ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ปราณยามะ (Pranayam หรือ Pranayama) เป็นการฝึกควบคุมลมหายใจแบบโบราณของอินเดีย จากการวิจัยพบว่าการฝึกปราณยามะอาจสามารถช่วยบรรเทาอาการหอบหืดได้ [1] มันอาจมีประโยชน์ในการรับมือกับอาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับความเครียด เช่น ภาวะวิตกกังวล และ ภาวะซึมเศร้า [2] การฝึกปราณยามะมีทั้งหมดหกแบบ ทั้งหมดล้วนมีรายละเอียดบอกไว้ในบทความนี้แล้ว

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 6:

ภัสตริกา ปราณยามะ (Bhastrika Pranayam): การหายใจแบบกระบอกสูบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนอื่น รู้สึกถึงกระบังลมเคลื่อนลง ทำให้ปอดสามารถขยายตัวและบังคับให้ท้องป่องออกมา แล้วคุณจะรู้สึกว่าทรวงอกขยายโดยมีกระดูกไหปลาร้ายกตัวขึ้นในอันดับท้ายสุด
  2. รู้สึกว่ากระดูกไหปลาร้าตกลง ทรวงอกยุบตัว และท้องแฟบลงตามปอดที่หุบลง กระบวนการหายใจออกนี้ควรจะทำเร็วกว่ากระบวนการหายใจเข้า จนเกือบเรียกได้ว่าเป็นกระบวนการปล่อยลมออกอย่างไว
  3. เมื่อทำได้ถูกต้อง ทรวงอกของคุณจะขยายออกเวลาหายใจเข้าและยุบลงเวลาหายใจออก ทำต่อเนื่องไปเป็นเวลา 5 นาที
  4. มือใหม่ควรเริ่มด้วยการหายใจเข้าช้าๆ เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะระบายลมหายใจเกิน แต่ในที่สุดแล้วคุณจะสามารถเปลี่ยนมันเป็นวิธีการหายใจไวๆ ในที่สุด
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 6:

กปาลาภาติ ปราณยามะ (Kapalbhati Pranayam): การหายใจแบบเปิดหน้าผากให้โล่ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หายใจเข้าผ่านทางรูจมูกตามปกติจนกระทั่งเต็มปอด. รักษาการหายใจเข้าให้เป็นไปช้าๆ แต่ไม่บังคับ โดยแรกเริ่ม รู้สึกว่ากระบังลมเคลื่อนลง ทำให้ปอดขยายตัวและดันท้องออกมา จากนั้นรู้สึกว่าทรวงอกขยายออกโดยมีกระดูกไหปลาร้ายกตัวขึ้นเป็นกระบวนการท้ายสุด
  2. นี่จะเป็นการเน้นลมหายใจตรงการหายใจออกมากกว่าการหายใจเข้า (อย่างที่ปกติเป็นกัน) ช่วยการหายใจออกโดยการแขม่วกล้ามเนื้อหน้าท้องเพื่อไล่ลมออกมา การหายใจออกควรใช้เวลาน้อยกว่าในตอนหายใจเข้า
    • การ “บังคับ” ลมหายใจออกนั้นหมายถึงการเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องเพื่อช่วยดันลมออกจากร่างกาย มัน ไม่ได้ หมายความว่าคุณต้องรู้สึกไม่สบายตัวในการหายใจออกในทุกรูปแบบ
  3. คุณอาจพักสักหนึ่งนาทีหลังจากทำทุกห้านาที
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 6:

อนุโลมา วิโลมา ปราณยามะ (Anulom Vilom Pranayam): การหายใจแบบสลับรูจมูกหายใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพ่งสมาธิไปที่การหายใจ
  2. แค่กดนิ้วหัวแม่มือไปที่รูจมูกเพื่อกั้นการหายใจ
  3. หายใจเข้าให้เต็มปอด ในตอนแรกจะรู้สึกกระบังลมเคลื่อนลง ทำให้ปอดขยายตัวและบังคับให้ท้องยื่นออกมา จากนั้นรู้สึกว่าทรวงอกขยายโดยกระดูกไหปลาร้ายกตัวในตอนท้ายสุด
  4. ยังคงยกมือขวาทาบจมูกและให้ลมหายใจเต็มปอด
  5. คนส่วนใหญ่พบว่าใช้มือเดิมปิดรูจมูกทั้งสองข้างนั้นทำได้ง่ายกว่า แต่ถ้าคุณจะสลับมือก็ทำได้ตามใจ
    • คุณยังสมารถสลับแขนถ้ารู้สึกเมื่อย
  6. รู้สึกว่ากระดูกไหปลาร้าลดลง ทรวงอกยุบตัวลงและท้องแฟบจากการที่ปอดหุบลง เมื่อคุณหายใจออกหมด ยังคงปิดรูจมูกซ้ายไว้
  7. หายใจให้เต็มปอด
  8. กระบวนการนี้คือการทำอนุโลม วิโลมา ปราณยามะครบหนึ่งรอบ
  9. คุณอาจพักหนึ่งนาทีในทุกห้านาทีของการฝึก
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 6:

พาหยา ปราณยามะ (Bahya Pranayam): การหายใจแบบภายนอก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในตอนแรกจะรู้สึกกระบังลมเคลื่อนลง ทำให้ปอดขยายตัวและบังคับให้ท้องยื่นออกมา จากนั้นรู้สึกว่าทรวงอกขยายโดยกระดูกไหปลาร้ายกตัวในตอนท้ายสุด
  2. ใช้ท้องกับกระบังลมดันลมออกจากร่างกาย การ “บังคับ” ลมหายใจออกนั้นหมายถึงการเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องเพื่อช่วยดันลมออกจากร่างกาย มัน ไม่ได้ หมายความว่าคุณต้องรู้สึกไม่สบายตัวในการหายใจออกในทุกรูปแบบ
  3. เป้าหมายคือทำให้ใต้ซี่โครงบุ๋มลงไป ทำให้ดูเหมือนผนังกล้ามเนื้อด้านหน้าของท้องถูกกดไปติดด้านหลัง ทำท่านี้ค้างไว้พร้อมกลั้นลมหายใจนานเท่าที่คุณรู้สึกสบายกาย
  4. ช่วยทำให้ลมหายใจเข้าไปเต็มปอด
  5. โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 6:

พราหมารี ปราณยามะ (Bhramari Pranayam): การหายใจแบบผึ้ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพ่งสมาธิอยู่ที่การหายใจ
  2. วางนิ้วหัวแม่มือไว้ที่ใบหู นิ้วชี้เหนือคิ้ว และนิ้วที่เหลือวางลงมาตามแนวสันจมูก. ให้นิ้วก้อยทั้งสองข้างอยู่ใกล้กับรูจมูก
  3. ในตอนแรกจะรู้สึกกระบังลมเคลื่อนลง ทำให้ปอดขยายตัวและบังคับให้ท้องยื่นออกมา จากนั้นรู้สึกว่าทรวงอกขยายโดยกระดูกไหปลาร้ายกตัวในตอนท้ายสุด
  4. หายใจเข้าให้เต็มปอด
  5. โปรดสังเกตว่าเสียงฮัมนั้นควรเริ่มมาจากในลำคอ ไม่ใช่มาจากตรงรูจมูกที่ปิดไว้หลวมๆ
  6. โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 6:

อุตกฤษฎ์ ปราณยามะ (Udgeeth Pranayam): การหายใจแบบสวด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในตอนแรกจะรู้สึกกระบังลมเคลื่อนลง ทำให้ปอดขยายตัวและบังคับให้ท้องยื่นออกมา จากนั้นรู้สึกว่าทรวงอกขยายโดยกระดูกไหปลาร้ายกตัวในตอนท้ายสุด
  2. ปล่อยให้เสียงสวดออกมาช้าๆ เท่าที่จะทำได้ ให้แน่ใจว่าทำให้เสียงโอยาวๆ และเสียง ม. นั้นสั้น (“โอออออออม”)
  3. โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ทางที่ดีควรฝึกปราณยามะในตอนเช้า
  • หากคุณเลือกจะฝึกในตอนเย็น ให้ทำโดยที่ท้องว่าง ทำปราณยามะหลังทานอาหารหลายชั่วโมง
  • ทำแต่ในสิ่งที่คุณรู้สึกสบายตัว หากการฝึกเหล่านี้ทำให้คุณรู้สึกมึนศีรษะหรือไม่สบายตัว หยุดหรือทำช้าลง หยุดพักตามแต่ต้องการ
  • หากคุณมีสภาวะเป็นโรคที่รับการรักษาอยู่ ปรึกษาแพทย์ก่อนฝึกปราณยามะ เช่น หากคุณมีความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หายใจติดขัด ไส้เลื่อน หรือสภาวะที่ต้องใช้การหายใจลึกๆ เร็วๆ หรือหนักหน่วง คุณจำต้องปรับหรือข้ามการฝึกบางขั้นไป
  • นั่งหลังตรงท่าทางสบายๆ คุณสามารถนั่งขัดสมาธิหรือนั่งสบายๆ บนเก้าอี้ก็ได้ สำหรับเคล็ดลับเพิ่มเติม ให้อ่านบทความวิธีการนั่งอย่างปรมาจารย์นิกายเซ็น
  • อย่าหายใจแขม่วท้อง เว้นแต่ตอนที่บอกไว้ เป็นเรื่องสำคัญที่คุณต้องผ่อนกล้ามเนื้อหน้าท้องให้ผ่อนคลายเวลาฝึกควบคุมลมหายใจ เมื่อมันถูกแขม่วติ้วอย่างกับถูกรัดไว้นั้น คุณจะไม่สามารถนำออกซิเจนเข้าสู่ปอดได้เต็มที่
  • ให้แน่ใจว่ารูจมูกของคุณไม่มีอะไรติดขัด การหายใจทางรูจมูกนั้นสำคัญในโยคะมาก ดังนั้นหากคุณเป็นหวัดคัดจมูก คุณจะฝึกมันไม่ได้
โฆษณา

คำเตือน

  • คนที่มีอาการบาดเจ็บที่ท้อง ผ่านการผ่าตัดมา เป็นไส้เลื่อน โรคเยื่อกระเพาะอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ รูทวารหรือท่อปัสสาวะผิดปกติ หรือไส้เลื่อนกระบังลม เช่นเดียวกับสตรีที่เพิ่งผ่านการคลอดบุตร ควรจะหลีกเลี่ยงการทำกปาลาภาติ ปราณยามะ หรือการหายใจแบบเปิดหน้าผากให้โล่ง
  • สตรีที่ตั้งครรภ์หรือคนที่มีไข้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนฝึกปราณยามะ
  • เด็กอายุเกิน 5 ปีควรทำภัสตริกา ปราณยามะเพียงแค่ 2 นาที และกปาลาภาติและอนุโลมะ วิโลมะ ปราณยามะอย่างละ 5 นาที
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 11,604 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา