ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ลูกสุนัขต้องเรียนรู้อะไรมากมายก่อนเติบโตขึ้นเป็นสุนัขโตเต็มวัย นี้หมายถึงว่าพวกมันจะแสดงพฤติกรรมแย่ๆ ขณะที่ทำความรู้จักขอบเขตต่างๆ และเรียนรู้ขอบเขตของตนเอง เจ้าของก็ต้องเรียนรู้วิธีแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบพฤติกรรมไม่ดีของลูกสุนัข รวมทั้งวิธีให้รางวัลและและส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี การให้เวลาฝึกวินัยลูกสุนัขจะช่วยให้มันกลายเป็นสุนัขที่ดีตัวหนึ่งเลยทีเดียว

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

แสดงปฏิกิริยาโต้ตอบพฤติกรรมที่แย่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เราควรเริ่มฝึกวินัยให้ลูกสุนัขเร็วที่สุดเมื่อเริ่มเลี้ยงลูกสุนัขไว้ที่บ้าน ลูกสุนัขเรียนรู้ได้เร็ว และอาจแสดงพฤติกรรมที่ไม่น่าพึงใจในบ้าน นี้ยังหมายถึงว่าเราต้องแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบทุกครั้งที่มันทำพฤติกรรมแย่ๆ ถ้าไม่ทำ ลูกสุนัขก็จะสับสน และยิ่งป้องกันไม่ให้มันทำพฤติกรรมแย่ๆ ยากขึ้นไปอีก [1]
    • ตัวอย่างเช่น สมมติว่าพอลูกสุนัขเห่าใส่เพื่อนบ้าน เราก็สั่งให้มันหยุดเห่า แต่พอลูกสุนัขเริ่มเห่าใส่บุรุษไปรษณีย์ เรากลับไม่ว่าอะไรสักคำ ลูกสุนัขก็จะไม่แน่ใจว่าควรเห่าตอนไหน ก็เลยทำให้มันจะเห่าเวลาที่อยากเห่าแทน
  2. ใช้คำสั่งชี้นำถ้าลูกสุนัขมีพฤติกรรมให้รางวัลตนเอง. การฝึกใช้คำสั่งชี้นำจะช่วยลูกสุนัขให้เข้าใจว่ามันทำพฤติกรรมไม่ดี ไม่ว่าจะแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบแบบไหน ลูกสุนัขก็จะคิดว่าเป็นการให้รางวัลมันทั้งนั้น ฉะนั้นก็จะได้ยินคำแนะนำบ่อยๆ ว่าให้ทำเป็นไม่สนใจพฤติกรรมแย่ๆ ไปเลย แต่ถ้าลูกสุนัขกำลังแสดงพฤติกรรมให้รางวัลตนเอง (ตัวอย่างเช่น กำลังสนุกกับการกัดรองเท้า) ตอนนั้นแหละที่วิธีนิ่งเฉยไม่ได้ผลเลย ถ้าเกิดกรณีนั้นขึ้น ให้ใช้คำสั่งชี้นำแบบสั้นๆ แต่ไม่เชิงดุ เมื่อลูกสุนัขแสดงพฤติกรรมที่เราไม่ชอบ ให้พูดว่า “อย่านะ” หรือคล้ายๆ กันนี้และใช้น้ำเสียงที่แสดงว่าเราไม่ชอบให้ทำพฤติกรรมนี้ เจตนาของเราไม่ใช่ดุลูกสุนัข แต่ต้องการชี้นำมัน
  3. ทำเป็นไม่สนใจพฤติกรรมแย่ๆ ที่ไม่ใช่การให้รางวัลตนเอง. เมื่อลูกสุนัขพยายามเรียกร้องความสนใจด้วยการเห่า การกระโดดใส่ หรือการกัดนิ้วเรา ทำเป็นไม่สนใจมันดีที่สุด ลองคิดว่าลูกสุนัขกำลังพยายามอยากได้รางวัลอะไรเมื่อมันทำพฤติกรรมไม่ดีเพื่อจะได้รู้ว่าเมื่อไรควรทำเป็นไม่สนใจมัน ถ้าลูกสุนัขกระโดดใส่เมื่อเรากลับมาบ้าน มันอาจต้องการให้เราสนใจ การทำเป็นไม่สนใจเป็นการส่งสารว่ามันต้องไม่ทำตัวแบบนี้ ถึงจะได้ความสนใจจากเรา ในที่สุดลูกสุนัขจะเรียนรู้ว่ามันต้องทำตัวดีๆ ถึงจะได้รับการเอาใจใส่และได้รับความรักจากเรา [2]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าลูกสุนัขเริ่มเห่าใส่เรา หันหลังให้มันเสียและไม่สนใจ ลูกสุนัขจะเรียนรู้ว่ามันจะไม่ได้อะไรเลยเมื่อทำตัวแย่
  4. หันเหความสนใจลูกสุนัขให้หยุดทำพฤติกรรมแย่ๆ. ทำเสียงดังเพื่อให้ลูกสุนัขสนใจเรา อาจลองปรบมือ และพูดว่า “อย่า”ด้วยน้ำเสียงเฉียบขาด เมื่อจับได้ว่าลูกสุนัขทำอะไรที่ไม่นานพึงปรารถนาอย่างเช่น กัดรองเท้าเรา หรือนั่งฉี่บนพรม การใช้เสียงดังที่แสดงถึงความไม่พอใจจะหันเหลูกสุนัขให้หยุดทำพฤติกรรมแย่ๆ ได้ ช่วยให้ลูกสุนัขหันมาทำพฤติกรรมที่น่าพึงใจได้ [3]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าลูกสุนัขกำลังจะฉี่ไม่เป็นที่เป็นทาง ให้อุ้มมันขึ้นมา และพาออกไปข้างนอกสู่จุดขับถ่ายที่เราจัดไว้ให้มัน
  5. ถ้าลูกสุนัขทำพฤติกรรมแย่ๆ อยู่ ให้ย้ายมันออกจากสภาพแวดล้อมอะไรก็ตามที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดพฤติกรรมแย่ๆ นั้น และพามันมาอยู่สภาพแวดล้อมใหม่ที่ต่างออกไป อาจให้ลูกสุนัขอยู่ในห้องเงียบๆ ซึ่งอยู่ห่างจากสิ่งรบกวนต่างๆ หรืออยู่ที่ลานบ้าน ให้มันอยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นสัก 10 ถึง 30 วินาที จากนั้นเราจึงค่อยเอาตัวลูกสุนัขกลับเข้ามาสภาพแวดล้อมเดิม และทำราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ถ้ามันหยุดทำพฤติกรรมแย่ๆ แล้ว (อย่างเช่น การเห่า) ถ้าลูกสุนัขไม่หยุด รอจนกว่ามันจะหยุด [4]
    • ตอบโต้พฤติกรรมที่ไม่ดีทันทีและทำสม่ำเสมอ พอเห็นลูกสุนัขทำพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ อุ้มมันไปอยู่สภาพแวดล้อมใหม่ที่เงียบสงบชั่วคราว และต้องทำแบบนี้ทุกครั้งที่สังเกตเห็นลูกสุนัขทำพฤติกรรมที่ไม่ดี
  6. อย่าสนใจเวลาลูกสุนัขเห่า เพราะถ้ามันพยายามเรียกร้องความสนใจจากเรา ถ้าเราไม่ตอบสนอง เดี๋ยวมันก็หยุดเอง แต่ถ้าลูกสุนัขยังเห่าต่อไป ทั้งที่เราก็ทำเป็นไม่สนใจแล้ว ให้หาสาเหตุว่าทำไมมันถึงเห่า และจัดการสาเหตุนั้นเสีย ตัวอย่างเช่น ถ้าลูกสุนัขเห่าทุกครั้งที่เห็นรถผ่านหน้าต่าง ดึงม่านปิดหน้าต่างเสีย ถ้ายังทำพฤติกรรมแบบนี้อีก ให้เอาลูกสุนัขไปไว้ที่อีกห้องหนึ่งสักสองสามนาที [5]
    • เรายังทำให้ลูกสุนัขเงียบเสียงลงด้วยการให้อะไรแทะอย่างเช่น เชือกของเล่น
  7. ลูกสุนัขชอบเล่นเป็นนิสัย และต้องเรียนรู้ขีดจำกัดเมื่อเกิดเล่นอะไรแรงขึ้นมา พอลูกสุนัขกัด ให้พูด“โอ๊ย”และร้องด้วยความเจ็บ ไม่สนใจลูกสุนัขสัก 20 วินาทีหลังจากมันปล่อยมือเรา วิธีนี้จะสอนให้ลูกสุนัขรู้ว่าเราไม่ยอมรับที่มันเล่นแรงๆ [6]
    • อย่าดึงมือออกเมื่อลูกสุนัขกัด เพราะมันจะเห็นว่านี้เป็นการเล่นอย่างหนึ่ง และจะเริ่มไล่กัดเราต่อ
  8. ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการลงโทษทางกาย (อย่างเช่น การตี การเตะ การกระโชกโฮกฮาก หรือการจ้อง) จริงๆ แล้วเป็นการเพิ่มความก้าวร้าวให้ลูกสุนัข [7] ฉะนั้นจึงไม่ควรลงโทษทางกายเพื่อให้ลูกสุนัขทำพฤติกรรมที่ถูกต้อง
    • การลงโทษทางกายอาจทำให้ลูกสุนัขได้รับบาดเจ็บ และทำลายความสัมพันธ์ของเจ้าของและลูกสุนัขลง [8]
    โฆษณา


ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

เสริมสร้างพฤติกรรมที่ดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำความเข้าใจว่าอะไรเป็นตัวกระตุ้นพฤติกรรมลูกสุนัข. สุนัขเป็นสัตว์ชอบเข้าสังคมมาก จึงต้องการความรักและความเอาใจใส่จากเรา ไม่ว่าจะเป็นการชำเหลืองมองเฉยๆ พูดคุยกับมันด้วยน้ำเสียงร่าเริง สนุกสนาน ให้ของเล่นชิ้นพิเศษแก่มัน ลูบหัวและสัมผัสด้วยความรัก หรือให้ของอร่อยๆ กิน ตั้งใจดูจะได้รู้ว่าลูกสุนัขตอบสนองต่ออะไรดีที่สุด พอสังเกตเห็นลูกสุนัขแสดงพฤติกกรมที่ดี ให้รางวัลทันที มันจะได้ทำพฤติกรรมดีๆ นั้นบ่อยขึ้น
  2. ลูกสุนัขอยากรู้ว่าเราคาดหวังอะไร ฉะนั้นฝึกให้มันทำกิจวัตรประจำวันพร้อมทั้งตั้งเวลาไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการกินข้าว การขับถ่าย การเดินเล่น หรือการฝึก วิธีนี้จะทำให้ลูกสุนัขรู้ว่าต้องทำอะไรและเราคาดหวังอะไร [10]
    • การทำอะไรเป็นกิจวัตรจะช่วยควบคุมพฤติกรรมของลูกสุนัข ตัวอย่างเช่น ถ้ารู้ว่าจะได้เดินเล่นหลังกินข้าว ลูกสุนัขอาจเก็บแรงไว้ ไม่ออกไปข้างนอก
  3. ลูกสุนัขจะเคารพเรามากขึ้น และทำตามระเบียบที่เราตั้งไว้ ถ้าเราแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเราเป็นคนควบคุมมัน การสั่งด้วยน้ำเสียงที่เฉียบขาดช่วยได้ เราอาจต้องให้ลูกสุนัขฟังคำสั่งแม้ไม่อยู่ในช่วงฝึก ตัวอย่างเช่น ให้ลูกสุนัขนั่งรอช่วงสั้นๆ ก่อนถึงเวลากินข้าวของมัน
    • ให้เวลาลูกสุนัขทำตามคำสั่ง ถ้าดูเหมือนว่าลูกสุนัขไม่ตอบสนองคำสั่งของเรา อย่าเลิกล้มและยอมแพ้ เราต้องแสดงให้ลูกสุนัขเห็นว่ามันต้องฟังและทำตามคำสั่ง แสดงอำนาจของเราด้วยท่าทีที่สงบและเด็ดขาด [11]
  4. พอตั้งใจจะฝึกวินัยให้ลูกสุนัขแล้ว ก็ต้องไม่ลืมฝึกให้มันออกไปขับถ่ายเป็นที่เป็นทางด้วย ตัวอย่างเช่น ลองพาลูกสุนัขออกไปขับถ่ายรอบแรกตอนเช้า หลังจากกินอาหารสัก 15 ถึง 20 นาที และพาไปขับถ่ายสม่ำเสมอหลังจากงีบหลับ หรือเล่น ลูกสุนัขจะเรียนรู้ว่าควรขับถ่ายเมื่อไร เป็นการลดอุบัติเหตุด้วย [12]
    • เราอาจต้องการฝึกลูกสุนัขในกรงก่อนถ้าไม่มีแผนพามันไปขับถ่ายข้างนอก
  5. สอนลูกสุนัขด้วยคำสั่งพื้นฐานสั้นๆ สองสามคำสั่ง (อย่างเช่น มา นั่ง หยุด) ใช้วิธีนี้เมื่อสังเกตเห็นว่าลูกสุนัขกำลังทำพฤติกรรมแย่ๆ อยู่ เราจะสามารถเบนความสนใจของมันมาที่เราได้ทันที ตัวอย่างเช่น ถ้าสังเกตเห็นว่าลูกสุนัขวิ่งกระโดดใส่ใครสักคน เราสามารถสั่งมันให้มาหาได้อย่างรวดเร็ว ลูกสุนัขจะหยุดกระโดดใส่คนคนนั้นแล้วมาหาเราแทน [13]
    • การสอนลูกสุนัขให้รู้จักคำสั่งง่ายๆ สักสองสามคำสั่งสามารถช่วยมันให้ปล่อยภัยจากอันตรายด้วย ถ้าลูกสุนัขเกิดใกล้ได้รับอันตราย ตัวอย่างเช่น กำลังวิ่งเข้าหารถ เราก็สามารถสั่งให้มันนั่งหรือหยุด เราจะได้ไปอุ้มมันกลับมาในที่ปลอดภัยได้
  6. ถ้าพยายามอดทนฝึกลูกสุนัขแล้ว แต่มันก็ยังดื้อ หรือไม่ยอมทำตามคำสั่งของเรา ให้ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น อาจขอให้สัตวแพทย์แนะนำผู้ฝึกสุนัขมืออาชีพหรือนักปรับพฤติกรรมสุนัขให้
    • เราอาจนำสุนัขไปเข้าเรียนการฝึกให้เชื่อฟังซึ่งสอนโดยมืออาชีพ เราจะได้เรียนรู้กลเม็ดที่มีประโยชน์ และลูกสุนัขจะเริ่มเข้าใจว่าเราเริ่มคาดหวังอะไรจากการฝึกนี้ เรายังเอามาใช้ฝึกสุนัขที่บ้านได้อีกด้วย [14]
    โฆษณา


เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,457 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา