ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าอยู่ๆ น้องเหมียวก็เลิกใช้กระบะทราย คุณควรรีบหาสาเหตุแล้วปรับพฤติกรรม ปกติแมวมักเลิกใช้กระบะทรายเพราะความเครียด เช่น มีอะไรในบ้านเปลี่ยนแปลงไป อีกปัจจัยก็คือปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะแมวสูงอายุ บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการฝึกแมวให้กลับมาใช้กระบะทรายให้คุณเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ฝึกแมวอีกรอบหลังย้ายบ้าน เปลี่ยนทรายแมว หรือเกิดเรื่องกระทบกระเทือนใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ที่แมวเลิกใช้กระบะทราย เป็นไปได้ว่ากลัวอะไรสักอย่าง เช่น เสียงดังหรือสัตว์เลี้ยงอื่นรบกวน คุกคาม อีกทีคือแมวไม่ชอบจุดที่คุณเลือกวางกระบะทราย และสุดท้ายคือเป็นไปได้ว่าคุณเพิ่งย้ายบ้าน แมวยังไม่ชิน จุดที่ควรจัดวางกระบะทรายคือมุมสงบ คนและสัตว์เลี้ยงไม่พลุกพล่าน แต่ตอนแมวใช้งานก็ต้องมองเห็นทางหนีทีไล่ชัดเจน ให้เลือกห้องที่มีอย่างน้อย 2 ทางออก แมวจะได้ไม่รู้สึกจนมุม [1]
  2. เล่นกับแมวในบริเวณที่วางกระบะทราย ทิ้งของเล่น (อย่าวางอาหาร) ไว้ในห้องด้วย แมวจะได้ใช้เวลาในห้องนั้นบ่อยๆ และเชื่อมโยงในทางบวก [4]
    • ปล่อยแมวสำรวจกระบะทรายเอง อย่าอุ้มแมวไปใส่ในกระบะทราย และอย่าให้รางวัลเป็นขนม/อาหารหลังแมวยอมใช้กระบะทราย เพราะจะส่งผลเสียมากกว่า เพราะแมวอาจกลัวหรือไม่สบายตัวไม่สบายใจ [5] แมวไม่เหมือนหมา ตรงที่ต้องปล่อยให้แมวสมัครใจใช้กระบะทรายเอง โดยเฉพาะถ้าเคยใช้มาแล้ว
  3. ถ้าแมวอึฉี่โดยเกาะที่ขอบกระบะหรือทำธุระข้างกระบะแทน เป็นไปได้ว่ากระบะทรายสกปรกเกินไป [6] ให้หมั่นเก็บก้อนอึฉี่ แล้วเปลี่ยนทรายแมวใหม่อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ถ้าแมวเยอะ 2 ครั้งได้ยิ่งดี และล้างทำความสะอาดทั้งกระบะทรายอาทิตย์ละครั้ง โดยใช้เบคกิ้งโซดาหรือสบู่แบบไม่แต่งกลิ่น [7]
    • ถ้าใช้ทรายแมวแบบไม่จับตัวเป็นก้อน ก็ต้องเปลี่ยนทรายทั้งกระบะทุก 1 - 2 วัน ไม่งั้นกลิ่นจะหมักหมม แมวก็เลิกใช้ละทีนี้ [8]
    • อย่าทำความสะอาดกระบะทรายด้วยน้ำยาหรือผลิตภัณฑ์ที่แต่งกลิ่น และอย่าใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เว้นแต่ใช้กับกระบะทรายแมวได้โดยเฉพาะ เพราะหลายตัวมีสารเคมีที่เป็นพิษกับแมว [9]
  4. เปลี่ยนยี่ห้อหรือชนิดทรายแมวแบบค่อยเป็นค่อยไป. ถ้าจะเปลี่ยนยี่ห้อหรือชนิดทรายแมว ต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยผสมลงในทรายเก่าทีละนิด แล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้นตอนเปลี่ยนทรายแมวแต่ละครั้ง [10] แมวจะปรับตัวได้ง่ายกว่าถ้าใช้ทรายแบบไม่แต่งกลิ่น และผิวสัมผัสเดียวกับทรายชนิดเก่า [11]
    • ถ้าต้องเปลี่ยนเพราะทรายเก่าเลิกผลิต ให้ซื้อทรายใหม่มา 2 - 3 แบบ แล้วเทใส่กระบะทรายแยกกันไป เรียงไว้ข้างกัน ปล่อยให้แมวเลือกทรายที่ชอบเอง
    • ปรับเปลี่ยนปริมาณทรายในกระบะ โดยเฉพาะถ้าผิวสัมผัสของทรายใหม่ต่างจากทรายเก่าที่แมวคุ้นเคย แมวบางตัวก็ชอบให้เททรายแมวไว้ตื้นๆ ลึกไม่เกิน 2 นิ้ว (5 ซม.) ยิ่งถ้าเป็นแมวขนยาวยิ่งชอบชั้นทรายบางๆ จะได้ขุดถึงก้นกระบะได้ [12]
  5. ถ้าเพิ่งเปลี่ยนกระบะทรายแล้วแมวไม่ค่อยชอบ ให้ลองทำตามวิธีต่อไปนี้ จะได้น่าใช้ยิ่งขึ้น [13]
    • แมวบางตัวชอบกระบะทรายแบบมีหลังคา แต่บางตัวก็ชอบแบบเปิดโล่ง ก็ต้องคอยสังเกตแล้วปรับเปลี่ยนตามความชอบของแมว
    • เอาแผ่นพลาสติกรองกระบะทรายออก เพราะเล็บแมวชอบไปเกี่ยวติด [14]
    • แมวส่วนใหญ่ไม่มีปัญหากับ "ห้องน้ำแมวอัจฉริยะ" (ทำความสะอาดตัวเองได้) แต่แมวบางตัวกลัวจนไม่กล้าเข้าใกล้ ยิ่งแมวขี้กลัวขี้เครียด พอได้ยินเสียงมอเตอร์ ก็กลัวจนเลิกใช้ไปเลย ถ้าไม่แน่ใจว่าแมวคุณจะใช้ไหม ก็ซื้อกระบะทรายธรรมดาจะดีกว่า
    • ถ้ากระบะทรายใหม่เล็กกว่าเก่า สุดท้ายคงต้องหาที่ใหญ่ขึ้นหรือใหญ่เท่าเดิมมาให้แมวใช้แทน ถ้าเป็นกระบะทรายกว้างๆ แต่ขอบเตี้ยจะดีที่สุด บางคนก็ใช้กล่องพลาสติกใสสำหรับเก็บเสื้อผ้าแทน [15]
  6. ถ้าแมวอึฉี่นอกกระบะทราย ก็ต้องทำความสะอาดด้วยน้ำยาสูตรเอนไซม์สำหรับกำจัดคราบและกลิ่นฉี่แมวโดยเฉพาะ (หรือผสมผงทำความสะอาดสูตรเอนไซม์ 10% ในน้ำ) แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็น จะช่วยกำจัดกลิ่นฉี่ไม่ให้ดึงดูดแมวกลับมาฉี่ซ้ำที่เดิม [16]
    • ถ้าอยากให้เห็นผลที่สุด หลังทำความสะอาดจนแห้งแล้ว ให้ฉีดแอลกอฮอล์ล้างแผลซ้ำอีกที ถูเบาๆ แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง
  7. ถ้าแมวเริ่มฉี่นอกกระบะทรายซ้ำที่เดิมจนติด ก็ต้องหาอะไรมากัน ไม่ให้เข้าถึงบริเวณนั้นได้ง่าย หรือหาวิธีทำให้แมวไม่อยากเข้ามาใช้บริการจนกว่าจะฝึกใช้กระบะทรายสำเร็จ
  8. ถ้าห้ามไม่ได้ก็ไหลตามน้ำ แมวชอบขับถ่ายที่มุมไหนให้ยกกระบะทรายใหม่ไปวางทับที่ซะเลย ถ้าจุดนั้นคือกลางพรมในห้องนั่งเล่นก็ต้องคิดหนักหน่อย แต่ถ้าเป็นมุมลับตาหน่อยก็จัดการได้เลย
    • อีกวิธีคือย้ายชามอาหารของแมวมาวางทับที่ เพราะแมวส่วนใหญ่จะไม่กินและขับถ่ายในบริเวณเดียวกัน
  9. ถ้าปรับเปลี่ยนยังไงก็ไม่ได้ผล ก็ต้องทำใจแล้วค่อยๆ ปรับตัว เช่น ถ้าแมวชอบฉี่ใส่พรม ก็ให้เอาผ้าแบบเดียวกันไปใส่ในกระบะทรายซะเลย ถ้าแมวตามน้ำ วันถัดมาก็ค่อยๆ เททรายแมวทับพรมในกระบะไปเรื่อยๆ อย่าลืมเปลี่ยนพรมใหม่ด้วยตอนสกปรกเกินทน ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนแมวใช้กระบะทรายโดยไม่ต้องพึ่งพรมในที่สุด
    • ต้องกักบริเวณแมวให้อยู่แต่ในมุมของบ้านที่ไม่มีพรมสักพัก วิธีนี้ถึงจะได้ผล ไม่งั้นก็ม้วนพรมเก็บไปเลยชั่วคราว แต่ถ้าแมวขี้เบื่อหรือขี้เครียด วิธีนี้ก็อาจจะอันตรายหน่อย
    • หลักการเดียวกับพรม คือถ้าเลี้ยงแมวแบบปิดๆ เปิดๆ อยู่ทั้งในบ้านและนอกบ้าน จนติดนิสัยชอบฉี่อึตามดินตามสนาม ก็ลองหาดินปลูกต้นไม้หรือทราย (ทั้งหมดต้องไม่มีปุ๋ยหรือสารเคมีผสม) มาใส่ในกระบะดู แล้วค่อยๆ ปรับเปลี่ยน เพิ่มทรายแมวทีละนิดจนแมวใช้งานตามปกติ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

แก้ที่สาเหตุอื่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จริงๆ ก็ไม่ใช่ขั้นตอนบังคับในการฝึกแมวใช้กระบะทราย แต่บอกเลยว่าแมวทำหมันแล้วฉี่เรี่ยราดน้อยลงเยอะ แมวที่ยังไม่ทำหมันชอบพ่นฉี่โดยเฉพาะตอนเครียด เข้ากันไม่ได้กับแมวตัวผู้ตัวอื่น หรืออวดศักดาให้แมวตัวเมียช่วงจะผสมพันธุ์ [22]
  2. แมวก็เหมือนคน เครียดได้เป็นบางเวลาและสถานที่ บางทีก็เลิกใช้กระบะทรายเพราะคนหรือสัตว์เลี้ยงหายไปจากบ้าน (อีกทีคือย้ายเข้ามา) แมวบางตัวก็ประท้วงตอนตกแต่งบ้านใหม่ 2 - 3 วิธีที่ช่วยได้คือ
    • หามุมสงบเป็นพื้นที่ส่วนตัวให้แมว เช่น ที่ซ่อนหรือคอนโดแมวสูงๆ
    • ถ้าปกติปล่อยแมวไปเดินเล่นนอกบ้าน ก็อย่าไปขัง ปล่อยเข้าๆ ออกๆ ตามใจเหมือนเดิม [24]
    • รอให้แมวเข้าหาเอง และเล่นกับแมวบ่อยๆ แบบใจเย็น แมวบางตัวจะเครียดถ้าคุณไม่เล่นด้วยนานๆ แต่บางตัวก็ไม่ชอบให้ใครมาลูบ จับ หรืออุ้มแบบสุ่มสี่สุ่มห้า
    • ถ้าพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของแมวไม่ยอมหาย อาจถึงเวลาปรึกษาสัตวแพทย์หรือครูฝึกพฤติกรรมสัตว์โดยเฉพาะ
  3. ถ้าแมวถอยหลังไปชิดผนัง กระตุกหางไปมา แล้วพ่นฉี่ (spray) แปลว่าเป็นการกำหนดอาณาเขต ถ้าจับไม่ได้คาหนังคาเขา ให้สังเกตคราบฉี่กลมๆ กลิ่นฉุนๆ อยู่สูงขึ้นไปเหนือระดับความสูงของก้นแมวนิดหน่อย พร้อมรอยฉี่หยดลากยาวลงมาถึงบัวเชิงผนังและพื้นห้อง แมวตัวไหนก็พ่นอาณาเขตแบบนี้ได้ แต่มักเกิดในแมวตัวผู้ที่ยังไม่ได้ทำหมัน วิธีรับมือก็คือ
    • ส่วนใหญ่ที่แมวพ่นอาณาเขตเพราะเครียดหรือมีแมวตัวอื่นมาเบียดเบียน [25] ให้ลองสังเกตตามวิธีการทางด้านบน
    • บางทีแมวก็พ่นอาณาเขตเพราะแถวบ้านมีแมวใหม่เดินผ่าน โดยเฉพาะพ่นฉี่ใส่ประตู หน้าต่าง หรือผนัง/บัวเชิงผนัง ให้ลอง กันน้องแมวให้อยู่ห่างสวน หรือปิดมู่ลี่ไปซะเลย
    • แมวประมาณ 30% ที่ชอบพ่นอาณาเขต คุณหมอตรวจแล้วพบว่ามาจากปัญหาสุขภาพ [26] เพราะงั้นควรพาแมวไปตรวจสุขภาพ โดยเฉพาะทำวิธีไหนแล้วก็ยังไม่ได้ผล
  4. ถ้าเอาลูกแมวมาเลี้ยง พอเริ่มโตก็ต้องเปลี่ยนกระบะทรายให้ใหญ่ขึ้นตามไปด้วย ที่ว่าใหญ่คือพอให้แมวกลับตัวได้สบาย และหาจุดสะอาดทำธุระได้แม้คุณลืมทำความสะอาดไปบ้าง 1 - 2 วัน [27]
    • แมวเกลียดการเปลี่ยนแปลง อาจต้องใช้เวลาหน่อยกว่าจะเคยชินกับกระบะทรายใหม่ แต่ถ้าไม่ยอมใช้สักที ให้ลองทำตามวิธีการต่างๆ ด้านบน
  5. แมวขนยาวบางพันธุ์ เวลาขับถ่าย ขนแถวก้นจะสกปรกง่ายจนจับเป็นก้อนหรือพันกัน ทำให้เจ็บหรือไม่สบายตัว จนเชื่อมโยงด้านลบกับกระบะทราย ถ้าสังเกตแล้วท่าทางจะเป็นแบบนี้ ให้ค่อยๆ เล็มขนที่สกปรกพันกันออกไป [28]
  6. แมวบางตัวชอบประท้วงตอนเจ้าของไม่อยู่บ้าน ประมาณว่าฉี่ใส่บริเวณที่มีกลิ่นเจ้าของชัดเจน เช่น บนเตียงนอน เพราะงั้นต้องบอกคนดูแลบ้านว่าอย่าเปิดประตูห้องนอนทิ้งไว้ หรือหากระบะทรายสำรอง แมวจะได้ใช้โดยไม่ต้องเฉียดกรายไปใกล้คนที่มาดูแล [29]
    • ถ้าเป็นไปได้ คนที่มาดูแมวให้ต้องเป็นคนที่แมวรู้จักคุ้นเคย หรืออย่างน้อยก็ต้องแนะนำให้ทำความรู้จักกันก่อน
  7. พอตึงเครียดกับหมาแมวตัวอื่นเมื่อไหร่ แมวเป็นต้องพ่นอาณาเขต ทั้งๆ ที่เคยดีกันมาก่อนก็ไม่เว้น แบบนี้ต้องให้แมวมีกระบะทรายส่วนตัว ไม่ต้องก้าวก่ายกัน [30]
    • หากระบะทรายให้ครบทุกตัว พร้อมกระบะสำรองอีก 1 กระบะ โดยจัดวางแยกกันไป แต่ถ้าเป็นไปได้ต้องมีทางออกอย่างน้อย 2 ทาง
    • แมวแต่ละตัวต้องมีเบาะนอนและชามอาหารของตัวเอง แต่ต้องอยู่แยกจากกัน และอยู่ห่างจากกระบะทราย
    • มีคอนโดแมวหลายจุดและมุมลับให้แมวได้ซ่อนตัว
  8. ถ้าแมวยังไม่ยอมกลับมาใช้กระบะทราย หรือยังก้าวร้าวใส่อีกตัว ให้เข้มงวดขึ้นโดยจับแยก ถือเป็นขั้นตอนที่บางทีก็จำเป็น เวลาพาแมวใหม่เข้าบ้าน [31]
    • แยกแมวไปคนละห้อง แล้วปิดประตูกั้น จะได้ยังได้กลิ่นกันอยู่ แค่มองไม่เห็นกัน พยายามให้ดมกลิ่นกันและกัน โดยให้อาหารทางประตูเดียวกัน หรือสลับห้องกันอยู่ทุกวัน
    • พอผ่านไป 2 - 3 วัน ให้เริ่มแง้มประตู ถ้าทำตัวดีทั้งคู่ ก็ลองปล่อยให้ได้ทำความคุ้นเคยกัน
    • แต่ถ้าก้าวร้าวไม่หาย ก็ต้องใส่สายจูง ผูกไว้คนละมุมของห้องเดียวกันชั่วคราวเพื่อความปลอดภัย ปล่อยให้แมวกินและเล่นในสายตาของกันและกัน จากนั้นค่อยๆ พามาใกล้กันเรื่อยๆ
    • พอแมวสงบ ให้ลองเอาน้ำทูน่ากระป๋องแตะๆ ที่หัวของแต่ละตัว แมวจะได้เลียตัวผ่อนคลาย ดีไม่ดีจะเลียให้กันด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

สำรวจปัญหาสุขภาพ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าแมวตัวเกร็งเบ่งฉี่ หรือใช้กระบะทรายนานแต่ไม่มีฉี่หรืออึออกมา ให้รีบพาแมวไปหาหมอ โดยเฉพาะแมวตัวผู้ที่เสี่ยงจะเป็นโรคทางเดินปัสสาวะได้สูง คือท่อปัสสาวะ (ท่อจากกระเพาะปัสสาวะมาถึงจุ๊ดจู๋แมว) ตีบหรืออุดตัน ฉี่จะเริ่มผ่านได้น้อยลงจนกระทั่งอุดตัน ฉี่ไม่ออกอีก เป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิตได้ ต้องรีบพาไปหาหมอ นอกจากนี้ก็อาจเกิดลำไส้อุดตันได้เหมือนกัน
  2. แมวก็ท้องผูกได้ ดีไม่ดีจะเป็นเรื้อรัง จนต้องกินอาหารพิเศษหรือยาระบาย บางทีก็มีปัญหาเรื่องท้องเสียแทน หรือท้องเสียเรื้อรังเพราะลำไส้อักเสบ ไม่ว่าจะเป็นอย่างไหนก็ทำให้แมวเจ็บหรือไม่สบายตัวด้วยกันทั้งนั้น จนกลัวการใช้กระบะทรายไปเลย หรือไปไม่ถึงกระบะทรายจนต้องถ่ายเรี่ยราด
    • แมวที่ลำไส้อักเสบเรื้อรังจะอยู่ๆ ก็มีอาการขึ้นมา ไม่ค่อยอยากอาหาร อ่อนแรง อาเจียน หรือขากก้อนขนบ่อยขึ้น พวกนี้เป็นสัญญาณบอกว่าลำไส้ผิดปกติ
  3. ถ้าแมวสูงวัยหรือไม่แข็งแรง ก็คงปีนเข้ากระบะทรายไม่สะดวกเหมือนแต่ก่อน ถ้าสังเกตว่าแมวขาเปลี้ย ต้องคอยอุ้มขึ้นเก้าอี้หรือเตียงให้ ขากระตุก/สั่นเป็นพักๆ หรือท่าทางเจ็บสันหลังหรือหาง ให้รีบพาไปหาหมอทันที! อีกทางที่ช่วยได้เยอะคือหากระบะทรายขอบเตี้ย หรือมี "ประตูบานพับ" ข้างกระบะ รวมถึงหากระบะทรายใหญ่ขึ้น แมวจะได้กลับตัวสะดวก
    • บางทีแมวก็น้ำหนักเกินจนยากจะใช้กระบะทรายเดิม แบบนี้ต้องหากระบะทรายใหญ่ขึ้น แล้วจับเข้าคอร์สลดน้ำหนักโดยด่วน แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  4. หลายครั้งที่แมวฉี่นอกกระบะทรายเพราะปัญหาสุขภาพ เช่น ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เบาหวาน โรคไตเรื้อรัง ไฮเปอร์ไทรอยด์ กระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบมีหรือไม่มีผลึกปัสสาวะ และลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD) เอาเป็นว่าสังหรณ์ใจเมื่อไหร่ให้รีบพาแมวไปตรวจรักษาจะดีกว่า
    • สังเกตพฤติกรรมและอาการของแมว จะได้อธิบายให้คุณหมอฟังได้ คุณหมอจะถามประมาณว่า แมวฉี่เรี่ยราดแถวๆ กระบะหรือห่างออกไป? คราบฉี่เป็นวงใหญ่แค่ไหน? แมวพยายามจะฉี่ในกระบะทรายไหม? ตอนฉี่แมวร้องทรมานไหม? แมวกินน้ำบ่อยผิดปกติหรือเปล่า? ฉี่แมวสีอ่อนเกือบใส สีปกติ หรือเข้มกว่าปกติ? แมวฉี่บ่อยแค่ไหน?
    • ถึงตรวจแล้วแมวจะไม่มีโรค คุณหมอก็อาจยังจ่ายยาแก้วิตกกังวล จะได้ไม่พ่นอาณาเขต แต่ไม่ได้แปลว่าจะแก้ปัญหาน้องเหมียวของคุณได้เสมอไป ยังไงต้องสอบถามคุณหมอให้ละเอียด ทั้งข้อเสียข้อดี [33]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ต้องหาคราบฉี่แมวตามจุดลับตาคนด้วย เช่น ใต้พรม แผ่นรอง และพื้นห้อง ถ้าใช้ black light ส่องในความมืด จะเห็นคราบฉี่ชัดเจน เรืองแสงขึ้นมา
  • ถ้าในบ้านมีแมวหลายตัว เลยไม่แน่ใจว่าเป็นคราบฉี่ของตัวไหน ให้ลองปรึกษาคุณหมอเรื่องให้แมวกินฟลูออเรสซีน (fluorescein) เป็นสีย้อมที่ไม่อันตราย ทำให้ฉี่แมวเรืองแสงสีฟ้าชั่วคราวในความมืด [34] หรือจะแยกแมวไว้ตามห้องก็ได้ จนกว่าจะเจอตัวการ
  • ถ้าหมาไปกวนหรือคุกคามแมวตอนใช้กระบะทราย อีกทีคือพยายามไปคุ้ยเขี่ยทรายแมว ต้องหาทางกันออกไป หรือทำประตูแมวที่เล็กพอแมวลอดได้ แต่หมาเข้าไม่ได้ [35]
โฆษณา

คำเตือน

  • ถึงแมวไม่ยอมใช้กระบะทรายก็อย่าลงโทษ โดยเฉพาะอย่าเอาหน้าหรือจมูกแมวไปถูฉี่หรืออึตัวเอง [36] แมวไม่เหมือนหมา ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นมา
  • ห้ามทำความสะอาดคราบฉี่แมวด้วยน้ำยาสูตรแอมโมเนีย เพราะยูรีนมีแอมโมเนียผสม กลิ่นเลยยิ่งดึงดูดให้แมวมาฉี่ซ้ำที่เดิม [37]
  • แมวจะยิ่งพ่นอาณาเขตถ้าเลี้ยงแมวหลายตัวรวมกันในห้องหรือบ้านแคบๆ มีบางงานวิจัยที่ชี้ว่า ยิ่งบ้านไหนเลี้ยงแมว 10 ตัวขึ้นไปยิ่งเลี่ยงไม่ได้ [38]
  • ถ้าแมวพ่นอาณาเขตเพราะเครียด เดี๋ยวพอมีเรื่องใหม่กวนใจก็ทำพฤติกรรมเดิมอีก แบบนี้ต้องพาไปหาหมอ จะได้รีบหาทางแก้ไขที่ได้ผลระยะยาว ก่อนกลายเป็นนิสัยเสียเรื้อรัง [39]
โฆษณา
  1. http://icatcare.org/advice/problem-behaviour/soiling-indoors
  2. http://www.aspca.org/pet-care/cat-care/common-cat-behavior-issues/litter-box-problems
  3. http://www.humanesociety.org/animals/cats/tips/preventing_litter_box_problems.html
  4. http://icatcare.org/advice/problem-behaviour/soiling-indoors
  5. http://icatcare.org/advice/problem-behaviour/soiling-indoors
  6. http://www.aspca.org/pet-care/cat-care/common-cat-behavior-issues/litter-box-problems
  7. http://icatcare.org/advice/problem-behaviour/soiling-indoors
  8. http://www.aspca.org/pet-care/cat-care/common-cat-behavior-issues/litter-box-problems
  9. http://www.aspca.org/pet-care/cat-care/common-cat-behavior-issues/litter-box-problems
  10. http://icatcare.org/advice/problem-behaviour/urine-spraying-cats
  11. http://www.humanesociety.org/animals/cats/cat_problem_solver/litter_box.html?credit=web_id96068337
  12. http://www.humanesociety.org/animals/cats/cat_problem_solver/litter_box.html?credit=web_id96068337
  13. http://www.aspca.org/pet-care/cat-care/common-cat-behavior-issues/urine-marking-cats
  14. http://www.humanesociety.org/animals/cats/tips/marking_territory.html
  15. http://icatcare.org/advice/problem-behaviour/stressed-cats
  16. http://www.humanesociety.org/animals/cats/tips/marking_territory.html
  17. http://icatcare.org/advice/problem-behaviour/urine-spraying-cats
  18. http://www.thecatsite.com/a/how-to-choose-the-right-litterbox
  19. http://www.aspca.org/pet-care/cat-care/common-cat-behavior-issues/litter-box-problems
  20. http://icatcare.org/advice/problem-behaviour/soiling-indoors
  21. http://www.aspca.org/pet-care/cat-care/common-cat-behavior-issues/urine-marking-cats
  22. http://www.aspca.org/pet-care/cat-care/common-cat-behavior-issues/aggression-between-cats-your-household
  23. http://www.humanesociety.org/animals/cats/tips/marking_territory.html
  24. http://www.vet.cornell.edu/fhc/Health_Information/brochure_housesoiling.cfm
  25. http://www.aspca.org/pet-care/cat-care/common-cat-behavior-issues/urine-marking-cats
  26. http://www.peteducation.com/article.cfm?c=1+2137&aid=3288
  27. http://www.aspca.org/pet-care/cat-care/common-cat-behavior-issues/urine-marking-cats
  28. http://www.aspca.org/pet-care/cat-care/common-cat-behavior-issues/urine-marking-cats
  29. http://icatcare.org/advice/problem-behaviour/urine-spraying-cats
  30. http://icatcare.org/advice/problem-behaviour/urine-spraying-cats

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 30,903 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา