ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การใส่ข้าวบดลงในนมชงหรือนมแม่เป็นขั้นตอนเปลี่ยนผ่านทั่วไปที่พ่อแม่สามารถทำได้เมื่อพวกเขาอยากให้ลูกน้อยเริ่มรับประทานอาหารอาหารแข็ง โดยทั่วไปแล้วเด็กทารกจะเริ่มรับประทานข้าวบดผสมนมได้เมื่ออายุระหว่าง 4 - 6 เดือน ซึ่งอายุที่ว่านี้ก็อาจจะต่างกันไปขึ้นอยู่กับคำแนะนำของกุมารแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข และขึ้นอยู่กับว่าลูกของคุณมีพัฒนาการไปถึงขั้นนั้นแล้วหรือยัง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

แน่ใจว่าลูกน้อยพร้อมแล้ว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไปพบกุมารแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านการแพทย์ของลูก. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ก่อนให้ลูกรับประทานอาหารแข็ง [1] แพทย์จะยืนยันได้ว่าลูกน้อยของคุณมีพัฒนาการมากพอที่จะรับประทานอาหารแข็งแล้วหรือยัง และเป็นช่วงเวลาที่คุณสามารถถามคำถามและพูดถึงความวิตกกังวลต่างๆ เกี่ยวกับอาหารแข็งได้
    • ในบางกรณีลำไส้ของลูกน้อยก็อาจจะยังพัฒนาไม่เต็มที่หรือยังไม่สามารถรับรู้ถึงความอิ่มได้ ซึ่งอาจจะทำให้คุณเผลอป้อนอาหารให้ลูกมากเกินไป
    • อย่าเพิ่งให้ลูกรับประทานอาหารแข็งจนกว่าแพทย์จะบอกว่าสามารถทำได้
  2. ระบบย่อยอาหารของลูกยังไม่พร้อมย่อยข้าวบดจนกว่าจะอายุ 6 เดือน การให้ลูกเริ่มรับประทานข้าวบดเร็วเกินไปอาจจะทำให้สำลักหรือหายใจเอาข้าวบดลงไปในปอดได้ นอกจากนี้การให้ลูกรับประทานข้าวบดเร็วเกินไปยังเพิ่มความเสี่ยงที่เด็กจะแพ้อาหารอีกด้วย [2]
    • ลูกน้อยของคุณอาจจะพร้อมรับประทานข้าวบดตั้งแต่อายุ 4 เดือนก็ได้ ซึ่งแพทย์สามารถช่วยคุณตัดสินใจได้ว่าช่วงเวลาไหนที่เหมาะกับลูกที่สุด
    • คุณอาจจะให้ลูกรับประทานข้าวบดก่อนอายุ 4 - 6 เดือนได้ถ้าลูกมีปัญหาเรื่องกรดไหลย้อน แต่ก็ควรปรึกษากุมารแพทย์ก่อนเช่นกัน [3]
    • นอกจากนี้ลูกน้อยของคุณควรจะรับประทานอาหารจากช้อนเป็นก่อนที่จะเริ่มรับประทานข้าวบด [4]
    • การให้ลูกรับประทานอาหารแข็งเร็วเกินไปอาจทำให้ลูกน้อยน้ำหนักเกินได้ [5]
  3. นอกจากว่าอายุจะต้องถึงเกณฑ์แล้ว ลูกน้อยของคุณก็ควรจะมีพัฒนาการที่จำเป็นก่อนเริ่มรับประทานข้าวบด ก็คือลูกน้อยของคุณควรจะต้องนั่งแบบมีพนักพิงได้ ควบคุมศีรษะและคอได้ สามารถใช้ศอกดันตัวขึ้นมาจากท่านอนได้ เอามือหรือของเล่นเข้าปาก โน้มตัวไปข้างหน้าและอ้าปากเวลาหิวหรืออยากกินอาหาร ถ้าลูกของคุณ 6 เดือนแล้วแต่ยังไม่มีพัฒนาการที่ว่ามานี้ คุณก็อาจจะต้องชะลอการป้อนข้าวบดไปก่อน [6]
    • การรอให้ลูกมีพัฒนาการที่พร้อมก่อนเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าลูกจะสามารถกลืนข้าวบดได้อย่างปลอดภัย
    • นอกจากนี้ทารกก็มักจะมีปฏิกิริยากับอาหารแข็งด้วยการยกลิ้นขึ้นแล้วดุนสิ่งที่อยู่ระหว่างริมฝีปากออกไป ซึ่งปฏิกิริยาที่ว่านี้ก็มักจะหายไปเมื่ออายุ 4 - 6 เดือน เพราะฉะนั้นการใช้ช้อนป้อนข้าวบดให้ลูกตอนที่ลูกยังมีปฏิกิริยานี้อยู่จึงเป็นเรื่องที่ยากและชวนหงุดหงิด
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

เติมข้าวบดลงไปในขวดนม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่าเติมข้าวบดลงไปในขวดนมของลูกน้อยโดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจากกุมารแพทย์ก่อน เพราะวิธีนี้มักใช้กับการรักษาภาวะกรดไหลย้อน (GER) ในทารกเท่านั้น การรับประทานข้าวบดจากขวดจะยิ่งทำให้ลูกหัดรับประทานอาหารจากช้อนได้ยาก [7] และเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่ลูกจะรับประทานอาหารมากเกินไปและอ้วนได้ [8]
    • ในการลดอาการไหลย้อน ให้ตั้งตัวทารกให้ตรง (ก็คือเอาทารกไว้บนไหล่) 20 - 30 นาทีหลังจากป้อนอาหาร
    • ลองข้าวบดผสมแล้วสูตร "ต้านกรดไหลย้อน" เพราะสูตรนี้จะมีส่วนผสมของแป้งข้าวเจ้า
    • ลองสูตรสำหรับทารกที่แพ้อาหารได้ง่ายที่ไม่มีส่วนผสมของนมวัวหรือนมถั่วเหลือง แล้วดูว่าอาการกรดไหลย้อนของลูกดีขึ้นหรือเปล่า ลองให้ลูกรับประทานสัก 1 หรือ 2 สัปดาห์ [9]
    • แม้ว่าสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกาจะไม่แนะนำให้คุณให้ลูกรับประทานข้าวบดจากขวด [10] แต่กุมารแพทย์จะเป็นคนที่ช่วยตัดสินใจได้ดีที่สุดว่าคุณควรให้ลูกรับประทานข้าวบดจากขวดไหม
  2. เริ่มจากใส่ข้าวบดลงไป 1 ช้อนชาต่อนมผง 6 ช้อนชา ผสมทุกอย่างให้เรียบร้อยก่อนนำไปป้อนลูก ถ้าคุณปล่อยทิ้งไว้นานๆ ส่วนผสมจะเหนียว
    • แพทย์อาจจะแนะนำสัดส่วนระหว่างข้าวบดกับนมผงต่างไปจากนี้
    • คุณสามารถใส่ข้าวบดลงไปในขวดนมได้ไม่เกิน 1 ช้อนโต๊ะ
  3. คุณควรให้ลูกรับประทานข้าวบดจากขวดเป็นมื้อสุดท้ายในตอนกลางคืน ซึ่งอาจจะช่วยให้ลูกน้อยนอนหลับได้นานขึ้นเนื่องจากรู้สึกอิ่มขึ้น ตัดจุกนมให้เป็นรูใหญ่ขึ้นเพราะส่วนผสมมันข้นกว่านมผงอย่างเดียว [11]
    • อย่าให้ลูกรับประทานข้าวบดทุกครั้ง ข้าวบดมักจะมีแต่คาร์โบไฮเดรตและไม่ได้มีสารอาหารเหมือนนมผงหรือนมแม่ การป้อนข้าวบดให้ลูกทุกครั้งอาจจะทำให้ลูกน้อยได้สารอาหารน้อยลง
    • คุณอาจจะตัดจุกนมเป็นรูปตัว "x หรือ "y" เล็กๆ ตรงจุกนม หรือเลือกซื้อจุกนมที่ใหญ่ขึ้นเพื่อให้ลูกน้อยรับประทานข้าวบดจากขวดนมได้
  4. สังเกตว่าลูกกลืนข้าวบดอย่างไร ถ้าส่วนผสมข้นเกินไป ลูกก็จะกลืนลงไปยากและอาจจะรู้สึกเหนื่อยระหว่างที่คุณป้อนข้าว สังเกตว่าลูกท้องผูกหรือเริ่มอ้วนเกินไปไหม เพราะทั้งหมดนี้เป็นผลข้างเคียงจากการดื่มข้าวบดจากขวดที่พบได้บ่อย
    • ปรับปริมาณข้าวบดที่ป้อนให้ลูกจากการสังเกตของคุณ
    • ถ้าข้าวบดทำให้ลูกน้อยท้องผูก คุณอาจจะลองเปลี่ยนไปป้อนข้าวโอ๊ตแทน [12]
    • ถ้าคุณป้อนข้าวบดเพื่อรักษาอาการกรดไหลย้อน ลูกน้อยก็ควรจะอาการดีขึ้นภายใน 2 หรือ 3 วัน แต่ถ้าเวลาผ่านไปเท่านี้แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ก็แสดงว่าการป้อนข้าวบดอาจจะไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่เหมาะกับลูกน้อย
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ใช้ช้อนป้อนข้าวบดให้ลูก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อ่านวิธีการเตรียมข้าวบดที่ระบุไว้ที่บรรจุภัณฑ์ ตามปกติแล้วคุณต้องใส่ข้าวบด 1 ช้อนโต๊ะ (15 มล.) ต่อนมผงหรือนมแม่ 4 ช้อนโต๊ะ (60 มล.) [13] เช่น ถ้าตอนนี้คุณใช้นมผง 8 ช้อนโต๊ะ คุณก็จะต้องเติมข้าวบดไป 2 ช้อนโต๊ะ
    • ใช้ช้อนคนส่วนผสมให้เข้ากันจนกว่าจะกลายเป็นน้ำนมจางๆ หรือมีความข้นเท่ากับซุป
    • ถ้าคุณซื้อข้าวบดที่ผสมนมผงมาอยู่แล้ว ก็ให้เตรียมข้าวบดตามที่ระบุไว้ที่บรรจุภัณฑ์ได้เลย ในบางกรณีคุณอาจจะแค่เติมน้ำอย่างเดียว
  2. แม้ว่าส่วนผสมจะมีความข้นเท่ากับนม แต่ก็ให้ใช้ช้อนเล็กๆ ป้อนลูกน้อย [14] การใช้ช้อนป้อนจะป้องกันไม่ให้ลูกน้อยรับประทานอาหารมากเกินไปและได้รับพลังงานมากเกินไปด้วย [15]
    • ลูกคุ้นเคยกับการดื่มนมผงจากขวดนมอยู่แล้วและรู้โดยสัญชาตญาณว่าจะต้องดื่มเข้าไปมากน้อยแค่ไหน [16] แต่การเติมข้าวบดเข้าไปและรับประทานจากช้อนจะทำให้ลูกไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ต้องหยุดรับประทานแล้ว
  3. นมผสมข้าวบดมื้อแรกที่ป้อนให้ลูกควรจะเป็นลักษณะจางๆ ก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มความข้นในภายหลัง ช่วงแรกหลังจากให้นมลูกหรือให้ลูกดูดนมจากขวดแล้ว ให้ป้อนนมผสมข้าวบดให้ลูก 1 ช้อนชา (5 มล.) แล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณไปเป็น 1 - 4 ช้อนโต๊ะ (15 - 60 มล.) วันละ 2 ครั้ง วิธีนี้จะช่วยให้ลูกน้อยมีเวลาค่อยๆ พัฒนาความสามารถในการกลืน [17]
    • ในตอนแรกให้เอาช้อนไว้ใกล้ๆ ริมฝีปากของลูกน้อยแล้วให้เขาดมและชิมข้าวบดจากช้อนก่อน ซึ่งในช่วงแรกลูกก็อาจจะไม่ยอมรับประทาน [18]
    • ถ้าลูกไม่สนใจนมผสมข้าวบดหรือไม่ยอมรับประทาน ให้ลองป้อนใหม่ในวันถัดไป โดยคุณอาจจะผสมนมกับข้าวบดให้จางลงด้วยก็ได้
    • ลูกน้อยอาจจะใช้ลิ้นดุนข้าวบดออกมาเป็นพักๆ เพราะเป็นปฏิกิริยาธรรมชาติของเขา
    • หรือคุณอาจจะให้ลูกดื่มนมผงหรือนมแม่จากขวดก่อน จากนั้นก็ใช้ช้อนป้อนข้าวบด แล้วปิดท้ายด้วยนมผงหรือนมแม่จากขวดอีกครั้ง
    • คุณสามารถเพิ่มความข้นของนมผสมข้าวบดได้หลังจากที่ลูกน้อยรับประทานได้คล่องไปแล้วสัก 3 - 5 วัน [19]
    • ช่วง 2 - 3 ครั้งแรกลูกอาจจะอาเจียนออกมาหลังป้อน แต่ไม่ต้องกังวล แค่ลองใหม่อีกครั้งในวันถัดไป
  4. ทารกที่แพ้นมผสมข้าวบดอาจจะมีอาการท้องอืด อาเจียน ท้องเสีย หรือมีแก๊สในกระเพาะเพิ่มขึ้น ถ้าลูกมีอาการเหล่านี้ ให้หยุดป้อนนมผสมข้าวบดก่อนแล้วไปปรึกษาแพทย์ แต่ถ้าลูกเป็นลมพิษหรือหายใจลำบากหลังจากรับประทานนมผสมข้าวบด ให้พาไปพบแพทย์ทันที [20]
    • ทารกมีแนวโน้มที่จะมีปฏิกิริยาแพ้หากญาติใกล้ชิดเป็นโรคภูมิแพ้ โรคผิวหนัง หรือโรคหอบหืด
    • เมื่อเข้าไปปรึกษาแพทย์เรื่องการให้ลูกเริ่มรับประทานข้าวบดและอาหารแข็ง อย่าลืมพูดเรื่องประวัติการแพ้อาหารของคนในครอบครัวด้วย
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

เปลี่ยนไปให้อาหารแข็งอย่างอื่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ข้าวบดส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวขาวที่ผ่านกระบวนการ ซึ่งข้าวมีสารหนูในปริมาณที่เข้มข้นกว่าธัญพืชอื่นๆ และสารหนูก็เป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งที่อาจทำให้ลูกของคุณมีปัญหาสุขภาพในวันข้างหน้าได้ [21] ถ้าคุณกังวลว่าลูกจะได้รับสารหนู คุณอาจจะเปลี่ยนไปเลือกธัญพืชบดชนิดอื่นๆ (เช่น ข้าวโอ๊ต ควินัว ข้าวสาลี และข้าวบาร์เลย์) [22]
    • ธัญพืชเต็มเมล็ดไม่เพียงแต่ลดปริมาณสารหนูที่ทารกจะได้รับเท่านั้น แต่ยังมีใยอาหารและสารอาหารมากกว่าข้าวบดที่ทำจากข้าวขาวด้วย
    • สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำให้รับประทานข้าวโอ๊ตบดแทนข้าวบด [23]
  2. ให้ลูกเริ่มรับประทานอาหารแข็งอย่างอื่นด้วย. แม้ว่าข้าวบดจะเป็นอาหารแข็งชนิดแรกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แต่คุณก็สามารถป้อนอย่างอื่นได้ เนื้อสัตว์หั่นชิ้นเล็กๆ และพูเรผักก็เป็นอาหารแข็งชนิดแรกของลูกน้อยได้เช่นกัน [24] หรือคุณจะป้อนอะโวดาโดบดและลูกแพรตุ๋นให้ลูกน้อยก็ได้ [25]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าคุณไม่แน่ใจหรือมีข้อสงสัย ให้ปรึกษากุมารแพทย์ของลูกก่อนเสมอ
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าให้ลูกน้อยดื่มนมผสมข้าวบดจากขวดยกเว้นว่าจะเป็นคำสั่งของกุมารแพทย์ เพราะการดื่มข้าวบดจากขวดอาจทำให้เกิดอันตรายอย่างเช่นการสำลักหรือรับประทานอาหารมากเกินไป
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • นมผงที่ชงแล้วหรือนมแม่
  • ข้าวบด
  • ช้อนเล็กสำหรับเด็ก
  • ถ้วยเล็กๆ
  1. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/baby/feeding-nutrition/pages/Cereal-in-a-Bottle-Solid-Food-Shortcuts-to-Avoid.aspx
  2. http://www.justmommies.com/babies/it-ok-to-give-my-baby-cereal-in-bottle
  3. http://www.texaschildrensblog.org/2011/05/does-thickened-formula-help-reflux/
  4. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/healthy-baby/art-20046200
  5. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/healthy-baby/art-20046200
  6. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/baby/feeding-nutrition/Pages/Cereal-in-a-Bottle-Solid-Food-Shortcuts-to-Avoid.aspx
  7. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/baby/feeding-nutrition/Pages/Cereal-in-a-Bottle-Solid-Food-Shortcuts-to-Avoid.aspx
  8. http://www.uptodate.com/contents/starting-solid-foods-during-infancy-beyond-the-basics
  9. http://kidshealth.org/en/parents/feed47m.html
  10. http://www.consumerreports.org/cro/baby-food/buying-guide.htm
  11. http://kidshealth.org/en/parents/feed47m.html
  12. http://www.consumerreports.org/cro/magazine/2012/11/arsenic-in-your-food/index.htm
  13. https://www.aap.org/en-us/about-the-aap/aap-press-room/pages/aap-offers-advice-for-parents-concerned-about-arsenic-in-food.aspx
  14. http://www.aappublications.org/content/35/11/13.1.full
  15. https://www.aap.org/en-us/about-the-aap/aap-press-room/pages/aap-offers-advice-for-parents-concerned-about-arsenic-in-food.aspx
  16. http://thriving.childrenshospital.org/what-are-the-healthiest-options-for-my-babys-first-solid-foods/
  17. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/baby/feeding-nutrition/Pages/Switching-To-Solid-Foods.aspx?nfstatus=401&nftoken=00000000-0000-0000-0000-000000000000&nfstat
  18. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/healthy-baby/art-20046200

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,732 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา