่มต้นจากการฝึกท่าฮาล์ฟแพลงก์โดยใช้ปลายแขนยันพื้นไว้แทนมือเพื่อลดการเกิดแรงกดลงไปที่ข้อมือของคุณ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ปรับเปลี่ยนรูปแบบการฝึกดันพื้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การฝึกดันพื้นแบบบิดข้อมือไปมาจะช่วยให้ข้อมือไม่ต้องแบกรับน้ำหนักมากจนเกินไปพร้อมทั้งเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับข้อมือและปลายแขนของคุณ ซึ่งเมื่อข้อมือและปลายแขนของคุณมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น คุณก็จะสามารถฝึกดันพื้นแบบพื้นฐานได้โดยไม่มีอาการปวดข้อมืออีกต่อไป [6]
    • กำหมัดและวางข้อนิ้วลงบนพื้นเพื่ออยู่ในท่าเตรียม จากนั้นบิดข้อมือไปทางด้านหน้าจนกระทั่งปลายนิ้วโป้งแตะกับพื้นโดยที่แขนทั้งสองข้างเหยียดตรง
    • บิดข้อมือกลับเข้าหาตัวโดยเคลื่อนไหวในลักษณะเดิมแต่ในทิศทางตรงกันข้ามเพื่อให้ฐานของหมัดแตะพื้นแทน ให้คุณงอข้อศอกทั้งสองข้างโดยเกร็งกล้ามเนื้อไตรเซ็ปส์ไว้ ซึ่งในจังหวะนี้คุณจะรู้สึกว่าข้อมือของคุณเหยียดตึงมากยิ่งขึ้น ให้คุณฝึกดันพื้นโดยบิดข้อมือไปมาเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนครบจำนวนครั้งที่คุณตั้งไว้
    • ในช่วงแรกคุณอาจฝึกดันพื้นแบบบิดข้อมือไปมาโดยคุกเข่าทั้งสองข้างลงบนพื้นเพื่อช่วยในการรองรับน้ำหนักตัวของคุณ ค่อยๆ ขยับตำแหน่งของหัวเข่าถอยไปทางด้านหลังยิ่งขึ้นจนกระทั่งคุณสามารถฝึกดันพื้นแบบมาตรฐานโดยใช้ปลายเท้าแตะพื้นได้
  2. เมื่อต้องการถ่ายน้ำหนักตัวไปที่ปลายนิ้วในระหว่างการฝึกดันพื้นของคุณ หลังจากที่อยู่ในท่าเตรียมพร้อมสำหรับดันพื้น ให้คุณใช้ปลายนิ้วกดลงบนพื้นในลักษณะเหมือนกับกำลังถือลูกบาสเก็ตบอล [7]
    • พยายามให้ฝ่ามือแบนราบและไม่งุ้มงอตลอดการฝึก ฝ่ามือของคุณจะทำหน้าที่รับน้ำหนักตัวหรือดูดซับแรงกระแทกจากการฝึกดันพื้นของคุณเพื่อช่วยกระจายน้ำหนักตัวและลดแรงกดไม่ให้ลงไปที่ข้อมือมากเกินไป
    • ควรแน่ใจว่านิ้วมือวางราบบนพื้นตลอดเวลาและคอยระวังอย่าให้ขดงอไปมาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแรงกดลงไปที่ข้อนิ้วมือมากจนเกินไป
  3. วิธีหนึ่งที่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดข้อมือทั้งในระหว่างการฝึกดันพื้นและการทำท่าแพลงก์ได้คือการเปลี่ยนตำแหน่งการวางมือ ดังนั้นลองยกลำตัวช่วงบนให้อยู่ในระดับสูงขึ้นเพื่อช่วยลดเปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวที่มือและข้อมือของคุณต้องแบกรับตลอดการฝึก [8]
    • คุณสามารถวางมือบนม้านั่งออกกำลังกายหรือแท่นสเต็ปออกกำลังกายที่สูงเหนือจากพื้นขึ้นมาเล็กน้อยก่อนเริ่มต้นฝึกดันพื้นตามปกติ
    • อย่าลืมว่าคุณยังคงต้องสังเกตท่าทางการฝึกของคุณ พยายามให้ข้อศอกงอไปทางด้านหลังและแนบชิดกับลำตัวตลอดการฝึกของคุณ รวมทั้งคอยระวังให้หลังเหยียดตรงอยู่เสมอเพื่อให้ลำตัวตลอดทั้งแนวของคุณยกขึ้นและลดลงไปพร้อมๆ กัน
  4. ใช้มือทั้งสองข้างจับดัมบ์เบลล์ไว้ในระหว่างการฝึกดันพื้นเพื่อให้ข้อมือของคุณตั้งตรงและทำให้เกิดแรงกดลงไปที่ข้อมือน้อยลง เนื่องจากดัมบ์เบลล์จะถูกวางอยู่บนพื้นตลอดการฝึก คุณจึงสามารถเลือกใช้ดัมบ์เบลล์ที่ขนาดหรือน้ำหนักเท่าไรก็ได้ อย่างไรก็ตาม ดัมบ์เบลล์ที่เลือกใช้ควรมีขนาดใหญ่มากพอให้คุณจับได้ถนัดมือรวมทั้งมีน้ำหนักกำลังพอดีเพื่อไม่ให้ขยับไปมาได้ง่ายในระหว่างการฝึก [9]
    • วางดัมบ์เบลล์ให้อยู่ในตำแหน่งใต้หัวไหล่แต่ละข้างพอดี หลังจากที่อยู่ในท่าเตรียมพร้อมสำหรับดันพื้น ให้คุณใช้นิ้วมือกำรอบแกนดัมบ์เบลล์โดยหันฝ่ามือทั้งสองข้างเข้าหากัน
    • หากแกนดัมบ์เบลล์เกิดการเสียดสีบนบริเวณฝ่ามือ คุณสามารถใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กพันไว้เพื่อให้นุ่มสบายมือยิ่งขึ้น
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ยืดเหยียดและบริหารข้อมือ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การกระดกนิ้วมือหรือฝ่ามือขึ้นลงสามารถช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณมือและข้อมือได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งนอกจากจะใช้ในการออกกำลังกายเพื่อความแข็งแรงโดยเฉพาะแล้ว คุณยังสามารถบริหารด้วยวิธีดังกล่าวเพื่อเป็นการอบอุ่นกล้ามเนื้อบริเวณมือ นิ้วมือ และปลายแขนก่อนเริ่มต้นฝึกดันพื้นได้อีกด้วย [10]
    • ในการบริหารด้วยการกระดกนิ้วมือขึ้นลง ให้คุณวางปลายนิ้วลงบนพื้นโดยให้ฝ่ามือยกขึ้นมาก่อนเริ่มกระดกขึ้นลง โดยคุณสามารถเลือกทำได้ทั้งในท่านั่งหรือท่าคุกเข่าซึ่งสามารถช่วยในการรองรับน้ำหนักตัวของคุณและควรหลีกเลี่ยงการทำในท่าเตรียมพร้อมสำหรับดันพื้น พยายามให้กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ที่ทำหน้าที่งอนิ้วมือเหยียดตึงและคลายตัวในการกระดกนิ้วมือแต่ละครั้งและเคลื่อนไหวเป็นจังหวะสม่ำเสมอจนครบ 12 ครั้งโดยประมาณ
    • การบริหารด้วยการกระดกฝ่ามือขึ้นลงมีความคล้ายคลึงกับท่า Calf raise ซึ่งมีลักษณะการฝึกโดยการวางนิ้วเท้าและบริเวณเนินปลายเท้าบนพื้นและออกแรงเขย่งให้ส้นเท้ายกขึ้น แตกต่างกันที่การกระดกฝ่ามือขึ้นลงเป็นการบริหารกล้ามเนื้อปลายแขนแทน จำไว้ว่าปลายแขนที่แข็งแรงสามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดข้อมือในระหว่างการฝึกดันพื้นได้
    • ในการบริหารด้วยการกระดกฝ่ามือขึ้นลง เริ่มจากวางมือทั้งสองข้างให้แนบสนิทกับพื้นในตำแหน่งใต้หัวไหล่พอดีเหมือนกับการฝึกดันพื้นตามปกติ โดยคุณสามารถคุกเข่าทั้งสองข้างลงบนพื้นเพื่อช่วยในการรองรับน้ำหนักตัวของคุณ จากนั้นยกฝ่ามือขึ้นโดยที่นิ้วมือและเนินปลายฝ่ามือยังคงวางติดกับพื้นก่อนค่อยๆ ลดระดับฝ่ามือลงช้าๆ ทำซ้ำ 12-24 ครั้ง
  2. การดึงข้อมือเข้าหาตัวและปล่อยสามารถทำได้ทั้งในท่ายืนและท่านั่ง ช่วยในการยืดเหยียดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ที่บริเวณมือและข้อมือของคุณให้คลายลงและสามารถรองรับแรงกดได้ดียิ่งขึ้นในระหว่างการฝึกดันพื้น [11]
    • เริ่มจากเหยียดแขนขวาตรงมาข้างหน้าและหงายฝ่ามือขึ้นหาเพดาน จากนั้นให้คุณหักข้อมือกลับลงมาจนฝ่ามือหันไปทางด้านหน้าและนิ้วมือชี้ลงพื้น
    • กางนิ้วมือออกจากกันก่อนใช้นิ้วมือข้างซ้ายจับที่นิ้วโป้งและดึงเข้าหาตัวจนกระทั่งรู้สึกตึง ค้างไว้สักครู่พร้อมสูดลมหายใจลึกๆ และคอยกางนิ้วมือออกกว้างอยู่ตลอดเวลาเพื่อป้องกันไม่ให้นิ้วมือของคุณตึงหรืองอได้
    • หลังสูดลมหายใจเข้าออก 2-3 ครั้ง ให้คุณปล่อยนิ้วโป้งกลับสู่ตำแหน่งเดิมและเปลี่ยนมาจับที่นิ้วชี้เป็นลำดับต่อไป ทำซ้ำขั้นตอนเดิมไปเรื่อยๆ จนครบทุกนิ้วก่อนลดแขนขวาลงและเหยียดแขนซ้ายออกเพื่อสลับข้างทำแบบเดียวกัน
  3. ท่ากอริลล่าเป็นหนึ่งในท่าโยคะที่ช่วยในการยืดเหยียดและบริหารข้อมือได้อย่างดีเยี่ยม มีลักษณะท่าทางคือก้มตัวไปข้างหน้าพร้อมหันฝ่ามือขึ้นและสอดไว้ใต้ฝ่าเท้า [12]
    • เริ่มจากยืนตัวตรงโดยแยกเท้าทั้งสองข้างให้กว้างเท่าช่วงสะโพก จากนั้นพับสะโพกไปข้างหน้าพร้อมงอหัวเข่าให้ได้มากที่สุดเพื่อให้คุณสามารถวางมือทั้งสองข้างลงบนพื้นได้อย่างแนบสนิท
    • หักข้อมือเข้าหาตัวให้หลังมือแตะพื้นและฝ่ามือหงายขึ้น ยกนิ้วเท้าทั้งสิบขึ้นจากพื้นและสอดมือเข้าไปไว้ใต้ฝ่าเท้าโดยให้นิ้วมือของคุณชี้ไปทางส้นเท้า
    • สูดลมหายใจลึกพร้อมใช้นิ้วเท้านวดคลึงที่บริเวณรอยพับข้อมือ ค้างไว้ 20 ลมหายใจเข้าออกก่อนกลับสู่ท่ายืนตรง
  4. กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่บริเวณมือและปลายแขนของคุณเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ขยับข้อมือและข้อต่อต่างๆ ตามนิ้วมือ คุณสามารถป้องกันการเกิดอาการปวดข้อมือในระหว่างฝึกดันพื้นได้ด้วยการหมั่นออกกำลังกายเพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อมือเป็นประจำ บริหารข้อมือด้วยวิธีเหล่านี้ทีละข้างเท่านั้นและอย่าลืมสลับข้างทำแบบเดียวกัน [13]
    • นำผ้าขนหนูที่ม้วนกลมวางไว้ที่ขอบโต๊ะสำหรับใช้รองแขนและวางปลายแขนพาดลงบนโต๊ะโดยปล่อยให้มือห้อยลงมาจากขอบโต๊ะ จากนั้นออกแรงกระดกมือขึ้นช้าๆ จนกระทั่งรู้สึกตึงและค้างไว้ 5-10 วินาทีก่อนคลายลงเพื่อกลับสู่ตำแหน่งเริ่มต้น ทำซ้ำ 10 ครั้งก่อนกลับด้านแขนให้ฝ่ามือหงายขึ้นและทำขั้นตอนเดิมซ้ำอีก 10 ครั้ง
    • ฝึกการเคลื่อนไหวข้อมือแบบพลิกหงายและคว่ำโดยเริ่มจากอยู่ในท่ายืนหรือท่านั่งและงอข้อศอกทำมุม 90 องศาและคว่ำฝ่ามือลง จากนั้นหมุนปลายแขนเพื่อพลิกฝ่ามือให้หงายขึ้นและค้างไว้ 5-10 วินาทีก่อนหมุนกลับดังเดิม ทำซ้ำ 10 ครั้ง
    • ปิดท้ายด้วยฝึกเบี่ยงข้อมือออกไปทางด้านซ้ายและด้านขวา นำผ้าขนหนูที่ม้วนกลมวางไว้ที่ขอบโต๊ะอีกครั้งและวางปลายแขนพาดลงบนโต๊ะโดยให้มือตั้งฉากในลักษณะเหมือนกับกำลังยื่นมือออกไปจับกับคนอื่น จากนั้นออกแรงหักข้อมือขึ้นจนกระทั่งรู้สึกตึงและค้างไว้ 5-10 วินาทีก่อนลดมือลงให้ตั้งตรงดังเดิม สลับเป็นหักข้อมือลงจนกระทั่งรู้สึกตึงและค้างไว้ 5-10 วินาทีเช่นเดิมก่อนยกมือขึ้นให้กลับมาตั้งตรงอีกครั้ง ทั้งหมดนี้นับเป็น 1 ครั้งและให้คุณทำซ้ำ 10 ครั้งต่อข้อมือข้างหนึ่ง
  5. การบริหารเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่บริเวณมือและนิ้วมือจะช่วยให้มือและนิ้วมือของคุณสามารถรองรับน้ำหนักตัวได้ดียิ่งขึ้นในระหว่างการฝึกดันพื้นและส่งผลให้เกิดแรงกดลงไปที่ข้อมือลดลง [14]
    • ยกมือข้างหนึ่งขึ้นมาโดยกางนิ้วมือทั้งห้าออก จากนั้นค่อยๆ เคลื่อนนิ้วโป้งที่กางออกเข้ามาแตะที่ฝ่ามือช้าๆ และค้างไว้ 5-10 วินาทีก่อนคลายออกเพื่อกลับสู่ตำแหน่งเริ่มต้น ทำซ้ำ 10 ครั้งเพื่อเพิ่มกำลังในการเหยียดและงอนิ้วโป้งของคุณ
    • ยกมือข้างหนึ่งขึ้นมาและเหยียดนิ้วมือให้ตรงในลักษณะเหมือนกับกำลังยกมือบอกให้หยุด จากนั้นกำหมัดโดยงอข้อกลางและข้อปลายของนิ้ว (Hook fist) และค้างไว้ 5-10 วินาทีก่อนเหยียดนิ้วตรงดังเดิม ต่อไปให้คุณกำหมัดโดยงอตั้งแต่โคนนิ้วจนถึงข้อปลายของนิ้ว (Full fist) และค้างไว้ 5-10 วินาทีก่อนเหยียดนิ้วตรงอีกครั้ง และปิดท้ายด้วยการกำหมัดโดยงอโคนนิ้วจนถึงข้อกลางและให้ปลายนิ้วเหยียดตรงบนฝ่ามือแทน (Straight fist) และค้างไว้ 5-10 วินาทีก่อนเหยียดนิ้วตรงดังเดิม ทำซ้ำ 10 ครั้งก่อนสลับทำกับมืออีกข้างหนึ่ง
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,639 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา