ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การถูกความเย็นกัดเกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อของร่างกายแข็งตัวขณะที่อยู่ในที่ที่หนาวเย็นและมีลม นิ้วมือ นิ้วเท้า หู และจมูก เป็นอวัยวะที่มักเกิดอาการนี้ได้บ่อยที่สุดเพราะเป็นที่ที่ยากแก่การปกปิดให้พ้นจากความเย็น และเนื่องจากการโดนความเย็นกัดสามารถทำลายเนื้อเยื่อได้เป็นการถาวรการตรวจสอบสภาพอากาศ การแต่งกายให้เหมาะสม และการจัดการตัวเองทันทีที่คุณสงสัยว่าตนจะมีอาการดังกล่าวจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

แต่งกายให้เหมาะสม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้เวลาดูพยากรณ์อากาศและตัดสินใจว่าวันนี้ต้องใส่เสื้อผ้าแบบไหน การป้องกันไม่ให้ความเย็นกัดเป็นเรื่องของการเตรียมพร้อมให้เท่าที่จะพร้อมได้ หากคุณต้องอยู่นอกบ้านทั้งวัน ไม่ว่าจะออกไปปีนเขาหรือยืนต่อแถวซื้อบัตรคอนเสิร์ต คุณอาจถูกความเย็นเล่นงานเข้าให้จริงๆ
  2. ให้แน่ใจว่าคุณเสื้อผ้าของคุณอุ่นพอที่จะเผชิญกับอุณหภูมิที่ลดต่ำลง. อากาศในฤดูหนาวเอาแน่เอานอนไม่ได้มากๆ แม้คุณอาจมีเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายพร้อมสำหรับยามบ่ายที่อุณหภูมิขึ้นสูง คุณควรต้องคิดล่วงหน้าถึงช่วงดึกที่อุณหภูมิลดต่ำเผื่อว่าคุณไปติดอยู่ที่ใดที่หนึ่ง
  3. เตรียมพร้อมหากเกิดพายุหิมะหรือลมแรงโดยไม่คาดคิด. การต้องอยู่กับหิมะเปียกๆ และลมหนาวเพิ่มโอกาสในการถูกความเย็นกัดให้มากขึ้นไปอีก
  4. ผู้คนที่ต้องใช้เวลาอยู่กลางแจ้งได้พัฒนาหลักสำหรับการแต่งกายในอากาศฤดูหนาวไว้ ไม่ว่าเสื้อโค้ตฤดูหนาวของคุณจะอุ่นขนาดไหนประสิทธิภาพก็ไม่เท่าเสื้อผ้าที่ทับกันมากกว่าหนึ่งชั้น เสื้อผ้าที่เหมาะกับฤดูหนาว ได้แก่ เสื้อผ้าทั่วๆ ไป ดังต่อไปนี้:
  5. สวมเสื้อผ้าที่ทำจากผ้าระบายเหงื่อง่ายเป็นชั้นแรกติดกับผิวของคุณ. ผ้าใยสังเคราะห์ประเภทนี้จะช่วยให้ผิวไม่เปียกชื้น
  6. ผ้าขนสัตว์เป็นตัวเลือกที่ดี อย่าใส่ผ้าฝ้ายเด็ดขาดเพราะผ้าฝ้ายแห้งไม่เร็วพอและเก็บความร้อนได้ไม่ดีด้วย
  7. คุณควรใช้โค้ทฤดูหนาวของคุณ เสื้อแจ๊กเก็ตกันฝน หรือใส่ด้วยกันทั้งคู่กันเป็นเสื้อชั้นนอกเพื่อปกป้องคุณจากทุกสภาพอากาศ
  8. ต้องแน่ใจว่าระหว่างชั้นเสื้อผ้าไม่มีพื้นที่ให้ความเย็นเล็ดลอดมาทำร้ายผิวคุณ บริเวณรอยต่อระหว่างเสื้อและกางเกง ข้อมือ ข้อเท้าและคอ ล้วนเป็นบริเวณที่ง่ายต่อการโดนความเย็นกัด และแม้จะเป็นบริเวณอื่นๆ ที่ไม่ค่อยจะเกิดอาการดังกล่าวคุณก็ควรต้องป้องกันไว้ก่อน
  9. ให้แน่ใจว่าคุณสอดเสื้อชั้นในเข้ากางเกงให้สุดดี.
  10. ใส่ถุงมือแบบแยกนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วอื่นที่เหลือทับแขนเสื้อ.
  11. ให้ความใส่ใจกับบริเวณศีรษะ มือ และเท้าให้มากเป็นพิเศษ. บริเวณเหล่านี้มักโดนความเย็นกัดได้มากที่สุด เป็นอวัยวะส่วนนอกของร่างกายที่ไม่ได้รับการปกป้องจากเสื้อผ้าหลายๆ ชั้นที่คุณใส่อยู่ นั่นหมายความว่าคุณต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในการปกปิดอวัยวะเหล่านี้ให้ได้รับความอบอุ่นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  12. ป้องกันตาและจมูกของคุณเมื่ออยู่ที่ที่อากาศเย็นจัด. คุณอาจต้องใช้หน้ากากสกีเพื่อการนี้
  13. ใส่ถุงมือแบบแยกนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วที่เหลือกออกจากกัน. ถุงมือชนิดนี้อุ่นกว่าแบบแยกทุกนิ้วตามปกติ
  14. หากคาดว่าจะต้องเปียกก็ให้ใส่รองเท้าบู๊ตกันน้ำ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

รู้ว่าเมื่อไหร่ควรกลับเข้าข้างใน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พาเด็กๆ เข้าข้างในอาคารทุกหนึ่งชั่วโมงเพื่อให้ความอบอุ่นร่างกาย. เด็กๆ มักจะถูกความเย็นกัดง่ายกว่าเนื่องจากพวกเขาจะไม่ค่อยจะรับรู้สัญญาณเตือนต่างๆ ที่เกิดกับตน บางคนอาจทำถุงมือหายทำให้นิ้วชาแต่ตนก็ไม่สนใจจะสังเกตอาการ เพื่อความปลอดภัย พาเด็กๆ เข้าข้างในอาคารบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยามอยู่ที่ที่อากาศเย็นจัด
  2. หาที่กำบังหากคุณเผชิญกับพายุแรงหรืออากาศเย็นจัด. การโดนความเย็นกัดอาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากในที่ที่อุณหภูมิต่ำหรือยามที่มีลมแรงหรือมีฝน หิมะ หรือลูกเห็บ หากสภาพอากาศเปลี่ยนคุณต้องรีบหาที่กำบังให้เร็วที่สุด
  3. เปลี่ยนเสื้อผ้าหรือกลับเข้าข้างในทันทีที่ตัวเปียก. การสวมใส่เสื้อผ้าเปียกๆ เพิ่มความเสี่ยงที่จะโดนความเย็นกัด พยายามทำให้เสื้อผ้าแห้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถุงเท้าและถุงมือไม่ว่าจะชนิดไหน นำเครื่องแต่งกายไปเผื่อหรือกลับเข้าในอาคารเพื่อทำให้เสื้อผ้าแห้งหากเสื้อผ้าคุณเปียก
  4. เช็กตามผิวหนังว่าโดนความเย็นกัดหรือไม่ทุกครึ่งชั่วโมง. สิ่งนี้จำเป็นอย่างยิ่งยามอยู่ในที่เย็นจัด [1] มองผิวหนังตัวเอง กดดูว่าผิวตึงแค่ไหน และขยับนิ้วมือนิ้วเท้าดู สัญญาณเบื้องต้นของการโดนความเย็นกัด ได้แก่: [2]
  5. เป็นอาการขั้นแรกสุด. โดยจะมีความรู้สึกเจ็บปวดและผิวหนังแดง ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อแรงกดดันตามปกติร่วมด้วย
  6. ขั้นที่สองนี้จะมีอาการชาและผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเหลืองเทาโดยผิวหนังจะยังคงอ่อนนุ่มอยู่.
  7. อาการขั้นนี้จัดว่าอันตรายมากและจำเป็นต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์โดยทันที. สังเกตดูว่าอาการชาและผิวหนังเป็นสีขาวหรือเหลืองเทา มีความเป็นเงาและตึงผิดปกติหรือไม่ และอาจมีอาการวิงเวียน มึนงง และเป็นไข้ร่วมด้วย
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

จัดการกับอาการความเย็นกัด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณมีสัญญาณเริ่มต้นของการโดนความเย็นกัดให้กลับเข้าข้างในอาคารและให้ความอบอุ่นร่างกาย ถอดเสื้อผ้าเปียก เปลี่ยนมาใส่เสื้อแห้งหรือใช้ผ้าห่มอุ่นๆ เพื่อให้ความอบอุ่นร่างกาย ดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆ เช่น ชา ช็อกโกแลตร้อน หรือน้ำอุ่นก็ได้ เพื่อดึงอุณหภูมิร่างกายกลับขึ้นมา
  2. อย่าพยายามที่จะกลับไปข้างนอกหลังร่างกายอุ่นขึ้น. บริเวณที่โดนความเย็นจะยิ่งแย่ลงอีกหากกลับออกไปข้างนอกอีกครั้ง อย่าเสี่ยงเพียงเพราะคุณแค่อยากกลับไปเล่นสกีหรือปีนเขาต่อ
  3. หากไม่สามารถหาที่อุ่นๆ หรืออยู่ไกลเกินไปจากอาคารที่ใกล้ที่สุด ให้หาที่กำบังลมและร้องขอความช่วยเหลือ.
  4. ใส่น้ำอุ่นในชามหรือหม้อและแช่บริเวณที่มีปัญหาให้ลงไป อย่าใช้น้ำร้อนเพราะจะเป็นการให้ความร้อนที่รวดเร็วเกินไปอาจทำลายเนื้อเยื่อได้ ให้แช่ในน้ำอุ่นสัก 30-40 นาที
  5. ให้คนที่ไม่ได้โดนความเย็นกัดทดสอบดูว่าน้ำเป็นน้ำอุ่นไม่ใช่น้ำร้อน. คนที่โดนความเย็นกัดอาจไม่สามารถสัมผัสและรับรู้อุณหภูมิได้แม่นยำเท่า
  6. สักประมาณ 30 หรือ 40 นาที สัมผัสต่างๆ เดิมควรจะกลับมาครบเหมือนเดิม และสีผิวควรกลับมาเป็นปกติ. ขณะที่เนื้อเยื่อเริ่มอุ่นขึ้นก็จะมีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงถือเป็นปกติ
  7. อย่าใช้วิธีอื่นใดในการให้ความอบอุ่นบริเวณที่มีปัญหา. การไม่ระวังเนื้อเยื่ออาจก่อให้เกิดปัญหามากมาย น้ำอุ่นควรเป็นวิธีเดียวที่คุณใช้เพื่อดึงอุณหภูมิร่างกายให้กลับมาอยู่ในระดับที่เหมาะสม และต่อไปนี้คือสิ่งที่ควรเลี่ยง:
  8. อย่าใช้ความร้อนแห้ง เพราะผิวที่ชาจะไหม้ได้ง่าย
  9. ขอความช่วยเหลือทางการแพทย์หรือพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ. อาการฟรอสท์นิพอาจรักษาด้วยตนเองได้โดยไม่ต้องขอความช่วยเหลืออื่นใดเพิ่มเติม แต่อาการที่หนักกว่านั้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายในระยะยาวได้ หากคุณมีอาการเหล่านี้การพบแพทย์เป็นสิ่งสำคัญมาก: [3]
  10. โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ในอากาศหนาวเย็น ผ้าขนสัตว์หรือผ้าขนสัตว์สังเคราะห์เหมาะกว่าผ้าฝ้ายเพราะคุณสมบัติในการระบายเหงื่อของผ้าฝ้ายอาจทำให้ร่างกายคุณเย็นมากกว่าเดิม
  • หากมีอาการอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติและโดนความเย็นกัดร่วมด้วย ให้รักษาอาการอุณหภูมิร่างกายต่ำก่อน
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่เพราะทั้งสองสิ่งนี้ทำให้ร่างกายไวต่อความเย็นมากขึ้น
  • จำคำกล่าวนี้ไว้ “ผ้าขนสัตว์อุ่นดี ผ้าฝ้ายจะตายเอา”
โฆษณา

คำเตือน

  • การโดนความเย็นกัดไม่ใช่เรื่องเล่นๆ รักษาอาการดังกล่าวด้วยความระมัดระวัง อย่าละลายเนื้อเยื่อที่จับตัวแข็งเพราะความเย็นหากจะต้องกลับไปเจอความเย็นจัดอีกครั้ง
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 10,203 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา